Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
12 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
พักยกRound4 ประสบการณ์ซ้อมยูโดกับเด็กญี่ปุ่นม.ปลาย + ซ้อมเนวาซะ

ประสบการณ์ซ้อมยูโดกับเด็กญี่ปุ่นม.ปลาย + ซ้อมเนวาซะ

ช่วงกลางๆเดือน นักเรียนมากันไม่ค่อยจะลงตัวเท่าไร คือนักเรียนเดือน1จะมีประมาณคนหรือ2คน ส่วนเดือน2+เดือน3 บางวันก็จะมีมาประมาณ2คน(อย่างน้อยก็ผม1คนละครับ) ส่วนclass Tokushu-ka มีมาแน่นอนทุกวันประมาณ8คนขึ้นไป ทำให้นักเรียนเดือน2กับ3 บางวันต้องปรับclass ไปเรียนกับพวก Tokushu-ka ซึ่งจะมีการรันโดริกันทุกวันอย่างน้อย2รอบขึ้นไป ถ้าวันไหนเลือกคนซ้อมได้ ก็จะสนุกกับการเลือกคนมาทุ่ม แต่บางวันก็เลือกคนซ้อมไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่นวันนี้ เลือกคนซ้อมไม่ได้ เป็นลักษณะวนตามคิวในการซ้อมแต่ละท่า แล้วก็จบด้วยการรันโดริ สรุปแล้วหน้ามือเป็นหลังตีน เละไม่เป็นท่า เจอคุณลุงสายดำอายุประมาณ40กว่าๆแต่ว่าตัวโตกว่าผมเยอะ ไม่ได้ถามดูเหมือนกันว่าน้ำหนักเท่าไรแต่คิดว่าคงจะประมาณ90-100 (คงไม่น่าจะเกิน100)

จุดเด่นของคุณลุงที่ผมสัมผัสได้คือมือขามั่นคง เริ่มต้นผมพยายามดึงความสนใจไปที่มือเพื่อที่จะหาจุดอ่อนบริเวณอื่น แต่ว่าคุณลุงคนนี้มั่นคงมากๆ ไม่ต้องมามัวแต่หลบว่าใครจะจับคอเสื้อแขนเสื้อได้ก่อน แขนซ้ายของคุณลุงที่จับคอเสื้อผมอยู่สะบัดยังไงก็ไม่หลุด จะวนซ้ายวนขวาก็ไม่หลุด ขาขวาผมจะพยายามเข้าไปเกี่ยวขาซ้ายเพื่อทำลายจังหวะเผื่อคุณลุงจะเป็นกังวลกับขาบ้างจะได้มีจังหวะทุ่ม แต่ก็เกี่ยวเข้าไปไม่ถึงแถมโดนทุ่มกลับด้วยseoinage ถัดมาใช้ท่า tai-otoshi ก็ดึงไม่ไป เหมือนยกโอ่งลายมังกรอยู่ คุณลุงเข้านิ่มๆด้วยท่า seoinage ตามมาด้วยการถูกทุ่มนิ่มๆเช่นกัน จะใช้ท่า sode-tsurigomikoshi ก็ยกแขนขวาของคุณลุงไม่ขึ้น(ไม่น่าเชื่อว่าจะหนักมากจริงๆ) จะใช้ o-sotogariก็เข้าไม่ถึง ลองงัด2ท่าแปลกที่คิดว่าอาจจะทำให้คุณลุงหวั่นไหวได้ คือท่า morote-seoinage ก็ยังไม่สามารถทุ่มได้ สุดท้ายท่า o-guruma เกือบจะสำเร็จแต่แรงดึงในจังหวะแรกน้อยไปหน่อยพอหมุนตัวกลับมาก็เจอกับทุ่มด้วยท่าseoinageเข้าไปอีกครั้ง ขาดท่า tomoe nageกำลังจะลองใช้ดูแต่หมดเวลาซะก่อน

สรุปแล้วหมดเวลา3นาทีโดนทุ่มด้วยท่า seoinage ไป3ครั้งแบบทำอะไรไม่ได้เลย(ถ้าหากเป็นการแข่งก็อิปป้งอย่างชัดเจนทั้ง3ครั้งละครับ) อาจารย์ที่ดูอยู่ข้างๆยังชมแบบประชดเลยว่าอุเกมิสวย(แต่ถ้าสวยจริงคงต้องยกเครดิตให้กับคุณลุงคนทุ่มครับเพราะระยะในการล้มการดึงมือช่วยเซฟต่างๆก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดีทีเดียว) หากมีโอกาสคงต้องรันโดริกับคุณลุงคนนี้บ่อยๆเผื่อจะหาจุดอ่อนและเพื่อเป็นการอัพเกรดตัวเองขึ้นมาบ้าง แต่ก็ได้ความรู้เพิ่มมา2อย่างคือ ประการแรกเรื่องมือมั่นคงจะส่งผลให้ขาหรือตัวคู่ต่อสู้เข้ามาไม่ถึง ประการที่สองการซ้อมรันโดริไม่ได้ซักแต่ว่าทำยังไงก็ได้ให้ทุ่มคู่ต่อสู้ได้ แต่ว่าหลังจากที่ทุ่มได้แล้วต้องอยู่ในลักษณะการยืนที่มั่นคงและไม่ล้มตามคนที่ถูกทุ่มถึงจะปลอดภัยทั้งคนทุ่มและคนถูกทุ่ม




หลังจากที่กระดูกและเอ็นข้อศอกขวามีปัญหา ผมก็แทบจะไม่ได้ไปซ้อมยูโดที่มหาลัยเป็นเวลา3เดือน (มีไปซ้อมครั้งนึง อาจารย์รู้เก็บชุดยูโดไปเลย) ช่วงนี้เข้าสู่ช่วงปิดเทอมฤดูร้อนของญี่ปุ่นพอดี เรื่อง3เดือนตามที่อาจารย์บอกให้รอให้แขนหายก่อน (จริงๆผมแอบไปซ้อมที่โคโดกังแทนในช่วงที่มหาลัยไม่ให้ผมซ้อม) ก็เลยมาพอสมควรแล้ว วันนี้กลับไปซ้อมที่มหาลัย มหาลัยของผมมันจะมีโรงเรียนม.ปลายในเครือรวมอยู่ด้วย(สถานที่ติดกัน) สนามยูโด โรงยิมสนามเทนนิส เลยเป็นการแบ่งกันใช้ จริงๆเป็นพี้นที่ของมหาลัยก็จริง แต่รู้สึกว่าคนที่มีสิทธิ์ใช้ก่อนคือนักเรียนม.ปลาย เวลาที่เหลือนอกจากนี้ค่อยเป็นเด็กมหาลัยใช้ แต่สนามยูโดไม่มีปัญหาเท่าไร เพราะว่ามันมีสองสนาม ส่วนใหญ่นักเรียนม.ปลายจะใช้สนามด้านซ้าย ส่วนมหาลัยใช้สนามด้านขวา

ทั้งวัน(จันทร์)และเวลา(3ชั่วโมงตั้งแต่ 9โมงเช้าถึงเที่ยง)ที่ซ้อมในวันนี้ ตรงกันกับเวลาเด็กม.ปลายซ้อมพอดี เด็กมหาลัยมี2คนเอง(ผมกับประธานชมรม) ส่วนเด็กม.ปลายมี4คน คนซ้อมน้อยไปหน่อยก็เลยคุยกับอาจารย์ของเด็กม.ปลายว่ามาซ้อมร่วมกันมั้ย น่าจะได้ความรู้ยูโดเพิ่มเติมบ้างทั้ง2ฝ่าย โดยตารางการฝึกซ้อมให้ใช้ตามเด็กม.ปลายทั้งหมด

ตั้งแต่เกิดมาเพิ่งจะเข้าใจถึงคำว่าเหนื่อยมันเป็นอย่างนี้นี่เอง เหนื่อยจนกลัวว่าหัวใจจะหยุดเต้นเอาดื้อๆ เริ่มต้นจากการวอร์มอัพ ยึดเส้นยึดสาย จุดนี้ไม่เท่าไรผ่านไปได้ด้วยดี ต่อมาเป็นการจับคู่อุจิโกมิ ตามสบายอยากใช้ท่าอะไรก็ใช้ คนละ10ครั้ง วนจนครบทุกคนนับเป็น1เซ็ท ให้ทำทั้งหมด5เซ็ท รวมแล้วคนนึงก็ต้องทำอุจิโกมิประมาณ250ครั้ง หลังจากเสร็จครบทั้ง5เซ็ทแล้ว ก็เป็นการฝึกอุจิโกมิแบบเคลื่อนไหวอีก5เซ็ท ถึงได้เข้าใจว่านักกีฬายูโดส่วนใหญ่จะทำซ้อมทำอุจิโกมิอย่างน้อยที่สุดวันละ500ครั้งมันเป็นแบบนี้นี่เอง ไม่แน่ใจว่าถ้าจำนวนคนซ้อมเกิดมีมากกว่านี้ซักเท่าตัวการซ้อมยังเป็นการวนครบทุกคน และ5เซ็ทอยู่รึเปล่า ถ้าเป็นอย่างนั้นคงจะยิ่งไปกันใหญ่

หลังจากทำจนครบเรียบร้อยแล้วก็มีการพักนิดหน่อย นิดหน่อยจริงๆ ผมว่าไม่ถึง3นาที แล้วก็เริ่มซ้อมเนวาซะกัน การซ้อมเหมือนจะเป็นลักษณะว่าทุกคนมีพื้นฐานกันพอตัวอยู่แล้ว ให้ซ้อมเข้าคู่กันเลย แต่ก็ยังมีอาจารย์ค่อยให้คำแนะนำ(บางครั้งก็ด่า)อยู่อย่างใกล้ชิด (อาจารย์ในสนามตอนนี้มีอยู่ถึง4คน 3คนเป็นอาจารย์ของม.ปลาย อีกคนเป็นอาจารย์ของมหาลัยผม) เวลาที่ใช้คือรอบละ3นาทีพัก20วินาที วนจนครบทุกคนถือเป็น1เซ็ท ซ้อมกัน3เซ็ท ระหว่างเซ็ทจะมีการพักนิดหน่อย เนวาซะแบบมีอะไรก็งัดออกมาใช้ให้หมดผมไม่ได้ซ้อมมานานมากแล้ว จะซ้อมก็แต่การเข้าท่าที่คู่ซ้อมอยู่เฉยๆ กับซ้อมแบบทั้งคู่ดิ้นกันเต็มจำไม่ได้แล้วว่าซ้อมครั้งสุดท้ายเมื่อไร ที่แน่ๆการใส่ท่าจากจุดต่างๆแทบจะลืมไปหมดแล้ว แต่ความทรงจำก็ค่อยๆกลับมาทีละนิดจากการซ้อมกับเด็กม.ปลายแต่ละรอบ แต่ละคนตัวไม่ใหญ่เท่าไร (เรียกว่ายังโตไม่เต็มที่) ทำให้แรงยังไม่สามารถสู้กับเด็กมหาลัยได้ แต่ว่าเทคนิคซ้ำซากที่ฝึกอยู่กันเป็นประจำทุกวันก็พอจะแก้ไขจุดบกพร่องเรื่องแรงไปได้บางพอสมควร เนื่องจากเป็นการซ้อมกับสายขาว ผมจึงตัดท่าจำพวกล๊อคหักแขน หักขา หักข้อศอก พวกท่า jujikatame หรือว่า armbar ออกไปให้หมด (ถ้าเจอกับสายดำผมจัดเต็มใส่ครบทุกรายการ)

จุดเด่นของเด็กพวกนี้ คือ การใช้คอเสื้อกับมือในการล๊อคคอ ทำได้ดีมากทีเดียว ส่วนขาก็เป็นไปโดยอัตโนมัติในการรัดตัวคู่ต่อสู้เอาไว้ ในขณะที่ผมกำลังเน้นบริเวณแขนเพื่อทำการเข้าท่าต่างๆเด็กพวกนี้ก็จะปัดป้องไปตามเรื่องตามราว พอผมเข้าท่าได้เรียบร้อย ขาของเด็กพวกนี้ก็มารัดตัวเกะกะผมตั้งแต่เมื่อไรไม่รู้ ทำให้ต้องไปเริ่มกันใหม่ เนื่องจากการฝึกที่ซ้ำซากมาจากอาจารย์คนเดียวกันทำให้จุดอ่อนและจุดแข็งของทุกคนจะคล้ายๆกัน แบบว่าถ้าผมใช้ท่านี้กับคนแรก คนที่สองก็จะได้ผมเช่นเดียวกัน ไปจนครบ4คน ท่าที่ผมใช้กับทุกคนแล้วได้ผลคือท่า kuzure kesa gatame โดยเริ่มล่อให้เข้ามาจากท่าเต่าก่อน พอผมขดตัวเป็นท่าเต่าปุ๊บทุกคนจะตอบสนองด้วยกันเอามือเข้ามาทางข้อศอกเพื่อที่จะดึงคอเสื้อ แล้วก็จะโดนผมหนีบพร้อมกับหมุนตัวไปเป็นท่า kuzure kesa gatame อย่างง่ายดาย บังเอิญท่านี้ไปเข้าตาอาจารย์ของเด็กม.ปลายพอดี หลังจากจบเซ็ทที่2 ก็มีการอธิบายเกี่ยวกับท่าที่ผมใช้ว่า ต้องระวังและแก้จุดไหนบ้าง และมีการสอนเพิ่มเติมให้อีกหนึ่งท่าเกี่ยวกับการจัดการท่าเต่าของคู่ต่อสู้ ก็ถือว่าดีครับเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง แต่หลังจากเซ็ทที่สอง คนอื่นผมไม่รู้ว่าเป็นยัไง แต่แรงผมก็แทบไม่เหลือแล้ว ก็ได้แต่ประคองตัวให้การซ้อมผ่านไปโดยหัวใจไม่หยุดเต้น

หลังจากการซ้อมเนวาซะพักอีกหน่อยนึง ก็เริ่มกลับมาฝึกการทำอุจิโกมิแบบเคลื่อนไหวอีก5เซ็ท การฝึกอุจิโกมิในรอบแรก ผมเลือกใช้ท่าที่ผมชอบ ส่วนใหญ่จะเป็นท่าที่ต้องหมุนตัว เช่นท่า seoinage ippon-seoinage uchimata harai-goshi tai-otoshi แต่การฝึกรอบนี้ท่าส่วนใหญ่ที่ผมเลือกจะต้องเน้นท่าประหยัดแรง ก็เป็นจำพวกท่า ashi-waza หรือท่าที่ใช้จำพวกขา เช่น o-sotogari de-ashibarai ko-uchigari

ต่อจากนี้ เป็นเวลาหลักของการซ้อมแล้วมั้ง คือการรันโดริ เวลาที่ใช้คือรอบละ3นาทีพัก20วินาที วนครบคน แต่ว่าเหลือแค่2เซ็ท สิ่งที่ผมเพิ่งสังเกตุคือทุกคนยกเว้นผมเป็นยูโดที่ใช้จับมือซ้ายกันหมด ประธานชมรมของมหาลัยก็จบม.ปลายจากโรงเรียนนี้ในเครือเช่นกัน สงสัยแม่พิมพ์เดียวกันเลยออกมาซ้ายกันหมด ผมไม่ค่อยชอบสู้กับคนที่จับซ้ายสักเท่าไร แต่วันนี้เลือกไม่ได้ ตามความคิดผมการเจอกับคนจับซ้าย ท่าทุ่มต่างๆของผมจะเหลือไม่เยอะเพราะว่าต้องมาเจอกับการเกะกะของมือซ้ายของคู่ต่อสู้ ท่าที่เห็นผลที่สุดเห็นจะเป็นท่า อุจิมาตะ ส่วนท่าอื่นก็แล้วแต่จังหวะพาไป

อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่าทุกคนมาจากพิมพ์เดียวกัน เนวาซะก็ออกมาแนวเดียวกัน ส่วนรันโดริก็ยังออกมาโทนเดียวกันหมด ท่าที่ทุกคนใช้บ่อยที่สุดคือท่า seoinage (ในการรันโดริแต่ละครั้งผมว่า คู่ต่อสู้ผมใส่ seoinage ไม่ต่ำกว่า10ครั้ง)แถมเร็วอีกต่างหาก อาจเป็นเพราะผมหมดแรงแล้วก็ได้ เลยตอบสนองช้า ไม่ทันดูแป็บเดียวก็จะมาอยู่ในท่า seoinage ถึงแม้ว่าคู่ต่อสู้จะไม่หมดแรง แต่ว่าก็คงไม่เต็มร้อยเหมือนกัน ยิ่งใส่ท่า seoinage บ่อยๆเข้ามันก็ยิ่งเพิ่มความเหนื่อยเข้าไปใหญ่ มีบางครั้งที่ผมเจอseoinageแล้วเซไปบ้างเล็กน้อย แต่ว่าการใช้ seoinageทั้งหมดของทุกคนไม่สามารถทุ่มผมลงไปได้แม้แต่ครั้งเดียว (ถึงจะเร็วแต่แรงต้านมันผิดกันเฟ้ย) 2จุดที่ทำให้seoinage ไม่สัมฤทธิ์ผลคือ จุดแรกkuzushiเพียงเล็กน้อยเท่านี้แทบจะไม่สะเทือน จุดที่สองแขนขวาของผมกดแขนซ้ายของคู่ต่อสู้ทุกคนเอาไว้ทำให้แรงดึงก่อนการเข้าท่าseoinage เหลือไม่ถึงครึ่ง

จุดเล็กน้อยที่สำคัญของการจับเมื่อเจอกับคู่ต่อสู้จับซ้าย คือ ไม่ว่าจะเป็นผมหรือคู่ต่อสู้ ควรจะให้แขนอยู่ด้านใน(แขนคู่ต่อสู้อยู่ด้านนอก) จุดนี้ผมคิดว่าอาจารย์เด็กม.ปลายก็คงเคยบอกไว้แล้ว เพราะว่าผมพยายามจะจับให้แขนผมอยู่ทางด้านใน ฝั่งตรงข้ามก็จะตวัดหรือทำอะไรก็ได้ให้แขนของคู่ต่อสู้อยู่ทางด้านในเช่นกัน (เหมือนกับการเล่นโอเทโล่ ที่ต่างคนก็อยากได้เข้ามุม) ในเมื่อแขนผมไม่สามารถแย่งเข้าไปอยู่ด้านในได้แล้ว ผมก็ต้องใช้อีกวิธีคือเอาข้อศอกกดทับแขนของคนที่อยู่ด้านใน (ถือเป็นการแลกกันว่าถ้าอยากอยู่ในก็ต้องให้ผมทับเอาไว้) พอผมเอาศอกทับเอาไว้ผมก็ต้องเสียจังหวะการใช้ท่าทุ่มไปหลายท่าเหมือนกัน แต่ยังไงซะวันนี้ก็หมดแรงแล้วของแค่ประคองตัวให้จบการซ้อมวันนี้ได้เป็นพอ

ใน4คนมีคนนึงที่ตอนรันโดริอยู่ อาจารย์ตะโกนบอกมา(เหมือนเป็นกองเชียร์เลย)ว่าให้ใช้การดึงให้เป็นประโยชน์ก่อนการใส่ท่าอื่นนอกจากท่าseoinage ทีนี้ม.ปลายว่านอนสอนง่ายดึงผมเป็นว่าเล่นเลย ก็รอดูว่าจะใช้ท่าไหนนอกจากseoinage สรุปคือพยายามจะใช้ ashi-waza หรือท่าจำพวกขาโดยเฉพาะ o-sotogari ตอนจากนั้นอาจารย์อีกคนที่อยู่ใกล้ๆ ก็เดินเข้ามาทางด้านหลังผม เหมือนกับว่าจะบอกลูกเล่นอะไรเพิ่มเติม แต่ว่ากลัวผมจะรู้ไปแล้วตั้งรับถูก ผมก็ไม่ได้ยินและไม่เห็นว่าส่งสัญญาณอะไรกัน ที่แน่ๆทำไมไม่มีใครเชียร์ผมบ้างเลย อาจเป็นเพราะว่าผมไม่มีแรงพอจะที่ใส่ท่าถี่ๆได้เลยทำให้อาจารย์ต้องเชียร์เด็กตัวเองอย่างออกนอกหน้า ไม่ได้ยินแต่โดยเซนส์พอจะรู้ว่ากำลังจะทำอะไร เรื่องก็คือให้ใช้ o-sotogari หลอกครั้ง2ครั้งแล้วเปลี่ยนไปเป็น o-uchigari ก็เป็นท่าที่ดีแต่ว่าขาซ้ายของผมไม่ล้มง่ายๆหรอกครับ แล้วเวลาซ้อมเซ็ทสุดท้ายรอบสุดท้ายก็หมดลงไป

จากนี้สงสัยว่าแต่ละคนยังไม่หมดแรงเลย นักเรียนม.ปลายเลยถามว่าฝึกกล้ามเนื้อมั้ย จะได้ครบตามหลักสูตรการซ้อมของแต่ละวัน ไอ้ผมก็อยากรู้ว่าจะฝึกยังไง ก็ลองดูก็ได้ คงไม่มีอะไรเหนื่อยกว่าที่ผ่านๆมาแล้ว ก็เริ่มจากกระโดดกระต่างขาเดียววนไปรอบสนามยูโด2รอบสำหรับขาซ้าย แล้วก็2รอบสำหรับขาขวา ต่อจากนั้นแบกคนนึงไว้ข้างหลังแล้วก็วิ่งไปรอบสนาม2รอบ ครบ2รอบแล้วก็เปลี่ยนเป็นอุ้มคนนึงมาเป็นด้านหน้าแล้วก็วิ่ง2รอบเหมือนเดิม คลานเป็นหมาไปกลับ กระโดดคล้ายๆกบไปกลับ และอื่นๆที่ทำไปแล้วก็ลืม(ไม่อยากจะจำด้วยซ้ำไป)พวกนี้มันเสริมสร้างกล้ามเนื้อจริงๆเหรอผมยังสงสัยอยู่ แต่ที่แน่ๆคืนนี้นอนหลับเป็นตายชัวร์ๆ จะหมดแล้วครับ เหลืออีก2อย่างวิดพื้น ผมถามทันทีว่ากี่ครั้งดี คำตอบคือ 50 ครั้ง ในใจผมคิดเลยว่าจะบ้าเหรอถ้าแรงเต็มๆอยู่ไม่มีปัญหาเลย แต่ว่าตอนนี้จะยืนยังเหนื่อยเลยจะเอาแรงที่ไหนมาวิด แต่ในเมื่อคุณวิดได้ ผมก็จะทำใจวิดให้ครบตามคุณเสนอมาละกัน แต่อย่างน้อยก่อนวิดพื้นขอถอดชุดยูโดออกนะ เพราะว่าชุดยูโดเปียกเหงื่อมันก็คล้ายๆกับถังใส่น้ำหนึ่งถังแหละครับ สุดท้ายคือซิดอัพ 50 อันนี้ง่ายครับ เรื่องซิดอัพผมทำปกติก่อนนอนวันละ150ครั้งอยู่แล้ว

ถือเป็นประสบการณ์ที่ดี และเพิ่งได้รู้ว่าเด็กม.ปลายซ้อมกันจริงจังขนาดนี้เลยเหรอ ในขณะที่เด็กมหาลัย ซ้อมนิดหน่อยอยากพักก็พัก เพราะว่าอาจารย์และรุ่นพี่ใจดี(มากจนเกินไปในบ้างครั้ง) หลังจากอาบน้ำเปลี่ยนชุดกำลังจะเอาก้อนเนื้อที่ไม่มีแรงกลับบ้าน เจอกับเด็กม.ปลายที่ซ้อมด้วยกันวันนี้ ถามว่าพรุ่งนี้มาซ้อมด้วยกันอีกมั้ย ถึงได้รู้ว่ามันซ้อมกันขนาดนี้ทุกวัน มิน่าละแต่ละคนตัวถึงไม่โตเท่าไร โชคดีที่ชมรมตกลงกันไว้ก่อนหน้าที่จะปิดเทอมว่า ซ้อมอาทิตย์ละ2ครั้งก็พอ ผมรีบตอบไปว่ามาซ้อมอีกทีก็คือวันพฤหัส ถ้ามีโอกาสได้ซ้อมร่วมกันอีกก็ขอความกรุณาด้วยละกัน กลับมาถึงบ้านเช็คดูว่าได้แผลมากี่แผล บริเวณนิ้วมือ แผลเล็กๆน้อยๆแต่น่ารำคาญประมาณ5แผล เข่าทั้ง2ข้างเป็นแผลถลอกอย่างน่าเกลียดโดยเฉพาะฝั่งซ้าย และก็บริเวณขาอีกฝั่งละแผล คิดว่าแผลที่ขาทั้งหมดเกิดจากตอนซ้อมเนวาซะที่ต้องใช้เข่าแทนขา (แผลถลอกโดนน้ำแล้วแสบใช้ได้ทีเดียว)
จากที่ซ้อมในวันนี้ทำให้ผมต้องหาอะไรทำเพื่อเป็นการเพิ่มความอึดให้สามารถซ้อมประมาณ3ชั่วโมงได้อย่างไม่เหนื่อยขนาดนี้ ก็คงไม่พ้นการวิ่งรอบดึกประมาณ40-50นาทีแหละครับ อาทิตย์หน้ามีวันหยุดโอบง6วัน ผมจะไปวิ่งมันทุกวันเลย ดูว่าจะอัพเกรดความอึดได้ขนาดไหน




และแล้ววันพฤหัสก็มาถึง ใจนึงก็อยากซ้อมกับเด็กม.ปลาย อีกใจนึงก็กลัวจะตายก่อนวันอันควร ด้วยโรคหัวใจหยุดเต้นเพราะเหนื่อยเกินไป แต่ยังไงก็ตามตกลงกันชมรมไว้แล้วว่าซ้อมอาทิตย์ละ2ครั้งก็ต้องเป็นไปตามนั้น ไปถึงมหาลัย ลุ้นอยู่ว่าวันนี้จะเอายังไง สรุป เด็กม.ปลายเริ่มหยุดโอบงตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงอาทิตย์หน้าวันพฤหัสถึงจะกลับมาซ้อมใหม่ รอดตัวไป วันนี้ชมรมก็คนน้อย มากันแค่3คน คนที่3ผมเพิ่งเจอวันนี้เป็นครั้งแรก(เพราะว่าผมหายไปรักษาแขนเป็นเวลา3เดือน) เป็นเด็กปี1 แต่ดูจากรูปร่างแล้วต้องเป็นผู้เยี่ยมยุทธ์ในวิชายูโดแน่ๆ (หุ่นของนักยูโดญี่ปุ่นที่พอจะมีฝีมือแล้วมันจะออกแนวอ้วนๆป้อมๆหน่อย ส่วนใหญ่จะสังเกตุได้ง่าย) ไม่ผิดจริงๆเปลี่ยนชุดเรียบร้อยก็เป็นสายดำตามคาด แล้วฝีมือจะขนาดไหน อยากลองดูจัง
วันนี้ซ้อมตามแบบฉบับเด็กมหาลัย เน้นพักเป็นหลัก เหนื่อยเมื่อไรพักทันที เริ่มจากวอร์มอัพ ตามอิสระประมาณ15นาที แล้วก็เริ่มอุจิโกมิกันเลย วนกัน3คนนับเป็น1รอบ 3รอบนับเป็น1เซ็ท ซ้อมแค่2เซ็ท ตอนเป็นหุ่นให้เค้าซ้อมจะรู้ได้เลยว่าใครมีฝีมือประมาณไหน เพราะว่าการดึงการทรงตัวก็สามารถที่จะบอกได้พอสมควร

ต่อจากนี้เป็นเนวาซะ ที่ทำให้ผมกลายเป็นทารกไปเลย เด็กปี1คนนั้นดูก็รู้ว่าต่อให้ผมเยอะมากๆและคิดว่าปี1คนนั้นยังใช้แรงไม่ถึงครึ่งนึงด้วยซ้ำ แต่ผมก็ยังทำอะไรไม่ได้เป็นชิ้นเป็นอันเพราะว่าคอ ขา เข่า เก็บได้อย่างมิดชิดทีเดียว แถมยังมีเรื่องขาที่มาเกะกะอีกต่างหาก สุดท้ายผมก็เจอsankaku jimeเข้าไปเป็นอันจอด อีกยกนึงจากท่าเต่าของเด็กปี1ผมลองใส่ jujikatameดูก็ได้ผลเหมือนกันครับ(คงเป็นเพราะว่าประมาทเล็กน้อยและคิดไม่ถึงว่าผมจะใส่ท่านี้เข้าไป) แต่จังหวะสุดท้ายผมไม่กล้าที่จะดึงแขนเค้าลงมาเท่าไหร่เพราะกลัวว่าจะเจ็บซะก่อน หลังจากซ้อมวน2ครั้ง2รอบเรียบร้อยแล้ว ทุกคน(2คนสายดำ กับอาจารย์1คน)ลงความเห็นว่าต่อไปนี้ต้องแบ่งเวลาสอนผมเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนวาซะ โดยเริ่มจากวันนี้เลย

วันนี้เลยได้เรียนเนวาซะมา2ท่า โดยแก้จากท่าเต่าซึ่งเป็นท่าพื้นฐานหลักๆ ท่าแรกคือการจับตัวคู่ต่อสู้จากท่าเต่ามาใส่ท่า yokoshiho gatame จุดสำคัญตอนแรกคือเรื่องขา แล้วก็แรงกดบริเวณหน้าอก สุดท้ายก็คือเรื่องของแขน อีกท่าที่ได้เรียนในวันนี้ก็คือการท่าจัดการท่าเต่าไปเป็นท่าล๊อค sankaku jime อันนี้คิดว่าจุดสำคัญอยู่ที่การใช้ขาในการล๊อคและหนีบบริเวณคอคู่ต่อสู้ ถ้าทำดีๆหายใจแทบไม่ออกเลยครับ

ช่วงพักมีเวลาคุยกันเล็กน้อย เพิ่งรู้ว่าเด็กปี1คนนี้ก่อนที่จะมาเข้ามหาลัย ตอนม.ปลายก็อยู่โรงเรียนเดียวกับเด็กม.ปลายที่ซ้อมด้วยกันตอนวันจันทร์นั้นแหละครับ แถมตอนม.ปลายยังเป็นถึงประธานชมรมยูโดอีกต่างหาก มิน่าละถึงรู้สึกว่าคุ้นๆเกี่ยวกับเรื่องการเกะกะของขาตอนซ้อมเนวาซะ

ต่อจากนี้ก็พัก (อีกแล้วครับ) เด็กมหาลัยเน้นเรื่องของการพักจริงๆ แล้วก็เป็นการรันโดริ แต่ว่าวันนี้เป็นการรันโดริโดยเน้นตัวบุคคล คือ เน้นที่ตัวประธานชมรม เพราะว่าเดือน9คุณประธานจะลงแข่งในส่วนของภาคคันโต คือประธานคนเดียวที่ไม่เปลี่ยนออกส่วนคนอื่นให้เปลี่ยนตัวกันเข้าไปรันโดริเมื่อหมดเวลา รันโดริ ใช้เวลารอบละ3นาทีพัก30วินาที

รอบแรกทำได้ไม่ดีเท่าไร เพราะว่าเจอคู่ต่อสู้จับทางซ้ายอีกแล้ว มัวแต่พะวงในเรื่องมือจนช่วงท้ายๆ ผมก็เปลี่ยนมาใช้จับซ้ายบ้างจะได้ไม่ต้องกลัวเกะกะเรื่องมือ พอเปลี่ยนมาจับซ้าย ขาที่เคยมั่นคงก็เริ่มเสียการทรงตัว แล้วก็โดนท่าo-sotogari ปัดล้มลงไปก่อนหมดเวลา จากนั้นผมก็ได้พักยาวพอสมควร กว่าจะวนมาอีกรอบนึง

รอบที่สอง คู่ต่อสู้น่าจะแรงเกือบหมดแล้ว ทีนี้กลับกันเลยครับ เหมือนกับตอนซ้อมกับเด็กม.ปลายที่ผมหมดแรงแต่ว่าคราวนี้กลับกัน ผมยังแรงดีอยู่ ส่วนอีกฝั่งเป็นสายดำที่มีแรงแค่เอาไว้ยืนอย่างเดียว ทำให้รอบนี้ผมทุ่มได้ถึงหลายครั้ง แต่ครั้งแรกยังไงก็ต้องเป็นท่า o-sotogariที่ผมเสียท่าไปในรอบแรก ถือเป็นการเอาคืน คราวนี้ผมใช้แต่ที่ผมถนัดคือการจับขวาอย่างเดียว ขาซ้ายของคู่ต่อสู้พยายามเข้ามาเกี่ยวบริเวณหว่างขาของผม แต่ว่ารอบนี้ร่างกายผมพร้อมกว่า ขาซ้ายของคู่ต่อสู้ที่พยายามจะเข้ามาเกี่ยวผมจะรับด้วยบริเวณเข่าขวาตลอด ยิ่งตวัดเข้ามาแรงหรือเร็วมากเท่าไร เจอกับเข่าของผมเข้าไปทุกครั้งน่าจะเจ็บพอสมควร (ขอโทษครับท่านประธาน ตอนแข่งไม่มีรุ่นพี่รุ่นน้องที่สำคัญผมไม่ได้เป็นคนเตะนะครับ คุณพี่เป็นฝ่ายเอาขาเข้ามาหาเข่าผมเองครับ) ที่ผมถูกใจที่สุดในการแข่งรอบนี้ก็คือท่า sumi otoshi อาจารย์ที่โคโดกังเคยสอนผมนอกรอบครั้งนึง ไม่คิดว่าจะเอามาใช้ได้จริงๆ แต่ว่าการใช้ครั้งนี้ ไม่ถึงกับล้ม ขาดเรื่องความลงตัวในจังหวะการก้าวขา กับเวลาการใส่แรงเข้าไปอีกเล็กน้อย แต่ก็ทำให้คู่ต่อสู้และคนที่ดูอยู่รอบนอกฮือฮาได้พอสมควร ว่าผมสามารถใช้ท่านี้ได้ด้วยเหรอ ที่ชอบถัดมาก็เป็นท่า sode tsurikomi goshi โดยใช้แขนขวาข้างเดียว ใช้แรงของการเหวี่ยงเล็กน้อยตามด้วยแรงตูดอีกหน่อยนึง อันนี้ก็เรียกเสียงเชียร์ได้อีกเหมือนกัน เพิ่งรู้ว่าเล่นกับคนหมดแรงมันสนุกอย่างนี้นี่เอง ก่อนเวลาหมดสังเกตุได้ว่าคู่ต่อสู้ก้มตัวต่ำกว่าปกติที่น่าจะเป็นเล็กน้อย พอผมมองไปเห็นเข็มขัดด้านหลังก็คิดถึงท่า hikikomi-gaeshi ขึ้นมาทันที จำได้อีกว่าเมื่อปีที่แล้วผมเคยทุ่มคนๆนี้ด้วยท่า tomoenage มาแล้วครั้งนึง วันนี้ก่อนหมดเวลาขอใช้ท่า hikikomi-gaeshi ดูซักครั้งละกัน ในขณะที่เวลาเหลืออยู่3วินาที ตามคาดหลังจากใช้แขนดึงคู่ต่อสู้ให้ก้มต่ำลงมาอีกเล็กน้อยก็สามารถจับเข็มขัดด้านหลังของคู่ต่อสู้ได้อย่างสบายๆ แล้วก็ทิ้งตัวใส่ขาเหวี่ยงคู่ต่อสู้ไปด้านหลัง

วันนี้เสียดายไม่ได้รันโดริกับ สายดำปีหนึ่ง แต่ไม่เป็นไร หลังจากหยุดยาว1อาทิตย์ อาทิตย์หน้าคงได้เจอกันแน่ๆทั้งเด็กม.ปลาย และก็อดีตประธานชมรมยูโดม.ปลาย



Create Date : 12 สิงหาคม 2554
Last Update : 19 สิงหาคม 2554 10:44:42 น. 4 comments
Counter : 1388 Pageviews.

 
สวัสดีวันแม่นะคะ


โดย: nangjai1 วันที่: 12 สิงหาคม 2554 เวลา:21:29:08 น.  

 
โทรกลับไปหาแม่แล้วครับ ไม่ได้โทรเพราะคิดว่าเป็นวันแม่ แต่เพราะว่าถ้ามีเวลาว่างจะโทรกลับไปหาแม่เป็นประจำอยู่แล้วครับ


โดย: ablaze357 วันที่: 12 สิงหาคม 2554 เวลา:21:54:47 น.  

 
โอโห เป็นการต่อสู้ที่ต้องวัดใจมากๆเลยค่ะ เด็กม.ปลาย แต่ใจช่างยิ่งใหญ่จริงๆ

สู้ๆนะคะ


โดย: MJdrawer วันที่: 13 สิงหาคม 2554 เวลา:17:29:42 น.  

 
เทคนิคผมมั่นใจว่าผมเยอะกว่าเล็กน้อย ส่วนเรื่องแรงผมก็กินขาด

แต่ว่าปริมาณก่อนฝึกซ้อม กับ แรงอึดนั้นผมแพ้ราบคาบ

สำหรับปริมาณการฝึกซ้อมนั้นมันไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้โดยเร็ว ต้องเก็บสะสมทีละเล็กทีละน้อย ที่พอจะแก้ได้ก็คือเรื่องแรงอึดในการซ้อม ต้องพยายามที่จะทำให้สามารถอยู่ในเกมได้ตลอด3ชั่วโมง

ตอนนี้ที่คิดออกตอนนี้คือการฝึกวิ่งในตอนกลางคืนเพิ่มเติมวันละ45นาที การใช้เทคนิคหายใจช่วยในระหว่างการฝึกซ้อม และการดื่มน้ำเกลือแร่ช่วยในระหว่างซ้อม

หากทำได้ตามที่วางแผนไว้ การซ้อมร่วมกันครั้งต่อๆไป คงจะมีสีสันและสนุกกว่านี้


โดย: ablaze357 วันที่: 13 สิงหาคม 2554 เวลา:18:34:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.