Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
8 เมษายน 2554
 
All Blogs
 
กลเม็ดมัดใจ Head Hunter และนายจ้าง (ใหม่)



ในแต่ละปีมีนิสิต นักศึกษาจบใหม่ๆ นับหมื่นนับแสนคน ถึงคราวที่ต้องวิ่งหางานกันจ้าละหวั่น
ในขณะที่บางคนที่มีงานทำแล้วก็อยากเปลี่ยนงาน ...ทำให้เกิดการช่วงชิงตำแหน่งเพื่อให้ได้งาน
ดังนั้นกลเม็ดในการสร้าง “ความประทับใจ”ให้กับฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทที่จะสมัคร
ซึ่งความประทับใจดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง

อรุณี เกษตระทัต กรรมการผู้จัดการ บริษัทจัดหางาน เอเอ ทาเลนท์
บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ระดับคุณภาพในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ให้คำแนะนำการส่งใบสมัครงานให้มัดใจว่า ใครที่ผ่านประสบการณ์การสมัครงานมาแล้ว
คงจำได้ถึงความตื่นเต้น กังวลว่าคุณสมบัติ ความสามารถต่างๆ ของตนเองที่เขียนลงไปในใบสมัครนั้น
จะเข้าตานายจ้างมากน้อยแค่ไหน เพราะหากเตรียมตัวดีย่อมมีชัยไปกว่าครึ่งในการสมัครงาน

สำหรับเด็กจบใหม่ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่โลกแห่งการทำงาน หรือผู้ที่กำลังมองหางานใหม่อยู่
แต่ยังไม่มั่นใจว่า ควรปฏิบัติตัวอย่างไรให้ได้รับความสนใจจากนายจ้างหรือ หน่วยงานที่ต้องการสมัคร
เลิกกังวลกันได้ เพราะวันนี้มีคำแนะนำและทริกดีๆ จาก “หญิงเหล็กแห่งแวดวง HR” มาฝากกัน

“ด้วยความที่เราทำงานด้านนี้มากว่า 32 ปีก็เห็นอะไรมาค่อนข้างเยอะ
สิ่งที่อยากแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังหางาน ก็มีอยู่หลายข้อด้วยกัน เรียกว่าเป็นการปฏิบัติตัวเบื้องต้น
และแสดงศักยภาพของตัวเราเอง เพื่อให้ได้รับความสนใจจากนายจ้างดีกว่า เริ่มจากขั้นตอนแรกเลย
คือการเขียนจดหมายสมัครงาน (Application Letter) ควรจะสั้นแต่กระชับ และได้ใจความสำคัญครบถ้วน
ซึ่งไม่ควรจะเป็นเรื่องราวที่มีอยู่แล้วใน Resume


จดหมายแนะนำตัวที่ดีและมีคุณภาพ
จะดึงดูดความสนใจของ HR Manager ของนายจ้างหรือหน่วยงานที่จัดหา
มากพอที่จะสร้างความต้องการที่จะขอสัมภาษณ์คุณแบบตัวต่อตัว”

อรุณีขยายความโดยจำแนกเป็นข้อๆ ว่า

1. ประวัติย่อผู้สมัครงาน (Resume) ที่ถูกต้อง
จะต้องรวมประวัติที่น่าสนใจ ให้กระชับแม่นยำ การเรียงลำดับของการทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

2. สำหรับเรื่องระดับ การศึกษา ประวัติส่วนตัว รวมถึงงานอดิเรกนั้น
เป็นเรื่องที่สามารถดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี
เพียงแต่ต้องระวังอย่าให้น้ำหนักมากกว่าเรื่องอาชีพ และรายละเอียดความสำเร็จ ของผู้สมัครเอง

3. ให้ท่องให้ขึ้นใจว่า นายจ้างหรือหน่วยงานจัดหางาน
จะมองหาประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในตำแหน่งงานนั้นๆ ตามที่ได้ระบุไว้ใน Resume เป็นอันดับแรก

มีผู้สมัครบางคนมองข้ามการใส่ข้อมูลสำคัญ

4. สำหรับติดต่อขั้นพื้นฐาน เช่น อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ หรือแม้แต่ชื่อและนามสกุล
ดังนั้นควรใส่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อให้มั่นใจว่านายจ้าง หรือหน่วยงานที่สมัครจะรู้ว่าเราเป็นใคร
และสามารถติดต่อได้อย่างไรให้ชัดเจน

5. ไม่ควรเปิดเผยรายละเอียดเงินเดือน
เช่น หากคุณรู้ว่าเงินเดือนที่ได้รับนั้นอยู่ในฐานเงินเดือนในระดับ 90% ของตำแหน่งอาชีพนั้นๆ
เพราะอาจทำให้บริษัทที่คุณส่งใบสมัครไปนั้นรู้สึกว่า เงินเดือนของคุณสูงเกินกว่าที่เขาจะสนใจ
ซึ่งเป็นการตัดโอกาสของคุณเองในการจะได้รับโอกาสเรียกสัมภาษณ์
และในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณแน่ใจว่าเงินเดือนของคุณต่ำกว่าฐานเงินเดือนในตลาด
คุณก็ควรที่จะเปิดเผยฐานเงินเดือนของตัวเอง และสวัสดิการที่ได้รับเป็นเงินสด เช่น โบนัสปลายปี เป็นต้น
เพียงเท่านี้ก็จะสามารถทำให้คุณ ได้มีโอกาสนัดสัมภาษณ์จากนายจ้างหรือหน่วย งานต่างๆ แล้ว

หลังจากส่งใบสมัครไปแล้ว ต้องติดตามผลการสมัครอย่างกระชั้นชิด
ที่ผู้สมัครงานมือใหม่มักไม่แน่ใจว่า ควรมีการติดตามผลอย่างไรถึงจะเหมาะสม
“มีหลายคนเคยถามดิฉันว่า เมื่อเราสมัครงานแล้ว ควรโทร.ไปถามผลการสมัครงานหรือไม่
อยากแนะนำว่า หลังจากที่ส่งจดหมายสมัครงานไปแล้ว หน่วยงาน และนายจ้าง
ก็จะมีชื่อของคุณเป็นเพียงชื่อในกระดาษเท่านั้น
คุณสามารถโทรศัพท์ไปติดตามผลได้เพื่อเป็นการแนะนำตนเอง
เพื่อที่นายจ้างใหม่หรือบริษัทจัดหางานจะได้คุ้นหูกับชื่อของคุณ
ทั้งนี้ การติดตามนั้นควรจะโทร. ติดตามเพียงครั้งหรือสองครั้งก็พอ
เพราะถ้ามากกว่านั้น อาจทำให้บริษัทนั้นเกิดความรู้สึกไม่ดีว่าเรารุกจนเกิน ไปค่ะ”

นอกจากขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้แล้ว
กลเม็ดอีกอย่างที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สมัคร คือการขอรับการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว
วัตถุประสงค์ของการขอรับการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว เป็นการผูกหรือเน้นย้ำหน้าตาของเรา
กับชื่อในใบสมัคร ให้นายจ้างและหน่วยงานเกิดความจดจำเกี่ยวกับตัวคุณ
แต่ต้องไม่ลืมเผชิญความจริงที่ว่า
คำขอนี้มักจะไม่ได้ผล หากการเตรียมตัว ตั้งแต่ขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้งหมดไม่ดีพอ

“เพราะขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นได้หากขั้นตอนต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น
ได้ดำเนินการอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
รวมถึงการเลือกสมัครในตำแหน่งงาน ที่มีความต้องการเกี่ยวโยงถึงความสามารถ
และความถนัดในการทำงานที่เหมาะสม ตรงกับประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาของคุณ

คำแนะนำง่ายๆ คือ ให้คุณลองสำรวจตัวเองและถามตัวเองว่า
ถ้าฉันเป็นนายจ้าง ฉันจะจ้างผู้สมัครเช่นตนเอง สำหรับตำแหน่งที่ว่างนี้หรือไม่”

มืออาชีพแห่งแวดวง HR ทิ้งคำถามไว้อย่างให้แง่คิด



การสัมภาษณ์งานแบบที่ถูกต้อง
ผลิตโดย ฝ่ายนโยบายมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต


ข้อมูลโดย :
//www.jobjob.co.th
https://www.youtube.com


Create Date : 08 เมษายน 2554
Last Update : 8 เมษายน 2554 18:56:50 น. 1 comments
Counter : 2197 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่ะ ^^


โดย: RINGALS วันที่: 9 เมษายน 2554 เวลา:12:10:23 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.