Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
11 ตุลาคม 2556
 
All Blogs
 
ซ้อมยูโด ให้ถอยหลัง1ก้าว กลับไปซ้อมพื้นฐาน

ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เข้ามาเขียนในบล๊อค แต่ว่าก็ยังซ้อมยูโดอย่างสม่ำเสมอ จากบาดเจ็บจนมันเลิกเจ็บ แล้วก็มาเจ็บใหม่ วนไปมา แต่ก็ยังมุ่งมั่นไม่คิดจะเลิกซะทีกับสิ่งที่เรียกว่ายูโด

เมื่อ4เดือนก่อน โดนดีจนได้ ไหปลาร้าข้างซ้ายหัก ถึงตอนนี้จะหายดีแล้ว แต่มันก็ยังเป็นแผลในใจ โดยเฉพาะตอนเข้าท่าพวกท่าหมุนตัวเข้าไปทุ่ม ถ้าทุ่มได้มันก็ดีไป แต่ถ้าทุ่มไม่ได้ไปหยุดๆยึกยือกันตอนหมุนไปแล้ว จังหวะนี้กลัวมากๆว่าคู่ซ้อมหรือคู่ต่อสู้จะโถมน้ำหนักล้มทับลงมาทำให้ล้มตามกันลงไป แล้วจุดที่มันจะสัมผัสพื้นก่อนก็คงไม่พ้นไหปลาร้าซ้ายข้างที่เพิ่งหายดีนี้แหละ แต่จุดนี้ผมถือว่าเป็นโอกาส(แบบบังคับไปในตัว)ครับ เพราะทำให้ผมต้องพยายามเข้าท่าให้มันเฉียบคมที่สุด แบบว่าหมุนเข้าไปแล้วต้องทุ่มให้ได้ ก็พยายามซ้อมตรงจุดนี้ให้มันเฉียบคมขึ้น ไล่ตามสเต็ปของยูโด คุสุชิ สกุริ และคาเคะ

บทเรียนที่ได้เพิ่มมาจากบาดแผล ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกครับ ก่อนหน้านี้ที่เข่าขวาหักก็เช่นกัน ตอนนั้นผมยังไม่เข้าใจหลักการทุ่มด้วยสะโพกด้วยซ้ำไป จนกระทั่งขาหักตอนนั้นมันเป็นการบังคับไปในตัวว่า การจะทุ่มด้วยท่าทุ่มด้วยสะโพกให้ใช้สะโพกไม่ใช่ใช้ขา บาดเจ็บคราวนั้นผมได้ฮาเนโกชิมาเป็นของขวัญ

เนื้อหาที่เขียนในตอนนี้ไม่ได้จะมารำลึกความหลังเรื่องเก่าที่ผ่านๆมา แต่พอดีไปสะดุดถูกเนื้อหาเก่าๆบางส่วนที่ผมคิดว่ามันเป็นแก่นแท้และส่วนสำคัญในการพัฒนาฝีมือให้มันขึ้นไปสู่ระดับสูงกว่านี้
ก่อนหน้านี้ประมาณอาทิตย์กว่าๆ ได้มีน้องคนไทยกลุ่มนึงเดินทางมาซ้อมยูโดที่โคโดกัง แล้วอาจารย์ของน้องกลุ่มนี้เป็นอาจารย์ที่ผมเคารพนับถือเป็นอย่างสูง ตลอดเวลาการซ้อมที่โคโดกังผมได้ประสานงานและพยายามทำให้น้องๆกลุ่มที่มาซ้อม สามารถซ้อมได้อย่างสบายใจและพยายามที่จะให้ได้ความรู้กลับไปเยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งในส่วนของเทคนิคต่างๆ วิธีการซ้อม รวมไปถึงปรัญชาของยูโด หน้าที่หลักของผมก็คงจะเป็นหน้าที่ล่าม คือเป็นตัวกลางระหว่างอาจารย์ที่มาเป็นภาษาญี่ปุ่น ผ่านผมออกไปแล้วก็กลายเป็นภาษาไทยนั้นเอง (แต่ในบางครั้งการที่จะหาคำแปลออกมาได้อย่างลงตัวมันก็ทำได้ยากเช่นกัน)

ก่อนหน้านี้ประมาณ2ปี ยามาโมโต้เซนเซ อาจารย์ประจำชั้นที่ดูแลผมตลอดการฝึกซ้อมที่โคโดกัง ได้อธิบายหลักการฝึกซ้อมอย่างนึง แต่ในตอนนั้นผมยังไม่เข้าใจในความหมายของสิ่งที่อาจารย์สอนมา นั้นคือการซ้อมยูโดเป็นเหมือนกับขั้นบันไดการที่เราจะขึ้นไปถึงชั้นสองได้นั้น เราก็ต้องค่อยๆขึ้นไปทีละขั้น แต่ในแต่ละขั้นนั้นมันหมายถึงพื้นฐานของยูโด สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่การขึ้นบันไดไป แต่เป็นการย้ำซ้ำๆในแต่ละขั้น ยกตัวอย่างเช่น การซ้อมเข้าท่า อย่างแรกสุดคือให้ซ้อมคนเดียว(ขั้นแรก) พอชำนาญแล้วค่อยหาหุ่นมาเข้าท่า(ขั้นสอง) หลังจากนั้นก็ค่อยให้หุ่นขยับตัวในการเข้าท่า(ขั้นที่สาม) และต่อๆไปในแต่ละขั้นก็จะมีเนื้อหาที่ทำให้ชำนาญในพื้นฐานการฝึกนั้นๆ สิ่งที่อาจารย์เน้นคือว่าสมมุติว่าเราฝึกไปจนถึงขั้นที่สามแล้วให้เราถอยลงมาขั้นนึงฝึกใหม่ซ้ำๆอีกทีให้มันชำนาญก่อนที่จะก้าวขึ้นไป ตอนนั้นผมไม่เข้าใจความหมายในสิ่งนี้ จนกระทั่งเหตุการณ์ที่ผมทำหน้าที่วุ้นแปลภาษา สิ่งที่ผมได้รับกลับมาถือว่าสุดยอดมากๆครับ และทำให้ผมเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์เคยสอนไว้เมื่อ2ปีก่อนด้วย

ตลอดอาทิตย์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสกลับไปเรียนรู้ทบทวนสิ่งที่เคยรู้ สิ่งที่เคยลืมให้ความสำคัญกับมัน ทั้งๆที่สิ่งเหล่านี้เปรียบเหมือนกับรากฐานในการสร้างตึก ผมเริ่มต้นกลับไปทบทวนกันใหม่

-เกี่ยวกับการใช้มือทั้งสองข้างในการจับคู่ต่อสู้ นิ้วไหนต้องเน้น นิ้วไหนไว้คุมทิศทาง
-ส่วนของคุมิเท หรือเรื่องการชิงจับ ทั้งแบบขวากับขวา และแบบซ้ายกับขวา
-เทคนิคการทำคุสุชิ การหลอกดึงแรงคู่ต่อสู้ออกมาใช้ประโยชน์
-ขาก้าวแรก ที่สำคัญยิ่งในการเข้าท่า อันเป็นส่วนสำคัญมากในการทุ่มจริง
-การเข้าท่าในรูปแบบต่างๆ และเหตุผลว่าทำไมท่าที่เข้ามันถึงใช้จริงไม่ได้ รวมถึงทำไมความเร็วในท่าของผมถึงไม่พอที่จะใช้ทุ่มคู่ต่อสู้ได้

สุดท้าย อันนี้เป็นตัวแปรสำคัญในการก้าวขึ้นไปสู่ระดับที่สูงขึ้นของผมเลยก็ว่าได้ นั้นคือเรื่องของไทซาบากิ แต่ก่อนผมเอามาใช้แค่เศษเสี้ยวจริงๆ ขนาดแค่เศษเสี้ยวมันยังทำให้ท่าอุจิมาตะของผมดูจะน่ากลัวขึ้นมาในระดับนึงเลยก็ว่าได้ คราวนี้ได้มีโอกาสทบทวนวิธีการซ้อมในการดึงเอาไทซาบากิออกมาใช้ ถึงตอนนี้ผมยังจะใช้ได้ไม่ดีนักแต่เทียบกับอาทิตย์ก่อนหน้านี้แล้วมันต่างกันคนละเรื่องเลยครับ ตลอด2-3วันที่ผ่านมา แต่ละครั้งของการทุ่มตอนรันโดริ ผมรู้สึกได้เลยว่าท่าทุ่มของผมสวยขึ้น จังหวะของผมคมขึ้น ก็เพราะเรื่องไทซาบากิตัวนี้นั้นแหละ

-โคอุจิการิเกี่ยวออกไปแล้วแทบไม่ต้องใช้แรงเลยแต่คู่ซ้อมหมุนตัวลงพื้นไปอย่างสวยงาม
-เดอาชิบารัยที่ปัดออกไปนั้นเหมือนกับคู่ซ้อมมันเหยียบกล้วยแล้วลื่นล้มลงไปเอง
-การขยับตัวต่อท่าของท่าต่อเนื่องหรือการสวนกลับท่าต่างๆมันก็ดูไหลลื่นเป็นธรรมชาติมากขึ้น
-การทุ่มท่าหนักเช่นเซโอนาเกะ อุจิมาตะ ใช้แรงออกไปน้อยกว่าเดิมเยอะมาก

สิ่งที่อยากจะเน้นย้ำคือ ให้ลองถอยกลับไปก้าวนึง กลับไปซ้อมพื้นฐานเก่าๆดูครับแล้วจะรู้ว่ามันเสริมสร้างพัฒนาการของยูโดได้อย่างเหลือเชื่อ


Create Date : 11 ตุลาคม 2556
Last Update : 11 ตุลาคม 2556 21:39:46 น. 5 comments
Counter : 1424 Pageviews.

 
อ่านแล้วอยากฝึกอีกครั้ง


โดย: koh IP: 171.101.131.31 วันที่: 17 ตุลาคม 2556 เวลา:16:01:50 น.  

 
แวะมาวันนี้ ก็เหลืออีก 17 วันจะแข่งแล้วนะคะ
ยินดีด้วยที่อาการบาดเจ็บต่างๆหายแล้ว
จะนับเวลาถอยหลัง เอาใจช่วยเรื่องการแข่งขันอีกแรงค่ะ

"...สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่การขึ้นบันไดไป
แต่เป็นการย้ำซ้ำๆในแต่ละขั้น"
อาจารย์ท่านสอนได้ลึกซึ้ง
หากทำตามสามารถนำไปใช้ได้อีกหลายเืรื่องเลยนะคะ
like ค่ะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 21 ตุลาคม 2556 เวลา:22:36:53 น.  

 
อีก 4 วันจะลงแข่งแล้วใช่มั๊ยคะ
ขอให้ทุกอย่างพร้อม และผลออกมาได้ดังที่ตั้งใจไว้นะคะ





โดย: Sweet_pills วันที่: 3 พฤศจิกายน 2556 เวลา:21:40:21 น.  

 
ขอบคุณที่ส่งข่าวให้ทราบนะคะ



ส่งกำลังใจในการซ้อมให้ค่ะ
ทำให้ดีที่สุด เต็มที่ที่สุด เห็นด้วยกับคุณศักดิ์ค่ะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 4 พฤศจิกายน 2556 เวลา:23:56:54 น.  

 
ยินดีด้วยอย่างยิ่งกับชัยชนะนะคะ
คุณศักดิ์หยุดไปนานการชนะครั้งนี้ก็เปรียบเป็นกำลังใจในการฝึกซ้อม
และวางแผน
ครั้งหน้าขอให้ชนะสองครั้งรวดเลยค่ะ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่ากดดันตัวเองมากเกินไปนะคะ
รักษาสุขภาพไว้ก่อน
ขอบคุณมากค่ะ ที่ส่งข่าวให้ทราบ


โดย: Sweet_pills วันที่: 8 พฤศจิกายน 2556 เวลา:23:56:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.