*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 

ทำตัวเป็นประโยชน์ซะบ้าง .....

ตามหัวเรื่องนี้ ... ไม่ได้ตั้งใจจะด่าใคร หรือตำหนิใครหรอกครับ แต่ว่าจะมาเล่าว่า ช่วงปิดเทอม December 2007 นี้ ผมมีแผนครับ




สืบเนื่องจากที่ University of Illinois College of Law มีกลุ่มนักเรียนกฎหมาย จัดโครงการอาสาสมัคร ไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยจาก พายุเฮอริเคน แคทริน่า ที่เมืองนิวออร์ลีน รัฐหลุยส์เซียน่า ตั้งแต่เมื่อสองปี โดยจะไปรับรู้ รับฟังปัญหาทางกฎหมายที่เขาประสบอยู่ และ ไปช่วยเหลือในด้านกายภาพ ปรับปรุง สภาพแวดล้อม ฯลฯ ที่อยู่อาศัยของพวกเขา ผมจึงอาสาไปกับเขาด้วย

เพื่อนคงจะรู้สึกแปลกใจ เหตุการณ์ พายุถล่มนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่สองปีเศษก่อนหน้านี้ บัดเดี๋ยวนี้ ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือที่เพียงพออีกหรือ ที่จริงรัฐบาลสหรัฐฯ น่าจะได้ช่วยเหลือประชาชนในเมืองนิวออร์ลีน ให้เรียบร้อยไปได้นานแล้ว แต่ว่า การณ์ไม่ได้เป็นไปเช่นนั้น สาเหตุส่วนหนึ่ง ก็มาจากปัญหาทางการเมืองนั่นเอง เพราะ รัฐบาล และผู้แทน ในรัฐหลุยเซียน่า และนิวออร์ลีน นั้น ส่วนใหญ่ จะเป็น เดโมแครต ไม่ได้เป็น รีพลับบริกัน คือ เป็นฝ่ายค้าน นั่นเอง

ผลลัพธ์ คงจะเป็นประมาณว่า เหมือนภาคใต้ บ้านเรานั่นแหละครับ (ผมเดาเอาเอง) คือ แม้ว่ารัฐบาลไม่ว่าจะมาจากพรรคเทวดาที่ไหน และไม่ว่าจะทุ่มเท งบประมาณลงไปในภาคใต้มากเท่าใด ชาวใต้ ก็ยังคงจงรักภักดีต่อประชาธิปัตย์ อย่างไม่สนใจใยดี คุณงามความดี ของพรรคเทวดาอื่น ๆ ทั้งนั้น ยังคงเลือกผู้แทนจากพรรคเก่าแก่นี้ตลอดไป แม้เขาจะได้เรียนรู้แล้วว่า แม้จะได้เป็นรัฐบาลกี่สิบสมัย ก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตของเขาดีขึ้นมาเลยก็ตาม เขาก็ยังจงรักภักดี ไม่สร้างซา (แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า พรรครัฐบาล พรรคอื่น จะปล่อยปละละเลยไม่สนใจพัฒนาภาคใต้นะครับ ผมว่า ควรจะต้องพิจารณา พัฒนาให้เสมอภาคกันในทุกภูมิภาคด้วย )

พรรครัฐบาลของสหรัฐฯ ก็คงจะเช่นเดียวกัน เอาเงินไปทุ่มเท กับการสงครามในอิรัก และ "การสร้างประชาธิปไตย" ซึ่งจะน่าเป็นการหวังและแสวงประโยชน์จากประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางมากกว่า ชาวบ้านใน นิวออร์ลีน ซึ่งส่วนใหญ่ สองในสาม จะเป็นชาวผิวสี (ดำ) จึงยังต้องรับทุกข์ทรมานต่อไป

นักเรียนกฎหมายที่ โรงเรียนของผม จึงได้ร่วมกับ นักเรียนกฎหมายทั่วประเทศสหรัฐ ไปช่วยเหลือรับฟังปัญหาทางกฎหมาย และการช่วยเหลือในด้านอื่น ๆ ในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ ที่จะถึงนี้ ในส่วนของมหาวิทยาลัยของผม ได้สนับสนุนเงินทุน จำนวนหนึ่งแก่กลุ่มอาสาสมัครที่ผมจะไปร่วมนี้ แต่ไม่เพียงพอ ทางกลุ่มที่ผมร่วมด้วย จึงได้ออกอุบาย ขายลูกปัดสี ประจำโรงเรียน มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในช่วงที่มีการแข่งขันอเมริกันฟุตบอล สองสามเดือนผ่านมานี้ ซึ่งได้เงินไปสนับสนุนเยอะพอสมควร

ผมได้ประสบการณ์อย่างหนึ่งในระหว่างการขายลูกปัดสี (ที่นำมาร้อยเรียงเป็นสายสร้อย) คือ มีชาวอเมริกันไม่น้อยที่มีน้ำใจ พอรู้ว่าเรามาขายลูกปัดสี เพื่อระดมทุนไปช่วยเหลือชาวบ้านในนิวออร์ลีน ก็ช่วยเหลือ บริจาคเงินเกินกว่าราคาลูกปัด ( ๒ เหรียญ) ที่เราตั้งไว้ แต่มีจำนวนไม่น้อย ไม่ช่วยแล้วยังกวน(ตีน) อีก เป็นต้นว่า จะหาเงินเองหรือเปล่า หรือ จะไปช่วยอะไรเขา ไกลขนาดนั้น ตัวพวกคุณเอง ต้องการไปเที่ยวเองหรือเปล่า ฯลฯ

ก็แล้วแต่จะคิดกันไป ห้ามกันไม่ได้ แต่ที่แน่ ๆ ผมว่า มันเป็นประสบการณ์ดีมาก ที่จะได้ไปช่วยเหลือชาวบ้านจริง ๆ แม้จะเป็นส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ถ้าทุกคน ทำคนละเล็กละน้อย แล้วลองงานที่ทำคนละไม้คนละมือมารวม ๆ กันเข้า มันก็คงจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนร่วมโลกไม่น้อยเลยทีเดียวครับ แต่ผมละกลัวจริง ๆ คือ เขาเป็นชาวผิวสี(ดำ) ซึ่งผมฟังคนผิวสี ไม่ออก ......... เอิ๊ก เอิ๊ก .... จะไปรอดไหมเนี่ย พี่น้องคร๊าบ




สุดท้าย ลองมาโหวต กันหน่อยนะครับ ......
ถ้าพี่น้อง เพื่อน ๆ มีโอกาส จะไปร่วมเป็นอาสาสมัครไหมครับ





ปล. เพื่อน ๆ หรือ ท่านผู้มีเกียรติที่ได้บังเอิญอ่าน blog ผม หรือ หากท่านอยู่ในนิวออร์ลีน จะมาช่วยกัน หรือ แนะนำ หรือ ให้ข้อคิด ข้อควรระวังแก่ผมบ้าง ผมจะเห็นคุณค่าในคำแนะนำฯ ของท่านเป็นอย่างยิ่งครับ




 

Create Date : 01 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 2 มิถุนายน 2553 14:43:45 น.
Counter : 543 Pageviews.  

... บนความว่างเปล่า ....

ช่วงนี้ ไปฟังบรรยายพิเศษ ที่ University of Illinois College of Law ของผม จัดบ่อย ๆ ซึ่งที่ผ่านมา ได้เชิญ บุคคลสำคัญ ๆ และนักวิชาการหลายหลากมาอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นกับคณาจารย์ และ นักเรียนใน College of Law ของผม




การจัดบรรยายพิเศษในลักษณะนี้ น่าสนับสนุนยิ่งนัก เพราะทำให้ คณาจารย์ และ นักเรียน ได้มีโอกาสฟังแนวคิดใหม่ ๆ ของนักวิชาการ นักการเมือง นักการทูต ฯลฯ จำนวนมาก ซึ่งจะต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล ในการเชิญบุคคลดังกล่าวมาถึง Campus บ้านนอก อย่าง UIUC

โชคดี ที่ College of Law มีศิษย์เก่า สนับสนุนหลายท่าน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการบรรยายพิเศษนี้ ศิษย์เก่า ที่มีนามว่า Carl Vacketta ( J.D. 65) ซึ่งเป็นเจ้าของ สำนักกฎหมาย DLA Piper ที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก ได้สนับสนุนเงินทุน ในการจัดการบรรยายพิเศษในปีที่ผ่านมา ท่านได้กล่าวอย่างน่าชื่นชมว่า "ท่านเป็นหนี้ มหาวิทยาลัย และ โรงเรียนกฎหมายแห่ง อิลลินอยส์ เมื่อ ๔๐ กว่าปีที่ผ่านมา ท่านสำเร็จการศึกษาที่นี่ ด้วยค่าเทอม เพียง ๑๙๖ เหรียญสหรัฐ ท่านมีทุกอย่างนี้ได้ เพราะสถาบันแห่งนี้ ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นควรจะต้องตอบแทนให้แก่สถาบัน"


ในปีที่ผ่านมา มีการบรรยายพิเศษไปแล้ว หลายครั้ง เช่น U.S. Supreme Court Justice John Paul Stevens; อดีต ผู้นำเสียงข้างมากในรัฐสภาสหรัฐฯ Dick Armey; นายพล Joseph W. Ralston อดีตหัวหน้าฝ่าย NATO Supreme Allied Commander Europe; อดีตผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภาสหรัฐฯ Senator George Mitchell; รวมถึง อดีต สส. และ ผู้ว่าการรัฐฯ Michigan, และ เอกอัครทูตสหรัฐฯ ประจำแคนนาดา Jim Blanchard เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๐๐๗ ที่ผ่านมา ผมได้เข้าฟังการแสดงสุนทรพจน์ ของ U.S. Ambassador Marc Grossman ที่มาพูดเรื่อง "American Diplomacy in the 21st Century" (คลิ๊ก) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เนื่องจากทำให้ทราบถึงทิศทางและบทบาทของประเทศสหรัฐ ที่มีต่อโลก ในยุคปัจจุบันและอนาคต

ท่าน Marc Grossman กล่าวอย่างน่าประทับใจว่า ท่านในฐานะนักการทูต และ เรา ๆ ท่าน ๆ ในฐานะนักกฎหมายนั้น มีแนวคิดอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน คือ

"Both Lawyer and Diplomat need the systematic analysis."


หากจะกล่าวสรุป และอรรถาธิบาย ก็จะได้ความว่า ทั้งสองอาชีพ (และทุก ๆ อาชีพนั่นแหละ ในความเห็นผม) ต้องการแนวคิดการวิเคราะห์ที่ เป็นระบบ และ ท่านกล่าวเสริมต่อไปว่า

"The Rule of Law is the foundamental concept of the pluralism and prosperity."


กล่าวคือ หลักการแห่งหลักนิติรัฐ หรือ หลักการปกครองโดยยึดหลักกฎหมาย นั้น เป็นพื้นฐานแห่งหลักการพหุนิยม อันเป็นพื้นฐานสำคัญในระบอบประชาธิปไตย และ เป็นเครื่องประกัน ความมั่งคงมั่งคั่งของประชาชนในรัฐ (ซึ่งหลัก นิติรัฐ ในประเทศไทย ได้ถูกทำลายไปหมดสิ้นมานานแล้ว ... และถูกทำลายโดยนักกฎหมายใหญ่ ๆ ของไทยทั้งนั้น )

ท่านว่า ในศตวรรษนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ จะมุ่งให้ความสำคัญ ในนโยบายหลายประการ เช่น การคุ้มครองสิทธิมนุษย์ การส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การต่อสู้กับการก่อการร้าย และ นโยบายที่สำคัญที่สุด คือ การปกป้องโลก จากปัญหาโลกร้อน ด้วยการมุ่งเน้นการวิจัย ในการหาพลังงานทดแทนน้ำมัน และ รักสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งนับว่า เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะ หากศึกษาให้ดีจะพบว่า สหรัฐฯ อเมริกา นี้เองที่ ไม่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกในหลายๆ สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน หากอเมริกา เริ่มตระหนักถึงปัญหานี้ ก็น่าจะมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาและมีการศึกษาวิจัยที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จริงจังในอนาคตอันใกล้ต่อไป




เรื่องที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหาของเรื่อง "บนความว่างเปล่า" หรอกนะครับ เรื่องที่ผมจะเขียนจริง ๆ คือ ช่วงนี้ ผมทำงานร้านอาหาร Thai Basil ด้วย เพราะมีหลายสาเหตุนะครับ โดยประการที่สำคัญที่สุดของผม ก็คือ ขี้เกียจทำอาหาร เลยไปสิงตัวที่ร้านบางวัน ทำงาน ได้เงินเล็กน้อย และ ได้อาหารกลับบ้าน เพราะ พี่เจี๊ยบ กับ พี่เบส คู่สามีภรรยา ท่านไม่หวงห้ามเรื่องกิน ... เพราะท่านว่า คนเราจะกินอะไรกันได้นักหนา กินเท่าไหร่ ก็คงไม่ทำให้ร้านล่มจมเป็นแน่ เพราะฉะนั้น อยากกินอะไรก็กินไป เอิ๊ก เอิ๊ก อิ่มสบายท้องครับ

ช่วงที่ทำงาน ก็พบเจอคนหลายหลาก ได้เพื่อนเยอะ ได้เห็นธาตุแท้และลักษณะนิสัย (สันดาน) ของคนเยอะเหมือนกัน ท่านแรก คือ Professor Anthony J. Leggett ศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์ ที่ได้รับรางวัล Nobel Prize สาขา Physics ในปี ๒๐๐๓ (โปรดคลิ๊กเพื่อดูประวัติ ผลงาน และรายงานงานวิจัย) ท่านนี้ มีความสุภาพ อ่อนน้อมเป็นอย่างยิ่ง ไม่ได้แสดงตนว่า ได้รับรางวัลยกย่องระดับโลก อะไรเลยแม้แต่น้อย กินข้าวเสร็จ ก็เก็บจาน กวาดเศษอาหารลงถังขยะให้เรียบร้อย ก่อนจะเอาถาดและจานมาวางเรียงซ้อนในที่จัดไว้สำหรับลูกค้า ซึ่งเป็นแบบกึ่งบริการตนเอง

ระหว่างทำงานได้เจอกับคนไทย นักเรียนไทย ฯลฯ หลายคน เรื่องหลายเรื่อง ก็เกิดขึ้น ในช่วง Summer ที่ผ่านมา ได้เจอพ่อแม่ ของเด็กใหม่หลายคน มาลูกมาดูมหาวิทยาลัย UIUC ผมและพนักงานร้านอาหาร ก็ทักทายอย่างสุภาพอ่อนโยน โดยไม่ได้บอกว่า ตัวเองก็เป็น นักศึกษาในระดับปริญญาเอก ฯลฯ สิ่งที่ได้รับ คือ เขาส่งสายตา มองจากหัวจรดตีน ฯลฯ เอ่อ งง ไปเลยซิครับ แล้วก็คิดไป กูไม่น่าไปทะลึ่งทักเขาเลย .... จนแล้วไม่เจียม ... อะไรทำนองนั้น

ในช่วงนั้น ได้เจออีกคนอีกกลุ่มหนึ่ง มาดูงานที่มหาวิทยาลัยผม อาการดีใจ ที่เจอคนไทยด้วยกันของผมเริ่มน้อยลงไปเรื่อย ๆ หลังจากเจอเหตุการณ์ไม่ค่อยดีหลายครั้ง แต่คราวนี้ ก็ลองเสี่ยง จึงทักทาย สวัสดี ฯลฯ คุยไปคุยมา กลุ่มนี้ เป็นครูบาอาจารย์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นอธิการบดี เลยทีเดียว แต่เธอ พูดจาสุภาพ น่ารักมาก ไม่ได้อวดอ้างถือตัวอะไร

เมื่อสองสามวันก่อน มีรุ่นน้องมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มาแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัยผม ได้มากินอาหารที่ร้าน จึงได้ถามสารทุกข์สุขดิบกันไป ซึ่งน้องคนนี้ ก็น่ารักมาก อย่างทุกครั้ง เคารพ นอบโน้ม ฯลฯ ตามแบบฉบับนิสัยคนไทย ที่มีเรื่องของอายุ มากน้อย เข้ามาเกี่ยว ผมจึงถามเธอว่า ชอบเมืองบ้านนอกอย่าง UIUC หรือยัง

เธอตอบว่า "ชอบเมือง แต่ไม่ชอบนิสัยฝรั่ง เพราะเห็นแก่ตัว" ผมจึงได้เล่าว่า ที่จริง ไอ้นิสัยที่น่ารังเกียจยิ่งกว่า ก็มาจากคนไทยด้วยกันเยอะเหมือนกัน โดยเฉพาะนิสัยเหยียดหยาม เย่อยิ่ง เห็นคนอื่นต่ำกว่า มีเกียรติยศน้อยกว่า เพราะเรื่องหน้าที่ที่แตกต่างกันมาก นี่ไม่น้อย โดยเฉพาะนักเรียนที่ได้มาชุบตัวในเมืองนอก หรือ ใน UIUC นี่แหละ อย่าไปว่า แต่ฝรั่งมังค่ามันเลย ....

มีน้องใหม่ ๆ หลายคน ไม่ทราบว่า ผมเป็น นร. ที่ UIUC เช่นเดียวกับเขา เห็นผมทำงานร้านอาหาร ก็คงคิดว่า เป็นพวก กุลี จับกัง โดดหนีวีซ่า แอบทำงาน ฯลฯ จึงได้แสดงท่าทางหยิ่งยะโส ใช้ได้เลยทีเดียว ไอ้ผม ก็เสือกสะเออะ ไปถามชีวิต ความเป็นอยู่ ชื่อเสียงเรียงนามและโปรแกรมที่เธอเรียนอยู่ ระหว่างที่เธอมาสั่งอาหาร กับพนักงานรับ order ต่ำ ๆ อย่างผม คำตอบที่ได้ จึงได้สะท้อนในสิ่งที่เธอคิดไว้ในใจ .... ประมาณว่า แล้วคนต่ำ ๆ อย่างมึง จะมาสะเออะ ถามเรื่องของกูทำไมวะ ....




ผมเลยคิดว่า ทำงานร้านอาหารนี่ มันเห็นนิสัย และธาตุแท้ของคนเยอะเหมือนกันนะครับ มีประโยชน์ใช่น้อย แต่ที่แน่ ๆ มันทำให้ผมแหยง กับการเจอคนไทย และ การทักทายกับคนไทยในสหรัฐฯ ไปเยอะเลย หากบังเอิญ น้องที่ UIUC ผ่านมาเจอ blog นี้ ก็ขอร้องเหอะ อย่าหยิ่งกันเลยนะครับ ..... คนเหมือนกัน ..... เดี๋ยวก็ตายห่าจากกันแล้ว ...... ทำดีต่อกันเถอะครับ พี่น้องครับ ..... ทุกอย่าง ล้วนอยู่บนความว่างเปล่าทั้งนั้นแหละครับ พี่น้องคร๊าบ ....





 

Create Date : 27 ตุลาคม 2550    
Last Update : 2 มิถุนายน 2553 14:43:23 น.
Counter : 550 Pageviews.  

ความสุขเล็ก ๆ

สวัสดีครับพี่น้อง

กลับมาอยู่อเมริกาได้ ๑๕ วันละครับพี่น้องครับ .... อากาศที่อเมริกา แม้จะร้อนมาก ๆ คือ ประมาณ ๘๐ ถึง ๙๐ องศาฟาเรนไฮน์ ได้ อากาศร้อน แต่สดใสมาก ๆ ไม่ใช่เฉพาะ แค่อากาศนะครับ แต่ช่วงนี้ เป็นช่วงเปิดเทอมใหม่ ๆ มีเด็กนักเรียนใหม่มาก ๆ มีกิจกรรม ต้อนรับกลับสู่โรงเรียน แล้วกลุ่มสมาคมต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ก็ไปรับสมัครสมาชิกใหม่ อย่างชมรมแบดมินตันของมหาวิทยาลัย ที่ผมเป็นสมาชิกอยู่นี่ มีคนสมัครไปขอเป็นสมาชิก ตั้ง ๓๐๐ กว่าคนเลย คาดว่า จะรับสมาชิกได้ไม่เกิน ๒๐ คนเท่านั้นเอง ผู้สมัคร ก็ต้องไปประลองฝีมือกับสมาชิกเก่า ๆ เก๋า ๆ ทั้งหลาย เพื่อคัดเลือกต่อไป นั่นแหละครับ




พูดถึงกีฬาแล้ว ผมว่า มหาวิทยาลัยในอเมริกานี่ดีกว่ามหาวิทยาลัยในอังกฤษ สักล้านเท่าครับ เพราะเท่าที่คุย ๆ กับคนที่ไปเรียนอังกฤษ รวมถึงขณะไปเรียนที่อังกฤษเองด้วย ก็เห็นว่า แม้แต่ Oxford เอง ก็ไม่ได้จัด Facilities ที่ดีพอให้กับ นศ. ของเขาเท่าไหร่ จะเล่นกีฬาอะไร ก็ต้องเสียตังค์ เป็นเงินเป็นทองไปหมด มหาวิทยาลัยในเมือง อย่างในลอนดอน นี่ไม่ต้องพูดถึงเลย คิดค่าออกกำลังกาย เป็นชนิด ๆ ไป ตลกดี ค่าเทอมเป็นหมื่นปอนด์ แต่ไม่มีอะไรอำนวยความสะดวกให้นักศึกษา มหาวิทยาลัยในอเมริกา เท่าที่สัมผัสมา เรื่องการออกกำลังกายนี่ เป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญมาก ๆ อำนวยความสะดวกเต็มที่ หากจะพูดเรื่องห้องสมุด ฯลฯ ผมก็รู้สึกว่า มหาวิทยาลัยในอเมริกา มีระบบฐานข้อมูล และห้องสมุดที่ดีกว่า ของอังกฤษครับ อันนี้ แค่ความรู้สึกส่วนตัวนะครับ ไม่ได้ศึกษาข้อมูลเชิงลึกประกอบด้วย

ตอนไปอยู่อังกฤษนี่จะวิ่งก็วิ่งไม่ได้ดังใจ เพราะอากาศค่อนข้างเลวร้ายมาก แป๊บ ๆ ฝนตกละ เผลอไม่ได้เลย เช้า ๆ ฝนตก แดดมีสัก สองสามชั่วโมง ฝนตกเป็นระยะ ๆ ซะงั้น จะวิ่งตามถนนเลยทำไม่ได้ดังหวังเท่าไหร่ เล่นเอาน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาเยอะพอสมควรเลย ที่แปลกมาก ๆ ทั้ง ๆ ที่ฝนตกแบบนี้ ชาวอังกฤษส่วนใหญ่ ไม่ใช่เครื่องปั่นผ้าครับ .... เอาแขวนตาก ๆ พอฝนตกก็เก็บทีนึง .... โอ้ ... ประสบการณ์ตรงของผมด้วยระหว่างที่อยู่อังกฤษครับ ตอนนี้ ผมเลยต้องมาออกกำลังกายทดแทน แต่รูมเมทใหม่ของผมนี่ ชอบเล่นเทนนิส เลยซื้อไม้เทนนิสใหม่กันเป็นทิวแถว แล้วก็บางวันตีเทนนิสกันที่สนามของมหาวิทยาลัย จัดให้ ยันตีสองก็มี คิดไปคิดมา ติ๊งต๊อง ใช้ได้ ...

ตอนนี้ ไปมหาวิทยาลัย เพื่อพบ Advisor บ่อยเหมือนกันครับ เพราะว่า Advisor ให้ส่งใบเสร็จค่าใช้จ่ายระหว่างไปอยู่และเรียนที่อังกฤษ แล้วท่านจะให้ตังค์ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้ รวมถึง ตอนนี้ ก็ใกล้เวลาสำคัญ คือ จะต้องเตรียมตัวเพื่อ Defense วิทยานิพนธ์ ที่ร่างไปคร่าว ๆ แล้ว เลยต้องคุยกันมากขึ้นเป็นลำดับ




เอาละครับ .... วันนี้ ที่จริง กะจะเล่าเรื่องที่เจอเมื่อวานเย็นครับ ... เมื่อวานตอนนั่งรถเมล์ สาย 5 Green โฉมหน้าสู่เมือง Urbana ที่ผมไปอยู่ใหม่นั้น ชายแก่ คนผิวสี คนหนึ่งอายุ ๕๙ ปี ก็ขึ้นรถเมล์มานั่งด้านหน้า เขาก็หันมายิ้ม แล้วกล่าวทักทาย ผมเลยคุยกับเขาด้วยตลอดทาง ผมได้ข้อคิดดี ๆ เหมือนกัน ครับ

คุณ จอห์น เล่าว่าเขาทำงานเป็นลูกจ้างของมหาวิทยาลัยผม ทำหน้าที่พ่อครัวในหอพักมหาวิทยาลัย ปรุงอาหารให้เด็กปี ๑ กินกัน ตลอดระยะเวลา ๒๓ ปี เขาก็เล่าถึงวิธีการทำอาหารของเขา และรายการเมนูอาหารที่ทางหอพัก เตรียมให้กับเด็กนักเรียน โดยเฉพาะรายการอาหารสองสามอย่างที่พวกเขารับผิดชอบปรุงขึ้นมาใหม่ สองสามรายการ เพื่อชาวไม่กินเนื้อสัตว์ด้วย

ผมเลยว่า ผมเคยไปกินอาหารที่หอพักนักเรียนเหมือนในช่วงมีเทศกาลสำคัญ ๆ ซึ่งจะมีรายการอาหารพิเศษ แปลก ๆ เยอะเหมือนกัน ราคาก็ประมาณ ๑๐ เหรียญ กินแบบไม่อั้น (ซึ่งไม่ดีครับ อ้วนจริง ๆ ) เขาก็ว่า เขาหวังว่าอาหารที่เขาทำจะทำให้ผมและนักเรียนชอบ และมีความสุขในการกินด้วย

สุดท้าย เขากล่าวว่า "เขารู้สึกภาคภูมิใจ และมีความสุขกับงานที่เขาทำมาก ๆ ตลอดระยะเวลา ๒๓ ปีที่ผ่านมา" ผมเลยนำมาคิดกลับ ... พร้อมรำลึกถึงความหลังตอนเดินทางไปเที่ยวในเยอรมันนี ครับ ..... สุภาษิต เยอรมันบอกว่า .. " คนเราต้องหาความสุข ระหว่างการเดินทาง ไม่ใช่ไปรอให้ถึงจุดหมายปลายทางเสียก่อน เพราะหากว่าเราเดินทางถึงจุดหมายปลายทางแล้ว มันก็ไม่มีอะไรให้ค้นหาอีกต่อไปแล้ว"




ชายผิวดำคนนี้ ทำให้ได้ข้อคิดขึ้นมา ... ความจริง เราควรหาความสุขและประสบการณ์ที่สวยงามระหว่างการเดินทางของเราเป็นเรื่องสำคัญกว่าจุดหมายปลายทางที่มันรอเราอยู่ข้างหน้าซึ่งมันไม่มีอะไรให้ค้นหาอีกแล้ว และไม่ว่าจะทำอะไร หากมีความสุขกับมัน เราก็สามารถแสวงหาและทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับตัวเราและสังคมได้เสมอ ... ดังนั้น หากว่าตอนนี้ เพื่อนสมาชิก หรือใคร ก็ได้ ที่กำลังทำอะไรอยู่ ก็ขอให้มีความสุขกับมันนะครับ .... สวัสดีครับพี่น้อง




 

Create Date : 30 สิงหาคม 2550    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:20:14 น.
Counter : 607 Pageviews.  

กลับมาถึง Champaign แล้วครับ

หลังจากไป ผจญภัย เมืองผู้ดีอังกฤษ และประเทศในยุโรป มาสองเดือนเต็ม ๆ ก็กลับมาที่เมือง แชมเปญจ์ รัฐอิลลินอย แล้วครับ

ช่วงไปอยู่อังกฤษจริง ๆ คงจะสักประมาณ ๑ เดือนได้ นอกนั้นไปตะลุย สามประเทศในยุโรป คือ ฝรั่งเศส เยอรมันนี และ เบลเยี่ยม ซึ่งในภาพรวม น่าประทับใจครับ แต่ผมว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ผมไปเห็นมา มีลักษณะบ้านเมือง ที่คล้าย ๆ กัน ไม่รู้ว่าประเทศอื่น ๆ จะเหมือน ๆ หรือเปล่า

ในอังกฤษที่อยู่นานที่สุด ก็ที่เมือง Oxford อยู่เกือบเดือนได้ ระหว่างที่เรียน International Comparative Intellectual Property Program ที่นั่น ครับ น่าเสียดายที่ผมไม่ได้ไปไหนมาไหนในอังกฤษมากนัก เพราะเป็นคนค่อนข้างเฉื่อย คือ อยู่ที่ไหนแล้วจะติดอยู่กับที่ ไม่ค่อยเคลื่อนตัวไปไหน

ตอนอยู่อังกฤษ จึงได้ไปแค่ที่ รุ่นน้องนายตำรวจ วางแผนมาไป ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ตอนอยู่ที่ Kent - Cantabury แล้วผมก็พบว่า เออจริง ๆ น่าจะไปที่ สก๊อตแลนด์ด้วย จึงได้วางแผนไป เอดินเบอะระ ตอนใกล้ ๆ จะกลับมาสหรัฐแล้ว

การเดินทางไปเอดินเบอะระ ในระหว่างวันที่ ๑๑ ถึง ๑๓ ส.ค. ๕๐ ที่ผ่านมา ไม่ได้จองโรงแรมไว้ก่อน ไปถึงฝนก็ตก แถมไปช่วงเทศกาล Military Tattoo งานประจำปีของสก๊อตแลนด์ โรงแรมเต็มตั้งแต่ปีก่อนแล้ว ที่เหลือก็ราคาเฉียดสองร้อยปอนด์ต่อคืนทั้งนั้น .... ผมเลยไปนอนวัดพุทธประทีป ที่กรุงเอดินเบอะระ แล้วบริจาคค่าน้ำค่าไฟให้วัดแทน โชคดีระหว่างไปเอดินเบอะระ ยังมีแดดอยู่สองวัน คือ วันที่ ๑๒ ส.ค. สักสองชั่วโมง และเช้าตู่ของวันที่ ๑๓ ส.ค. ก่อนเดินทางกลับ Oxford ครับ ไม่งั้นเศร้าแย่เลย

วันที่ ๑๕ ส.ค. ๕๐ ต้องเดินทางกลับสหรัฐฯ ตอน ๘ โมงเช้า ... แต่ว่า ไปถึงสนามบิน ประมาณ ๗.๑๐ น. ไปถึงสนามบิน ก็เข้า Terminal 3 G ของสายการบิน United ปรากฎว่า มีพนักงานภาคพื้นดินแค่ ๒ คน ในการเช็คอิน และรับตรวจกระเป๋า ... คนรอเป็นล้าน เข้าคิวสักพัก ผมว่า ผมไม่ทันแหง ๆ เลยไปถามเจ้าหน้าที่ว่า ผมจะทันเครื่องบินเหรอ .... เขาก็ว่า ปิดไปแล้วครับ ผมพลาดเที่ยวบินรอบ ๘ โมงเช้าไปแล้ว ทางเจ้าหน้าที่ จึงได้จัดเที่ยวบินให้ใหม่ รอบเกือบบ่ายโมง ... ระหว่างนั่งเครื่องบินมา โชคดีไม่ดีเลยครับ มีครอบครัวพร้อมลูกเล็ก ๆ วัยสัก ๓ ขวบ กับ ๕ ขวบ ร้องเสียงดังสนั่นตลอดทาง บอกทางเจ้าหน้าที่สายการบินให้ช่วยแก้ไขปัญหาหน่อย เขาก็เฉยซะงั้น เซ็งเลยกับ ยูไนเต็ด ...

ผมเลยมาถึงสนามบิน โอ แฮร์ ที่ชิคาโก้ เกือบบ่ายสี่โมงเย็นแทนที่จะเป็นเที่ยงตรง แล้วก็นั่งรถบัสบริการระหว่างเมืองจากสนามบินโอแฮร์ กลับเมืองแชมเปญจ์ ก็ประมาณ ๓ ทุ่มครึ่งแล้วครับ ... ง่วงดีเหมือนกัน แล้วเดี๋ยวมาเขียนเล่าเรื่องใหม่ครับ




 

Create Date : 16 สิงหาคม 2550    
Last Update : 2 มิถุนายน 2553 14:45:05 น.
Counter : 512 Pageviews.  

รับปริญญาอีกแล้ว.....

เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา เป็นวันรับปริญญา (Commencement Day) ของผู้สำเร็จการศึกษาที่ UIUC ครับ



ภาพหมู่ หน้า Alma ครับ (แต่ไม่ครบ ...มาสายไม่มีภาพครับผม) ยินด้วยกับทุกท่านครับ


ปีนี้ ก็มีหลายท่านสำเร็จการศึกษา เป็นต้นว่า พี่วีรศักดิ์ ( ป.เอก ทางคอมพิวเตอร์) น้องต้น (สองต้น) (ป. โท จากคณะวิศวะ) น้องเอ็กซ์ นุ่น จิ๊บ และ ลิ้งค์ จาก College of Law น้องกอล์ฟ น้องเนต จากคณะบริหารธุรกิจ และ อีกหลาย ๆ ท่าน รวมทั้ง น้องตูน ลูกชายคุณ ไตรภพ ฯ เจ้าของรายการ ฝันที่เป็นจริง (ในอดีต) ด้วยครับ



ยินดี กับ น้อง ๆ จาก College of Law ๔ ท่าน ด้วยครับ




น้องต้น สองต้น ... ต้นยาว กับ ต้นเล็ก.... คนสูงนั้น กลับไปรับใช้ชาติ ด้านควบคุมสิ่งแวดล้อม คนหลังเรียน ป.เอก ต่อที่ UIUC ขอให้ประสบความสำเร็จในการทำงานครับ




ถ่ายร่วมกับ น้อง ๆ จาก College of Law จากกันแล้ว คิดถึงกันบ้างนะครับ น้อง ๆ




ถ่ายภาพกับ น้องตูน และ คุณไตรภพฯ ยินดีด้วยครับผม




ครอบครัวสุขสันต์ แม่ ต้น ลุง และ น้า .... ยินดีด้วยอีกครั้งครับผม




พี่น้องสุขสันต์ .... โอ๊ต กับน้องสาว มาร่วมงานรับปริญญากับน้อง ๆ .... อีกสองสามปีโอ๊ต ก็จะจบ ป.เอก ทางการศึกษาที่นี่ ยินดีล่วงหน้าแล้วกัน




ภาพสุดท้ายครับ .... ต้น กาญจน์ และ พี่วีรศักดิ์ ... ไม่มีอะไรมากครับ ยินดีด้วยจากใจจริงครับ ....




สุดท้าย ก็อยากจะบอกกับน้อง ๆ ว่า ยินดีด้วย ... ชีวิตนักเรียน ไม่มีอะไรมากครับ ตั้งใจเรียนก็สำเร็จได้ทุกคน แต่เมื่อไปทำงานแล้ว จึงจะได้เจอะเจอ กับโลกแห่งความเป็นจริง ในการทำงาน ที่บางครั้งก็โหดร้าย ... ขอให้ประสบความสำเร็จ และฝ่าฝันอุปสรรคไปได้ด้วยดีครับผม




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2550    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:03:42 น.
Counter : 1301 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.