บล็อกรวบรวมกระทู้คำถามปัญหาความรักที่น่าสนใจจากพันทิพนะคะ^^
 
จิตวิทยากับความรัก

วันนี้ Mrs. A-Za-Ra  จะมาพูดถึงเรื่องความรักกันคะเพราะความรักมันเป็นเรื่องลึกซึ้งและซับซ้อนวันนี้เราจะมาช่วยไขข้อข้องใจและมาทำความเข้าใจความรักให้มากขึ้นในแง่มุมทางจิตวิทยากัน^^

จิตวิทยากับความรัก(Psychology and Love)

อเอ่ยถึงคำว่า ‘รัก’ มักมีคำถามเชยๆ ว่า ‘ความรักคืออะไรคนโสดหัวใจยังไม่เคยมีคู่ทั้งหลายได้ยินเข้าคงได้แต่แสบๆ คันๆที่กลางใจเพราะอยากมีส่วนร่วม แต่จะพูดไปมันก็ไม่ใช่เรื่องของเรา ปล่อยให้คนมีรักมาและมีประสบการณ์ด้านความรักไปตอบกันเองดีกว่าไหนๆบางคู่ก็ว่ารักคือการให้ บางคู่ว่ารักคือการเสียสละ บ้างว่าเป็นเรื่องความเข้าใจและบ้างก็ว่าเป็นเรื่องความผูกพัน ฯลฯ


ทั้งหลายทั้งมวลที่พูดมา เป็นนิยามรักตามแบบที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆแต่แท้จริงแล้ว ความหมาย ‘ที่ตายตัวนั้นเป็นอย่างไรก็ยังไม่เคยมีใครกล้าฟันธงกันสักที...

ตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ‘รัก’ มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า to love, to care for, to befond of[2] ซึ่งหมายถึง to feel love, desire, or strongfriendship [3]นั่นคือ ‘ความรู้สึกรัก’ ซึ่งรวมถึงความปรารถนาตลอดจนสัมพันธภาพที่เข้มแข็งระหว่างบุคคล

สำหรับความรักตามหลักจิตวิทยานั้น อีริคสัน (Erickson[4]) เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อของอเมริกา ได้อธิบายถึง ‘ความรักความห่วงใย’ ไว้ว่าเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกแล้วทำให้อีกฝ่ายมีความสบายใจ อบอุ่นใจความรักเป็นความสัมพันธ์ทางอารมณ์ระหว่างบุคคล มิใช่เพียงความต้องการทางร่างกายความรักไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ความรักเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้

การมีความรักควรจะเริ่มพัฒนาจากการรักตนเองก่อนและเป็นธรรมดาที่เมื่อเรารักใครแล้ว เราย่อมต้องการความพึงพอใจ มีความซื่อตรงจงรักภักดีและยินดีให้ความช่วยเหลือจากเขาแต่ก็มิใช่ว่าเราจะเป็นฝ่ายเสียสละแต่เพียงผู้เดียว

ความรักตนเองทำให้เรารักคนอื่นความรักตนเองตรงข้ามกับความเห็นแก่ตัวผู้ที่มีความรักย่อมมีทัศนคติที่จะเอื้อเฟื้อและมีความรับผิดชอบ นับถือ เข้าใจคนที่เรารัก ไม่ดูดายต่อความต้องการและการแสดงออกของอีกฝ่ายหนึ่งรวมทั้งควรมองเขาอย่างเป็นกลาง เข้าใจเขาอย่างถ่องแท้รู้ซึ้งถึงความต้องการและความจำเป็นของเขา พร้อมที่จะให้อภัยกันเสมอโดยที่ทั้งสองฝ่ายต้องเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับในเวลาเดียวกัน[5]

แล้วคำถามยอดฮิตต่อไปที่ตามมาก็คือ ... ‘ความรักเกิดขึ้นได้อย่างไร?’… เป็นไปได้ไหมที่การมีความรักไม่เกี่ยวข้องกับเหตุผลเลยแต่อาจเกิดจากสิ่งที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกมนานแล้ว เช่นเคยรักใครชอบพอกันตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นเด็ก ก็เลยรักมาจนโตประมาณว่ามีรักแรกมาตั้งนานแล้วแต่เพิ่งจะมาค้นพบใจตนเอง

ประการต่อมา ความรัก อาจเกิดจากความประทับใจครั้งแรก (Firstimpression) ในคุณสมบัติทางกาย เช่น รูปสมบัติและคุณงามความดีอื่นๆหรืออาจจะเป็นเพราะความใกล้ชิดสนิทสนมกัน ความสงสารความแตกต่างของฮอร์โมนเพศในร่างกายของแต่ละคนความแตกต่างของขั้วไฟฟ้าสถิตในบุคคลแต่ละเพศ คลื่นรัศมีจากร่างกายหรืออาจเป็นเพราะบุพเพสันนิวาส แล้วรักของคุณเกิดขึ้นได้อย่างไร พอจะจำกันได้หรือไม่คะ


ทีนี้เมื่อเกิดความรักขึ้นมาในหัวใจของแต่ละคนแล้ว เคยสังเกตกันหรือไม่ว่าทำไมบางครั้งถึงได้รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์เป็นห่วง อยากจะนึกหาสารพัดวิธีดีๆมาทำให้คนที่เรารักประทับใจขึ้นมาได้อย่างน่าประหลาดนั่นเป็นเพราะคนที่มีความรักมักมีความผูกพันทางอารมณ์ 3 ประการด้วยกัน คือ  

            1. ด้านความรู้สึก เป็นความรู้สึกรักใคร่รู้สึกชอบ รู้สึกเป็นสุขที่ได้อยู่ใกล้ ทุกข์ใจเมื่อยามห่าง

2. ด้านความคิด เป็นการมองคนที่เรารักในแง่ดีมองเห็นคุณค่าและความหมายของเขา อยากทำสิ่งที่ดีให้และปรารถนาที่จะให้เขามีความสุข

            3. ด้านการกระทำ เป็นการปฏิบัติต่อกันอย่างอ่อนโยนการดูแลเอาใจใส่ การสัมผัส กอดจูบและมีเพศสัมพันธ์



เช่นนั้นพฤติกรรมที่กล่าวถึงในข้างต้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับคนกำลังมีความรักเพราะเมื่อความรักได้เกิดขึ้นแล้วระหว่างคนสองคน พวกเขาก็จะแสดงออกถึงความรักที่มีให้แก่กันและกันซึ่งการแสดงออกนี้อยู่บนพื้นฐานของอารมณ์ ที่จะแสดงออกมาทางความรู้สึก ความคิดและการกระทำต่อคู่รักด้วยกัน

คนที่เคยมีความรักทราบหรือไม่ว่า ‘ความรัก’ ประกอบด้วย ความใกล้ชิดผูกพัน (Intimacy) การอุทิศตน (Commitment) และอารมณ์รัก (Passion)[6] นั่นคือคนที่มีความรักจะมีความรู้สึกว่าอยากใกล้ชิดสนิทสนมกับคนรัก มีความผูกพันและมีความรู้สึกร่วมกับบุคคลอันเป็นที่รักเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆโดยรู้สึกเหมือนกับเป็นเรื่องของตนเองและสามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของกันและกันได้ รวมทั้งจะมีความรู้สึกเทิดทูนนับถือ และศรัทธาในคนรักของตน


การตรวจสอบในเบื้องต้นว่าเราได้พบรักแล้วหรือยังอาจใช้วิธีการสำรวจตนเองว่า “มีอารมณ์รักเกิดขึ้นหรือเปล่า?” ผู้ที่พบรักและกำลังอยู่ในห้วงแห่งความรักจะมีอารมณ์รักซึ่งเป็นความรู้สึกภายในใจที่เป็นความปรารถนาเป็นแรงผลักดันที่จะดึงดูดหญิงชายเข้าหากันอารมณ์รักแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกโรแมนติกและมีความรู้สึกว่าต้องการใกล้ชิดทางด้านกายภาพกับบุคคลอันเป็นที่รักรวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ด้วย

ในการศึกษาความคิดเห็นของคู่รักหลายๆ คู่ พบว่าความรักถูกเลือกให้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการมีสัมพันธภาพรักที่มีความสุขนอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบอีกว่าคู่รักที่มีความรู้สึกรักใคร่ต่อกันในระดับสูงเมื่อแต่งงานก็จะมีความพึงพอใจในชีวิตสมรสในระดับสูงอีกด้วย


แต่การจะประคับประคอง ‘ความรัก’ ให้เป็นรักเดียวที่มั่นคง คงทน และถาวร จนความรักสุกงอมหอมหวานทั้งสองฝ่ายควรมองหามองเห็นคุณค่าและส่วนดีของอีกฝ่ายหนึ่ง ในที่นี้มิได้หมายถึงการมองว่าอีกฝ่ายหนึ่งดีเลิศแบบชายหรือหญิงในอุดมคติแต่หมายถึงการมองและยอมรับสภาพความเป็นจริงที่เขาและเธอต่างเป็น

ปัญหาที่พบบ่อยสำหรับคู่รักหลายๆคู่ที่ต้องจบรักแรก แล้วต้องไปแสวงหารักครั้งใหม่คือการมองข้ามสิ่งที่ดีของอีกฝ่ายหนึ่งไป และมองเห็นเพียงข้อบกพร่องในคู่รักของตนเท่านั้น

ซึ่งปัญหานี้ เรามีวิธีแก้ไขได้ง่ายๆด้วยการมองเห็นคุณค่าและส่วนดีของบุคคลอันเป็นที่รักของเราโดยใช้คำพูดหรือการกระทำเพื่อบ่งบอกว่าเราเห็นคุณค่าในตัวเขา เช่นแม้ฝ่ายหญิงจะไม่มีฝีมือในการทำอาหารหรือที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่าไร้เสน่ห์ปลายจวักแต่ฝ่ายชายก็ยังคงยืนยันที่จะทานอาหารที่คนรักของเขาทำให้เท่านั้นด้วยเหตุผลสุดจะตื้นตันว่าอาหารที่อร่อยที่สุดคือ อาหารที่เธอทำในมุมกลับเมื่อเขายอมและอดทนเพื่อเธอได้ ฝ่ายหญิงก็ควรจะหาโอกาสพูดหรือมี
การกระทำที่แสดงความขอบคุณในสิ่งดีๆ ที่อีกฝ่ายหนึ่งทำให้เช่นกันการแสดงออกซึ่งความรักอย่างการสัมผัสหรือการโอบกอดก็ยังเป็นพฤติกรรมสามัญที่แสดงให้คนที่เรารักรู้ได้ว่าเรายังคงความสำคัญในกันและกันอยู่...


หลายคนพบสัจธรรมที่ว่า “ กว่าจะพบคนถูกใจก็ได้ใช้เวลาไปมาก แต่การจะรักษาความรักที่ผ่านเข้ามาในชีวิตให้มี ความหอมหวานเหมือนช่วงแรกที่พบกันนั้น มันแสนจะยากเย็นกว่าหลายเท่านัก”

เป็นยังไงกันบ้างคะ หลังจากอ่านบทความเรื่องโปรดของ Mrs. A-Za-Ra แล้ว หวังว่าช่วยทำให้ทุกคนเข้าใจความรักและเข้าใจตนเองรักตนเองกันให้มากขึ้นไม่มากก็น้อย^^ แล้วครั้งหน้าจะหาบทความที่มีประโยชน์ในเรื่องความรักมาฝากทุกคนอีกทีนะคะ

Mrs. A-Za-Ra


ที่มา //librarianmagazine.com/VOL2/NO6/psychology_love.htm

เรื่องโดย ดร.ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ [1] (อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

อ้างอิง

1] อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

[2] So Sethaputra. (2542). New Model Thai-EnglishDictionary. Volumn II (ป-ฮ). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

[3] Longman Dictionary of Contemporary English. (1989).

[4] เชาวลิต สถากร. (2544).อ้างอิงมาจาก Erickson (1993)

[5] กิตติพัฒน์ สุขประสิทธิ์. (2548). บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและทัศนคติด้านความรักของคู่สมรสที่มีความสุขในชีวิตสมรส

ต่างกัน. ปริญญานิพนธ์กศ.ม.จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย.

[6] เชาวลิต สถากร.  (2544). ความสัมพันธ์ของหลักทิศ 6 กับความรักและความผูกพันของคู่สมรสของพนักงานต้องรับบน

เครื่องบินของบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.




Create Date : 02 กรกฎาคม 2557
Last Update : 2 กรกฎาคม 2557 16:12:58 น. 0 comments
Counter : 1847 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Mrs A-za-ra
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ที่ปรึกษาปัญหาความรัก@TailorYourDate
[Add Mrs A-za-ra's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com