DEEP----DEEP----DEEP----DEEP
Group Blog
 
 
มิถุนายน 2548
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
27 มิถุนายน 2548
 
All Blogs
 
หลักการสอบงานราชการ

1.สำรวจตัวเอง ก่อนว่าเรามีความรู้หรือถนัดในด้านใด ตลอดจนถึงการทำความเข้าใจหรือการตีความหมาย การเข้าใจโจทย์ต่าง ๆ ก่อนทำการสมัคร เช่น บางคนทำงานด้านพัสดุอยู่ คิดว่าตนเองถนัดด้านพัสดุ แต่อาจจะไม่ใช่ ลองสำรวจว่าเวลาตนเองอ่านหนังสือแล้ว ชอบงานด้านใด รักงานด้านใดมากกว่ากัน สามารถจะเข้าใจในงานด้านใดมากกว่ากัน หรือจดจำรายละเอียดในด้านใดมากกว่ากัน จึงจะทำการเลือกสมัคร เพราะถ้าเราสมัครในตำแหน่งงานด้านที่เราถนัดจะทำให้เวลาเราอ่านหนังสือจะทำให้เราจดจำ สามารถเข้าใจได้เนื้อหาได้เป็นอย่างดี และรวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาในการอ่านหนังสือมากมาย โดยที่เราไม่เข้าใจหรือจดจำไม่ได้เลย

2.ในการสมัครสอบเราไม่จำเป็นจะต้องเลือกตำแหน่งที่สูงที่สุดเสมอไป เราอาจจะเริ่มสมัครจากตำแหน่งระดับ 1 ลองสอบจนได้ก่อน แล้วถ้ามีโอกาสค่อยลองสมัครสอบตำแหน่งระดับ 2 หรือ 3 ต่อไป เพราะตำแหน่งระดับ 1 จะมีโอกาสที่จะเรียกบรรจุมากที่สุด แม้ว่าจะมีคนสมัครมากมายเราไม่ต้องกังวล เพราะจะสอบบรรจุเป็นการแข่งขันกับตนเองไม่ใช่แข่งขันกับคนอื่น ถ้าเราขยันตั้งใจเราก็ได้ (รวมถึงความรู้ความถนัดด้วย)

3.ในการอ่านหนังสือเราควรจะพิจารณาว่าเรายังด้อยในด้านใด แล้วพยายามศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ทำความเข้าใจให้มากขึ้น เช่น เราอ่อนคณิต เราก็ต้องพยายามอ่านส่วนนั้น พยายามทำความเข้าใจในส่วนนั้นให้มากที่สุด (พยายามทำความเข้าใจ ไม่ใช่การอ่านให้มากที่สุด บางครั้งการอ่านมากให้จำมากอาจไม่ได้ช่วยอะไรเราเลย มากเท่ากับการทำความเข้าใจ) ต้องพยายามทดลองทำดู พยายามหาให้ได้ว่าตัวไหนมาจากไหนบ้าง

4.เวลาในการอ่านหนังสือก็สำคัญ เราจะต้องมีสมาธิในการอ่าน เวลาอ่านจะต้องพยายามทำความเข้าใจตามไปด้วย เช่น วิชาภาษาไทย ให้คำมา 2 คำหน้า แล้วให้หาคำ 2 คำหลังที่มีความหมายเหมือนกัน โดยการทำความเข้าใจว่าน่าจะเป็นคำว่าอะไร เพราะอะไร และ 2 คำหน้ามีลักษณะอย่างไรบ้าง แล้ว 2 คำหลังมีลักษณะอย่างไร เหมือนกันหรือไม่

5.ในการสอบไม่ควรกังวลถึงจำนวนผู้สอบแข่งขัน เพราะจะทำให้เราเกิดความกังวลใจเป็นอย่างมาก ไม่ควรคิดว่าคนมากเราจะแพ้เขา หรือคนอื่นเก่งกว่าเราจะต้องทำได้ ไม่ควรคิด เราควรคิดว่าเราจะต้องทำได้ เราจะต้องแข่งขันกับตนเอง ถ้าเราทำไม่ได้เราก็ไม่ผ่าน คนอื่นก็อาจจะทำไม่ได้เหมือนกัน ถ้าเราทำได้อย่างน้อยเราก็ผ่าน หากเรามีความกังวลใจมาก เราก็พยายามคิดว่าเราทำแค่ให้ผ่านก็ยังดี แล้วค่อยไปวัดกันที่การสัมภาษณ์อีกทีหนึ่ง

6.การทำข้อสอบ ควรเลือกทำในส่วนที่เราทำได้ก่อน แล้วจึงมาทำในส่วนที่เราทำไม่ได้ทีหลัง และพยายามไม่ต้องไปวิตกกังวลในข้อที่ทำไม่ได้ (ให้พยายามคิดว่าถ้าเราทำในส่วนที่เราทำได้หมดเราก็ผ่านแล้ว ส่วนข้อที่เราทำไม่ได้ ถ้าเราทำได้ก็ดี อาจจะทำให้เรามีอันดับที่ดีขึ้น แต่ถ้าทำไม่ได้เราก็ยังผ่านอยู่ ) พยายามทำข้อที่เราทำได้ให้มากที่สุด ใช้เวลาทำข้อที่เราทำได้ก่อน ใช้เวลากับข้อที่เราทำไม่ได้หรือไม่ถนัดให้น้อยที่สุด เพราะถ้าเรามาใช้เวลากับข้อที่เราทำไม่ได้ เราอาจจะเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ หรือทำได้บ้างเพียงเล็กน้อย ที่สำคัญควรบริหารเวลาในการทำข้อสอบด้วย เดี๋ยวจะทำข้อสอบไม่ทัน ข้อใดยังทำไม่ได้ก็ให้ข้ามไปทำข้อที่ได้ก่อน

7.ในกรณีที่มีการสอบหลายสนาม ถ้ามีการสอบในตำแหน่งเดียวกัน เราควรจะทำการทบทวนข้อสอบหลังจากออกจากห้องสอบทันที เพราะในการออกข้อสอบของแต่ละสนาม ข้อสอบมักจะไม่หนีกันเท่าใดนัก โดยเราอาจจะทำเครื่องหมายไว้ในส่วนที่เคยออกข้อสอบ เวลาเราจะไปสอบอีกครั้ง เราก็สามารถกลับไปอ่านในส่วนที่เราทำเครื่องหมายไว้ และเน้นการอ่านในส่วนนั้นให้มากกว่าปกติ (ในการสอบครั้งแรกเราอาจจะยังไม่ได้ แต่ถ้าเรามีความเพียรพยายาม เราจะต้องทำสำเร็จ)

8.ในการอ่านหนังสือสอบ บางท่านอาจจะอ่านในคู่มือการสอบแบบหนังสือที่เป็นเนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน หรืออาจจะอ่านจากหนังสือที่ทำเป็นข้อสอบแบบปรนัย ถ้าจะให้เป็นการง่ายในการอ่าน เราควรจะทำการอ่านหนังสือไปอย่างน้อย 1 รอบ แล้วทำการโน๊ตย่อเป็นข้อ ๆ เพื่อเป็นการง่ายแก่การอ่าน แก่การทำความเข้าใจ หรือแม้แต่การจดจำ และในการกรณีเป็นแนวข้อสอบแบบปรนัย ก็ทำการเขียนคำถามก่อนแล้วตามด้วยคำตอบที่ถูกต้องเลย ไม่ต้องใส่ ก ข ค ง ให้ยุ่งยากแก่การอ่าน และการจดจำ

9. เราควรมีการสังเกตแนวการออกข้อสอบที่แต่ละสถาบันทำการออกข้อสอบ ว่าสถาบันใดมักจะทำการออกข้อสอบแนวไหน เช่น รามฯ มักออกข้อสอบที่ไม่ค่อยยาก มักเป็นคำถามที่พื้นฐาน ออกข้อสอบไม่ลึกมากนัก เช่น หนังสือราชการมีกี่แบบ อะไรบ้าง หนังสือแบบนี้เป็นหนังสือประเภทใด พัสดุหมายถึงอะไร การจัดซื้อจัดจ้างมีกี่วิธี วิธีตกลงราคาเป็นการจัดซื้อจัดจ้างราคาตั้งแต่...... ฯลฯ และไม่ค่อยเน้นคณิตศาสตร์ ส่วน มสธ. มักจะออกข้อสอบที่ค่อยข้างยากสักนิด มักจะเน้นวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ซึ่งถ้าเราสามารถรู้ล่วงหน้าว่าแต่ละสนามสอบมีหน่วยงานหรือสถาบันใดออกข้อสอบแล้ว ทำให้ง่ายต่อการอ่านหนังสือ ตลอดจนทำให้เราสามารถเก็งข้อสอบได้

10. กรณีที่มีประสบการณ์ในการสอบมาบ้างแล้ว เราลองทบทวนข้อสอบที่ผ่าน ๆ มาก่อน ว่าเคยออกอะไรบ้าง เพราะในการออกข้อสอบแต่ละครั้ง จะออกไม่หนีกันเท่าไหร่ ลองทบทวนแล้วจดโน๊ตเป็นข้อ ๆ หรือทำสัญลักษณ์ในเนื้อหาที่เคยออกข้อสอบ เพื่อที่เวลาเรากลับมาอ่านอีกครั้งหรือในกรณีที่เราเร่งด่วน หรือก่อนเข้าสอบไม่มีเวลามาอ่านทั้งหมดก็ให้อ่านที่เราจดโน๊ต หรือในส่วนที่เราทำสัญลักษณ์ไว้

11. ในการอ่านเนื้อหาที่มีปริมาณที่มากมาย ถ้าเราอ่านไปแล้ว เราควรทำสัญลักษณ์ หรือขีดเส้นใต้ในส่วนที่สำคัญ เพราะสะดวกในการกลับมาอ่านอีกครั้ง เราจะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการกลับมาอ่านในส่วนที่ไม่สำคัญ เราจะได้เลือกอ่านแต่ในส่วนที่สำคัญเท่านั้น เป็นการประหยัดเวลา และทำให้เราจดจำเนื้อหาได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม หรือถ้าเรามีเวลามากหน่อย ก็อาจจะทำการจดเนื้อหาที่สำคัญไว้เป็นข้อ ๆ ใส่สมุดเล่มเล็ก ๆ ไว้พกติดตัว นำมาอ่านในยามว่างก็ได้





Create Date : 27 มิถุนายน 2548
Last Update : 27 มิถุนายน 2548 21:05:52 น. 4 comments
Counter : 835 Pageviews.

 


โดย: 12 IP: 125.27.191.65 วันที่: 4 ธันวาคม 2550 เวลา:11:40:58 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ


โดย: น่ารัก IP: 61.7.133.90 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:14:48:32 น.  

 
ทำมัยมั้ยรู้เรื่องเลย


โดย: 13 IP: 10.0.100.121, 202.143.163.235 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2552 เวลา:13:27:15 น.  

 
ถามหน่อยค่ะว่า เปลี่ยนเว็บงานราชการเป็นเว็บอะไรแล้วค่ะหาไม่เจอ ช่วยบอกด้วยค่ะ ขอบคุณคะ




โดย: ออย IP: 10.111.35.24, 202.149.106.35 วันที่: 23 มีนาคม 2553 เวลา:11:03:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

airthecorr
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add airthecorr's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.