*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 

การให้ความเคารพต่อ Freedom of Expression & Right of Privacy ในสหรัฐอเมริกา

เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๔ ได้มีการรายงานว่า รมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)ได้จับกุมบัณฑิตใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเพิ่งรับพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาในที่ทำงาน หลังจากจับกุมตั้งแต่วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ก็ได้นำไปฝากขังที่ สน.บางเขนไว้ ๑ คืน ก่อนที่จะ นำไปตัวไปฝากขังต่อศาลในวันต่อไป และปรากฎยื่นเรื่องประกันตัวต่อไม่ทันในวันศุกร์ที่ผ่านมา

ผู้ต้องหารายล่าสุดนี้ ได้ถูกนายนิพนธ์ ลิ้มแหลมทอง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แจ้งความดำเนินคดี โดยอ้างว่าเพื่อรักษาชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังจากที่เขาแสดงความเห็นใน Facebook ของเขา และได้ถูกผู้บริหารมหาวิทยาลัยไปตักเตือนแล้ว และได้ถูกกลุ่มล่าแม่มด ตามเอาเรื่องผู้ต้องหารายนี้อย่างต่อเนื่อง




ผมไม่เห็นหรอกว่า เด็กคนนี้ พูดอะไร เขียนอะไร และมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่ จึงขอนำหลักกฎหมายเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิด (Freedom of Expression) และสิทธิในความเป็นส่วนตัว (Right of Privacy) ตามหลักกฎหมายสหรัฐฯ และ รัฐธรรมนูญของไทย มากล่าวไว้สักเล็กน้อย

การวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ หรือการแสดงความคิดเห็นใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำที่น่ารังเกียจขนาดไหน (Hate Speech) ก็จะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑ หรือ The First Amendment to the U.S. Constitution เสมอ เว้นแต่ถ้อยคำนั้น จะก่อให้เกิดความแตกแยกอย่างร้ายแรงและเกิดขึ้นจริง ๆ ไม่ใช่ทึกทักว่าน่าจะเกิดขึ้น หรือ กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐอย่างร้ายแรง และมีแนวโน้มจะทำให้รัฐล่มสลายจริง ๆ เท่านั้น รัฐจึงจะเข้าควบคุมและจัดการดำเนินคดีได้

ถ้าการวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ เกิดให้ความเสียหายแก่บุคคลใด ๆ บุคคลที่ได้รับความเสียหายนั้น ก็จะต้องมีการฟ้องร้องทางแพ่งฐานละเมิด หรือ ฟ้องร้องทางคดีอาญาต่อไป

แต่การใช้สิทธิฟ้องร้องดังกล่าว จะถูกจำกัดอย่างมาก หากเป็นการวิพากษ์วิจารณ์บุคคลสาธารณะ (Public Figure) ได้แก่ ตำแหน่งผู้บริหารฝ่ายการเมือง หรือ ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานของรัฐ เพราะบุคคลพวกนี้ กระทำในฐานะที่จัดทำบริการสาธารณะ (Public Service) ย่อมถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างเต็มที่ ในทางที่ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว คือ ถ้าวิจารณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวแล้ว เอาให้ตายไปข้างหนึ่ง จะไปเรียกค่าเสียหายไม่ได้

สิทธิในการแสดงความคิดเห็นของสหรัฐฯ ได้รับความคุ้มครองที่สูงมาก เพราะเชื่อว่า หากสังคมมีการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อมูลมากที่สุด ตามหลัก Free Market of Ideas มากเท่าไหร่ ประชาชนก็จะได้ประโยชน์มากเท่านั้น และ ในสังคมประชาธิปไตย ไม่มีสิ่งใดที่ไม่อาจจะถูกตรวจสอบหรือไม่อาจจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ หากมีพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แล้ว สังคมนั้นก็ไม่อาจจะเรียกตัวเองได้ว่า เป็นประชาธิปไตยได้ เพราะขาดความโปร่งใส ขาดการตรวจสอบ ขาดการวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนเจ้าของประเทศตนเอง

ในอีกด้านหนึ่ง การวิพากษ์วิจารณ์ที่เผยแพร่มายังสาธารณะ หากวิพากษ์วิจารณ์บุคคลอื่นในทางที่ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ ย่อมเป็นความผิดได้ แต่ถ้าไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ในสื่อสาธารณะ เช่น การเขียนไดอะรี่ส่วนตัว การเขียนบันทึกส่วนตัว ฯลฯ ที่บุคคลอื่น ๆ หรือบุคคลทั่วไปเข้าไม่ถึง กรณีนี้ ย่อมไม่ถือเป็นพื้นที่สาธารณะ (Public Zone) แต่ถือเป็นพื้นที่ส่วนตัว ( Private Zone) เช่น ในการเขียนข้อมูล หรือบันทึกข้อมูลใด ๆ ใน Facebook ถ้าจำกัดการเข้าถึงมิให้เป็น Public Figure หรือ ประชาชนทั่วไปเข้าถึงไม่ได้ ย่อมแสดงว่า เจ้าของเวปเพจ ของ Facebook นั้น ย่อมสงวนพื้นที่ส่วนตัว (Private Zone) ซึ่งถือเป็นสิทธิส่วนตัวโดยแท้ โดยเฉพาะการจำกัดมิให้บุคคลเข้าถึงได้ หรือ มีการตั้งรหัสผ่าน การที่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เจ้าตัวนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ จึงกลายเป็นว่าบุคคลอื่นกระทำการเผยแพร่ ไม่ใช่เจ้าของเพจที่กระทำผิดใด ๆ และบุคคลอื่นนั้น อาจจะกระทำผิดเสียเอง ไม่ใช่คนที่เขียนข้อความในทางส่วนตัวนั้น




ผู้บังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย อัยการ หรือ ศาล จึงต้องตระหนักถึงสิทธิสองประการข้างต้นให้หนักว่า Freedom of Expression ในการวิพากษ์วิจารณ์ย่อมได้รับความคุ้มครอง ในฐานะประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศ และ โดยเฉพาะ Right of Privacy ในดินแดนส่วนตัว ไม่ว่าเขาจะเขียนหรือพูดอะไร ก็เป็นเพียงแค่ความคิด ไม่ใช่การกระทำที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ การลงโทษเพราะคิดต่าง เห็นต่าง จึงไม่อาจจะกระทำได้

กลับมาที่ประเด็นว่าเด็กเกษตรคนนี้ กระทำผิดอะไรบ้าง เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ผมมีนั้นน้อยมาก จึงไม่รู้ว่าเขาเขียนอะไร พูดอะไร ฯลฯ แต่ถ้าเขาเขียนในเวปเพจ ส่วนตัว คนอื่นเข้าถึงไม่ได้ แล้วมีคนลักหรือนำข้อความที่เขาเขียนเอาไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ กรณีเช่นนี้ ย่อมไม่ถือว่าเขากระทำผิดใด ๆ คนที่นำไปเผยแพร่ คือ คนที่กระทำผิดอาญา ไม่ใช่เด็กคนนี้ เว้นแต่เวปเพจ ของเด็กคนนี้จะเผยแพร่เป็นสาธารณะ หากถ้อยคำที่เขาเขียนเข้าข่ายกระทำผิดอาญา ก็จะต้องรับผิดชอบไป เพราะสังคมไม่ปรารถที่จะให้คนใช้สิทธิในการวิพากษ์วิจารณ์ไร้ขอบเขต จนทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงเช่นกัน




ความผิดที่เด็กคนนี้ ถูกกล่าวหาและจับกุม คือ มาตรา ๑๑๒ ป.อาญา หรือความหมิ่นฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรอืแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ฯ

ศาลฎีกาพิพากษาไว้ในหลายกรณี ( และด้วยความเคารพตามหลักวิชาการแล้ว ผมคิดว่า ศาลฎีกาพิพากษาพิพากษาเลยเถิดจากหลักกฎหมายอย่างมาก ) เช่น ฎีกาที่ ๒๓๕๔/๒๕๓๑, ๕๑/๒๕๐๓ ที่ว่า การกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น ทำให้พระกษัตริย์เสียหาย ไม่อาจจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกล่าวติชมโดยสุจริต เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ อยู่เหนือการติชมทั้งปวง

ตามหลักโบราณราชประเพณี ว่าด้วยหลักการ "เอนกชนนิกรสโมสรสมมุติ" หลักการประชาธิปไตย และ หลักกฎหมายอาญาแล้ว อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนทุกคน นักวิชาการชื่อดัง จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น อ.หยุด แสงอุทัย อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และนักวิชาการชั้นนำอีกหลายท่าน จึงเห็นว่าทุกคนในรัฐจึงต้องสามารถถูกตรวจสอบได้ การวิพากษ์วิจารณ์หรือติชมโดยชอบธรรม แม้กระทั่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอง ก็เคยตรัสว่า พระองค์เองก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ เมื่อมีการดำเนินคดีตาม ป.อาญา มาตรา ๑๑๒ ก็ทำให้พระองค์เดือดร้อนทุกครั้ง ดังนั้น ข้าราชการผู้บังคับใช้กฎหมาย จึงไม่ควรจะตีความกฎหมายทางที่ผิด

กฎหมายอาญาจะต้องตีความเคร่งครัด การกระทำผิดตาม มาตรา ๑๑๒ จึงจะต้องตีความเคร่งครัดมาก ๆ เช่น จะต้องเป็นการกล่าวที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลที่สาม คือ กระทำต่อสาธารณะเป็นการทั่วไป และไม่ใช่การติชมโดยสุจริต หากเป็นเพียงการแสดงความเห็นส่วนตัว โดยเฉพาะในพื้นที่เฉพาะส่วนตัวด้วยแล้ว หากบุคคลอื่นนำมาเผยแพร่ ย่อมแสดงให้เห็นว่า เจ้าตัวไม่ได้มีเจตนากระทำการให้เผยแพร่ ก็จะต้องนำความเคร่งครัดของกฎหมายอาญามาตีความด้วยเช่นกัน




กล่าวโดยสรุป หากเด็กคนนี้ เผยแพร่ความคิดของเขาเองสู่สาธารณะ และเข้าองค์ประกอบกฎหมายอาญาที่ตีความเคร่งครัด ก็ดำเนินคดีกันไป ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ แต่ถ้าไม่ผิด ผู้บังคับใช้กฎหมายก็จะต้องกล้าหาญ มีจริยธรรมและหลักวิชาชีพในการที่ปกป้องสิทธิและเสรีภาพของเด็กคนนี้จนสุดชีวิตเช่นกันครับ ว่ากันไปตามข้อเท็จจริงครับ




 

Create Date : 08 สิงหาคม 2554    
Last Update : 9 สิงหาคม 2554 13:54:33 น.
Counter : 5695 Pageviews.  

จีน อินเดีย และ การเปลี่ยนแปลงบทบาทเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ในยุคปัจจุบัน

ช่วงสองอาทิตย์ที่ผ่านมา ที่ UIUC มีการสัมมนาที่น่าสนใจหลายประการ ไม่เฉพาะเรื่องที่เขียนเป็นชื่อ Topic แค่นั้น แต่มีหลายเรื่อง ดังนี้ ครับ


เรื่องแรก



เมื่อวันที่ ๗ และ ๘ มีนาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา College of Law ร่วมกับ Center for Advanced Study initiative on Science and Technology in the Pacific Center, Center for East Asian and Pacific Studies และ Institute for Genomic Biology and the Academy for Entrepreneurial Leadership ได้ร่วมกันจัดสัมมนาเรื่อง " The Changing Role of Intellectual Property in Asia: Moving Beyond "Producers" and "Consumers" " ซึ่งมีใจความสำคัญ คือ ศึกษาบทบาทของจีน และ อินเดีย ในโลกของกฎหมายและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งในด้านอุตสาหกรรมและการเกษตร ซึ่งปัจจุบัน จีนและอินเดีย มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่รวดเร็วมาก เป็นต้นว่า ในครึ่งปีแรกของ ๒๐๐๗ จีนมีตัวเลขความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่า ๑๑ เปอร์เซ็นต์ นักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ ได้ทำนายว่า จีนและอินเดีย จะเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในทศวรรตที่จะมาถึง

อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตจากผู้เข้าร่วมอภิปรายทั้ง ผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนจาก WTO จีน อินเดีย และในสหรัฐฯ เห็นพ้องตรงกันว่า จีนอาจจะเสียเปรียบอินเดีย ตรงที่ว่า ระบบกฎหมายจีนนั้น เป็นเพียงกฎหมายบทกระดาษที่ไร้ความหมายและไร้ค่าบังคับ โดยเฉพาะกฎหมายที่ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ระบบกฎหมายจีน มีความไม่แน่นอนสูงมาก โดยเฉพาะในแง่การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย (Implementation & Enforcement) ศาลท้องถิ่นของแต่ละมลฑล ตัดสินคดีแตกต่างกันไปอย่างมากทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริงเดียวกัน อีกทั้งประเทศจีน ยังมีการปกครองในระบอบเผด็จการ การลงทุนในจีน จึงมีความเสียงมากกว่า ในอินเดีย ที่เป็นประเทศประชาธิปไตย และมีการพัฒนาการของกฎหมายที่ดีกว่าในประเทศจีน โดยเฉพาะกฎหมายประเทศจีน ที่บังคับให้ประเทศต่าง ๆ ที่เข้าไปลงทุนในจีน จะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้จีนด้วย ซึ่งไม่ข้อเรียกร้องประเภทนี้ ในอินเดีย อีกทั้งในอินเดียเอง มีการลงทุน ทางด้านวิจัยและพัฒนา (R & D) อย่างมาก เพื่อส่งเสริมให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอินเดีย ได้รับการพัฒนาและก้าวหน้าทันโลก

อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า การพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาในอินเดีย โดยเฉพาะในด้านเภสัชและยารักษาโรคนั้น การให้เอกชนดำเนินการพัฒนาและคิดค้นยา นั้นเป็นสิ่งที่ล้มเหลว เพราะ บริษัทเอกชน ก็มุ่งแสวงหากำไรเพียงอย่างเดียว การพัฒนายา ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้สูงสุด หรือ ยาที่สำคัญต่อการรักษาโรคต่าง ๆ กลับไม่ได้รับความสนใจ และ ไม่ได้ตอบสนองความต้องการดังกล่าว ข้อเสนอของ ผู้เข้าร่วมสัมมนาจาก UC-Berkeley จึงเห็นว่า รัฐบาลของอินเดีย (ซึ่งรวมถึงประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลาย) จะต้องเข้ามาสนใจ และหันมาดำเนินการลงทุนเพื่อพัฒนายาให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างจริงจัง เพราะโดยธรรมชาติ เอกชน ไม่ประสงค์จะลงทุนใด ๆ หากไม่ได้กำไรสูงสุดอยู่แล้ว

รายละเอียดในเรื่องนี้ สามารถติดตามจากงานเขียนของผู้เข้าร่วมสัมมนา เป็นต้นว่า Alan Wm Wolff อดีตทูตสหรัฐฯ , Heping Cao จาก Yunna University , Doris Long อดีตผู้เชียวชาญประจำ WTO, Jerome Reichman จาก Duke Law School , Jayshree watai - Counsellor (Intellectual Property Division) WTO, Fred Abbott - Florida State University, Antony Taubman, Director of Global IP Issues Division and Life Science Program - World Intellectual Property Organization (WIPO) เป็นต้น







เรื่องที่สอง



เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๑ เวลาเที่ยง องค์กรนักศึกษาของ UIUC College of Law ได้จัดการเสวนาพิเศษ ทางด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม โดยเชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายสิ่งแวดล้อม คือ ท่าน ศาสตราจารย์ Freyfogle และ ศาสตราจารย์ Morriss ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Business, Economic & Law มาเสวนาเกี่ยวกับเรื่อง บทบาทของรัฐบาล ในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม

ศาสตราจารย์ Freyfogle ได้พูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ปัญหาโลกร้อน และการใช้และแสวงประโยชน์จากทรัพย์สินของปัจเจกชน ที่สร้างปัญหาในชุมชน สิ่งแวดล้อม และ ประเทศชาติ ว่าควรจะได้รับการทบทวนจากรัฐบาล โดยรัฐบาล ควรจะต้องเข้ามามีบทบาทในการใช้และแสวงประโยชน์จากทรัพย์สินประชาชนนั้นว่า ได้สร้างมลพิษอย่างไร โดยให้รัฐบาลมีอำนาจออกกฏเกณฑ์ต่าง ๆ มาควบคุมอย่างกว้างขวาง

ศาสตราจารย์ Morriss เห็นแตกต่างอย่างสิ้นเชิง โดยท่านใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์และหลักประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพย์สิน เช่น หลัก Transaction Cost [หลักการนี้ มีใจความสำคัญว่า ถ้าการดำเนินการทางธุรกิจใด ๆ หากมี Transaction Cost ต่ำ แล้ว ศาลและรัฐผู้มีอำนาจ ก็ไม่ควรจะมายุ่งเกี่ยวใด ๆ Ed.] เป็นที่ยอมรับว่า ความสามารถในการบริหารจัดการทรัพย์สินของประชาชนหรือของเอกชน ที่มีความสามารถเหนือกว่า รัฐบาลอย่างมากมาย การบริหารจัดการทรัพย์สินของเอกชน จึงไม่ควรถูกจำกัด เพราะการจัดสิทธิ์เหนือที่ดินและทรัพย์สินของประชาชน นั้นไม่ควรมี รวมถึง รัฐบาลกลาง ยังควรจะส่งเสริมให้มีการ Privatization ทรัพย์สินส่วนรวม เช่น National Park โดยมอบให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการอย่างเต็มกำลัง ซึ่งประชาชนพร้อมที่จะจ่ายในราคาสูงขึ้น หากมีการบริหารจัดการได้ดีขึ้น

ศาสตราจารย์ Frefogle โต้แย้งว่า เรื่องประสิทธิภาพนั้น เป็นเรื่องที่ยอมรับ แต่ในด้านการแสวงประโยชน์จากทรัพย์สิน และการใช้สิทธิของประชาชนอย่างเต็มกำลัง ย่อมกระทบต่อสิทธิของประชาชนในด้านอื่น ๆ ด้วย การมีกฎเกณฑ์ที่ดี โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อม ย่อมจะต้องสำคัญกว่า โดยเฉพาะปัญหาด้านมลพิษ ที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวาง ยาวนาน ในอนาคต ฯลฯ และจะต้องใช้ทุนมากมายมหาศาล ซึ่งโดยปกติ เอกชน ไม่มีทางลงทุนอยู่แล้ว การดำเนินการโดยรัฐ และ การควบคุมต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล และจำเป็นอย่างยิ่ง






เรื่องที่สาม



เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๑ ทาง College of Law โดยกองทุน ศาสตราจารย์ David C. Baum อดีตอาจารย์ รร. กม. ที่ UIUC ได้เชิญ Professor Kathleen Sullivan อดีต คณบดี Stanford Law School มาบรรยายเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในการพูด พัฒนาการตั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน และแนวโน้มในอดีต ภายใต้การควบคุมศาลสูงสุดสหรัฐฯ ในยุคของ Justice Robert ซึ่งเป็นบรรยายครั้งนี้ เป็นการบรรยายครั้งที่ ๖๘ ตามโครงการ David C. Baum Lecture on Civil Liberties and Civil Rights ท่านบรรยายในหัวข้อ "Who is Free Speech For? Who is For Free Speech?" ศาสตราจารย์ Katheleen Sullivan กล่าวได้อย่างคล่องแคล่งน่าฟัง สมกับที่ผมหลงไหลเธอมานาน ตั้งแต่ใช้หนังสือ Constitutional Law เรียนที่ Indiana University - Bloomington ในปี ๒๐๐๓ สาระใจความคือ ทำไม เราต้องปกป้อง คำพูดที่เราเกลียด (Protect the speech we hate.)

แนวโน้มในปัจจุบัน สิทธิตาม First Amendment ของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ถูกใช้ไม่ใช่เพื่อปกป้องสิทธิของฝ่ายเสรีนิยมเท่านั้น แต่ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ยังอ้างหลักการเดียวกัน ในการแสดงความคิด อย่างเสรี และปฎิเสธ ที่คุ้มครองแนวคิดด้านต่าง ๆ ของฝ่ายเสรีนิยม โดยเฉพาะเรื่อง สิทธิของการโฆษณาแนวคิดทางการเมือง สิทธิของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น ในอดีตนั้น การคุ้มครองเสรีภาพในการพูดในสหรัฐฯ ค่อนข้างกว้างขวาง มีข้อจำกัดเพียงบางประการ เป็นต้นว่า ถ้อยคำนั้น อาจจะยั่วยุให้เกิดอันตรายต่อสาธารณะชนและประชาชนได้ง่าย รัฐก็อาจจะควบคุมได้ แต่ถ้าเป็นเพียงถ้อยคำไม่น่าฟัง หรือ การกระทำที่ถือเสมือนเป็น Freedom of Speech เช่น การใส่เสื้อที่เขียนต่อต้านนโยบายของรัฐบาล การไม่เคารพธงชาติ เพราะเห็นว่า มันขัดต่อหลักทางศาสนา ฯลฯ เหล่านี้ รัฐไม่อาจจะออกกฎหมายมาลงโทษได้ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มในปัจจุบันของศาลสูงสุดยุค Robert มีแนวโน้ม ที่ควบคุม Speech มากขึ้น โดยเฉพาะ กรณีที่องค์กรนั้น สถาบันนั้น ๆ ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ การคุ้มครองการแสดงความคิดเห็น จะมีข้อจำกัดอย่างมาก เป็นต้นว่า ครูบาอาจารย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก ไม่อาจจะวิพากวิจารณ์นโยบายของโรงเรียนได้อย่างเต็มที่ ดังเช่นอดีต

รายละเอียดเกี่ยวกับผลงานทางวิชาการอื่น ๆ สามารถติดตามได้จาก:

Kathleen M. Sullivan, Public Values in and Era of Privatization--The New Religion and the Constitution, 116 Harvard Law Review 1397-1421 (March 2003).

Kathleen M. Sullivan, Political Money and Freedom of Speech, 30 University of California, Davis Law Review 663-90 (1997).

Kathleen M. Sullivan, Alan Brinkley, and Nelson W. Polsby, The New Federalist Papers: Essays in Defense of the Constitution, New York: Twentieth Century Fund, W.W. Norton, 1997. 179 pages

Kathleen M. Sullivan, Free Speech and Unfree Markets, 42 University of California, Los Angeles Law Review 949-65 (1995).

Kathleen M. Sullivan, Religion and Liberal Democracy, 59 University of Chicago Law Review 195-223 (1992).

Kathleen M. Sullivan, The Supreme Court, 1991 Term -- Forward: The Justices of Rules and Standards, 106 Harvard Law Review 22-123 (1992).

Kathleen M. Sullivan, Unconstitutional Conditions, 102 Harvard Law Review 1413-1506 (1989).






เรื่องที่สี่



เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๑ ศาสตราจารย์ Tom Ginsburg ซึ่งเป็น Director ของ The Program in Asian Law, Politics and Society แห่ง University of Illinois College of Law ร่วมกับ Center for East Asian and Pacific Studies (EAPS) ได้เชิญ Professor Stanley Lubman แห่ง UC - Berkeley มาบรรยายเกี่ยวกับกฎหมายของประเทศจีน ในภาวะปัจจุบัน ศาสตราจารย์ Stanley Lubman สนใจและ ศึกษากฎหมายของประเทศจีน มาตั้งแต่ ปี ค.ศ. ๑๙๖๐ ซึ่งปัจจุบัน ถือเป็นบุคคลสำคัญทางวิชาการกฎหมายของประเทศสหรัฐฯ เมื่อกล่าวถึงประเทศจีนเลยทีเดียว ท่านได้กล่าวโดยสรุปว่า ประเทศจีน มีการพัฒนาการทางกฎหมายในรูปลายลักษณ์ที่ดีมาก แต่ดีเฉพาะในกระดาษเท่านั้น ในเชิงค่าบังคับนั้น มีความไม่แน่นอนสูงมาก ทั้งในระดับกฎหมายที่ตัดสินโดยศาลในปักกิ่ง และ กฎหมายเดียวกันที่ตัดสินโดยศาลท้องถิ่น ที่แตกต่างกันไป อย่างน่ามหัศจรรย์ สาเหตุประการสำคัญของระบบกฎหมายจีนนั้นสืบเนื่องมาจาก การที่ศาลจะต้องฟัง Policy จากฝ่ายการเมือง จนกลายเป็นว่า Policy อยู่เหนือระบบกฎหมายที่ควรจะเป็น ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนของผลทางกฎหมาย

กฎหมายของจีน จะมีลักษณะที่เหมือน ๆ กัน คือ มีการร่างแบบหลวม ๆ คือ มีความกำกวมและคลุมเคลือในการใช้คำอย่างมากมาย เพื่อให้การตีความได้กว้าง ซึ่งหากจะกล่าวไป น่าจะถือว่า ขัดต่อหลักธรรมนูญ ที่กฎหมายจะต้องมีความชัดเจนเพียงพอที่จะบอกว่าได้ว่าประชาชนทำสิ่งใดได้ ทำสิ่งใดไม่ได้ โดยจะต้องประกาศล่วงหน้า วัฒนธรรมทางกฎหมายของจีน จึงเป็นระบบกฎหมายที่คลุมเคลือ ขาดความแน่นอน และ ไม่มั่นคงในการบังคับใช้ รวมถึงวัฒนธรรมในการคอรัปชั่นอย่างสูงสุด และกว้างขวาง ในจีนเอง ก็ก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากมายในการบังคับใช้กฏหมายด้วยเช่นกัน

จีนยังมีวัฒนธรรม ที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ส่วนตัว (Personal Relationship) มากว่า ระบบกฎหมายที่ดี การมีเครือขายและความสัมพันธ์กับผู้มีอำนาจในทางการเมือง จึงมีผลสำคัญอย่างมากกว่าปัจจัยอื่น ๆ ในการลงทุนในประเทศจีน ท่านกล่าวในตอนท้ายว่า จะว่าไปจริง ๆ ประเทศจีนในปัจจุบัน หลาย ปัญหาในทางกฎหมาย ก็จะคล้ายสหรัฐ ในช่วง ค.ศ. ๑๙๘๐ และจีนเอง ก็ยังมองภาพตนเองไม่ออกว่า จะออกแบบระบบที่ดีอย่างไร ทั้งในด้านกฎหมายและระบบเศรษฐกิจ ระบบกฎหมายจีนในช่วงตั้งแต่ ปี ค.ศ. ๑๙๖๐ ที่ผ่านมา จึงเดินไปอย่างเชื่องช้าและไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ซึ่งอาจจะมีสาเหตุหลายประการ รวมถึงปัญหาทางการเมืองและการคอรัปชั่นที่กว้างขวางด้วย





เรื่องสุดท้าย



ท้ายที่สุด จะกราบเรียนท่านพ่อแม่พี่น้องว่า อีกสองสามเดือน ผมจะกลับไปรับใช้ชาติแล้ว จะได้ทำงานตอบแทนเงินภาษีของพ่อแม่พี่น้องอย่างเต็มกำลังเสียที ที่ผ่านมา ได้พยายามเขียนบล๊อก ก็ด้วยวัตถุประสงค์ จะตอบแทน พระคุณแผ่นดิน เท่าที่คิดได้ คือ การเผยแพร่ สิ่งที่เรียนรู้มาให้กับ พ่อแม่พี่น้อง ที่อยู่เมืองไทย เท่าที่เวลาจะอำนวย (ซึ่งแน่นอนว่า อาจจะมีข้อผิดพลาดบ้าง ) แต่ก็คิดว่า ดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย เพราะแต่ละปี นักเรียนทุนรัฐบาล ๑ คน ได้รับเงินจากภาษีประชาชน จำนวนไม่น้อยเลย ทั้งเงินค่าเล่าเรียน และค่ากินอยู่ โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเอกชน แล้ว ค่าเทอมปีหนึ่ง ก็ประมาณ ๔ หมื่นเหรียญ ค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนอีก ปีละประมาณ ๑ หมื่น ถึง หนึ่งหมื่นหกพันเหรียญ หากมาเรียนแล้ว ไม่ได้ทำอะไรตอบแทนเลย ก็ดูจะใช้ไม่ได้ในความคิดของผมเอง (ซึ่งผมไม่ได้ตัดสินว่าใครทำถูก ทำไม่ถูกนะครับ)






ผมเอง อยากเห็น คนที่ชาวโลกบอกว่า เก่งนักหนา เรียนโรงเรียนดัง ๆ มหาวิทยาลัยดัง ๆ ค่าเทอมแพง ๆ ใช้ชีวิตหรูหรา ในเมืองใหญ่ ได้สร้างผลงานให้โดดเด่น ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ ให้พี่น้องประชาชน เป็นต้นว่า เผยแพร่ความรู้ทาง blog & website, etc. เพื่อให้เพื่อน ๆ พี่น้องประชาชน ฯลฯ ได้เข้าไปอ่าน ได้คิด เพื่อเป็นการตอบแทนพระคุณแผ่นดินและพี่น้องประชาชนด้วยเช่นกันครับ เพราะเรียนที่ โรงเรียนดัง ๆ มหาวิทยาลัยดัง ๆ แล้ว ไม่ได้ทำอะไรเพื่อแผ่นดินเลย ไม่เผยแพร่สิ่งที่ตนเรียนรู้มาแบ่งปันกันเลย หากเป็นนักมวย ก็ดูเหมือนจะเป็นนักมวยที่ชกไม่สมศักดิ์ศรี แล้วเจอกัน Blog หน้า หลังจากที่ผม กลับจากการไปพักผ่อนระหว่าง Spring Break ที่ Canada และ California ( คลิ๊ก เพื่ออ่าน Blog นี้ ) ครับ






หมายเหตุ:


เนื้อความข้างต้น เขียนจากความทรงจำ ท่านผู้อ่าน โปรดทราบไว้ด้วยว่า ความทรงจำของมนุษย์ธรรมดาอย่างผู้เขียน ย่อมมีข้อผิดพลาดได้เช่นกัน อย่าคาดหวังว่า จะถูกต้อง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์




 

Create Date : 15 มีนาคม 2551    
Last Update : 2 มิถุนายน 2553 14:38:09 น.
Counter : 813 Pageviews.  

ทาสในญี่ปุ่น ฯ การเมืองสหรัฐฯ และ เมื่อคุณแก่ตัวลง ...

ช่วงนี้ ที่ รร.กฎหมาย ผมมีการสัมมานาโน่น สัมมนานี่ เต็มไปหมด ตามฟังกันแทบไม่ทันเลยทีเดียว วันนี้ มี ๓ เรื่อง มาเล่าสู่กันฟังนะครับ ( เอาแบบขำ ๆ ไม่เครียด ๆ )





เรื่องแรก ทาสในญี่ปุ่น



เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๘ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Daniel Botsman จาก The University of North Carolina at Chapel Hill ได้รับเชิญจาก Department of East Asian Languages and Cultures และ College of Law ของ The University of Illinois มาพูดเกี่ยวกับ Freedom & Slave ในหัวข้อ Freedom, Slavery, and the Law: The Case of the 'Maria Luz' and the Question of Emancipation in Early Meiji Japan ของประเทศญี่ปุ่น เรื่องราวน่าสนใจมากทีเดียว กล่าวโดยสรุป ญี่ปุ่น มีทาสย้อนหลังไปถึง ค.ศ.ที่ ๘ โดยเฉพาะหญิงชาวญีปุ่นนี่ ถูกกดขี่ข่มเหง เสมือนทาส มาแต่ไหนแต่ไร ซึ่งแนวคิดเช่นนี้ ยังหลงเหลือให้เห็นในปัจจุบัน ผู้หญิงชาวญีปุ่น ขึ้นสู่ตำแหน่งสูงยากมาก การซื้อขายทาสในญี่ปุ่น นั้นเป็นเรื่องปกติมากในอดีต

จนกระทั่ง รัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่น ไปเยี่ยมพ่อค้าชาวโปรตุเกสที่บ้านพักภายในประเทศญี่ปุ่นเอง ในช่วง ค.ศ. ที่ ๑๙ แล้วพบว่ามีชาวญี่ปุ่น ถูกล่ามโซ่ เป็นทาสอย่างน่าอเน็จอนาจ รัฐบาลญี่ปุ่น เลยประกาศเลิกทาส โดยเชิญนักกฎหมายจากสหรัฐฯ ร่างกฎหมายและดำเนินการต่าง ๆ ในการเลิกทาส ซึ่งเกี่ยวพันหลายประเทศ รวมถึงเรือซื้อขายทาส ชื่อ Maria Ruj ที่บรรทุกทาสชาวจีนมาเต็มลำเรือ ซึ่งแล่นมาติดเกาะญี่ปุ่นที่ Yokohama ในปี ค.ศ. ๑๘๗๒ และ ทางการญี่ปุ่นเข้าไปยึดและปลดปล่อยทาสเหล่านั้น แต่ว่า รัฐบาลจีน ไม่ได้ยินดีด้วยแม้แต่น้อย เพราะมองการค้าขายแรงงาน เป็นเรื่องปกติอยู่ ในขณะที่ชาวญี่ปุ่นเอง ก็ไม่ได้คิดจะปลดปล่อยทาสอะไรอย่างจริงจังหรอก เป็นเพียงการรักษาหน้าตาของประเทศของเขาเท่านั้น รวมถึง การยกระดับการศึกษาของหญิงและเด็ก การปลดปล่อยแรงงานของเขา ก็เพื่อป้องกันมิให้ประเทศเสียหน้า เท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจที่จะปลดปล่อยทาสอะไรจริงจัง ฝรั่งที่บรรยาย ใช้คำว่า "Lose face" น่าฉงนแท้ เขารู้จักคำนี้ด้วยแฮะ ....





เรื่องที่สอง เรื่องการเมืองในสหรัฐฯ ระหว่าง Obama v. Hillary



สมาคมนักเรียนกฎหมายชาวผิวดำ ได้เชิญอดีตศิษย์เก่าของอิลลินอย มาบรรยายในโอกาสที่เขาเรียกว่า “BLACK HISTORY MONTH” ซึ่งเป็นการครบรอบ ๔๐ ปี ของการตายของ Dr.Martin Luther King Jr. ในปี ค.ศ. ๒๐๐๘


นาย Michael Strautmanis สำเร็จการศึกษาจาก College of Law ในปี ค.ศ. 1994 ทำงานใน Law Firm ขนาดใหญ่ในชิคาโก้ แต่สนใจการเมืองมากกว่า จึงได้ร่อนใบสมัครไปยังสภาคองเกรส โดยเขาบอกว่า ได้แต่หวังว่า ใบสมัครของเขาจะได้รับการพิจารณา แน่นอนครับ ความหวังของเขาเป็นจริง ได้เข้าร่วมทำงานในคณะกรรมาธิการต่าง ๆ หลายคณะ เป็นผู้รณรงค์การหาเสียงให้อดีตประธานาธิบดี บิลล์ คลินตัน แต่ปัจจุบัน เขาเปลี่ยนใจ มาเป็น Chief Counsel ให้กับ Senator Barack Obama ในการรณรงค์หาเสียง เพื่อให้ได้เป็น Nominee ในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ของพรรค Democrat

ก่อน Obama จะมาสมัครเป็นคู่แข่งกับ นาง Hillary Clinton นั้น ไม่มีคนคาดคิดว่า จะมีใครหน้าไหน อาจหาญ มาต่อกรกับ Hillary แล้ว แต่ Obama ซึ่งเป็นคนผิวสี เป็นสมาชิกวุฒิสภาหนุ่ม จากรัฐ Illinois จบการศึกษาทางกฎหมายจาก รร.ชั้นนำ ได้เสนอตัวเป็นคู่แข่ง เขาถูกมองเป็น Underdog หรือ ประมาณหมูสนาม ที่นอกเหนือความหมาย ในตอนแรก Obama ไม่มีทางต่อกรได้เลย เงินก็ไม่มี ต่างจาก Hillary ที่เป็นสมาชิกวุฒิสภา ของรัฐ New York มาตั้งแต่เจ็ดแปดปี แล้ว แถมสามีของเธอ ยังเป็นประธานาธิบดี ตั้ง ๘ ปี อีกต่างหาก แต่ตอนนี้ เรื่องของ Hillary ชักไม่ง่าย เพราะว่า เธอพ่ายแพ้ การลงคะแนนของประชาชนในรัฐต่าง ๆ ในการเลือกตัวแทนพรรคในการสมัครเป็นประธานาธิบดี ให้แก่ Obama ต่อเนื่องกันเป็นสิบรัฐ คะแนนที่ได้รับ (Delegate) ตอนนี้ พ่ายแพ้ ไปเกือบ ๑๐๐ ที่นั่งแล้ว ซึ่งยังเหลือเพียงไม่กี่รัฐ ได้แก่ Texas, Ohio, Pennsylvania ซึ่งถ้า Hillary ยังพ่ายแพ้อีก ก็ยังเหลืออีกทางเดียวคือ การประชุมของพรรคในกลางฤดูร้อนที่จะถึงนี้ หากที่ประชุมพรรคเห็นว่า เธอเหมาะสมมากกว่า Obama ที่ประชุมก็อาจจะลงมติให้เธอเป็น Nominee ของพรรคที่จะไปแข่งกับ John McCain จากพรรค Republican ต่อไป ก็ต้องดูว่า คนอเมริกัน จะใจกว้างพอที่จะให้คนดำ หรือ ผู้หญิง เป็นประธานาธิบดีหรือไม่

หากมองในเรื่องความสามารถและประสบการณ์แล้ว Hillary จะเป็นต่อกว่า Obama อยู่หลายขุม ที่ผมได้ฟังและติดตามการเมืองสหรัฐฯ มาตลอด ก็จะพบว่า Obama ไม่ได้แสดงความเฉลียวฉลาดอะไรออกมาสักเท่าไหร่ การรณรงค์ของเขา จะพูดเพียงว่า อเมริกา ต้องการความเปลี่ยนแปลง (Change) และ ประชาชนต้องมีความหวัง (Hope) และเชื่อว่า เขาจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงชีวิตของประชาชนชาวอเมริกัน ไปสู่โลกที่ควรจะเป็น (The World that should be.) เขาไม่ได้แสดงวิสัยทัศน์อะไรมากมาย มีแต่ Hope & Change เช่นเดียวกับ นาย Michael Strautmanis ที่มาบรรยาย ก็ไม่ได้พูดอะไรมากหรอก นอกจาก Hope & Change 555555 ผมว่า ประเทศมันอยู่ไม่ได้ด้วย Inspiration อย่างเดียวหรอกครับ มันต้องมี Resolution ต่าง ๆ ด้วย ซึ่งผมยังไม่เห็นสมองของ Obama เลยจนถึงปัจจุบัน

จะว่าไปหนทางของ Obama ใช่ว่าจะขาวใส เพราะขณะที่เขากำลังมีคะแนน Hillary อยู่นี่ ก็มีข่าวปูดกันว่า เพื่อนสนิทของเขา คือ Antoin "Tony" Rezko ที่รณรงค์หาเงินให้เขาหลาย ๆ พันเหรียญ ในการรณรงค์เลือกตั้งคราวนี้ ถูกดำเนินการคดีฐานคอรัปชั่น และข่าวก็แพร่กระจายในขณะนี้ พอนักข่าวถามที่ไร Obama ก็ได้แต่ อึ้งกิมกี่ ไปเท่านั้น ไม่แน่ว่า ประชาชนที่ยังลังเลใจในขณะนี้ ยังคงจะเชื่อมันเขาอยู่ต่อไปหรือไม่ นอกจากนี้ Obama ยังคงถูกข่าวลือด้านต่าง ๆ อีก ประมาณว่า เขาเคยไปสาบานตนเป็นอิสลามในสมัยเยาว์วัยกับแม่ รวมถึงการมีคนรักและสัมพันธ์พิเศษกับเพื่อนชายร่วมชั้นในระหว่างเรียนใน รร. กฎหมายชื่อดัง ยาวนานก่อนจะมีภรรยาเป็นชาวผิวสีเช่นเดียวกับเขา อีกทั้ง ภรรยาของเขา ยังพูดไม่ค่อยจะเข้าหู ประมาณว่า "ฉันภูมิใจที่เป็นชาวอเมริกัน" ซึ่งมีคนถามเยอะแยะกว่า เอ ... ทำไม เพิ่งจะมาภูมิใจ ตอนสามี ได้คะแนนนำ ... เมื่อก่อน ไม่ภูมิใจหรือไง ประมาณนั้น ก็ต้องดูกันต่อไปครับ ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป สำหรับผม เชื่อว่า คนอเมริกัน ยังใจไม่กว้างพอที่จะยอมรับคนดำ ขึ้นมาเป็นผู้นำ





เรื่องสุดท้าย คือ เรื่องกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุ



เมื่อสองวันก่อน เข้าฟังบรรยายเกี่ยวกับ นโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุในสหรัฐฯ โดยทาง University of Illinois College of Law ได้เชิญ Professor Jon Pynoos จาก USC มาบรรยายเรื่อง AGING IN PLACE, HOUSING, AND THE LAW ซึ่งสนับสนุนโดยกองทุนอดีตศาสตราจารย์ Baum (และครอบครัว ) ที่มอบทรัพย์สินให้แก่ รร. กฎหมายของ Illinois ที่รู้จักกันในนามของ Ann. F. Baum Memorial Lecture ที่มีการบรรยายเป็นประจำ

ศาสตราจารย์ Jon Pynoos ได้ชี้ให้เห็นว่าผู้สูงอายุในอเมริกา รักความเป็นอิสระ ชอบที่จะอยู่บ้านของตนเองโดยไม่ย้ายไปไหน ไม่ไปอยู่กับลูก กับหลาน โดยเฉพาะคนสูงวัยที่มีอายุเกิน ๘๐ ปีแล้ว กว่าร้อยละ ๘๕ เลยทีเดียวที่อยากจะอยู่เป็นอิสระ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการวางนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้เฒ่า อยู่ที่บ้านของเขาได้โดยไม่ต้องพึ่งพาใคร มีความเป็นอิสระ ดังที่เขาต้องการ

ปัญหาอุปสรรคส่วนใหญ่ คือ บ้านในสมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน จะเน้นการออกแบบที่สวยงาม มีขั้นบันได ที่เป็นเข้าออกได้ลำบาก สำหรับผู้เฒ่า โดยเฉพาะที่จะต้องใช้รถเข็น (ซึ่งในอเมริกานั้นรถเข็นจะยอดเยี่ยมมาก บังคับไปในทิศทางต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากมาย) ทางเข้าออกที่เป็นบันไดหลายขั้น จึงยากที่จะให้เขาอยู่โดยลำพังได้

ผู้บรรยาย ได้กล่าวถึง การผลักดันนโยบายเกี่ยวกับผู้เฒ่าของเขาในสภา Congress มานานกว่า ๒๕ ปี จนปัจจุบัน สภาได้มีนโยบายที่จะพัฒนาบ้านสำหรับผู้เฒ่า โดยออกกฎหมายให้การออกแบบบ้านสมัยใหม่ จะต้องไม่มีขั้นบันได (Zero-step entrance) และ ออกแบบบ้านที่เรียกว่า Universal Model ที่ทำให้คนอยู่ทุกอายุ ทุกวัย รู้สึกว่า ไม่ใช่บ้านผู้เฒ่าเท่านั้น

การกำหนดนโนบายให้คนแก่สามารถอยู่ของตนเองได้อย่างเป็นอิสระ ปัจจุบัน มีจำนวน ๑๙ มลรัฐ ที่ออกกฎหมายภาคบังคับให้ทุกบ้าน จะต้องทำทางเข้าออกแบบ Zero-step entrance เรียกว่า Visitability House คือ บ้านที่พร้อมให้คนเฒ่าคนแก่ คนพิการ มาเยี่ยมเยียนได้ บ้านสร้างใหม่ จะต้องมีทางเข้าสำหรับรถเข็น มีห้องน้ำที่แข็งแรง ใหญ่เพียงพอสำหรับรถเข็น และ มีที่จับที่มั่นคง สำหรับคนเฒ่าคนแก่ และคนพิการ เพราะบ้านในปัจจุบัน ไม่ได้ออกแบบมาให้ มีที่จับมั่นคง เนื่องจาก มีผนังที่บางมาก คล้าย ๆ กับ กระดาษ แล้วพ่นปูนปิดให้ดูเหมือนผนังปูนเท่านั้น หากคนแก่ ต้องการพยุงตัวเอง โดยการจับหรือยึดโดยวัตถุใด ๆ ที่เตรียมไว้สำหรับการแขวนผ้า ผนังก็จะพังลงมา เกิดอันตรายแก่คนแก่ได้ง่าย ถึงตายได้โดยคนในบ้านไม่รู้เรื่องเลยก็เป็นได้




นโยบายสำหรับคนแก่ และคนพิการ ในอเมริกา เป็นเรื่องน่าทึ่ง สำหรับคนเอเชีย โดยเฉพาะคนพิการที่นี่ ได้รับการดูแลอย่างดี ในโรงเรียนกฎหมายผม ก็มีคนพิการหลายคน มีคนหนึ่ง มีสัดส่วนของร่างกาย ปัจจุบัน ไม่ถึงสองฟุต นั่งรถเข็นมาเรียน โดยรถของโรงเรียน มารับเช้าเย็น ไปส่งยังจุดที่ญาติเขาจะมารับ ได้อย่างสะดวกสบาย ที่จอดรถคนพิการนี่ ค่าปรับแพงนัก ถ้าใครทะลึ่งไปจอดละก็ เตรียมไว้เลย ร้อยเหรียญขึ้นไปทั้งนั้น ที่เคยเห็นมา มีสูงถึง ๒๕๐ เหรียญ ถ้าเอารถไปจอดที่คนพิการ เป็นต้น

หากพี่น้องและเพื่อน ๆ เคยดู รายการ วงเวียนชีวิตของช่อง ๓ จะเห็นว่า มีคนแก่จำนวนมากที่ถูกทอดทิ้งโดยลูกหลานชั่ว ๆ ของเขา ให้อดมื้อกินมื้อ รัฐก็ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าจะทำอย่างไร ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงเช่นกัน โดยเฉพาะในปัจจุบัน ที่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ที่วัน ๆ ทำแต่เรื่องน่าปวดหัว และเหยียบย่ำ หัวใจของคนรักประชาธิปไตย ที่ต่อสู้กับเผด็จการเพื่อให้ประชาธิปไตยได้เริ่มคลานใหม่อีกครั้ง น่าเป็นห่วงเมืองไทยยิ่งนัก พูดแล้วเศร้า....






หมายเหตุ : ข้อความข้างต้น เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ที่เขียนใน Personal Blog เขียนจากความทรงจำฯ โปรดอย่าคาดหวังว่าจะต้องถูกต้อง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์




 

Create Date : 05 มีนาคม 2551    
Last Update : 2 มิถุนายน 2553 14:38:25 น.
Counter : 800 Pageviews.  

เป็นความซวยอย่างรุนแรง และเป็นการซวยข้ามปี 2007-2008

ในช่วงหน้าหนาวที่ผ่านมานี้ ผมได้มาอยู่อาศัยกับเพื่อนที่เมือง Tucson ตั้งอยู่ในรัฐ Arizona ซึ่งเป็นรัฐที่มีพื้นที่ติดกับรัฐอื่น ๆ อีกหลายรัฐ ในส่วนฝั่งตะวันตก มีพื้นที่ติดกับ California และ Nevada ส่วนทางตะวันออกนั้นติดกับรัฐอื่น ๆ อีก 3 รัฐ New Mexico, Utah และ Colorado ซึ่งบริเวณที่ตัดกันทั้งสี่รัฐนี้เอง ได้ยินว่า เป็นจุดที่ไม่มีอะไรเลย แต่นักท่องเที่ยวก็มักจะไปกัน เพื่อให้ได้ชื่อว่า มายังจุดที่มีพื้นที่ของรัฐทั้งสี่รัฐมาบรรจบกัน นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ทางตอนใต้ที่ติดกับ Mexico ที่พื้นที่เขตติดต่อเป็นทะเลทรายแห้งแล้ง และเป็นที่พักตายสำหรับคน Mexican ที่หลบหนีเข้าเมืองมาเสี่ยงโชคทางทะเลแต่โชคไม่ดี ที่ไม่อาจผ่านทะเลทรายอันโหดร้ายมาถึงเมืองศิวิไลซ์ได้




เมือง Tucson เป็นเมืองใหญ่อันดับสองรองจาก Phoenix เมืองหลวงของรัฐนี้ มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 10 และ 19 เป็นเส้นทางสัญจรคมนาคมสำคัญ ลักษณะทั่วไปเป็นเมืองทะเลทราย มีหินอยู่ใต้พื้นดิน อากาศร้อน ฝนตกน้อย รัฐบาลสหรัฐฯ จึงใช้เป็นพื้นที่ในการเก็บรักษาเครื่องบินเก่าปลดระวางแล้ว เพื่อขายต่อยังประเทศพันธมิตรทั้งในลักษณะเป็นเครื่องบินทั้งลำและอะไหล่ ในหน้าร้อนอุณหภูมิจะเกิน ๑๐๐ องศาฟาเรนไฮต์ ในหน้าหนาว อุณหภูมิที่นี่ อุ่นสบาย อุณหภูมิต่ำสุด ก็ไม่ต่ำไปกว่า ๓๐ องศาฟาเรนไฮต์ ทำให้มีประชาชนจำนวนมาก จะหลบหนีหนาวมาพึ่งอุ่นใน Arizona ซึ่งคนเหล่านี้จะถูกเรียกว่า Snowbird เดาว่าคงจะเหมือนกับนกที่อพยพหนีหนาวมาพื้นที่ที่มีอากาศอุ่นสบายกว่า มีอาหารการกินสมบูรณ์กว่า ในหนังสือท่องเที่ยว แนะนำให้ผู้ที่มายังเมือง Tucson ต้องกระทำ 101 อย่าง ในระหว่างที่มาเที่ยวใน Tucson ซึ่ง ผมได้ไปทำบ้างในระหว่างที่อยู่ในเมืองนี้

ผมยังไม่ขอเล่าว่า 101 อย่างที่ว่า มีอะไรบ้าง แต่ขอรวบรัดตัดตอนไปเล่าเรื่องที่ เป็นความซวยอย่างรุนแรง และเป็นการซวยข้ามปี ในระหว่างที่ไปเที่ยว Grand Canyon สิ่งมหัศจรรย์ของโลก อันเป็นแผ่นดินกว้างใหญ่ไพศาลได้ยุบตัวลงในระยะเวลาแสนยาวนาน เป็นแหล่งกำเนิดแม่น้ำ Colorado ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนในหลายมลรัฐใกล้เคียงกับ Arizona นักท่องเที่ยงส่วนใหญ่จะเดินทางโดยเครื่องบินมายังสนามบิน Phoenix แล้วเช่ารถยนต์ขับไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 17 ขึ้นเหนือไปยัง Flagstaff จากนั้น จึงขับรถไปตามทางหลวงหมายเลข 40 ตะวันตก (ซึ่งอดีตเคยเป็นทางเส้นทางหลวงประวัติศาสตร์เส้นแรกของสหรัฐ คือ Route 66 ที่ตัดพาดผ่านชายฝั่งตะวันตกยันชายฝั่งตะวันออก) แล้วขับรถไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 64 เพื่อผ่านด่านเก็บเงินค่าเข้าชมทาง South Rim ที่เรียกเก็บค่าผ่านทางคนละ 25 เหรียญ สามารถท่องเที่ยวใน Grand Canyon ได้เป็นเวลา 7 วัน

การหาที่พักใน Grand Canyon โดยตรงเป็นเรื่องใหญ่ สำหรับคนที่มีงบประมาณท่องเที่ยวไม่มากนัก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ จะเช่าโรงแรมที่เมือง Flagstaff หรือ ที่เมือง Williams แล้วจึงขับรถเข้าไปชมความงามใน Grand Canyon โดยเฉพาะในช่วงพระอาทิตย์ขึ้น หรือ พระอาทิตย์ตก ซึ่งอยู่ห่างจาก Grand Canyon เพียงชั่วโมงเศษ ๆ เท่านั้น ราคาค่าอาหารการกินใน Grand Canyon ก็แพงจนเกินความจำเป็นไปมาก ยกตัวอย่าง เช่น น้ำอัดลมแก้วละ ประมาณ 2 เหรียญ แซนวิซธรรมดา ชิ้นละ 6 เหรียญ เป็นต้น ค่าโรงแรมที่ต่ำสุดในช่วงหน้าหนาว มีราคาประมาณ 100 เหรียญต่อคืน เป็นต้น

ข้อมูลที่ได้มา ก็เนื่องมาจากการที่ผมได้ไป Grand Canyon แล้วมีเหตุที่ทำให้ต้องค้างที่นั่นโดยไม่ได้ตั้งใจ ที่ว่าเป็นความซวยข้ามปี จากปีเก่า 2007 ข้ามต่อเนื่องมายังปี 2008 ก็คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความที่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ ทำให้กุญแจรถเช่าหายไประหว่างการเดินท่องเที่ยวชมความสวยงามของ Grand Canyon ตาม Trail ที่ทาง National Park จัดไว้นักท่องเที่ยว หลังจากรู้ตัวว่า กุญแจไม่อยู่ในกระเป๋าตามที่มันเคยอยู่แล้ว ผมก็เดินงุ่นง่าน ใช้เวลาหามันไปตามเส้นทางที่เดินไปอยู่เยี่ยงนั้นหลายชั่วโมง ซึ่งแน่นอนว่า ไม่เจอ โทรศัพท์ติดต่อ Lost & Found ซึ่งเป็นแผนกบริการรับฝากของตกหล่นหาย ของ National Park ก็ปรากฏว่า “ปิดทำการ เนื่องจากเป็นช่วงปีใหม่” โทรศัพท์ไปตามแผนก Lost & Found ของโรงแรมต่าง ๆ ใน Grand Canyon ก็ไม่พบว่ามีกุญแจไปถูกฝากเอาไว้แต่ประการใด โทรศัพท์ขอคำแนะนำจากบริษัทรถเช่า ก็ได้รับคำตอบแรกว่า “อย่าถามฉัน ฉันไม่มีความชำนาญเรื่องกุญแจ” ไม่ทราบว่า มันตอบชั่ว ๆ มาเช่นนั้น ได้อย่างไร ต่อมาได้รับคำแนะนำว่า ควรจะขอความช่วยเหลือจาก Emergency Assistance ของบริษัทรถเช่าที่แยกต่างหากจากบริการรถเช่า คราวนี้ได้รับคำแนะนำว่า ให้รออยู่ที่ Grand Canyon เดี๋ยวบริษัท AAA จะมาบริการถึงที่ เปิดกุญแจ และเอากุญแจดอกใหม่ให้ เพื่อโทรศัพท์ไปตามคำแนะนำถึง AAA ปรากฏว่า ไม่ทำงานในยามค่ำคืน จึงต้องนอนที่นี่ 1 คืน

พอรุ่งเช้า ผมรีบโทรศัพท์ไปใหม่ คุยกันใหม่ เหมือนเดิมทุกประการ คราวนี้ AAA ถามรายละเอียดอีก ก็ตอบเหมือนเดิม กุญแจหาย แต่ตอนแรกคือเข้าใจว่า ผมล๊อคประตูรถและกุญแจอยู่ในรถ จึงจะมาเปิดให้ แต่ผมบอกว่า ผมทำกุญแจหาย จะมาเปิดให้เท่านั้น แล้วผมจะทำอย่างไรต่อไป ความจึงแจ้งว่า AAA ไม่สามารถทำกุญแจดอกใหม่ให้ผม ตามที่ตัวแทน Emergency Assistance แนะนำในตอนแรก ซึ่งเขาเข้าใจผิดร้อยเปอร์เซ็นต์ ว่า AAA สามารถเปิดประตูแล้วทำกุญแจดอกใหม่ให้ได้ เมื่อความแจ้งเช่นนี้ Emergency Assistance จึงบอกว่า คงจะต้องใช้บริการลากรถจาก Grand Canyon ไปยังตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อที่ผมเช่ามาที่ใกล้เคียงที่สุดกับบริเวณที่ผมอยู่ คือ Flagstaff ซึ่งรถบริษัทลากรถทั้งหมดจะต้องไปจาก Flagstaff ด้วย สนนราคาค่าลากรถ ประมาณ 289 เหรียญเท่านั้น (แป่ว ..... แพงเหี้ย ๆ แหละคร๊าบพี่น้อง) เมื่อไม่มีทางเลือกก็ตอบตกลงไป ให้รีบมาลากเร็วที่สุด เพื่อจะได้ทำกุญแจดอกใหม่ ให้เรียบร้อยไป เหตุการณ์ดูเหมือนจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดี แม้จะต้องใช้ทุนในระดับราคาแสนแพง

รอสักพัก ตัวแทน Emergency Assistance ก็โทรศัพท์มาว่า “ขอโทษด้วยนะ เนื่องจากบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ที่ใกล้ที่สุดจะปิดทำการในเวลาบ่ายสองโมงเท่านั้น จากนั้นจะปิดทำงานปีใหม่ อีก 1 วัน อย่างไรเสีย รถลากไปไม่ทัน ขอให้ท่านเดินทางไปยัง Flagstaff เพื่อติดต่อขอทำกุญแจใหม่ แล้วขับรถลงมาแล้วกัน” เอ้า .... ทำไม เพิ่งบอก แล้วข้อมูลนี้จะถูกอีกหรือไม่เหนอ ผมจึงได้ขอหมายเลขโทรศัพท์บริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อนั้น แล้วโทรไปถามว่า ถ้าผมไปตัวเปล่า ๆ ไม่มีรถยนต์ไปด้วย จะทำกุญแจดอกใหม่ให้ผมได้หรือไม่ คำตอบ คือ “ทำได้” ผมจึงได้นั่งรถยนต์ Open Tour ราคา 27 เหรียญ ลงไปยัง Flagstaff ด้วยหัวใจพองโตว่า ปัญหาคงได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้วเป็นแน่

ไปถึง Flagstaff เวลาเที่ยงตรง ดีใจมาก ยังมีเวลาเหลืออีกเยอะแยะ แต่เหตุการณ์ไม่ได้ง่ายดายเช่นนั้น ฝ่ายเทคนิคตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อนั้น ได้บอกกับผมว่า “ข้อมูลที่คุณได้มานั้น ผิดพลาดอย่างร้ายแรง ถ้าคุณไม่ลากรถยนต์ลงมาด้วย แม้ผมจะทำกุญแจให้ใหม่ ซึ่งแน่นอนคุณต้องจ่ายราคากว่า 250 เหรียญ โดยไม่ได้มีการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์พร้อม ๆ กันรถยนต์แล้ว ก็ไร้ผล เพราะกุญแจใหม่ จะใช้สตาร์ทรถยนต์ และติดได้เพียง 10 วินาทีเท่านั้น จากนั้น รถยนต์จะตายโดยไม่มีทางแก้ไขอื่น ๆ แม้จะได้กุญแจสำรองมาก็ตาม” อ้าว ... ทำไม เป็นแบบนี้ แล้ว เมื่อกี้ ตอนข้าฯ โทรศัพท์มา คนของคุณทำไม บอกว่าทำได้....

ด้วยความเหนื่อยและเพลีย แม้จะอยากนอนใจจะขาด ก็พยายามครุ่นคิดว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี เลยสอบถาม เจ้าหน้าที่เทคนิคท่านนั้นว่า ท่านมีคำแนะนำอะไรหรือไม่ เขาว่า น่าจะลองสอบถามบริษัทที่ให้เช่ารถยนต์ที่ Tucson ว่ามีกุญแจสำรองหรือไม่ หากมี ก็เช่ารถยนต์กลับไปเอามา ไอเดียบรรเจิด โทรศัพท์กลับไปบริษัทที่เช่ารถยนต์ทันที รออยู่ประมาณ 15 นาที ได้ยินเสียงตอบกลับมาว่า .......... “.....กำลังพยายามค้นหา เพราะบริษัทเรามีรถยนต์กว่า 4,500 คัน แต่คุณจะต้องมารับกุญแจให้ทันในเวลา 5 โมงเย็น ก่อนเราจะปิดทำการปีใหม่” โอ้ เจอสถานการณ์ปิดประตูตายอีกแล้ว

ผมจะทำอย่างไรดี ก็ต้องติดต่อเพื่อนให้มารับกุญแจให้ ซึ่งก็กลัวว่าจะไม่มีใครอยู่ในเมืองแล้ว เพราะมันเป็นเทศกาลท่องเที่ยว ซึ่งตอนแรกทางบริษัทให้เช่ารถยนต์แจ้งว่า ไม่อาจให้คนอื่นมารับแทนได้ ผมบอกว่า ผมไม่อยากจะอยู่ข้างบน Grand Canyon แล้ว จะเมลล์ให้ผมได้หรือไม่ เธอว่า ไม่ได้ แต่ยินยอมให้เพื่อนมารับแทนได้ ถ้าบอกรายละเอียด ฯลฯ มาให้ทราบล่วงหน้า ก็พยายามติดต่ออยู่นาน จนมีเทวดามาโปรด เป็นเพื่อนของเพื่อน ของเพื่อน ฯลฯ ไปรับกุญแจให้ ผมเช่ารถยนต์ขนาดจิ๋วขับกลับมาจาก Flagstaff มุ่งหน้าไปที่ Tucson ทันที ซึ่งปกติ จะต้องใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงนิด ๆ แต่เหมือนจะหายตัวได้ ผมใช้เวลาไม่ถึง 3 ชั่วโมง โชคดีไม่เจอตำรวจเลย ไม่งั้นใบสั่งคงจะอานไปแล้ว ได้กุญแจมา แล้วบึ่งกลับไป Grand Canyon คราวนี้ ไม่เร็วอย่างที่คิดครับ ผมว่า สมองผมคงจะเบลอ ทำให้ขับหลงทางไปสองช่วง คือ ช่วงเลี่ยงเมือง Phoenix กับช่วงที่จะแยกไป Williams ผมหลงเข้าไปในเมือง Flagstaff แบบไม่รู้ตัว เมื่อเข้าไปแล้ว จึงต้องไปสอบถามเส้นทางใหม่ แทนจะไปเส้นทางหลัก ผมเลยต้องใช้เส้นทางหลวงสาย 180 แทน ซึ่งเป็นทางเปลี่ยว ขับคนเดียว เหงาใจมาก ๆ กว่าจะไปถึง Grand Canyon ก็ปาเข้าไป ตีสอง เห็นจะได้ คราวนี้ก็ให้เพื่อนอีกคนขับรถคันแรกลงมา ส่วนผมก็ขับรถเช่าคันใหม่ไปคืนที่ Flagstaff ก่อนจะมุ่งหน้าเมือง Chandler ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากPhoenix เพื่อไปพักที่บ้านที่พี่แป๊ด อันแสนจะอบอุ่นต่อไป




บทเรียนครั้งนี้ ทำให้รู้ว่า สุภาษิตที่ว่า ความประมาท เป็นหนทางแห่งความตาย นั้นเป็นอย่างไร และ ทำให้รู้ว่า อุดมคติตำรวจ บรรทัดสุดท้าย ที่เตือนให้รักษาความไม่ประมาท เสมอชีวิตนั้น สำคัญแค่ไหน เพราะเมื่อทุกอย่างยุติลง นอกจากค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไป จากการเช่ารถสองครั้ง ค่าน้ำมัน ค่าทำกุญแจใหม่ ค่าที่พัก ฯลฯ ที่มีราคาเสมอแขนและขาของผมนั้นแล้ว ด้วยความที่มีอายุมากแล้ว การใช้พลังมากมายในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประกอบกับ ต้องเจอสภาวะอากาศเลวร้ายใน Grand Canyon นั้น ผมต้องกลายเป็นไข้ อุณหภูมิร่างกายสูง ความดันต่ำ ฯลฯ นอนซมไปหลายวัน จนกระทั่งต้องไปหาหมอ เสียค่ายาเป็นอย่างมาก ได้แต่จำเป็นบทเรียนครับว่า คราวหน้าต้องมีตั้งสติให้ดี อย่าทำอะไรโดยไม่มีสติอีก




หมายเหตุ : ยังไรเสีย ก็ยังได้เก็บภาพงาม ๆ ที่ Grand Canyon ก่อนเกิดเรื่องร้าย ๆ นะครับ ไว้จะเอามาลงให้ดูครับ




 

Create Date : 09 มกราคม 2551    
Last Update : 2 มิถุนายน 2553 14:39:06 น.
Counter : 685 Pageviews.  

A fucking damn New Year 2008!

Visiting around all my friend’s blogs makes me envious of them because I conversely subjected to the worst experience again. My fellowships might have known that prior to going to do a volunteer job in New Orleans my laptop was damaged by the fucking shit water dripped from the room nearby my bed. This forces me to buy a new laptop to complete my dissertation.

After completion of physical work in New Orleans, I went to visit my bloggang’s friends in Florida, namely P’O, and stopped by at Tucson, Arizona, which is not too far from Grand Canyon. I then rented a car from Enterprise Company in Tucson and drove to Phoenix to visit another bloggang’s friend, namely P’PAT. She and her husband including their son granted me a warm reception providing me an accommodation and luxurious dishes. I stopped by there for a night before directly driving to Sedona and Grand Canyon.

The worst experience occurred when I arrived at Grand Canyon. It was a car key which was accidentally dropped and thus I cannot find where it was. More than three hours of my attempt to find it, I failed. Many visitors granted me their generosities to search it, but we failed. As a result I called the Enterprise assistance to help. It falsely informed me that AAA’s would help me by breaking down the door and giving me a new key. It is completely wrong.

AAA’s cannot do anything more than open the car and if I am lucky enough to have a spare key, it will work. However, in case the key is completely missing, only the car dealer will be capable of solving this problem. This misunderstood information forced me to stay in Grand Canyon another night and the problem was never solved.

On the next day, the new suggestions came to me by the new representatives of Enterprise. It said that my car must be towed – with a price of $300 – to the dealer in Flagstaff the closet Dodge dealer in this area so that the new key - $250 – can be made. However, it is not that easy because every Tow company and Dodge dealer will be closed for the New Year holiday. My rented car was thus not be towed in time. The Enterprise assistance recommended me that I should go directly to Dodge dealer in Flagstaff to get a new key and drive to home.

More carefully, I called Diamond Dodge to confirm if they can make a new key without a car towed to them. The answer is positive and then I ride the bus of Open Tour, $27, to Flagstaff but unfortunately the machine to remotely open the door was broken. The worsen case, even though the machine can operate, and they give me a new car, it will not work either. The current car needs to be computerized simultaneously with the car and remote control key. Other wise, the engine will operate only 10 seconds and the car will be broken down forever.

I called the Enterprise in Tucson – 7 hours of driving from Grand Canyon to Tucson – to ask them if they have another key. This resolution sounds the best in that time but even though they do have another key, I have to come to pick it up before 5 p.m., which is impossible. I asked my friend to call someone in town and pick the key for me which seems the last method that I can get off the hook.

Fortunately, some students in U of Arizona can do it for me. I decided to rent a new car and drove from Flagstaff to Tucson instantly. Basically, it needs around 4 hours more or less for driving back but I arrived at Tucson in less then 3 hours. After having a key, I instantly drove a car back to Grand Canyon. I believed that there were some defects to my brain function; it made me lost during driving back. Around 2 a.m. of the New Year day, I arrived at there.

The price of this trip came up with my arms and legs, that includes the rental price, gas, new car key. With the exhausted position, I became sick after everything is done. However, I have not subjected to any harm. This event makes me think and perform more carefully, I guess. I do not want to pay my limited money with something a fucking duck nonsense again.




 

Create Date : 04 มกราคม 2551    
Last Update : 2 มิถุนายน 2553 14:39:21 น.
Counter : 1029 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.