Group Blog
 
<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
14 กันยายน 2554
 
All Blogs
 

1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ8

ยูโด Tokushu-ka course สองอาทิตย์แรก

เปิดมาการเรียนการสอน รู้สึกว่ามันตื่นเต้นท้าทายกว่าคอร์สแรกเล็กน้อย วันนี้เจออาจารย์7ดั้ง อาจารย์คนนี้ขึ้นชื่อเรื่องการฝึกร่างกายอยู่แล้ว (ปกติอาทิตย์นึงจะเจอวันพุธ แต่ว่าวันนี้เกิดผิดพลาดอาจารย์ดันมาสอนวันพฤหัสด้วย) หลังจากวอร์พอัพ ทั่วไป แล้วก็แบ่งคอร์สออกมาเรียนกัน เริ่มด้วยกว่าวิดพื้นแบบยูโด ในการเพิ่มแรงบริเวณข้อศอก คือการวิดแบบไม่ต้องขึ้นสุดลงสุดแต่ว่าเน้นเรื่องความเร็วๆ โดนไป 30ครั้ง x 2 เซ็ท ต่อจากนี้ก็เป็นการวิดพื้นแบบเพิ่มแรงตอนใช้เนวาซะต่างๆ คือการวิดพื้นแบบบิดตัวไปด้านหน้า และบิดตัวกลับมาในด้านหลัง รอบนี้ก็โดนไป 20 ครั้ง x 3 เซ็ท หลังจากฝึกพื้นๆกับร่างกายท่อนบนแล้ว ก็มาฝึกกับช่วงขาบ้าง คือให้ฝึกตวัดขาทำอุจิมาตะ ฝั่งซ้าย 30ครั้ง ฝั่งขวา 30ครั้ง และยังมีการฝึกอื่นๆอีกมากมาย เช่น จับคู่กัน จับขาคนละข้างให้กระโดดไปจนถึงอีกฝั่งนึง ใส่ขาในท่า ko-uchigari แล้วก็กระโดดไปจนถึงอีกฝั่งสนามนึง คือแค่การซ้อมร่างกายอย่างเดียวของอาจารย์คนนี้เวลาก็เหลืออีกแค่20นาที

ทีเด็ดของอาจารย์7ดั้ง ko-sotogari + tai otoshi
การใช้ท่าต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือการดูการไหลเวียนของแรงว่าไปในทิศทางไหน แล้วงัดท่าที่ใช้จัดการกับแรงบริเวณนั้นออกมาใช้ แต่ของอาจารย์ท่านนี้ ทีเด็ดอยู่ที่ ko-sotogari ในการใช้ขากับแข้งเป็นตัวเกี่ยวให้ล้ม จริงๆลำพังแค่การใช้วิธีเกี่ยวขาของอาจารย์ท่านนี้ในท่า ko-sotogari ก็ล้มคู่ต่อสู้ได้ง่ายๆแล้ว เพียงแต่เผื่อ tai otoshi ไว้ในจังหวะสองเท่านั้นเอง

ดีที่รู้จักและได้ซ้อมท่า ko-sotogari + tai otoshi เพราะว่าทุกๆวันที่รันโดริ จะเจอกับคนที่ใช้ท่านี้อยู่เสมอๆ ถ้าหากไม่รู้มาก่อนแล้วคงจะเตรียมตัวรับจังหวะสองของ tai otoshi ไม่ทัน

คอร์สนี้จะมีการรันโดริกันทุกวัน แต่ว่าบางครั้งก่อนรันโดริ จะซ้อมเนวาซะรันโดริกันก่อน ซึ่งผมว่ามันกินแรงและทำให้เหนื่อยพอสมควรก่อนที่จะเป็นการยืนรันโดริ แต่ว่าก็ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะว่าทุกคนก็ซ้อมเหมือนกันหมด หลังจากรันโดริบางวัน มีไปยกbench press ต่อด้วยอีกเล็กน้อย รู้สึกว่าแรงมันจะหายหมดสงสัยหมดไปกับการรันโดรินั้นแหละ

นักเรียนที่โคโดกังส่วนใหญ่จะถนัดจับขวา ทำให้เริ่มรู้สึกว่าการจับซ้าย พอเวลาเจอกับคู่ต่อสู้ที่จับขวา มันจะได้เปรียบนิดหน่อยเพราะว่าปกติจับขวากันอย่างเดียว ทำให้คล้ายๆกับช่วงแรกของผมที่เจอคือจะออกท่าไม่ได้เท่าไร สิ่งที่ต้องรีบฝึกให้ได้คือท่า hane goshi ให้ใช้ได้แบบเร็วและแรงในการจับทั้งขวาและซ้าย

ที่น่าแปลกคือ ผมกับเพื่อนญี่ปุ่นที่สนิทมาก ที่เริ่มเรียนมาด้วยกัน2-3คน ลงความเห็นว่าจะไม่ซ้อมรันโดริด้วยกันเด็ดขาด ไม่รู้ว่าเป็นเพราะสาเหตุอะไรเหมือนกัน แต่โดยส่วนตัวผมแล้ว 2-3คนนี้ถ้าหากมาเจอกับผมตอนรันโดริจะไม่สามารถทุ่มผมได้แม้แต่ครั้งเดียว (ผมหนักกว่าประมาณ1-3โล) เพราะว่าผมมั่นใจในลูกตุกติกของผม คนระดับเพื่อนผมเพิ่งเรียนมาไม่นานเจอเข้าไปก็ต้องเป็นงง อย่างเช่นการเทคนิคการจับ การทุ่มแบบ cross grip ไปด้านข้าง, o-sotogari แบบถอยหลัง, ippon seoinage ที่สามารถใช้ได้ทั้งฝั่งซ้ายและขวาโดยไม่จำเป็นต้องรอจับซ้ายหรือจับขวา หรือว่า sode tsurikomi goshi ที่เพื่อนผมยังไม่ได้เรียนมา เอาเป็นว่าไว้ตอนสอบ3คิว-2คิว-1คิว ยังไงก็คงต้องเจอกันแน่ๆ ไว้เจอกันในสนามสอบแข่งกันจริงๆจังๆดีกว่า

หลังจากไม่ได้ซ้อมยูโดมาสามวัน (ศุกร์กับเสาร์ไปงานแข่งขันยูโดเขตคันโต ส่วนวันอาทิตย์เป็นวันหยุดอยู่แล้ว) พอกลับไปซ้อมรู้สึกว่าตัวมันจะแข็งๆไปหน่อยนึง ต้องยึดเส้นยึดสายนานกว่าปกติ พอตอนรันโดริ ก็จะลืมๆแผนการต่อสู้ไปว่าจะเริ่มใช้ท่าไหนแล้วตามด้วยท่าไหน รวมทั้งการดึงคู่ต่อสู้ เทคนิคการจับก็จะหลวมๆไป ทำให้รันโดริแต่ละรอบก็หืดขึ้นคอ กว่าจะทุ่มได้ซักครั้ง แต่ว่าช่วงขาไม่ล้มง่ายๆอยู่แล้ว คงเป็นเพราะผมเวลาว่างๆหรือบนรถไฟผมชอบยืนกระต่ายขาเดียว

แป๊บเดียวผ่านไปอาทิตย์นึงแล้วกับคอร์สที่2ของโคโดกัง ส่วนใหญ่ทุกวันอาจารย์จะสอนท่าเดิมๆประมาณ2-3ท่า ที่เรียนมาตั้งแต่คอร์สแรก แล้วก็เอา2-3ท่านั้น มารวมกันเป็นท่าต่อเนื่อง

ช่วงต้นเดือนจะมีนักเรียนใหม่มาเริ่มเรียนกันเยอะ เดือนนี้เป็นฝรั่งซะส่วนใหญ่ พอมองดูการทำอุเกมิของพวกเด็กใหม่แล้วผมก็รู้สึกว่าอย่างน้อยผมก็มีการพัฒนาขึ้นมาบ้างเล็กน้อย เพราะแรกๆการทำอุเกมิของผมก็คงไม่ต่างอะไรกับที่พวกเด็กใหม่กำลังทำอยู่ คือมือ ขา หลัง สะเปสะปะ แต่อาจารย์คงเข้าใจ ถึงได้เน้นย้ำทุกวัน ทำให้อย่างน้อยจุดนี้ของผมก็มีการพัฒนาขึ้น

วันนี้มีเด็กใหม่ น่าจะประมาณม.5หรือม.6 นี้แหละ คนนี้เคยเรียนมาก่อนหน้านี้ในคอร์สสอง แล้วก็หยุดพักไป ต้องมีหลายเดือนเหมือนกัน เพราะผมยังไม่เคยเจอหน้าจนถึงวันนี้ ตอนรันโดริเผอิญผมจับคู่ซ้อมกับสายดำก่อนแล้ว ไม่อย่างนั้นผมคงได้คู่กับเด็กคนนี้ พอจับคู่กันหมดทุกคนแล้วก็เหลือเศษ1คน คือเด็กม.ปลายคนนี้ เลยต้องเด็กคนนี้รออยู่ข้างสนาม(ถือเป็นโชคดีของคุณเลยนะเด็กน้อย) ผมเลยบอกว่ารอบถัดไปค่อยมาเจอกัน

อาจเป็นเพราะเด็กคนนี้ เห็นสไตล์การรันโดริของผมหรืออย่างไรไม่ทราบ รอบหน้าและรอบถัดๆไป เค้าไม่ยอมจับคู่ซ้อมกับผมเลย ใน3นาทีท่าที่ผมใช้ทุ่มสายดำไป4ครั้งคือ sasae tsurigomi ashi, harai goshi, o-soto gari, และปิดท้ายด้วยuchimata จริงๆมีท่า tani otoshi ด้วยแต่ว่าผมใช้ไม่ออกในจังหวะแรก แล้วอาจารย์ที่ดูอยู่เห็นก็เลยบอกว่า วันนี้คนซ้อมเยอะเพื่อความปลอดภัยอย่าใช้พวกท่าsutemi wazaหรือพวกท่าที่ทุ่มโดยการล้มตัว (เด็กคนนั้นคงคิดในใจว่า ตูรอดตัวไปที่ไม่ได้จับคู่กับไอ้ถึกนี้) ไม่เป็นไรยังต้องเรียนด้วยกันอีกหลายเดือนกว่าจะจบคอร์สนี้ยังไงได้เจอกันครบทุกคนอยู่แล้ว

นักเรียนที่โคโดกัง ตอนรันโดริ ผมรู้สึกว่าจะใจดีกันทุกคน เรื่องของการจับคอเสื้อจับแขน แต่ละคนจะให้จับตามสบาย แล้วค่อยไปออกแรงหลบหรือต้านกันตอนเข้าท่า แต่สำหรับผมแล้วมันไม่ใช่อย่างนั้น เพราะผมจะถือว่าถ้าคู่ต่อสู้หรือตัวผมเอง จับได้ถนัดก่อนแล้วเปอร์เซนต์การทุ่มจะเยอะกว่า ดังนั้นผมจะดิ้น สะบัด และใช้เทคนิคต่างๆที่ไม่ค่อยให้คู่ต่อสู้จับคอเสื้อแขนเสื้อผมได้ถนัดนักทั้งมือซ้ายและขวา ในทางกลับกัน นิ้วของผม เรียกว่าเป็นจุดแข็งก็ว่าได้ ถ้าหากจับคอเสื้อกับแขนเสื้อได้ถูกที่แล้วผมแทบจะไม่ปล่อยเลย ไม่ว่าคู่ต่อสู้จะสะบัดยังไงก็ตาม จนในบางครั้งถ้าไม่ได้พันเทปก่อนรันโดริ บริเวณที่ผมจับ จะเต็มไปด้วยรอยเลือดที่มาจากหลายๆนิ้วของผม (กว่าจะรู้ตัวก็จบการรันโดริในรอบนั้นๆไปแล้ว) จุดนี้อาจจะเป็นจุดที่ทำให้ผมทุ่มคู่ต่อสู้ได้เสมอๆในการรันโดริที่โคโดกัง แต่ถ้าเป็นการซ้อมที่อื่นเช่นที่มหาลัย หรือที่อื่นทั่วๆไปแล้วผมรู้สึกว่าทุกคนจะระวังเรื่องคอเสื้อแขนเสื้อเป็นพิเศษทำให้การเข้าท่า การทุ่มจะต้องใช้เวลามากกว่าหน่อยนึง

นอกจากคอร์ส 1 และ 2 แล้วยังมีอีกคอร์สพิเศษที่สอนเพิ่มเติมในเวลา 19.30 – 20.00 เนื้อหาท่าที่เรียนจะเป็นระดับสูงขึ้นไปอีกหน่อยพวกท่าsutemi waza รวมทั้งเทคนิคลูกเล่นต่างๆที่จะทำให้ได้เปรียบในเวลาแข่งจริง บางครั้งก็จะมีเกร็ดความรู้เสริมมาจากท่าต่างๆที่ช่วยเพิ่มแรง เพิ่มจังหวะ ทำให้การทุ่มมีเปอร์เซนต์สำเร็จเยอะขึ้น คอร์สนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่จริงๆแล้วต้องมีการลงชื่อกันก่อน เปิดให้ทุกคนสามารถเรียนได้ ผมว่าคอร์สนี้น่าสนใจมาก และน่าจะเพิ่มเปอร์เซนต์การชนะ ในการรันโดริหรือการแข่งจริงได้

ช่วงนี้ทัศนคติของผมเปลี่ยนไปเล็กน้อย สำหรับการเลือกคู่ในการรันโดริ ไม่ว่าจะเป็นท่ายืนหรือท่านอน หลักในการเลือกคู่ซ้อมของผม จะเน้นคนตัวใหญ่ ยิ่งใหญ่น้ำหนักมากก็ยิ่งดี ถึงแม้จะรู้ว่าจะไม่ชนะหรือทุ่มไม่ได้ก็ตาม แต่เพื่อเป็นการฝึกให้ชินก่อนที่จะต้องไปแข่งขันในแต่ละเดือนกับคนน้ำหนักเท่าๆกัน เพราะการจะล้มคนตัวใหญ่ได้นั้นมันต้องใช้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นพื้นฐานของยูโด (kuzushi-tsukuri-kake)บวกกับโชคและจังหวะอีกต่างหาก
วันนี้อาจารย์สอนเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับอุจิมาตะ ผมถึงได้รู้ว่าทำไมพอผมเจอคนตัวใหญ่แล้วใช้ไม่ออก ก็เป็นเพราะการดึงในจังหวะแรกของผมยังไม่ดีพอและไม่แรงพอที่จะเอาส่วนหน้าอกผมเข้าไปชิดกับคู่ต่อสู้ ก่อนที่จะหมุนพร้อมกันแล้วเกี่ยวขา แต่ก็อย่างว่า ทฤษฏีพูดง่ายแต่ทำจริงๆการจะดึงคู่ต่อสู้เข้ามาให้อยู่ในระยะนั้นมันไม่ง่ายเลย

และแล้วก็มาถึงวันเสาร์ พรุ่งนี้วันอาทิตย์หยุดมีเวลาพักจากยูโดหนึ่งวัน ดังนั้นวันนี้ต้องใช้แรงให้เต็มที่ (พักจากยูโด แต่ว่ามีโปรแกรมตีแบต4ชั่วโมง) วันนี้มีเรียน kansetsu waza หรือว่าท่าล๊อคเล็กน้อยก่อนที่เริ่มรันโดริ ท่าที่เรียนวันนี้คือท่ารัดคอ หรือเรียกว่า juji jime คำว่า juji ภาษาญี่ปุ่นแปลว่ากากบาท ความหมายก็คือตอนใช้ท่านี้ มือจะไข้วกันเป็นรูปกากบาทนั้นเอง ท่า juji jimeนี้แบ่งออกเป็น3แบบ แต่ละแบบต่างกันที่การวางมือ

nami-juji-jime เป็นแบบคว่ำลงทั้ง2มือ ทั้ง2มือจะเล็งบริเวณคอคู่ต่อสู้ มือจะไข้วกันบริเวณคอเสื้อ นิ้วโป้งจะอยู่ด้านในปกเสื้อของคู่ต่อสู้จากนั้นก็เป็นการดึงรัด สำหรับวิธีการหนีก็จะเป็นการดันบริเวณข้อศอกคู่ต่อสู้ แล้วหมุนให้หลวม (ขึ้นอยู่กับแขนคู่ต่อสู้ว่าใช้แขนซ้ายทับแขนขวา หรือขวาทับซ้าย ถ้าหมุนผิดด้านจะแน่นขึ้นยิ่งแย่เข้าไปใหญ่) ต้องระวังอยู่อย่างนึง คือเมื่อดันแขนคู่ต่อสู้อยู่เพื่อให้หลวมหากคู่ต่อสู้ล้มตัวลงด้านข้างไม่ว่าจะข้างซ้ายหรือขวา มือที่เราดันอยู่ข้างนึงจะถูกกดทับไว้ (อาจจะกดทับตัวเอง หรือคู่ต่อสู้กดทับอยู่) ทำให้ไม่สามารถดันแขนคู่ต่อสู้ต่อไปได้ ในขณะที่คู่ต่อสู้ก็ยังสามารถใช้ท่าเดิมในการรัดคอได้อยู่ดี

gyaku-juji-jime เป็นแบบหงายทั้ง2มือ ลักษณะท่าจะคล้ายกับ nami-juji-jime แต่หงายมือแทน และนิ้วโป้งจะอยู่ด้านนอกของคอเสื้อคู่ต่อสู้ วิธีการหนีก็จะเป็นแบบเดียวกันกับ nami-juji-jime

kata-juji-jime เป็นแบบมือนึงหงายมือนึงคว่ำ ท่านี้จะง่ายกว่า2ท่าแรก คือมือที่คว่ำจะเล็งบริเวณคอคู่ต่อสู้ ยิ่งติดคอยิ่งดี สันมือจะเข้าไปอยู่บริเวณซอกคอพอดี ส่วนมือที่หงาย ไม่จำเป็นต้องอยู่บริเวณคอเสื้อ อาจจะต่ำลงมาหน่อยบริเวณชายเสื้อแถวหน้าอกก็ได้ จากนั้นก็ออกแรงดึงทั้งสองมือ สำหรับวิธีการหนี kata-juji-jime จะง่ายกว่าหน่อยนึง คือเป็นการดันมืออย่างเดียวก็พอ ไม่ต้องหมุนซ้ายหมุนขวา สำหรับพวกที่ล็อคคอล๊อคแขนแล้ว ถ้าจะดีหากมีจังหวะหนีออกมาได้ ก็ควรจะรีบหนี แล้วไปตั้งต้นกันใหม่ ไม่ควรยื้อนาน เพราะคนถูกรัดยังไงก็เสียเปรียบ

กลับถึงบ้านเจ็บคอคล้ายๆกับอาการจะเป็นหวัดไป3วัน เพราะบางคนที่ซ้อมด้วยดันเอาแขนกดคอกับพื้นลงที่กระเดือกพอดีเลย

คอร์ส Tokushu-ka ผมรู้สึกว่าอาจารย์แต่ละท่านจะสอนเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นท่าใหม่หรือว่า rensoku waza คือการนำ2-3ท่ามาใช้รวมกันแบบต่อเนื่อง ส่วนเวลาในการฝึกซ้อมแต่ละท่าก็แทบจะน้อยมาก แบบว่าเรียนแต่ละวันถ้าไม่จดจำและไปซ้อมนอกรอบต่างหาก 2-3วันถัดไปก็คงจะลืมแน่ๆ

วันนี้ตั้งใจจะรันโดริกับคนตัวใหญ่ๆ เพื่อที่จะได้คุ้นเคย พอเวลาเจอกับคนน้ำหนักเท่ากันจะได้ง่ายในการทุ่ม แต่อาจารย์ดันบอกว่า วันนี้ให้ใช้แต่ท่าพื้นฐานที่เรียนมา ไม่มีการใช้ท่าพิสดาร พวกกลับข้างสลับฝั่ง หรือพวกมือเดียว กับการล้มตัว อย่างนี้ก็เท่ากับว่าเอาเชือกมามัดมือผมดีกว่า เพราะท่าที่ผมใช้ส่วนใหญ่และได้ผลชัวร์ๆก็จะเป็นพวกท่าพิสดารพวกที่อาจารย์ห้ามนี้แหละ แล้วผมจะเอาอะไรไปสู้กับคนน้ำหนักร่วม100กิโล แถมประสบการณ์ยูโดก็เยอะกว่าผมอีกต่างหาก ตอนออกแรงดึงขนาดใช้ขาช่วยในการเหวี่ยงสร้างน้ำหนักแล้วก็ยังไม่สามารถที่จะดึงให้คู่ต่อสู้เสียหลักได้ กลับกันคู่ต่อสู้ดึงทีนึง ผมก็แทบจะปลิวไปตามแรงนั้นเลย ไม่น่าเชื่อว่าน้ำหนักต่างกัน30โล จะเล่นยากขนาดนี้ สรุปวันนี้มีแต่ถูกทุ่มไปหลายครั้ง (ผมว่าถ้าใช้ท่าได้อิสระ ผมคงจะทุ่มได้2-3ครั้งบางแหละ) ไม่เป็นไรพรุ่งนี้พักหนึ่งวัน แล้ววันจันทร์ค่อยไปแก้ตัวกันใหม่

Tomoe nage ท่านี้อาจารย์สอนเหมือนไม่อยากสอนเพราะว่าการฝึกเข้าท่าทำได้ลำบาก วิธีใช้จังหวะแรกต้องเปลี่ยนเป็นจับคอเสื้อทั้ง2ข้าง ขาซ้ายถอยหลัง ขาขวาแต่ไปบริเวณต้นขา หรือแถวๆท้อง(เลือกให้ดีๆละกัน อย่าไปเตะบริเวณที่ทำให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บ เพราะบางครั้งก็อันตราย) จากนั้นยกแขนขึ้นทั้ง2ข้าง ต้องอาศัยความเร็วในการเหวี่ยงด้วยถึงจะเหวี่ยงคู่ต่อสู้ไปด้านหลังได้

ครบ2อาทิตย์แล้วที่มาเรียนคอร์สนี้ ก้าวหน้ามั้ย วันนี้มีคำตอบ เพราะว่าวันนี้ไม่ค่อยมีคนตัวใหญ่มาเรียน ผมก็เลยได้รันโดริกับคนตัวเท่ากันที่เป็นสายดำดู คู่ต่อสู้แรงกดดันผิดกันเยอะครับ จับง่ายดึงง่าย แถมมีงงอีกต่างหาก ว่าทำไมเดี๋ยวผมใช้จับซ้ายที แล้วก็เปลี่ยนมาจับขวา บางครั้งก็จับไขว่ซะเลย แถมมีท่าทุ่มมือเดียวอีกต่างหาก คงเป็นเพราะว่ามีการรันโดริทุกวัน ทำให้การวางแผนท่าที่จะใช้มันเริ่มลงตัว ว่าต้องใช้ท่าไหนก่อน ถ้าไม่สำเร็จก็ค่อยๆเพิ่มระดับเข้าไปเรื่อยๆ ไปจนถึงท่าที่พิศดารมากๆ วันนี้ได้เทคนิคการสวนกลับเพิ่มมาท่านึง จริงๆแล้วเคยรู้มาก่อนหน้านี้ ว่าท่าพวก ไทโอโตชิ จุดอ่อนของคนใช้อยู่ที่ขาที่ยื่นออกมาขวางนั้นแหละ แต่ตะก่อนไม่เคยจับจังหวะได้ มาวันนี้ไม่แน่ใจว่าคู่ต่อสู้ช้าหรือว่าจับจังหวะได้กันแน่ พอคู่ต่อสู้ใช้ออกมาก็จะเป็นการฆ่าตัวตายนั้นเอง ขั้นแรกคือหลบขานั้นออกไปให้พ้น แล้วเอาขาอีกข้างเกี่ยวไอ้ขาเกะกะข้างนั้น พร้อมกับมือนึงดึง มือนึงดัน ก็จะล้มคู่ต่อสู้ได้ง่ายๆ จุดสำคัญที่ทำให้ล้มคู่ต่อสู้ในจังหวะนั้นได้ ก็คงมาจาก คุสุชิอันอ่อนแรงหรือคุสุชิที่ไม่มีพลังของคู่ต่อสู้นั้นเอง

วันนี้ซ้อมรันโดริ4ครั้ง กับ สายดำ4คน(ตัวเท่าๆกัน) เรียกได้ว่าชนะขาดทั้ง4ครั้ง อาศัยลูกฟลุ๊คกับทฤษฏีสุมาอี้ (คือแกล้งทำเป็นเคลื่อนไหวช้า ลอยไปตามแรงคู่ต่อสู้ แต่จังหวะเปิดมาปุ๊ปการเข้าทำต้องรวดเร็วเด็ดขาด ไม่ได้จังหวะแรกต้องต่อจังหวะสอง สาม ตามทันที ถ้ายังไม่สำเร็จ ต้องถอยกลับมาเริ่มกันใหม่) จุดสำคัญอีกจุดนึงคือตอนที่คู่ต่อสู้ใช้ท่าแล้วไม่สำเร็จกำลังจะถอยกลับ ช่วงนั้นถือเป็นโอกาสสำคัญก็ว่าได้ เพราะคู่ต่อสู้บางคนจะไม่ระวังตัวตอนที่ถอยกลับไปตั้งหลัก (ไม่คิดว่าจะโดนตามไปซ้ำ)

สำหรับท่าที่ใช้บริการบ่อยๆ ในการรันโดริ
-Osotogariขวาแล้วเปลี่ยนเป็นsasae tsurigomi ashiทางด้านซ้าย (สำคัญคือต้องพยายามอยู่ชิดๆกับคู่ต่อสู้เข้าไว้ ท่าทุ่มจะคล้ายๆกับท่าของมวยไทย ตอนตีเข่าแล้วหักให้ล้ม)
-ดึงคู่ต่อสู้ลงต่ำ เอื้อมมือไปจับเข็มขัดด้านหลังแล้วใช้ Osotogari ทางด้านขวา จับเข็มขัดได้ร้อยละ80เสร็จทุกราย
-ดึงคู่ต่อสู้ลงต่ำ เอื้อมมือไปจับเข็มขัดด้านหลังแล้วใช้ hikigomi gaeshi (ท่านี้ต้องอาศัยจังหวะล้มตัว ถ้ากล้าๆกลัวๆในการล้มตัว จะไม่มีแรงเหวี่ยงคู่ต่อสู้ให้ไปด้านหลัง)
-เกี่ยวขาเตรียมใช้ uchimata ถ้าไม่สำเร็จก็เปลี่ยนเป็น ko uchi gari (ก่อนจะเปลี่ยนเป็น ko uchi gari ต้องใส่ขาให้ลึกๆเข้าไว้ อาศัยแรงดันสะโพก กับการทำตัวไม่มีกระดูกล้มไปหาคู่ต่อสู้ ตอนล้มจังหวะสุดท้ายที่ถึงพื้น ระวังของสำคัญของตนเองที่อยู่บริเวณเป้ากางเกงด้วย ล้มไม่ดีเจอเข่าน่าจะจุก)
-Uchimata, harai goshi, hane goshi ขึ้นอยู่กับจังหวะพาไป ถ้าใส่ท่าเข้าไปได้เร็ว (บางครั้งอาจใช้ sasae tsurigomi ashi ดึงไปทางด้านซ้ายเป็นตัวล่อให้เสียสมดุลย์ก่อน)
-Tai otoshi แบบด้านข้าง (ด้านหลังใช้ยากเพราะกลับตัวช้าไปหน่อย)
-Osotogari แบบหมุนตัวถอยหลัง (อันนี้ต้องอาศัยแรงเหวี่ยงกับจับจังหวะขาของคู่ต่อสู้ที่ยื่นออกมาตามธรรมชาติ จากการหมุนตัวถอยหลังของคนทุ่ม)
-Ko sotogari (แบบพิเศษต้องใช้แข้งช่วยเกี่ยวไปบริเวณเข่าคู่ต่อสู้ อาศัยหลักคานงัด) เกี่ยวค้างเอาไว้ให้เสียจังหวะถ้าล้มก็ดีไป ถ้าไม่ล้มก็เปลี่ยนเป็น tai otoshi
-Cross grip – yoko otoshi (ท่านี้ต้องจับคู่ต่อสู้แล้ววิ่ง)
-Cross grip – kata guruma (มือที่จับบริเวณคอเสื้อคู่ต่อสู้ ยิ่งดึงลงต่ำเท่าไรก็ยิ่งใช้ท่านี้ได้ง่ายขึ้น)
-Sumi otoshi ท่านี้ใช้ทุ่มไม่ค่อยสำเร็จเท่าไร แค่สร้างแรงกดดันให้คู่ต่อสู้เท่านั้นเอง
-Sode tsurigomi goshi(วนขวา) จับทางด้านขวาปกติ มือซ้ายดึงแขนคู่ต่อสู้แล้ววนขวา (อันนี้อาศัยลูกเผลอของคู่ต่อสู้ที่คิดว่าจะใช้ seionageแบบปกติ ทำให้คู่ต่อสู้เกิดแรงต้านไปในทิศทางตรงข้าม เข้ากับท่า Sode tsurigomi goshi พอดี)
-Sode tsurigomi goshi มือเดียว ใช้ได้ทั้งวนซ้ายและวนขวา จุดสำคัญคืออีกมือนึงหลังหมุนตัวไปแล้วต้องอ้อมไปจับบริเวณเข่าคู่ต่อสู้
-เตะขา ทั้งซ้ายและขวา เตะไปงั้นแหละ เพราะคิดท่าไม่ออก ว่าจะใช้ท่าไหนก็เตะไว้ก่อน

-->ท่าที่ใช้บ่อยมากในการรันโดริ
-->ท่าที่ชอบที่สุด รู้สึกว่าถ้าทุ่มได้จะสวยงาม (อาจจะรู้สึกไปเองก็ได้)




 

Create Date : 14 กันยายน 2554
23 comments
Last Update : 14 กันยายน 2554 20:47:21 น.
Counter : 1233 Pageviews.

 

ขอบคุณครับ ที่มาทักทาย..

 

โดย: bobobull 15 กันยายน 2554 16:04:18 น.  

 

ไปอยู่ที่นู้น ทำอาหารไทยทานเองหรือป่าวค่ะ

 

โดย: nampalo76 15 กันยายน 2554 18:56:10 น.  

 

ไม่ค่อยรู้เรื่องยูโดเท่าไร แต่อยากแวะมาทักทายค่ะ

 

โดย: goodsometimebad 15 กันยายน 2554 22:14:31 น.  

 

แว๊บมาเยี่ยมเยียนบ้านจร้า....อร๊ายยย นักยูโดนินา เค้ากลัวโดนทุ่ม 555

 

โดย: makecharmer 16 กันยายน 2554 2:21:58 น.  

 

ขอบคุณที่แวะไปชมภาพนะคะ
วันนี้เลยตามลิ๊งกลับมาทักทายค่ะ

เล่นยูโดด้วย แสดงว่าเป็นคนแข็งแรงมากเลย
น่ามีรูปมาฝากด้วยนะคะ อยากเห็นน่ะค่ะ

 

โดย: phusanapas 16 กันยายน 2554 5:42:28 น.  

 

ไม่ได้แข็งแรงหรอกครับ (ยังห่างไกลกับคำๆนี้มาก) เดี๋ยวนี้บางครั้ง พอซ้อมติดต่อกัน3-4รอบ ขาก็จะสั่นๆ แค่ยืนยังลำบากเลยครับ

รูปอายกล้องครับ เพราะพุงป่องอยู่

 

โดย: ablaze357 16 กันยายน 2554 8:57:06 น.  

 

555
งั้นซ้อมเยอะ ๆ จะได้เก่ง ๆ อะนะ ลดพุงด้วย

วันถือถ้วยแชมป์จะได้เท่ห์ ๆ ว่าแต่จะแข่งมั่งปะคะนี่

 

โดย: ปันฝัน 16 กันยายน 2554 9:40:43 น.  

 

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมคะ

บรรยายละเอียดมากเลยคะ อยากทุ่มคนบ้างเลย

 

โดย: สง่างามเกินห้ามจิตร์ 16 กันยายน 2554 9:56:23 น.  

 

แข่งครับ เดือนหน้าจะเป็นการแข่งจริงครั้งแรก ชื่องานคือการแข่งสีแดงกับสีขาว (ชื่อแปลกดี เหมือนงานกีฬาสี ต้นตอคงมาจากสายคาดเอว ที่ใช้สีแดงกับสีขาวมั้งครับ) ปีนึงจัดสองครั้ง คือฤดูใบไม้ผลิ กับ ฤดูใบไม้ร่วง เป็นการแข่งที่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าแข่งได้ครับ แต่เรียกได้ว่าเป็นการแข่งในบ้านแบบพี่ๆน้องๆก็ว่าได้ เพราะกรรมการที่ตัดสิน ส่วนใหญ่ก็เป็นอาจารย์ที่สอนผมนั้นแหละ

แข่งวันนั้น คงใส่ชุดของมหาลัย เพื่อเรียกขวัญและกำลังใจ ที่สำคัญชุดที่ใช้สำหรับแข่งน้ำหนักจะเบากว่าชุดที่ใช้ซ้อมอยู่ทุกวัน

หวังว่าคงไม่ตกรอบแรกนะครับ อายแทนมหาลัยเลยครับถ้าตกรอบแรก

 

โดย: ablaze357 16 กันยายน 2554 11:26:52 น.  

 

ขอบคุณครับสำหรับกำลังใจ และขอให้ชนะนะครับ

 

โดย: พ่ออัยยะจัง 16 กันยายน 2554 11:48:48 น.  

 

ชนะแน่นอน สู้ๆ

 

โดย: PJ_supergirl 16 กันยายน 2554 12:37:26 น.  

 

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมที่บล๊อกนะครับ

ตอนเด็กๆผมก็เล่นยูโดเหมือนกันครับ แต่ไปไม่ถึงไหน เสียดายอยู่เหมือนกัน

สู้ๆต่อไปนะครับ

 

โดย: Velvetjack 16 กันยายน 2554 13:42:45 น.  

 

เข้ามาทักทายครับ

 

โดย: นายแว่นธรรมดา 16 กันยายน 2554 14:02:33 น.  

 

สวัสดีค่า แวะมาทักทายค่า ^ ^

 

โดย: Shanti Om 16 กันยายน 2554 16:03:07 น.  

 

หวัดดีค่ะ ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมกันนะคะ เจอนักกีฬาตัวจริงเข้าแล้วสิเรา สู้ๆ นะคะ

 

โดย: ยุ้ย (แม่อัยยะจัง ) 16 กันยายน 2554 16:27:12 น.  

 

:Dอิอิ.......ดีจ้า สู้ สู้ นะ จ๊

 

โดย: konngambanpon 16 กันยายน 2554 22:32:49 น.  

 

ขอให้แข่งชนะนะคะ

 

โดย: ALDI 17 กันยายน 2554 1:55:11 น.  

 

เก่งจังเลยอะ ของหนูคงต้องพึ่งนกหวีดอย่างเดียว

 

โดย: น้องผิง 17 กันยายน 2554 16:47:05 น.  

 

สวัสดีค่ะ

แวะมาเชียร์ค่ะ
ไปทานราดหน้าที่บ้านเอาแรงไว้แล้วนี่คะ

ชักสงสัยเหมือนคห.2เลย ...ทำอาหารไทยทานเองหรือเปล่าคะ

 

โดย: little mouse in big apple 17 กันยายน 2554 18:43:48 น.  

 

แรกๆตอนมาอยู่ใหม่ๆ ไม่เคยคิดถึงอาหารไทยเลย จนกระทั่งอยู่ไปอยู่มา เจอร้านอาหารไทย ก็ลองไปทานดู ครั้งแรกอร่อยมากๆ เพราะว่าไม่ได้ทานอาหารไทยมานาน แต่ครั้งถัดๆพอปากมันเริ่มปรับตัวได้รู้สึกว่า มันไม่ใช่ มันจะออกแนวกระป๋องหรือซองสำเร็จรูปซะมากกว่า หลังจากนั้นแล้วจนถึงปัจจุบัน หากจะทานอาหารไทย ส่วนใหญ่จะทำเอง ยากตรงหาอุปกรณ์วัตถุดิบหน่อยนึง ส่วนวิธีการทำก็หาเอาตามเน็ท ไม่ยากครับ รสชาติออกมาพอใจกว่าไปทานที่ร้านอีกครับ

 

โดย: ablaze357 17 กันยายน 2554 19:50:02 น.  

 

เล่นยูโดเหมือนกันอยากคุยเรื่องยูโดด้วยครับ

 

โดย: ฟิวส์ IP: 58.11.86.5 17 กันยายน 2554 20:50:29 น.  

 

เคยเล่นยูโดหน่อยนึงตอนอยู่มัธยมค่ะ เก่งที่สุดคือโดนทุ่ม 555 ไว้จะคอยเชียร์และรอฟังข่าวดีนะคะ

 

โดย: หมู (meitanteiruss ) 17 กันยายน 2554 21:13:33 น.  

 

แรกๆก็เป็นเรื่องที่เก่งสุดของผมเช่นกัน กับการถูกทุ่ม แต่คนญี่ปุ่นไม่ค่อยจะทุ่มเปล่าๆเท่าไร นอกจากในตอนรันโดริ ถ้าเป็นการฝึกซ้อมทั่วไป ทุ่ม1ครั้งก็ต้องให้เค้าทุ่มกลับเช่นกัน (เรียกได้ว่าไม่เอาเปรียบกัน ในความคิดของคนญี่ปุ่นละมั้ง)

ถึงคุณฟิวส์ ยินดีที่จะคุยกับคุณในเรื่องยูโดนะครับ แต่ ผมไม่รู้ว่าจะติดต่อคุณได้ยังไง ถ้าคุณสะดวกจะติดต่อผม ใน profile มีอีเมล์ที่สามารถติดต่อผมได้ครับ

 

โดย: ablaze357 17 กันยายน 2554 21:51:38 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.