Group Blog
 
<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
1 กันยายน 2554
 
All Blogs
 
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ7

Tokushu-ka course วันแรก

อย่างที่เคยบอกไว้แล้วว่าที่ยูโดที่โคโดกังการเรียนแบ่งออกเป็น2คอร์ส คือ Futsu-ka(3เดือน) กับ Tokushu-ka(9เดือน) รวมเป็น1ปี ถ้าการสอบผ่านทุกอย่างก็จะได้สายดำในระยะเวลา1ปี เพียงแต่เดือนนึงถือเอาเป็นแค่13ครั้ง

สำหรับคอร์สแรกนั้น จบแล้วจะได้ใบประกาศ2ใบ คือใบจบคอร์สแรก และใบประกาศว่าเป็นระดับ5คิว ต่อจากนั้นในแต่ละเดือนก็ค่อยๆสอบไล่ขึ้นไปจนถึง1คิว การสอบระดับ4คิวจะคล้ายกับการสอบระดับ5คิว คือเริ่มต้นจากอุเกมิก่อนแล้วอาจารย์ก็จะเรียกชื่อท่าทุ่มก็ให้ทุ่มตามท่านั้น คนที่เป็นอุเกก็ต้องทำอุเกมิตอนล้มให้ถูกท่า ส่วนการสอบระดับ3-2-1คิวนั้น จะเป็นการสอบรันโดริ ผมยังไม่แน่ใจว่าจะต้องเก็บกี่แต้มถึงจะผ่านการสอบในแต่ละระดับ ไว้ผ่านไปถึงตอนต้องสอบก็คงจะรู้แน่ชัด ที่แน่ๆระดับ3-2-1 เพื่อนๆที่เรียนด้วยกัน คงจะไม่สามารถผ่านได้หมดทุกคน บางคนอาจต้องใช้เวลานานหน่อย เพราะว่าถ้าชนะตอนสอบรันโดริจะได้2แต้ม ส่วนคนแพ้จะได้0.5แต้ม ก็ต้องลุ้นเอาว่าใครจะได้เจอกับใคร ขอให้เจอกับเพื่อนที่ง่ายๆหน่อยละกัน

ถ้าเช็คชื่อครบตามจำนวน 12เดือน x 13ครั้ง = 156 ครั้ง ก็จะมีการสอบ nage kata เป็นการทดสอบการทุ่มด้วยท่าพื้นฐาน และการทำอุเกมิด้วยท่าพื้นฐาน จำนวน15ท่า แต่ละท่าต้องทำ2ครั้ง คือการใช้มือขวาจับ และการมือซ้ายจับ หลังจากสอบนาเกกาตะผ่านแล้วก็จะได้ใบจบและใบประกาศว่าเป็นโชดั้ง สายดำ

วันนี้ยังไม่หมดเดือน3ของ Futsu-ka แต่อาจารย์ประจำชั้นบอกว่าใครที่สอบ5คิวไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาแล้ว ให้ไปเริ่มเรียนกับ Tokushu-ka ได้เลย การเรียนของ Tokushu-ka นั้นจะแบ่งเป็น3ส่วนคือ ส่วนแรก การทำอุจิโกมิ อาจจะมีการสอนรายละเอียดท่าเล็กน้อย แต่ว่าการที่จะเน้นทุกรายละเอียดเหมือนกับFutsu-kaนั้นไม่มีแล้ว ดังนั้นถ้าท่าต่างๆที่เรียนมารายละเอียดท่ายังไม่ครบก็ต้องถามรายละเอียดกับคู่ซ้อมนั้นละครับ ตอนอุจิโกมิก็จะแบ่งออกเป็น2ส่วนคือการทำอุจิโกมิธรรมดา ส่วนอีกอย่างก็คือการทำนาเกโกมิ คือการใส่ท่าพร้อมกับการทุ่ม หลังจากที่ซ้อมเข้าท่าอยู่ประมาณ3-4 ท่า แล้วแต่ที่อาจารย์จะบอกให้ทำแล้ว ในบางครั้งก็อาจจะมีการเรียนเนวาซะเล็กน้อย รวมทั้งการเรียนพวกท่าล๊อคต่างๆ ต่อจากนี้ก็จะแบ่งเป็นการรันโดริ รันโดริก็แบ่งเป็น2แบบ คือการยืนสู้ กับ การนอนสู้ เริ่มจากยืนสู้ก่อน ใครชอบใครก็เลือกคู่กันเอง (บางครั้งหลังจากคู่แรกแล้วอาจารย์จะเป็นคนจับวนให้ บางคนก็อาจจะไม่ได้คู่ที่ถูกใจ) การยืนรันโดริ จะซ้อมอยู่ประมาณ3-5ครั้ง แล้วแต่เวลาเหลืออยู่เท่าไร จบจากการยืนรันโดริแล้ว ก็จะเป็นการนอนรันโดริ การนอนรันโดริก็จะซ้อมอยู่ประมาณ2-3ครั้ง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเวลาด้วย ในการรันโดริทั้งยืนและนอนนั้น ไม่มีการพัก หากใครจะพักก็ไม่มีใครห้ามเช่นกัน แต่ว่าคนๆนั้นก็จะต้องหยุดรันโดริในรอบนั้นไป ซึ่งก็ต้องแล้วแต่ว่าใครมีแรงอึดจะลงให้ครบทุกครั้ง หรือจะพักบ้างก็แล้วแต่ร่างกายพาไปเช่นกัน

วันนี้เป็นวันแรกที่ผมเริ่มต้นกับ Tokushu-ka คอร์ส การยืนรันโดริมีทั้งหมด 4 ครั้ง ผมลงไป3ครั้ง ส่วนการนอนรันโดริมี2ครั้ง ก็ลงไปทั้ง2ครั้งละครับ

การยืนรันโดริก็ผ่านไป ไม่มีปัญหาทั้ง3คู่ เพราะว่าคู่ต่อสู้ตัวเท่าๆกัน ถ้าเป็นการแข่งผมก็ชนะไปทั้ง3ครั้งแหละครับ ครั้งแรกผมเจอกับสายขาว คนที่จับคู่อุจิโกมิด้วยกันนั้นแหละครับ ก็ไม่มีอะไรเด่นมากเท่าไร ยืนดีแต่ไม่นิ่งพอส่วนใหญ่คู่ซ้อมจะเป็นฝ่ายรับซะมากกว่า ใช้ท่าง่ายๆ2ท่าคือไทโอโตชิ กับ อุจิมาตะ ก็ทุ่มได้ทั้ง2ครั้ง เวลารอบนี้ก็หมดแล้ว ส่วนอีก2คู่ที่เลือก ผมจับคู่กับสายดำ คู่ที่สองผมรันโดริกับเพื่อนที่เรียนกันมาในคอร์สแรกแต่ว่าคนนี้ได้สายดำมาแล้ว เพียงแต่พื้นฐานไม่แน่นเลยมาเรียนใหม่ ก็อย่างที่บอกว่าพื้นฐานไม่แน่น จำไม่ได้เหมือนกันว่าทุ่มได้กี่ครั้ง แต่ทุ่มได้หลายครั้ง คนนี้ไม่น่าลุ้นเท่าไรเพราะรู้ว่าชนะชัวร์แบบง่ายๆ

คนสุดท้ายนี้แหละถือเป็นความสะใจของการเรียนวันแรกในคอร์สนี้ จะว่าไปก็คือสายดำรุ่นพี่ที่เรียนจบจากโคโดกังไปเมื่อปีที่แล้ว และต้องการจะฝึกฝนฝีมือให้ขึ้นไปในระดับ2-3-4 ต่อๆไป เลยบางครั้งจะมารันโดริกับนักเรียนที่เรียนอยู่ อยากรู้เหมือนกันว่ารุ่นพี่สายดำสถาบันโคโดกังจะมีฝีมือประมาณไหน เริ่มต้นเปิดเกมมา ไม่เกิน5วินาทีแรก รุ่นพี่สายดำ กับ เพื่อนที่พักอยู่รอบๆนี้ งงไปเลยครับ ว่าจะเจอนักเรียนที่เพิ่งขึ้นมาเรียนคอร์สนี้เป็นวันแรกทุ่มแบบไม่ทันคิดว่าจะถูกทุ่มได้เร็วขนาดนี้ ท่าที่ใช้คือใช้ o-sotogari หลอก แล้วสบัดตามมาด้วยของจริงคือ sasae tsurigomi ashi ในขาตรงข้าม จังหวะมือ+เวลาลงตัวกับแรงต้านของคู่ต่อสู้ในทิศทางเดียวกันพอดีก็เลยล้มอย่างสวยงามทีเดียว ถ้าเป็นแข่งจริงแล้วไม่อิปป้งผมคงตามไปซ้ำด้วยเนวาซะ เพราะอย่างน้อยท่านี้ก็ต้องได้วาซะอะริชัวร์ๆ ต่อจากนี้คู่ต่อสู้ระวังตัวมากขึ้น ผมลองจะใช้ท่า hikikomi gaeshi แต่ว่าคู่ต่อสู้ระวังตัวมากและไม่ยอมให้จังหวะผมจับเข็มขัดทางด้านหลังได้ จับไม่ได้ก็ไม่เอา เปลี่ยนเป็นการสอดขาขวาเข้าไประหว่างขาทั้งสองข้างของคู่ต่อสู้แล้วเตรียมทุ่ม ท่าที่ผมคิดออกมี2ท่าคือ uchimata กับ o-uchigari แต่คู่ต่อสู้เป็นสายดำผมเน้นความรัดกุมดีกว่า ใช้วิธีดึงแขนแล้วเอาขาเกี่ยวค่อยๆหมุนไปรอบๆให้เกิดแรงเหวี่ยง ก็สามารถที่จะเหวี่ยงสายดำล้มลงไปได้อีกครั้ง แต่คิดว่าแต้มนี้อย่างดีก็คงแค่ยูโก หรือไม่ก็ โคกะ เท่านั้นเอง คู่ต่อสู้พยายามเริ่มเดินเกม ด้วย seoinage, tai-otoshi และ สอดขาเข้ามาเพื่อเตรียมใช้ uchimata แต่ทุกท่าก็จะหยุดลงแค่การหมุนตัวได้แค่ 1/4 รอบเท่านั้นเอง เพราะว่าแขนซ้ายผมเกะกะอยู่ ผมพยายามโต้กลับไปด้วย sode tsurikomi goshi แต่ก็อีกเหมือนกันคือแขนขวาคู่ต่อสู้ก็เกะกะผมไม่ปล่อยเช่นกัน ในเมื่อต่างก็เข้าทำไม่ได้ก็ต้องเปลี่ยนท่า ผมลองใช้ tai-otoshi แบบทุ่มไปด้านข้างก็ยังไม่ดีพอที่จะทุ่มคู่ต่อสู้ลงไปได้ เวลารันโดริรอบนี้เหลืออีกไม่เยอะเท่าไร มือคู่ต่อสู้ที่จับคอเสื้อผมอยู่ก็เกะกะจริงๆ ผมก็เลยลองเปลี่ยนมาจับซ้ายดูบ้างแบบเอาศอกกดแขนขวาของคู่ต่อสู้ส่วนมือผมก็ตะครุบคอเสื้อด้านหลังไว้ได้แล้ว ได้ผลครับ สังเกตุได้ชัดเลยว่าคู่ต่อสู้แก้ท่าไม่ออกเลย ที่นี้คู่ต่อสู้เริ่มถอยหลังอย่างเดียวเพราะว่าการกดแขนในลักษณะนี้ คนที่เป็นสายดำคงพอจะรู้ว่าจะตามมาด้วยท่าจำพวก uchimata harai-goshi หรือไม่ก็hane-goshi การถอยหลังถือเป็นวิธีถ่วงเวลาไปก่อนเพื่อที่จะหาทางแก้ท่า แต่จริงๆแล้วผมก็ไม่ชัวร์ว่าผมจะใช้ท่า uchimata โดยการจับซ้ายออกรึเปล่า เพียงแต่ที่แน่ๆอยู่ในท่านี้แล้ว+กับแรงกดดันคู่ต่อสู้สายดำในเกมที่ผมสร้างขึ้นจากการจับซ้าย ยังไงก็ต้องหาจังหวะใช้ท่า uchimata ให้ออก แต่แล้วเวลาก็หมดลงโดยคากันอยู่ในท่าศอกกดแขนอยู่นั้นแหละ ทั้งคู่พูดออกมาพร้อมกันเลยว่า โชคดีจริงๆที่หมดเวลา คู่ต่อสู้สายดำคงหมายความว่าโชคดีจริงๆที่รอดจากจุดเสียเปรียบและรอดจากท่าอุจิมาตะ ส่วนโชคดีของผมคือ รอดจากการที่ไม่ต้องใช้อุจิมาตะจากการจับซ้าย เพราะว่าผมก็ไม่ชัวร์ว่าใช้ออกไปแล้วสมดุลย์ร่างกายจะรับกันมั้ย ดีไม่ดีจะกลายเป็นฝ่ายถูกทุ่มซะเอง

เนวาซะในวันแรกนี้ รอบแรกเจอกับสายดำเพื่อนผมคนที่ผมเข้าคู่การยืนรันโดริด้วยในรอบที่2 ผมเริ่มไม่แน่ใจว่าเพื่อนผมคนนี้ได้สายดำมาจริงรึเปล่า เพราะว่าผมเริ่มให้ทำก่อนโดยผมอยู่ในท่าเต่า เพื่อนผมได้แต่ งงๆว่าจะทำยังไงดีถึงจะล๊อคหรือว่าใช้โอไซโกมิได้ แต่ไม่น่าจะเป็นของปลอมเพราะว่าเพื่อนผมคนนี้บอกว่า เค้าเรียนยูโดมาประมาณ4-5ปีแล้วกว่าจะได้สายดำมาและตอนซ้อมกันในคอร์สแรกนั้น การทำอุเกมิก็ทำได้ดีทีเดียว คงจะเป็นของจริง เพียงแต่การเรียนจำพวกเนวาซะอาจจะน้อยไปหน่อย

คู่ที่สอง ผมเลือกที่จะลองกับสายดำมืออาชีพจริงๆดูซักครั้ง คราวนี้เจอของจริง ไม่ว่าผมจะใช้ท่าไหนก็ตาม ในจังหวะล๊อคสุดท้าย หรือว่าจุดที่กำลังจะล๊อคได้ คนๆนี้จะปิดไว้และดิ้นหลุดออกมาได้ทุกครั้ง ส่วนตอนที่ผมเป็นฝ่ายรับผมก็จะโดนท่าจำพวกล๊อคมือจนดิ้นไม่หลุดและต้องยอมทุกครั้งไป มีอยู่ครั้งนึงที่ท่า okuri eri jime ของผมสมบูรณ์แล้ว (น่าจะเกิดจากการฟลุ๊ค จากตอนที่คู่ต่อสู้ยังงงอยู่ว่าผมรู้จักท่านี้ได้ไง) แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าบริเวณคอเสื้อที่ผมล๊อคอยู่ คู่ต่อสู้ผมฝืนทนหรือว่าผมล๊อคไม่ถูกหลักกันแน่ ที่แน่ๆเหมือนกับว่าคู่ต่อสู้ไม่มีอาการอึดอัดจากการถูกล๊อคเท่าไร เพิ่มแรงก็แล้ว บิดให้มากขึ้นก็แล้วแต่ก็ยังเฉยๆ สังเกตุดูก็เห็นมือของคู่ต่อสู้ใช้แรงต้านอยู่บริเวณคอเสื้อ มิน่าละถึงไม่อึดอัดเท่าไรก็ต้องปล่อยเพื่อเปลี่ยนเป็นใช้ท่าอื่น ช่วงท้ายๆกลายเป็นผู้ใหญ่สอนเด็กไปเลยว่า แขนไม่ควรอยู่ในท่านี้เพราะจะโดนท่าล๊อคได้ง่าย ยอมรับว่าโปรจริงๆ แต่วันนี้เป็นแค่วันแรกของผม รอก่อน รอให้ผมชำนาญท่านอนสู้มากกว่านี้ แล้วจะกลับมาให้สั่งสอนใหม่

ถามเพื่อนๆที่วันนี้เริ่มเรียนวันแรกเหมือนกันในคอร์สนี้ ทุกคนบอกว่า เนวาซะ นั้นยากและน่ากลัวกว่าตอนยืนสู้ เพราะว่าท่ายืนสู้ ส่วนใหญ่จะเป็นท่าที่รู้ๆกันอยู่ ส่วนใหญ่ที่ใช้กันจะเป็นท่าพื้นฐานที่เรียนมากันแล้ว (ยกเว้นผมคนเดียวมั้ง เพราะคิดว่าถ้ารู้ท่าแปลกๆเยอะกว่าคนอื่นซัก2-3ท่า มันจะได้เปรียบตอนรันโดริหรือแข่งจริง อย่างน้อยก็ในช่วงแรกๆก่อนที่จะได้สายดำ) ส่วนเนวาซะ แต่ละคนจะโดนท่าล๊อคแปลกๆที่ยังเรียนไม่ถึง ทำให้อยู่กันคนละระดับ แบบสู้กันไม่ได้จริงๆ แต่ต้องยอมรับเลยว่า คนที่รันโดริเนวาซะกับผมในรอบที่2 ฝีมือห่างกันหลายขุมมากๆ คงอีกนานกว่าจะไล่ตามคนๆนี้ทัน



Create Date : 01 กันยายน 2554
Last Update : 1 กันยายน 2554 21:38:13 น. 0 comments
Counter : 2628 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.