Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
30 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ5

เดือนที่2
การซ้อมของโคโดกังนั้น นักเรียนเดือน2กับเดือน3จะเข้าคู่ซ้อมกันอยู่แล้วพอขึ้นเดือนที่2 ได้เลื่อนที่นั่งเล็กน้อย ตอนเข้าแถวรวมก็จะกระเถิบขึ้นมาหน่อย ตอนนี้เริ่มมีนักเรียนเดือนแรกมาอยู่ในแถวถัดไปตอนนั่งเช็คชื่อแล้วการซ้อมของโคโดกังนั้น นักเรียนเดือน2กับนักเรียนเดือน3จะเข้าคู่ซ้อมกันเป็นปกติ
การวอร์มอัพ ทุกอย่างยังเหมือนเดิมกับวันแรกที่เริ่มฝึก สำหรับการวอร์มคาดว่าจะเป็นอย่างงี้ไปจนจบได้สายดำแต่ว่าบทเรียนเริ่มเข้มข้นสนุกกว่าเดือนแรก เพียงแต่คู่ซ้อมก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะอิสระในการทุ่มได้อยู่ดี จากสถานนะตอนเป็นนักเรียนเดือนแรก มองรุ่นพี่ เดือน2เดือน3 แล้วรู้สึกว่าเก่ง เคลื่อนไหวคล่องสวย ท่าทุ่มก็ดูดี การล้ม(อุเกมิ)ก็สมบูรณ์ แต่พอผมขึ้นมาเดือน2(ผมผ่านเดือนแรกมาเร็วกว่าคนอื่น นักเรียนเดือน2กับเดือน3บางคนยังเก็บวันไม่ครบก็เลยได้มาซ้อมด้วยกัน) ผมก็รู้สึกว่าแต่ละคนยังไม่สมบูรณ์เท่าไร ทั้งทฏษฎีการทุ่ม การล้ม(อุเกมิ) หลังจากที่ได้เข้าคู่ซ้อมด้วยกันแล้ว ดูจากการดึงการล้ม ผมสามารถพูดได้เต็มปากเลยว่า ถึงแม้รุ่นพี่เดือน2-เดือน3ฝึกมาก่อนผมที่โคโดกัง แต่มาวันหยุด4วัน การซ้อมไม่ต่อเนื่องก็ทำให้ขาดตกไปบ้าง
แก่นของยูโด นอกจากทางแห่งความสุภาพแล้ว ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือทฤษฏีการการทุ่มคู่ต่อสู้โดยใช้แรงของคู่ต่อสู้เอง และสิ่งนี้ก็เริ่มเรียนรู้อย่างจริงจังในเดือนที่2-3 เริ่มจากท่าเบสิคต่างๆที่เรียนมาในเดือน1 คือ
- De-ashibarai
- Hiza-guruma
- Sasae Tsurigomi ashi
- Tsurigomikoshi
- O-goshi
หลักการทุ่มต่างๆส่วนใหญ่จะเป็น3สเต็ป คือ
- Kuzushi การทำให้คู่ต่อสู้เสียจังหวะหรือทำลายบาลานของร่างกายด้วยการดึงหรือดันไปในทิศต่างๆ
- Tsukuri การเข้าท่าจังหวะเท้า จังหวะมือ
- Kake การทุ่มคู่ต่อสู้
ทั้ง3ส่วนนี้สำคัญมาก ตั้งแต่1ไปถึง3 แต่ว่าที่โคโดกังจะเน้นย้ำถึงเรื่อง Kuzushi มากเป็นพิเศษ เพื่อให้เข้าถึงแก่นของยูโดกับทฤษฏีที่ว่า ใช้แรงคู่ต่อสู้ในการทุ่มคู่ต่อสู้นั้นเอง
สำหรับเดือน2 ท่าSasae Tsurigomi ashi นั้นไม่ค่อยมีบทบาทในการเรียนซักเท่าไร ส่วนท่าที่เหลือจะเริ่มเน้นการเข้าท่าแบบเคลื่อนไหวไปข้างหน้า-หลัง-ข้าง รวมทั้งการเริ่มสลับมาใช้มือซ้ายในการเข้าท่า ทฤษฏีการการทุ่มคู่ต่อสู้โดยใช้แรงของคู่ต่อสู้เอง นั้นแรกๆทำได้ยากพอสมควร แต่พอฝึกไปซัก2-3ครั้งก็จะเริ่มจับหลักของการเคลื่อนไหว การเคลื่อนที่ของแรงได้ วิธีที่ง่ายที่สุดคือการจะทุ่มไปทางขวา ให้ดึงคู่ต่อสู้มาทางซ้าย แล้วจับจังหวะการต้านทานของคู่ต่อสู้ให้ดีเพื่อที่จะดึงกลับมาทุ่มทางด้านขวา ส่วนการทุ่มไปข้างหน้าก็ให้ดึงไปข้างหลังการเพื่อรอแรงต้านของคู่ต่อสู้+ดึงกลับเพื่อส่งให้คู่ต่อสู้ไปทางด้านหน้า ท่าที่มีเรียนเพิ่งเติมมาพอเข้าเดือนที่2คือ
- seoinage
- ippon seoinage
2ท่านี้เรียนพร้อมกันเรียกได้ว่าซื้อ1แถม1 ที่สำคัญการทุ่มจะเป็นการเคลื่อนที่ไปด้วยในขณะที่ทุ่ม สำหรับท่าที่ใช้การหมุนตัว180องศา (Tsurigomikoshi, O-goshi, Seoinage, Ippon seoinage, Taiotoshi, harai-goshi, hane-goshi, uchimata)จุดสำคัญคือการก้าวขาในสเต็ปแรก ปกติคนที่เริ่มเรียนใหม่ๆจะก้าวขาแรกเข้าไปชิดตัวคู่ซ้อมหรือคู่ต่อสู้มากจนเกินไป ทำให้สเต็ปที่2ตอนหมุนตัวจะหมุนไม่ไปเพราะว่าจะติดตัวคู่ซ้อมมากจนเกินไป ดังนั้นขาก้าวแรกไม่ควรชิดตัวคู่ต่อสู้จนเกินไป แต่ให้ใช้เทคนิคkuzushi ในการดึงตัวท่อนบนของคู่ต่อสู้เข้ามาแทน สำหรับจังหวะที่2ตอนหมุนตัว ให้เทน้ำหนักไปอยู่ที่ขาแรก(จับมือขวา-ขาขวา)จะทำให้หมุนตัวง่ายขึ้น สำหรับผมการฝึกนั้นแรกๆผมใช้ท่า Tsurigomikoshi ในการฝึกพื้นฐานการจับ-การดึง(kuzushi) การวางขา-การหมุน(tsukuri) การตวัด-การทุ่ม(kake) จนชำนาญก่อนที่จะไปฝึกเป็นท่าอื่น จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่แล้วท่าทุ่มแทบจะทุกท่าก็ไม่พ้น3สเต็ปหลัก kuzushi-tsukuri-kake สุดท้ายแล้วสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือความปลอดภัยของคนถูกทุ่ม นั้นคือการดึงแขนคู่ซ้อมตอนที่ล้มให้ระยะห่างในการล้มอยู่ในจังหวะที่พอดีสำหรับการทำอุเกมิ (อยากรู้ถึงความสำคัญของเรื่องระยะ ลองไปให้มือใหม่ทุ่มดูแล้วเปรียบเทียบกับสายดำมือโปรทุ่มดู จะแตกต่างกันมากในเรื่องความเจ็บตัว)
ก่อนที่แขนผมจะหักท่า seoinage แล้วเรียกได้ว่าเป็นท่าที่ถนัดของผมท่าหนึ่ง ด้วยการที่อาศัยน้ำหนักตัวและความเร็วในการกดและดึงคู่ต่อสู้อย่างรวดเร็วก่อนจะใช้ศอกดันขึ้นไปเพื่อใช้ในการทุ่ม แต่ว่าณ.ปัจจุบัน ท่านี้กลับเป็นปัญหากับข้อศอกผม ทำให้ถูกบังคับให้เลือกใช้ท่า ippon seoinage แทน ท่า ippon seoinageที่ถูกต้องคือใช้แขนบริเวณข้อศอกหนีบแขนคู่ต่อสู้ ไม่ใช้ใช้ไหล่ยกคู่ต่อสู้ การทุ่มทั้ง2ท่าอาจารย์จะเน้นย้ำให้ทุ่มเฉียงๆเป็นมุม45องศา เพราะถ้าทุ่มแนวตรงมันแล้วผิดคิวมันจะบาดเจ็บได้ง่าย ถึงแม้ว่าจะผ่านมาเดือนกว่าแล้ว แต่เรื่องความปลอดภัยก็ยังเป็นเรื่องสำคัญที่สุด การจับด้วยขวานั้นสำหรับมือใหม่แล้วให้ทุ่มไปด้านเดียว (ส่วนใหญ่คู่ซ้อมล้มด้วยอุเกมิมือซ้าย) หากทุ่มสลับด้านสิ่งที่ต้องระวังที่สุดคือแขนของคู่ซ้อมจะยันพื้น ซึ่งอาจจะมีปัญหาถึงขั้นกระดูกหักได้ (เพราะว่าผมมีปัญหาเรื่องแขนมาก่อนหน้านี้ ก็เลยเข้าใจเรื่องการบาดเจ็บของแขนเป็นอย่างดี ทำให้ต้องระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ)
Kuzushi โดยการดึงคู่ต่อสู้ให้โน้มตัวมาด้านหน้า แขนซ้ายของคนทุ่มให้พยายามดึงแขนคู่ต่อสู้ให้ขึ้นสูงเพื่อที่จะง่ายต่อการใส่ข้อศอกเข้าไป หรือถ้าเป็นท่า ippon seoinage ถ้าใช้แขนซ้ายดึงแขนของคู่ต่อสู้ขึ้นไปสูงหน่อยก็จะง่ายต่อการเอาแขนเข้าไปหนีบแขนคู่ต่อสู้ในการเข้าท่า ippon ที่สำคัญต่อจากนี้คือ หลังตรง ย่อเข่า คอกับตามองตรงไปด้านหน้า ขาไม่สมควรอ้าออก เพราะจะทำให้แรงของเรากระจายออกไปสู่ด้านข้าง แรกๆทำยากครับกว่าจะจัดระเบียบขาหลังจากหมุนตัวแล้วให้มันไม่อ้าออก แต่หลังจากฝึกหมุนตัวบ่อยๆก็ไม่เป็นปัญหาครับ ความห่างของขาทั้งสองข้างต้องเป็นธรรมชาติ วิธีการทำให้เป็นธรรมชาติ คือลองกระโดดขึ้นลงซัก2-3ครั้งแล้วหยุดดูว่าขาอยู่ในสภาพไหนความห่างประมาณไหน ให้ถือเอาจุดนั้นจะเป็นธรรมชาติที่สุด(โดยรวมแล้วความห่างจะประมาณเท่าๆกับไหล่) ส่วนเรื่องของการย่อเข่าต้องประมาณไหนเหรอครับ พื้นฐานหลักๆคือให้ยืนตรงดูเราจะเห็นนิ้วโป้งของขา แล้วก็ให้ค่อยๆย่อเข่าลงไปจนไม่เห็นนิ้วโป้งของขา
สำหรับใครที่ใช้ท่า seoinage แล้วมีปัญหาติดๆขัดๆตรงการดันศอกเข้าไปที่แขนของคู่ซ้อมนั้น วิธีแก้ไขคือมือขวาตรงบริเวณที่เราจับเสื้อของคู่ต่อสู้ให้เลื่อนต่ำจากปกติลงมา5-8เซนติเมตร จะทำให้การดึงคู่ต่อสู้กับการใส่ศอกลื่นไหลเป็นธรรมชาติมากขึ้น
- tai o toshi
ไทโอโตชิเป็นท่าที่จบลงด้วยการใช้ขา แต่จริงๆแล้วเป็นการทุ่มโดยใช้เทคนิคมือล้วนๆ เรียกได้ว่าถ้ามือเข้าได้ถูกท่าขาแค่วางเบาๆก็ทุ่มคู่ต่อสู้ได้อย่างสบายๆ อย่างแรกถ้าจับด้วยมือขวาให้ทำลายจังหวะคู่ต่อสู้kuzushiโดยการดึงคู่ต่อสู้มาทางขวาหน้า(จะเป็นทางซ้ายของเรา) ที่สำคัญที่สุดคือตัวของคนทุ่มกับคนถูกทุ่มจะต้องมีช่องว่าง เผื่อที่จะเพิ่มแรงแขนในการดึงเป็นวงกลมตอนทุ่มคู่ต่อสู้ ส่วนตำแหน่งการวางเท้าในจังหวะแรกจะเขยิบมาทางขวามากกว่าท่า seoinage หรือท่า Tsurigomikoshi หลังจากที่หมุนตัวแล้วหากมองไปด้านข้างจะต้องเห็นหัวคู่ต่อสู้อยู่ด้านข้าง (หากหัวคู่ต่อสู้ไม่ได้ถูกดึงมาอยู่ข้าง การทุ่มจะเป็นไปได้ยาก หรืออาจจะโดนสวนกลับได้ง่าย) การจะฝึกไทโอโตชิให้เป็นการใช้เทคนิคมือนั้นทำได้โดยฝึกแบบปกติไปก่อนซักพัก พอเริ่มจะรู้จังหวะของท่าแล้วให้ฝึกโดยใช้แค่มือขวาข้างเดียว มันจะทำให้สามารถเก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับการดึงได้อีกหน่อยนึง จุดสำคัญของไทโอโทชิอีกจุดนึงคือเรื่องการวางตำแหน่งของขา (เรื่องความปลอดภัยของคู่ซ้อม) คนทุ่มที่เหยียดขาออกไปนั้นต้องย่อเข่าทั้งสองข้างให้ตำแหน่งขาที่เหยียดออกไปอยู่บริเวณข้อเท้าของคู่ซ้อม ไม่ใช่บริเวณหัวเข่าของคู่ซ้อม (จุดนี้สำคัญมาก เพราะถ้าเข้าทำเร็วเหยียดไปบริเวณเข่าอาจจะบาดเจ็บถึงขั้นกระดูกหักเข่าฉีกได้เลยทีเดียว)
ในระหว่างที่เรียนท่าไทโอโตชิ อาจารย์ได้สอนเทคนิคเพิ่มมาอีกเล็กน้อยเป็นไทโอโตชิ2ชั้น สำหรับจัดการกับคู่ต่อสู้ที่หลบขาออกมาได้ในจังหวะแรกให้ตามไปขัดขาในจังหวะที่2 ก็ถือว่าเป็นท่าที่น่าสนใจเช่นกัน
พอฝึกอยู่ในช่วงเดือน2-เดือน3 จะมีสายดำมาฝึกด้วยประปราย (มีให้เห็นบ่อยๆ แบบว่าได้สายดำมาจากสถาบันอื่น แต่ว่ามาเรียนใหม่เพื่อต้องการสายดำของต้นตำรับโคโดกัง) ไม่ได้ว่าต้องการบอกว่าให้เลือกคู่ซ้อมตอนซ้อม uchigomiนะครับ แต่ว่าพอเข้าคู่ซ้อมกับสายดำแล้ว มันจะก้าวหน้าเร็วกว่าคู่ซ้อมสายขาว ประโยชน์ของการเข้าคู่กับสายดำคือ
1. ถ้าผมเป็นคนถูกทุ่มโดยสายดำ สามารถดูเค้าเป็นตัวอย่างได้ก่อนในจังหวะการเข้าของขาและแขน(ไม่เข้าใจตรงไหนจังหวะไหนถามได้ทันที ส่วนใหญ่แล้วไม่ผิดไปจากตำราซักเท่าไรนัก) ที่สำคัญคือการดึงแขนเพื่อให้อยู่ในระยะการล้มทำอุเกมิ จะเป็นธรรมชาติมากกว่า
2. ถ้าผมเป็นคนทุ่มสายดำ จุดต่างๆเรื่องขา จังหวะ การดึง ต่างๆหากผิดไป สายดำจะสังเกตุเห็นได้ทันทีและทำการแก้ไขให้เป็นจังหวะที่ถูกต้อง การเข้าท่าจังหวะต่างๆจะง่ายกว่าเพราะว่าแรงต้านจากคู่ซ้อมจะไม่ค่อยมี และเนื่องจากสายดำล้มจนชำนาญแล้ว การทุ่มให้ล้มแบบถูกท่าจะเป็นธรรมชาติและง่ายกว่าเพราะว่าไม่กลัวที่จะถูกทุ่มการเดินจังหวะต่างๆจะถูกปรับให้เข้ากันระหว่างคนทุ่มและคนถูกทุ่ม
พอรู้จังหวะในการทำอุจิโกมิแล้ว ไม่ว่าจะซ้อมกับใครก็ควรจะทำตัวให้เป็นประโยชน์กับคู่ซ้อมให้มากที่สุด เพื่อที่จะได้พัฒนาจังหวะให้ก้าวหน้าไปพร้อมๆกัน จุดที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุดคือตอนเป็นหุ่นให้ทุ่ม ต้องอย่าใส่แรงต้านเข้าไปและล้มให้เป็นธรรมชาติ คู่ซ้อมก็จะทุ่มได้ง่ายขึ้นและเป็นจังหวะที่ดีขึ้น โดยรวมแล้วกลุ่มเดือน2-เดือน3 ถ้าไม่นับพวกสายดำ นักเรียนต่างชาติ(อเมริกา ยูเค แคนาดา ออสเตรเลีย ดูไบ)เมื่อเทียบกับนักเรียนญี่ปุ่นแล้วการเคลื่อนไหวจังหวะการเข้าท่าจะนุ่มนวลดูเป็นธรรมชาติมากกว่า ทั้งๆที่การเรียนการสอนก็เป็นภาษาญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นน่าจะเข้าถึงหลักการได้เร็วกว่าแท้ๆแต่กลับกลายเป็นว่าเคลื่อนไหวกล้าๆกลัวๆแข็งๆ (คาดว่าคงจะเกิดจากความสามารถทางร่างกาย แรงและกล้ามเนื้อที่แตกต่างกัน)
ถัดไปเป็นท่าที่แตกหน่อ มาจาก Tsurigomikoshi นั้นก็คือท่า harai-goshi ท่าhane-goshi อันนี้ก็เป็นแพ็คคู่เหมือนกัน บวกกับอีกหนึ่งท่าคือ ท่า uchimata 3ท่านี้หลักๆคล้ายคลึงกัน แต่ว่าuchimata อาจารย์ยังไม่สอน หรือถ้าสอนก็จะเป็นการทุ่มโดยไม่ยืน โดยให้คนถูกทุ่มอยู่ในท่าคุกเข่า1ข้าง 3ท่านี้มีส่วนต่างและคล้ายคลึงกันบ้างส่วน ส่วนที่ยากของ3ท่านี้คือการยืนทรงตัวขาเดียวในขณะที่อีกขาทำหน้าที่ตวัดขาคู่ต่อสู้
เพราะว่าท่า uchimata เป็นท่าที่ถนัดสุดของผมตั้งแต่ก่อนมาเรียนยูโดที่โคโดกังแล้ว สำหรับผมพอจะรู้คร่าวๆถึงจังหวะและความอันตรายของ uchimata เพราะว่ามันเป็นท่าที่หนักและเร็วพอสมควร คนที่ถูกทุ่มต้องแม่นพอสมควรในเรื่องของการล้ม(อุเกมิ) ส่วนคนทุ่มแรงแขนก็ต้องมีพอสมควร กับเรื่องของจังหวะร่างกายขณะทุ่ม หัวต้องไม่ก้มต่ำจนเกินไป แต่จะว่าไปแล้วปัญหาเรื่องแขนหักของผมส่วนหนึ่งก็มาจากท่า uchimata นี้แหละครับ เรียกได้ว่ามันอันตรายทั้งคนทุ่มและคนถูกทุ่ม ดังนั้นท่านี้อาจารย์ถึงเก็บไว้ก่อนรอให้คนทุ่มและคนถูกทุ่มพื้นฐานแน่นกว่านี้ถึงจะสอน(เท่าที่ฟังจากอาจารย์บอกมา)
ยังไงก็ตามผมก็ยังฝึกท่า uchimataอยู่อย่างสม่ำเสมอจนปัจจุบันนี้ผมสามารถใช้ท่า uchimata ได้อย่างคล่องแคล่วมาถึง3แบบ คือ uchimataแบบปกติ(ขา2สเต็ป), uchimataแบบการดึงนำด้วยแขนซ้าย,กับ uchimataแบบขา1สเต็ป ยังไงก็เก็บไว้ตอนเรียนจริงๆที่โคโดกังแล้วค่อยมาเทียบกันอีกครั้งหนึ่ง (แนะนำฝึกเตะลมโดยการให้เตะขาไปด้านหลังวันละ40-50ครั้ง การฝึกเตะลมถึงเวลาจริงได้ใช้ประโยชน์แน่นอนครับ ไม่ว่าจะเป็นท่าharai-goshi uchimata หรือว่าท่า osotogari)
หลังจากที่เป็นหุ่นให้ทุ่ม และเป็นคนทุ่มคู่ซ้อม บัดนี้ได้ค้นพบว่าท่า harai-goshi เป็นท่าที่หนักหน่วงและรุนแรงในการทุ่มอีกท่าหนึ่ง ลักษณะของท่าคือการดึงคู่ซ้อมแล้วหมุนร่างกายตัวเอง180องศา(คล้ายกับท่าtsurigomikoshi ในจังหวะแรก) จากนั้นใช้ขาขวาไปตวัดขาขวาด้านนอกของคู่ซ้อม kuzushi-ดึงให้คู่ซ้อมเสียจังหวะมาท่าด้านหน้าขวา ผมฝึกท่านี้กับคู่ซ้อมอยู่ซักพักแล้วลองให้คู่ซ้อมทุ่มดู ปรากฏว่า งงมากๆกับตอนล้มมันเหมือนถูกอะไรซักอย่างเหวี่ยงให้ล้มลงอย่างแรงและเร็ว (โชคดีที่การดึงมือและอุเกมิที่พอดิบพอดีทำให้ไม่เจ็บ) ถึงตอนที่ผมลองทุ่มคู่ซ้อมดูบ้าง อันนี้ก็งงเหมือนกันว่า ทำไมแรงเหวี่ยงตอนจังหวะสุดท้ายที่ทำให้คู่ซ้อมล้มนั้นมันออกมาเยอะผิดปกติจนกลัวว่าจะทำให้คู่ซ้อมเจ็บ ท่านี้ถือว่าเป็นการเรียนท่าทุ่มที่สะใจมากๆ (ถือว่าเป็นท่าที่ทำให้เจ็บตัวได้ง่าย แต่ไม่อันตรายเท่าไร คู่ซ้อมควรซ้อมให้ได้จังหวะการดึงแขนและอุเกมิให้ลงตัวซะก่อน ก่อนที่จะทำการทุ่มจริง)
จุดสำคัญของ harai-goshi คือเรื่องการทำตัวให้ติดกับตัวคู่ต่อสู้ในส่วนของอก หลังจากการก้าวเท้าในจังหวะแรกพร้อมๆกับการดึงคู่ต่อสู้เข้ามา(kuzushi) หน้าอกของเราและของคู่ต่อสู้ต้องกระแทกติดกัน ก่อนที่จะหมุนตัวไปตวัดขา ท่านี้เริ่มฝึกใหม่ๆควรที่จะใช้แขนข้างนึงอ้อมไปด้านหลังดึงคู่ต่อสู้เข้ามาให้ตัวด้านบนติดกัน (คล้ายๆกับท่า o-goshi แต่o-goshi มือที่อ้อมไปด้านหลังคู่ต่อสู้จะอยู่บริเวณเข็มขัด ในขณะที่ harai-goshi มือจะอยู่บริเวณหลังด้านบนๆของคู่ต่อสู้) หากฝึกจนรู้หลักการของการทำตัวด้านบนติดกันแล้วค่อยมาเป็นการดึงคอเสื้อปกติโดยไม่ต้องดึงอ้อมหลังคู่ต่อสู้
Hane-goshi เป็นท่าที่มันก็ใช้หลักการเดียวกันกับharai-goshi แต่ตอนตวัดขาให้ล้มนั้น ขาของผมมันจะแข็งๆเก้งๆกังๆแปลกๆ แต่ท่านี้เห็นคนอื่นใช้ทุ่มแล้วดูอ่อนช้อย สวยและดูดี ตรงกับหลักของเส้นทางแห่งความสุภาพจริงๆ หลังเลิกเรียนเวลา1ทุ่มคงต้องหาคู่ซ้อมในสนามรันโดริฝึกอุจิโกมิต่ออีกซักเล็กน้อย คงจะทำให้ดูอ่อนช้อย ขึ้นมาบ้าง
- O uchi gari
ท่านี้เปรียบเสมือนกับการเช็ดกระจก wax on – wax off ขั้นแรกคือkuzushi การดึงคู่ต่อสู้มาด้านหน้าwax on พร้อมกับการก้าวขา จังหวะถัดไปให้เอาเท้าซ้ายไปอยู่ด้านหลังขาขวาแล้วทำการดันคู่ต่อสู้ไปทางด้านหลังwax offพร้อมกับใช้เท้าขวากวาดเท้าซ้ายของคู่ต่อสู้ จุดสำคัญคือเรื่องของมือการดึงและการดันที่จะนำไปสู่การถ่ายน้ำหนักของคู่ต่อสู้ไปไว้ที่ขาในจังหวะสุดท้ายก่อนที่จะทำการกวาดให้ล้ม ท่านี้ตอนแข่งจริงหรือว่าจะตอนรันโดริสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดจังหวะและประโยชน์ได้มาก หากฝึกให้ชำนาญแล้วสามารถนำมาดัดแปลงใช้คู่กับ harai-goshi หรือใช้คู่กับtsurigomi-koshi ได้เป็นอย่างดี
ท่านี้ได้อาจารย์พิเศษ คือท่านประธานโคโดกัง มาช่วยสอนเพิ่มความคมให้ โดยการเพิ่มเทคนิคการประสานงานของเข่า ลำตัว หน้าอกและแขน (ดูเพิ่มเติมได้จากช่วงท้ายๆของการฝึกภาคฤดูร้อน)
- De ashi barai
กลับมาทบทวน de ashi barai กันอีกครั้งแต่เริ่มประยุกต์รวมกับการก้าวเท้าและเคลื่อนไหวให้เข้ากับหลักการใช้แรงของคู่ต่อสู้ในการทุ่มคู่ต่อสู้ พื้นฐานจุดสำคัญของท่านี้คือการบังคับบริเวณข้อศอกของคู่ต่อสู้ เพื่อให้ท่านี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หลังๆการซ้อมกวาดขาไม่จำเป็นจะต้องกวาดบริเวณส้นเท้าของคู่ต่อสู้แล้วแต่เป็นการกวาดขาทั้ง2ข้างของคู่ต่อสู้ หากรวมกับการเคลื่อนไหวของขาและบังคับข้อศอกของคู่ต่อสู้ด้วยแล้ว หลังจากฝึกจนชำนาญสามารถที่จะใช้ได้ทั้งฝั่งซ้ายและขวา (ท่าปกติของ de ashi barai คือการจับด้วยมือขวา มือซ้ายของคนทุ่มจะบังคับข้อศอกขวาของคู่ต่อสู้ จะจบลงด้วยการทุ่มทางด้านซ้ายของคนทุ่ม ส่วนคนถูกทุ่มจะลงอุเกมิด้วยมือซ้าย) ส่วนการจะจับด้วยมือขวาและทุ่มไปทางฝั่งขวา จังหวะล้มของคู่ต่อสู้สำคัญมาก หากดึงกันผิดคิวจะทำให้บาดเจ็บบริเวณข้อมือ-ข้อศอกจนถึงขั้นแขนหักได้นะครับ(ระวังด้วย อาจารย์เน้นแล้วเน้นอีก)



Create Date : 30 กรกฎาคม 2554
Last Update : 30 กรกฎาคม 2554 7:58:38 น. 2 comments
Counter : 1453 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับเคล็ดลับ ippon seoi nage ครับ


โดย: เฮียเลือด วันที่: 13 มีนาคม 2555 เวลา:11:01:49 น.  

 
ตอนนี้แขนใช้ได้ดีแล้วครับ แต่ยังไม่หายเต็มร้อย สำหรับผมตอนนี้ ผมว่าเซโอนาเกะความแรงและเร็วอานุภาพสูงกว่า อิปป้งเซโอนาเกะครับ


โดย: ablaze357 วันที่: 13 มีนาคม 2555 เวลา:20:11:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.