Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
11 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 

8 หลุมพรางของคำพูดที่อันตราย



คนบางคนหน้าตาไม่หล่อ ไม่สวย แต่ก็มีเสน่ห์ได้จากคำพูดของตน
ถือว่ารู้จักใช้คำพูดให้เป็นศิลปะในการผูกมัดใจคน เข้าทำนองที่ว่า “วาจาเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง”
แต่ก็มีคนบางคน หน้าตาดูดี๊ดี แต่กลับไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วย แบบว่า “สวยแต่รูป จูบไม่หอม”
เห็นหรือยังค่ะว่า คำพูดสามารถสร้างมิตรที่ดีและศัตรูตัวฉกาจที่สำคัญได้

การใช้คำพูดที่ดีกับผู้อื่นนั้น ไม่ควรเลือกที่รักมักที่ชัง จงเลือกใช้ภาษาพูดที่ไพเราะสุภาพกับทุกๆ คนที่เป็นลูกค้า
คำพูดทางบวก (Positive Wording)
ย่อมทำให้ลูกค้ารัก เอ็นดู และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ และความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ
แต่ในทางกลับกันคำพูดทางลบ (Negative Wording) ที่ไม่สร้างสรรค์
ย่อมนำไปสู่ความไม่พอใจ ไม่ชอบ เบื่อหน่าย วิตกกังวล

คำพูดทางลบอันนำมาสู่กับดักของหลุมพรางที่อันตรายมีมากมาย
เพราะหากตัวคุณเข้าไปสู่วงโคจรของกับดักเช่นที่ว่านี้ รับรองได้ว่าคุณจะไม่มีความสุขกับชีวิตการทำงาน
และชีวิตส่วนตัวเลย ซึ่งดิฉันได้สรุปหลุมพรางของคำพูดทางลบทั้งหมด 8 แบบ ดังต่อไปนี้


พูดแบบ “ ขวานผ่าซาก”
“นี่เธอ เป็นไงเนี่ย งานที่ให้ทำเสร็จหรือยัง รอตั้งนานแล้วนะ ทำไมช้าจัง”
คุณจะรู้สึกอย่างไร เมื่อได้ยินคำพูดเช่นที่ว่านี้ พบว่าคนบางคนพูดจาไม่เป็น มักพลั้งพูดก่อนคิด ไม่รู้จักคิดก่อนพูด
ใช้วาจาโผงผางตรงๆ ด้วยคำพูดแบบ “ขวานผ่าซาก”
และเพื่อมิให้เกิดความรู้สึกเสียใจทีหลังหลังจากที่พูดออกมาแล้ว
ดังนั้นทุกครั้งที่คุณจะพูดอะไรไปกับลูกค้า ตนเองจะต้องคิดก่อนเสมอว่าจะพูดอะไร
จงอย่าลืมการใช้ประโยคเกริ่นนำในทางบวก เพื่อทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกดี เช่นตัวอย่างจากประโยคข้างต้น
ถ้าให้เปลี่ยนประโยคเสียใหม่ ย่อมจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกดีได้
“ นี่เธอ ตอนนี้ยุ่งหรือป่าว ไม่ทราบว่างานที่ให้ไป ทำถึงไหนแล้ว ทำทันไหม มีอะไรติดขัดก็บอกได้นะค่ะ”



พูดแบบ “ ยุแยง ตะแคงรั่ว”

ลูกค้าบางคนไม่ชอบพูดคุยกับคนที่ชอบยุแหย่ให้เกลียดกัน หรือไม่ชอบกัน
ลูกค้าเหล่านี้โดยมากมักจะหลีกเลี่ยงที่ไม่เผชิญหน้ากับคนจำพวกนี้
เพราะคบหาสมาคมด้วยแล้ว รู้สึกว่าชีวิตไม่มีอะไรสร้างสรรค์เลย พูดคุยแล้วรู้สึกสลดหดหู่
ตัวอย่างคำพูดแบบนี้ เช่น “ คุณหญิงรู้ไหม หัวหน้างานขายที่เพิ่มมาใหม่ เค้าเล่ากันว่า เป็นคนทำงานไม่เป็น
ใครๆ ดิวส์งานด้วยแล้ว จะสับสนกับชีวิตอย่างแน่นอน คุณหญิงถ้าจะให้ดีนะ หลีกได้เป็นหลีก หลบได้เป็นหลบ
อย่าไปยุ่งกับเขาเลย”
หากคุณหญิง เป็นคนที่ไม่ชอบคำพูดที่พาดพิงถึงใครในทางที่ไม่ดีแล้วล่ะก็ รับรองได้ว่าคุณหญิงจะรู้สึก
และมองผู้พูดว่าเป็นคนที่ไม่น่าคบ เพราะเป็นคนที่สามารถพูดลับหลังถึงคนอื่นในทางที่ไม่ดีได้เสมอ



พูดแบบ “เข้าใจอยู่คนเดียว”

พูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นคนที่พูดจาไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่าพูดเรื่องอะไร เพราะผู้ฟังฟังแล้วไม่เข้าใจ
คำพูดแบบนี้อันตรายมากค่ะ เพราะหากผู้ฟังเข้าใจผิด รับรองได้ว่าเป็นเรื่องแน่
อาจทำให้งานที่ส่งมอบมาเกิดความผิดพลาด ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่คาดหวังไว้
ดังนั้นเวลาที่จะพูดอะไรไปกับลูกค้า ควรตรวจสอบความเข้าใจของลูกค้าให้แน่ชัดก่อนว่า
มีความเข้าใจตรงกันกับผู้ฟังหรือไม่ ด้วยการใช้คำพูดสอบถามความเข้าใจของผู้ฟังจากการตั้งคำถาม
หรือการสอบถามความเข้าใจอย่างตรงไปตรงมา เช่น “ มีอะไรจะสอบถามเพิ่มเติมหรือไม่” ,
“ ที่อธิบายให้ฟัง เข้าใจหรือไม่ ถ้ามีอะไรสงสัยสอบถามได้เลย” เป็นต้น

และเพื่อป้องกันมิให้เกิดหลุมพรางของคำพูดเช่นที่ว่านี้ ผู้พูดควรเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าก่อนเสมอ
จัดวางลำดับขั้นตอนของเรื่องที่จะพูด รวมถึงอาจมีการยกตัวอย่างประกอบให้เห็นชัดในบางช่วง บางตอน




พูดแบบ “ เหน็บแนม”

การใช้คำพูดเหน็บแนม ย่อมทำให้ผู้ฟังรู้สึกสะเทือนใจแบบ “เจ็บเล็ก ๆ” เช่น
“พี่ดูงานของเธอแล้วนะ แน่ใจเหรอว่าคิดแล้ว ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะเป็นงานที่ออกมาจากเธอได้ ทำได้แค่นี้เองเหรอ”

หากคุณฟังแล้วจะรู้สึกอย่างไร แน่นอนว่า ผู้ฟังคงจะต้องคิดบ้างล่ะ ไม่มากก็น้อย
พบว่าการพูดแบบนี้อันตรายค่ะ เพราะหากลูกค้าฟังแล้วไม่พอใจ
พวกเขาอาจจะไม่ใช้สินค้าและบริการของคุณต่อไปก็เป็นได้

นอกจากนี้ตัวอันตรายของการใช้คำพูดแบบนี้ก็คือ
หากผู้พูดไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นคนที่ชอบใช้คำพูดแบบเหน็บแนม อาจทำให้คุณเองต้องสูญเสียลูกค้าไป
โดยที่ไม่รู้สาเหตุและแนวทางแก้ไขป้องกันมิให้ลูกค้าต้องเอ่ยคำ “ ลา”



พูดแบบ “ ยกตน ข่มท่าน”

“รู้ไหมว่า ฉันจบอะไรมา จบต่างประเทศเชียวนะ เป็นยูท็อปเท็นด้วย ไม่มีใครจะเก่งสู้ฉันได้แล้วในบริษัทนี้”

พบว่าคนที่ชอบพูดจาแบบนี้ เป็นพวกที่ชอบให้ตนเองดูโดดเด่นเหนือผู้อื่น
เข้าทำนองที่ว่า ทับถมคนที่ตนเองคิดว่าด้อยกว่าเสมอ คนแบบนี้ถ้าเก่งจริงก็ดีไป
แต่ถ้าไม่เก่งจริงอย่างปากว่าแล้วล่ะก็ แน่นอนว่าผู้พูดย่อมจะได้รับผลที่ตนเองได้ก่อไว้อย่างแน่นอน
เพราะจะเป็นพวกดีแต่พูด เวลาทำงานเข้าจริง ๆ คว้าน้ำเหลวทุกครั้งไป
ดังนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงการใช้คำพูดแบบยกตน ข่มท่าน เพราะพูดไปแล้ว ก็ไม่มีอะไรจะดีขึ้น
ดีไม่ดี อาจทำให้ลูกค้าของคุณเกิดหมั่นไส้ พลอยทำให้พวกเขาอยากจะหนีออกห่างคุณ



พูดแบบ “ ขว้างงูให้พ้นคอ”

เป็นการบอกปัดความรับผิดชอบ เพื่อให้ตนเองพ้นผิด ซึ่งคำพูดแบบนี้พบเจอมากในสังคมไทย
เพราะบางคนขี้กลัว กลัวว่าตนเองจะมีความผิด จึงทำให้เกิดการพูดกระทบ หรือโยนความผิดให้อีกฝ่ายหนึ่ง
เช่น “ อ้องานนี้เหรอ ที่ผมส่งให้พี่ช้า ก็เพราะฝ่ายบัญชีให้ข้อมูลแก่ผมช้าต่างหาก
ที่จริงผมทำงานชิ้นนี้เกือบเสร็จแล้วนะ แต่รอข้อมูลจากฝ่ายบัญชีเท่านั้น”
(จริงๆ แล้วตนเองทำงานไม่ทัน แต่อ้างว่าเป็นความผิดของฝ่ายบัญชี)

ดังนั้นการพูดจาแบบขว้างงูให้พ้นคอนั้น ถ้าไม่ใช่เรื่องจริง ก็ขอให้ระวังว่าถ้าอีกฝ่ายหนึ่งรู้ ย่อมจะเสียความรู้สึก
และยิ่งถ้ากลุ่มคนเหล่านั้นเป็นลูกค้าของคุณแล้วล่ะก็ บอกได้คำเดียวค่ะว่า “โชคร้าย” กำลังจะตามมา



พูดแบบ “ ย้ำคิด ย้ำทำ”

มีลูกค้ามากมายที่ไม่ชอบให้ใครมาจ้ำจี้จำไช แบบว่าพูดแล้วพูดอีก
เป็นการกล่าวถึงในเรื่องเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมาอยู่บ่อยครั้ง
แน่นอนว่าคุณเองก็คงไม่ชอบให้ใครมาย้ำคิด ย้ำทำกับตัวคุณเองมากนัก พูดครั้งหรือสองครั้งก็เพียงพอแล้ว
เฉกเช่นเดียวกับลูกค้าค่ะ พวกเขาก็คงไม่อยากให้ใครมาคอยสอบถามในเรื่องเดิมๆ มากนัก
ดังนั้นเมื่อคุณพูดอะไรไปแล้ว ไม่ต้องวิตกกังวลถึงงานหรือสิ่งที่มอบหมาย / รับมอบหมายให้ดำเนินการ
จงให้ความเชื่อมั่นและมั่นใจว่า ลูกค้าย่อมสามารถบริหารจัดการงานของพวกเขาได้อย่างแน่นอน
ลูกค้าย่อมมีความคิดเป็นของตนเอง เพราะต่างคนก็ต่างโตเป็นผู้ใหญ่กันแล้ว



พูดแบบ “แพ้ชวนตี”

การพูดแบบนี้จะเห็นได้ชัดจากการปฏิเสธ ไม่ยอมรับว่าเรื่องที่เกิดขึ้นมาจากการกระทำของตนเอง
คนพวกนี้ไม่ยอมรับผิดแล้ว แถมยังกล่าวโทษหรือตีโพยตีพายว่าเป็นความผิดของคนอื่น เช่น
“ไม่นะ เหตุการณ์นี้ ผมไม่ได้สร้างปัญหา แต่ปัญหาทั้งหมดนี้มาจากพี่ไม่ละเอียดรอบคอบในการตรวจสอบงานผม”

พบว่าการใช้คำพูดแบบ แพ้แล้วชวนตีนั้น ดิฉันขอให้คุณระมัดระวังคำพูดแบบนี้ไว้ให้มากๆ
เพราะยิ่งคุณเริ่มปฏิเสธคัดค้านในเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น
ไม่ยอมรับว่าปัญหานั้นมาจากความผิดพลาดของตนเองหรือตรวจสอบ รวมถึงการโบ้ยความผิดไปยังลูกค้าของตน
รับรองได้ว่า ลูกค้าย่อมไม่เชื่อถือ และมีแนวโน้มที่จะไม่ใช้สินค้าและบริการของคุณต่อไป ได้


หลุมพรางของคำพูดทั้ง 8 นี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ผู้พูดไม่ควรพูดออกไป
ไม่มีประโยชน์ใด ๆ เลยที่จะเลือกใช้คำพูดแบบนี้
และเพื่อให้คุณมีมิตรเพิ่มขึ้น ทำไมไม่เปลี่ยนคำพูดหรือเปลี่ยนประโยคจากทางลบเป็นทางบวก
จงเลือกใช้คำพูดที่มิใช่หลุมพรางที่กล่าวขึ้น แล้วคุณจะเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่รักและน่าคบหาสมาคมด้วย


บทความโดย : อาภรณ์_ภู่วิทยพันธุ์
อีเมล : p_arporn11@yahoo.com
ที่มา : //www.hrcenter.co.th




 

Create Date : 11 กรกฎาคม 2553
0 comments
Last Update : 11 กรกฎาคม 2553 19:21:05 น.
Counter : 1651 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.