*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 

ปีที่สามในสหรัฐฯ



ผมขออนุญาตรายงานความเป็นไปในชีวิตของผม ให้ทราบ ๆ โดยทั่วกันครับ ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๐๓ เป็นต้นมา ผมได้มาเรียนในสหรัฐฯ และจบปริญญาโททางกฎหมายจาก Indiana U ในปี ค.ศ. ๒๐๐๔ จากนั้น ก็ได้เข้าต่อปริญญาโททางกฎหมายใบที่สองที่ U of Illinois ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๐๔



ผมได้ลงทะเบียนแบบมี Thesis โดยวิทยานิพนธ์ของผม ได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงหลักการทางกฎหมายและผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหลังรัฐธรรมนูญ ปี ค.ศ. ๑๙๙๗ ที่ผ่านมา ซึ่งได้เขียนเปรียบเทียบหลักกฎหมายไทยกับหลักกฎหมายสหรัฐในบางส่วน ผมเห็นว่ากฎหมายไทย ได้รับการพัฒนาแบบพิกลพิการ โดยผู้ร่างกฎหมาย ได้รับเอาตัวแบบสหรัฐอเมริกาไปเพียงแต่เปลือก แต่ละเลยหลายสิ่งหลายอย่างที่ควรจะเป็นฯ ผมไม่กล่าวในรายละเอียดแล้วกันครับ ผมได้สำเร็จการศึกษาอย่างสมบูรณ์เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ๒๐๐๕ ที่ผ่านมานี้เอง

เพื่อน ๆ ของผม ที่ไม่ได้ลงทะเบียนแบบ Thesis ก็จะสำเร็จการศึกษาตั้งแต่ พ.ค. ที่ผ่านมาแล้ว แต่ทุกคนรวมทั้งผม ก็เข้าพิธีรับปริญญาที่ College of Law, U of Illinois จัดให้ในวันที่ ๑๔ พ.ค. ๐๕ แล้วครับ การรับปริญญา Master of Law (LL.M.) ใบสองของผม ตื่นเต้นน้อยกว่าเมื่อครั้งร่วมพิธีฯ ที่อินเดียนน่า มากพอสมควร ไม่ทราบว่าเพราะอะไร



ระหว่างปิดเทอม ตั้งแต่ พ.ค. ถึง ก.ค. ในช่วง Summer นี้ ไม่มีอะไรตื่นเต้นมากนักในชีวิตของผม นอกจากการนั่งอ่านหนังสือ เพื่อเขียนวิทยานิพนธ์ ทำงานเล็กน้อย โดยไปช่วยงานที่ร้าน Y-Eatery ของ ดร.มยุรีฯ ได้เงินพอกินขนมได้ ย้ายบ้านจากบ้านเดิมไกล ๆ ที่อาศัยอยู่กับรูมเมทอเมริกัน ซึ่งเลี้ยงงู ๒ ตัว กับแช่หนูในไว้ในช่องแช่แข็งที่ทุกคนต้องแช่เนื้อสัตว์ทำอาหาร (นึกแล้วขยะแขยง) โดยย้ายมาอยู่ที่ Illini Manor ที่อยู่ใจกลางมหาวิทยาลัย เพื่อหนีความหนาว ที่ผมแทบแย่ในช่วงเดือน พ.ย. ถึง เม.ย. ที่ผ่านมา



ก่อนที่ผมจะเริ่มโปรแกรม ปริญญาเอกทางกฎหมาย (Doctor of Juridical Science – JSD) ในช่วงเดือน สิงหาคม ๐๕ ที่จะถึงนี้ ผมได้เดินทางมาท่องเที่ยว เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา คือ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ระหว่างวันที่ ๕ ถึง ๑๕ ส.ค. ที่ผ่านมาครับ มันเป็นเขตพิเศษ ที่ตั้งอยู่บนดินแดนระหว่าง ๒ รัฐเดิม คือ เวอร์จิเนีย กับ แมรี่แลนด์ มีแม่น้ำสองสาย ไหลผ่าน เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญ ๆ ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ยุคการก่อตั้งประเทศ



ผมเดินทางท่องเที่ยวดุย ๆ ตามสไตล์ “ชายผู้เดินเที่ยวคนเดียว” ไปตามพิพิธภัณฑ์ Smithsonian ที่มีหลายอย่างน่าสนใจ เช่น พิพิธภัณฑ์แสดงวิวัฒนาการของเครื่องบินและยานอวกาศ ตั้งแต่อดีต ที่มีการใช้ในการรบในทุกยุคทุกสมัย รวมถึงสงครามโลก และการเดินทางไปสำรวจยานอวกาศ, พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับชาวเผ่าอินเดียนแดง ที่ถูกทางการสหรัฐกวาดต้อนไปอยู่ดินแดน Reservation ที่แห้งแล้ง หลังพ่ายแพ้สงคราม พิพิธภัณฑ์ที่แสดงประวัติศาสตร์ของสหรัฐ และการพัฒนาเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมในยุคต่าง ๆ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสา สัตว์ พืช ตั้งแต่ยุคโบราณ รวมถึงเพชรและอัญมณี จำนวนมาก ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ไม่ถึงกะรัต ไปจนถึงเป็นพันกะรัต สวยงามมากทีเดียว (แต่เขาไม่ได้บอกว่า เพชรฯ เหล่านี้มีที่มาอย่างไร บอกแต่เพียงแหล่งกำเนิดหรือประเทศที่เคยเป็นเจ้าของฯ เท่านั้น)



ท่านคงสงสับว่า Smithsonian มีที่มาอย่างไร คร่าว ๆ คือ นาย Smithson ชาวอังกฤษ ได้ทำพินัยกรรมมอบเงินและทรัพย์สินของตนทั้งหมดจำนวนมหาศาล แก่รัฐบาลสหรัฐ (ไม่ยกให้อังกฤษแม้แต่แดงเดียว) เพื่อใช้สอยและทำประโยชน์แก่สาธารณะฯ ตอนแรกรัฐบาลสหรัฐฯ จะไม่รับเงินจำนวนนี้ เพราะเขินฯ ต่อมาก็รับ ท้ายที่สุด จึงนำเงินมาสร้าง Smithsonian Institute ขึ้น ปัจจุบัน มี ๑๔ แห่ง โดยทุกแห่งฟรี สถาบันแห่งนี้ นอกจากสร้างพิพิธภัณฑ์สำหรับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ แล้ว ยังมีอย่างอื่น เช่น งานศิลปะ (Modern Art) และสวนสัตว์ที่มีขนาดใหญ่มาก รวมสัตว์และพืชทั่วโลกไว้ในสวนสัตว์แห่งนี้ มันน่าทึ่งจริง ๆ



ผมขอพรรณนาภาพ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สักหน่อยครับ จุดใหญ่ พิพิธภัณฑ์ Smithsonian ตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่า National Mall มีถนน Independence และ Constitution ขนาบสองข้าง จะพูดให้เห็นภาพ ก็เหมือนกับสนามหลวงครับ แต่ใหญ่กว่ามาก ภาพกว้าง ๆ คือ ด้านขวาเป็น Washington Monument ตั้งอยู่ตรงข้ามกับ Congress ด้านซ้ายมือ ตรงกลางเป็นลานโล่ง ๆ ๆ ๆ รอบ ๆ สนามหลวงนี้ ก็จะเรียงรายไปด้วยพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปะ ฯลฯ เรียงรายกันไป



ตรงบริเวณนี้แหละ มีสถานที่ที่น่าสนใจอย่างมาก นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้ว ก็ยังมีรัฐสภา (Congress) ศาลสูงสุด (The U.S. Supreme Court), The Congress Library ซึ่งเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา, Washington Monument (ที่มีรูปร่างคล้ายอนุสาวรีย์ชัยสุมรภูมิบ้านเรา), World War II Memorial (ซึ่งสร้างเป็นอนุสรณ์ให้แก่ ประเทศและรัฐที่เข้าร่วมต่อสู้ในสงครามโลกครั้งที่สอง), Lincoln Memorial (ประธานาธิบดี ผู้ปลดปล่อยทาส ในระหว่างสงครามกลางเมือง หรือ Civil war ของสหรัฐ), Jefferson Memorial (ผู้ซื้อดินแดน หลุยส์เซียน่า จากจักรพรรด์นโปเลียน ในราคาไม่กี่หมื่นเหรียญ ทำให้ดินแดนของสหรัฐขยายจากรัฐมิซซูรี ไปยังฝั่งตะวันตกที่กว้างใหญ่ไพศาล) นอกจากนี้ ยังมีสถานที่เก็บเอกสารและแสดงความรุ่งโรจน์ของสหรัฐและรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ครั้งประกาศอิสรภาพ โดยรัฐบาลได้เก็บเอกสาร Independent Declaration, U.S. Constitution & Bill of Right ตั้งแต่ยุคก่อตั้งสหรัฐฯ เลยทีเดียว



ผมใช้เวลาเดินในดินแดนมหัศจรรย์นี้ หลายวันครับ แต่ก็ไม่ทั่วครับ เมืองหลวงแห่งนี้ช่างมีเสน่ห์จริง ๆ นอกจากความเจริญด้านวัตถุแล้ว เขาก็อนุรักษ์ป่าไม้ และสายน้ำ ที่ทอดยาวพาดผ่านกรุงวอชิงตันจากเวอร์จิเนีย สู่แมรี่แลนด์ มีแหล่งธุรกิจและศูนย์กลางการค้าขนาดใหญ่ เป็นศูนย์ราชการสำคัญ ๆ ของรัฐบาลกลาง เช่น FBI, และหน่วยงานราชการของรัฐบาลกลางที่ตั้งอยู่บนถนน Pennsylvania อันเป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ของสหรัฐ ใช้เป็นเส้นทางในการเฉลิมฉลองหรือพิธีการสำคัญ ๆ ของสหรัฐ เช่น การเฉลิมฉลองพิธีการรับตำแหน่งของประธานาธิบดี และพิธีฝังศพของประธานาธิบดีดัง ๆ หลายท่าน ถนนแห่งนี้ จึงเป็น Historical place ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ National Park Agency ของรัฐบาลกลางสหรัฐ



ผมเดินตั้งแต่เช้าตรู่จรดค่ำ วันละหลายชั่วโมง ไม่มีเบื่อ แต่เมื่อยจริง ๆ วันจันทร์ที่ ๑๕ นี้ ผมจะกลับสู่อ้อมอกของ UIUC หรือมหาวิทยาลัย Illinois ที่เต็มไปด้วยข้าวโพดและถั่วเหลืองฯ เพื่อเริ่มโปรแกรมปริญญาเอกของผมแล้ว ขอบคุณที่อดทนอ่านครับ หวังว่าทุกท่านคงจะสบายดีครับ

ด้วยความเคารพ รัก และ คิดถึงทุกท่านครับ






 

Create Date : 14 สิงหาคม 2548    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:07:16 น.
Counter : 1579 Pageviews.  

Many thanks to my Lord Buddha and several persons!

I have just finished my Thesis for my Master of Law today. It took me several months to complete it. I myself cannot conduct my research without the encouragement, assistance and mercy of many persons. Consequently, I would liike say that I am deeply grateful their generosities which are always granted to me.




In 2002, Pol. Gen. Chanchit Bhiraleus, Deputy Commissioner-General, elucidated to Thai government that the tendency and the characteristics of the crime commission is dramatically changed in the fourth wave era. The police department needs the scholars to enhance the rule of law and police practice for our society.

Thai government, finally, granted the scholarship to develop the police personnel in criminal law area. As the first police officer who is in charge of this vital duty to study Master of Law, and Doctor of Juridical of Science, I am deeply indebted of Pol. Gen. Chanchit Bhiraleus for his greatest effort and his excellent and solemn performance. I would like to pay homage to him .

Pol. Lt. Gen. Wanchai Srinalnut, Assistant Commissioner-General, is my exemplar for the police scholar. When I was a police cadet student during 1991 to 1994, he was my first law teacher whose instructions were, and still are, very impressive. He always urged me to study higher level of legal knowledge when I was working as his subordinate in 2000 to 2002 at Legal Affair Division, Royal Thai Police Department. Sans his valuable instructions, and his priceless mercy, I will not be able to achieve my goals both in my police career and my study.

I am truly indebted my advisor, Professor (Dr.) Toms Ginsburg, who instantly and relentlessly urged me to conduct this research. He granted me the continuous advice both legal concept and the writing process. I would like to say that I felt guilty because I caused him to lose his valuable time to read and revise my thesis. He is also extremely tolerant with my tremendous questions. Without his invaluable comments granted to me, my thesis will be impossible to be completed.

I always appreciate the assistance of several persons in Thailand such as Pol. Lt. Thiengtham Keawruk, and Miss Nipapan Sang-in, who relentlessly advocated me for the information that I cannot obtain from the World Wide Web. I would like to thank them for their greatest effort to champion me.

My life will be incomplete without the advocacy of my father and mother. They always grant me all supports so that I can achieve my destiny both my police career, and especially the study with the loneliness in the United States since 2003 to the present.

From the bottom of my heart, I am deeply and sincerely grateful to all the above for inspiring, guiding, and helping me for all processes during studying in Master of Law both at Indiana U – Bloomington and University of Illinois At Urbana-Champaign. I really appreciate those kindness.

Finally, I am thankful to Lord of Buddha for the consummately rightious Dharma which eternally engeners the Enlightenment.

****************************************************

I would like to thank you, my friends in bloggang, that are tolerant with my boring articles. Thank you for granting me the priceless knowledge and your colossally excellent comments to my articles!





 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:06:51 น.
Counter : 1718 Pageviews.  

ว่าด้วยความระยำของฝรั่ง: Landlord

ผมตั้งใจจะเล่าเรื่องความระยำ ของฝรั่งที่ผมประสบมา ตั้งแต่คราวก่อนหน้านี่ แต่เห็นว่าบล๊อกมันจะยาวเกินไป เลยยกมาวันนี้แทน ช่วงนี้ อาจจะเหมาะสมที่จะโพสต์เรื่องนี้ เพราะนักเรียนไทยกำลังมาเดินทางมา และกำลังเข้ามาทำสัญญาเช่าบ้านกับฝรั่งตาน้ำข้าว ความจริงเรื่องฝรั่งขี้โกงนี่ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๓ ท่านก็ทรงเตือนไว้แล้ว จับใจความได้ว่า เรื่องรบพุ่งกับพม่าฯ กับสยามคงไม่มีแล้ว ระวังแต่ฝรั่งมังค่า ที่จะเข้ามาโกงแผ่นดินสยามฯ ท่านเตือนว่าให้เสียทีฝรั่งมันฯ (แต่สาว ๆ ไทย มักมีแฟนเป็นฝรั่งตลอด เสียดุลหรือเปล่าเนี่ย)

ผมจะเล่าเรื่องที่ฝรั่งมันโกงเงินของพวกผมไป ซึ่งได้ยินมาว่า มันใช้วิธีการเดียวกันนี้ โกงเงินคนเอเชียหัวดำ ผิวเหลืองไปเหมือนกัน เป็นจำนวนมาก เพราะมันรู้ว่า เราไม่มีทางสู้มันได้ ไม่มีทางฟ้องร้องมัน เพราะไม่คุ้มค่าทนายความฯ ที่จะฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากมันได้

ประสบการณ์การถูกโกง เกิดขึ้นในอยู่ที่ อินเดียนน่า ผมเช่าบ้าน College Mall Apartment ของบริษัท Deer Park Management อยู่ แบบ ๓ ห้องนอน ตอนเซ็นต์สัญญา มันก็ว่าจะปรับปรุงห้องให้ดี พร้อมให้เราตรวจสอบ (Inspect) ก่อนเข้าอยู่ ข้อเสนอของเขาสวยหรูมาก คือ ถ้าเราเป็น Graduate student เราจะได้ลดราคา เดือนละ ๒๕ เหรียญ ได้ลดราคาค่ามัดจำ จาก ๘๒๕ เหรียญ เป็น ๖๐๐ เหรียญ ผมกับเพื่อน ๆ รวม ๓ คน จึงเข้าอยู่ โดยเฉลี่ยที่เราจ่าย ก็ประมาณ ๒๗๕ เหรียญ ต่อเดือน ซึ่งนับว่าถูกมาก ๆ

ในขณะ Inspect เราก็พบว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างที่ยังไม่ได้แก้ไข ไม่มีมุ้งลวด ไม่มีกระจกบานกั้นในอ่างอาบน้ำ หน้าต่างล๊อกไม่ได้ ฯลฯ เต็มไปหมด แต่เราไม่มีทางเลือกแล้ว คือ ถ้าไม่เข้าอยู่ เราก็ไม่ที่จะอยู่ จึงร้องขอให้เขามาจัดการให้เสร็จสิ้นในระหว่างที่เราเข้าอยู่ พวกเราโทรศัพท์ ไปแจ้งมันเป็นสิบครั้งฯ มันก็ไม่มาทำ แจ้งจนเหนื่อย ก็ยอมรับสภาพว่ามันคงไม่มาทำแน่ไซร้ ตอนหลังต้องจิก คนงานของมัน ที่มาตัดหญ้าฯ ให้มาดูโดยเราเฝ้าอยู่ด้วย มันก็มาทำ แต่ไม่เสร็จ แล้วมันก็บอกว่าจะรีบมาทำ แล้วจนแล้วจนรอด มุ้งลวด จนครบ ๑ ปี มันก็ไม่ทำ

เรื่องที่เริ่มจะระยำ ก็คือ ตอนช่วงซัมเมอร์ คือ มิ.ย. ๐๔ ที่โดยปกติ จะไม่มีนักเรียนพักอยู่แล้ว มันส่งจดหมายมาทวงว่า เราติดหนี้ ค่าเช่า อีกเดือนละ ๒๕ เหรียญ ค่า Cable TV อีกเดือนละ ๔๐ เหรียญ ตลอดระยะเวลา ๑ ปี พร้อมค่าจ่ายช้าอีก จำนวนหนึ่ง ผมงงเลย ติดหนี้อะไรฟะ เลยจดหมายไปถาม มันบอกว่า ค่าเช่าเดือนละ ๘๕๐ เหรียญ ฯลฯ เลยส่งสัญญาไปให้ดู ว่าเดือนละ ๘๒๕ เหรียญ และไม่ได้ขอใช้บริการ Cable TV ด้วย “มึงจะโกงกู” หรือวะ มันก็ได้แจ้งคำว่า “Sorry” กลับมาเท่านั้น

ที่น่าสังเกตที่สุด คือ ใบเสร็จที่มันส่งมาทวงเรานั้น มันทำได้ไงไม่ทราบ คือ ทำหมึกจาง ๆ ตรงรายละเอียด และหมึกเข้มตรงจำนวนตัวเลขฯ ว่าเราค้างอยู่จำนวนเท่าไร่ เรื่องที่มันบอกว่าผมค้างชำระหนี้มัน ผมทำหนังสือทวงถามเหตุผลไปสองสามครั้ง มังส่งจดหมายมาเฉพาะใบเสร็จ ที่จาง ๆ แต่ตัวเลขชัดเจน ไม่มีรายละเอียดอะไร อยู่สองสามครั้ง กว่าจะรู้เรื่องกัน ซึ่งขณะที่มันส่งเอกสารมาทวงเรานั้น ก็เป็นเวลาที่ปิดเทอม และเด็กนักเรียนกลับบ้านเกิดเมืองนอนหมดแล้ว

เรื่องที่ระยะที่สุด เห็นจะเป็นเรื่องการ Inspect ตอนออกหรือส่งมอบห้องคืนให้กับมัน ทุกสิ่งที่มันไม่ได้ซ่อมแซมตอนแรกที่เราเข้ามาอยู่ และมันรับปากว่าจะซ่อมแซมให้เรียบร้อย มันบันทึกเราทำเสียทั้งหมดฯ มันระยำแล้ว มันหักค่ามัดจำที่พวกเราจ่ายไว้ ๖๐๐ เหรียญ และคืนให้เราเพียง ๑๔๐ เหรียญ มันบอกว่าค่าทาสี ซึ่งตอนตรวจสอบ มีเพียงห้องเพื่อนผม ต้องทาสี ๑ ห้อง ๑ ด้านฯ มันคิด ๑๖๐ เหรียญฯ ค่าอื่น ๆ รวม ๆ แล้ว ก็ ๔๐๐ กว่าเหรียญ

ตอนนี้ได้ยินว่า รุ่นน้องที่เข้าไปอยู่ที่ College Mall Apartment ของ Deer Park Management ก็เจอชะตากรรมเหมือนที่พวกผมเจอมา เพื่อน ๆ ถามว่าทำไม เราไม่ฟ้องฯ มันไม่คุ้มหรอก ค่าทนายความที่นี่ ชั่วโมงละ ๒๕๐ เ หรียญ สำหรับทนายความธรรมดา ๆ (แต่รายของ Michael Jackson คงชั่วโมงละหลายพันเหรียญ) ฉะนั้น ระวังไว้ดีกว่าแก้ ผมเก็บมันเป็นอุทาหรณ์ และบอกต่อ อย่าได้คิดว่าฝรั่งมันจะมีแต่เรื่องดี ๆ




 

Create Date : 03 มิถุนายน 2548    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:06:08 น.
Counter : 1243 Pageviews.  

ชาตินี้ จะมีคำว่าตรงเวลาไหม

ผมเริ่มต้น วันคล้ายวันที่แม่ผมต้องได้รับความทุกข์ทรมานฯ เพราะผม (วันคล้ายวันเกิด) ในปีนี้ของผม ด้วยการไปทำงานที่ร้าน Y-Eatery ซึ่งผมทำเป็นประจำในช่วงเปิดเทอมฯ




ดร. มยุรีฯ และคุณโจ ซึ่งเป็นเจ้าของร้าน E-Eatery ที่กรุณาผมมากมาโดยตลอด การที่พี่ฯ เขาให้ผมทำงาน คือ การให้เงินอย่างหนึ่ง เพราะผมทำงานแค่วันละชั่วโมงเศษ และ ได้ค่าแรงมากกว่าคนอื่น ๆ รวมถึงอาหาร ที่ ดร. มยุรีฯ จัดให้ จนผมไม่ต้องทำอาหารเองเลยก็ว่าได้ สบายจริง ๆ ขอบคุณครับ (ต่างจากร้านอาหารไทย อื่น ๆ ที่มักจะเอาเปรียบคนไทยด้วยกัน กดขี่ บางที ไม่ให้ค่าแรงด้วยซ้ำ)

วันเสาร์และอาทิตย์ (๒๘ และ ๒๙ พ.ค.๔๘) ที่ผ่านมาสองวัน ผมก็ไม่ได้ทำรายงานวิจัยอีก เพราะ ดร. มยุรีฯ ให้ผมไปช่วยจัดอาหารแขก ๆ แบบ “มาเลเซีย” ให้กับสมาคมเด็กมาเลย์ฯ ที่จัดการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเด็กมาเลย์ฯ ในสหรัฐ

สมาคมนักเรียนมาเลฯ แข่งแกร่งมากฯ สามารถเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาสำหรับเด็กมาเลย์ฯ ที่เรียนในสหรัฐฯ ทั้งหมด กว่า ๙๐๐ คน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาฯ ของมาเลฯ และท่านฑูตฯ จากกรุงวอชิงตัน บินมาร่วมงานถึงเมืองเล็ก ๆ อย่างที่แชมเปญจ์ได้ สำหรับสมาคมนักเรียนไทยฯ ก็ได้รับความกรุณาจาก รองกงสุลไทยฯ นโรตน์ฯ จากชิคาโก้ มาร่วมงานตลอดเหมือนกัน

พวกเราช่วยกันจัดทำอาหารแบบมาเลย์ ซึ่งเป็นอิสลามเสียส่วนใหญ่ อาหารที่จัดทำ ก็คือ ไก่ราดพริก แต่เด็กมาเลย์ ซื้อทั้งไก่ และเครื่องปรุง (seasoning) พร้อมสูตรในการทำอาหารมามอบให้กับ ดร. มยุรีฯ เขากลัวว่า เราจะจัดไก่หลงให้กับเขา คือ ไม่ได้ฆ่าและทำโดยชาวอิสลามด้วยกัน กับอาหารอื่น ๆ อีกสองสามอย่าง รวมถึงขนมไทย ๆ อย่าง ต้มสาคูกระทิ กับข้าวโพดและลำไย แบบไทย ๆ ของเรา วันแรกพิเศษหน่อย คือ เขามีมื้อที่เรียกว่า Tea Time ประมาณบ่ายสี่โมงเย็นด้วย ส่วนวันที่สอง รายการอาหาร คือ ข้าวหมกไก่ กับเนื้อตุ๋น พร้อมขนมหม้อแกงแบบไทย ๆ ของเรา

ผมได้เรียนรู้วัฒนธรรมมาเลฯ เรื่องการกินอาหารของเขา คือ เขาเริ่มมื้อเช้ากันเวลาประมาณ ๙.๐๐ น. หลังจากนั้น ๑๑.๐๐ น. จะมีมื้อก่อนเที่ยง เป็นมื้อเบรกของเขา ส่วนมื้อเที่ยง จะเริ่มประมาณ ๑๓.๐๐ น. จากนั้นอีกไม่กี่ชั่วโมง ก็เริ่มมื้อ Tea time ที่ประมาณเวลา ๑๖.๐๐ น. จนกระทั่ง ประมาณ ๑๙.๐๐ น. จึงเป็นมื้อเย็นของเขา ผมเหนื่อยแทนกับการกินหลายมื้อของเขา ผมนี่เซ่อมานาน นึกไม่ถึงว่า นอกจากจะแค่ละหมาดต่อองค์อันเลาะห์ ๕ ครั้งต่อวันแล้ว ยังรับประทานอาหาร ๕ ครั้งต่อวันอีกด้วย

มื้อที่เรียกว่า Tea time นี่ อย่านึกว่ามีแต่น้ำชาฯ นะครับ เขาให้จัดทั้ง ผัดไทย ขนมแบบมาเลฯ ที่นักเรียนเขียนสูตรการทำมาให้เราจัดการให้ฯ Egg role ชาดำเย็น (Thai ice tea) และกาแฟ ผมทึ่งความสามารถในการกิน เพราะเขาเพิ่งกินมื้อเที่ยงราว ๆ เที่ยงเศษเท่านั้นเอง เหนื่อยแทนครับ

ผมยังได้เรียนรู้อีกอย่างว่า เขามีวัฒนธรรมประเภทหนึ่ง ไม่รู้จะเป็นทุกชาติในเอเชีย หรือเปล่า คือ การต้องให้เด็กมาให้พร้อม แล้วจึงไปเชิญผู้ใหญ่ ซึ่งถือเป็นแขก VIP ของเขามาทีหลังเสร็จ เด็ก ๆ มาถึง ก็มานั่งแก่วรอผู้ใหญ่ของเขา มองอาหารตาละห้อยฯ ห้ามกินจนกว่าผู้ใหญ่จะลงมือฯ แถมยังต้องเดินไปตามเสริฟอาหารให้กับผู้ใหญ่ ทั้ง ๆ เขาขอให้เราจัดอาหารแบบต่างคนต่างตักเองฯ พวกเด็กฯ ที่มาอยู่อเมริกานาน ๆ ไม่รู้เขาคิดอย่างไร แต่เด็กที่มาเลฯ คงจะชิน กับระบบสิทธิพิเศษ ที่เรามักจะเรียกว่า การให้เกียรติผู้ใหญ่ฯ ผมว่ามันก็ดี แต่ผู้ใหญ่ ควรจะทำให้ตัวให้ได้รับเกียรติด้วยเหมือนกัน

คนมาเลฯ ที่มาครั้งนี้ มีวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง คือ ทำอะไรตามอำเภอใจ เขานัดว่าจะมากินข้าวเวลาประมาณ ๑๒.๐๐ น. แต่เขามากันเกือบบ่ายสองโมง เอาเป็นว่าถ้าเรานัดหมายอะไรไว้ ก็ “เจ๊งตายห่า” กันพอดี อีกอย่าง ถ้าเราต้องจ้างพนักงานฯ เราก็เสียค่าจ้างเพิ่มอีกอย่างน้อย สองชั่วโมงฯ ซึ่งถ้าทำในวันหยุดด้วย ต้องจ่ายไม่น้อยกว่า ๑.๕ เท่าของค่าแรงปกติอีกต่างหาก ผมละสงสารเด็กที่มานั่งรอฯ เขามาตรงเวลา คือ เที่ยงตรง มารอพวกแขก VIP ยันเวลาบ่ายโมงครึ่งฯ ผมได้แต่ถามตัวเองว่า เมื่อไหร่วัฒนธรรม (ห่วย ๆ )ไม่ตรงต่อเวลานี้ จะเลิกกันเสียที ถ้าท่านผู้อ่านเป็นผู้ใหญ่พอ คงจำเหตุการณ์เมื่อสงครามร่มเกล้า เมื่อประมาณเกือบ ๒๐ ปีที่แล้วได้ เพราะการไม่อาจทำให้ทันเวลาตามยุทธศาสตร์สงครามได้ ทำให้ทหารไทยของเราหายไปเป็นกองพลฯ

ตอนผมทำงานอยู่ที่เมืองไทย ผมก็เจอวัฒนธรรมแบบไม่ตรงต่อเวลาเยอะมาก โดยเฉพาะในเรื่องการนัดประชุม คำสั่งให้มาประชุม เวลา ๐๙.๓๐ น. ณ. กองบัญชาการแห่งหนึ่ง ผู้ที่กระตือรือร้น ก็มาตั้งแต่เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น. เพื่อรอประชุมฯ แต่เมื่อถึงกำหนดการฯ ๐๙.๓๐ น. กลับพบว่า ผู้ที่ต้องมาประชุม มีไม่ถึง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ฯ ประธานในที่ประชุมฯ ก็ให้เจ้าหน้าที่มาดูว่า ที่ประชุมพร้อมหรือยังฯ แล้วท่านก็รอ จนถึงเวลา ๑๐.๐๐ น. จึงเริ่มประชุมได้ แถมตอนเริ่มประชุมแล้ว ยังมีคนที่สายกว่านั้น เดินเข้าห้องประชุมอีก

ผมคิดในใจ “นี่คือการลงโทษ” บุคคลที่มีความรับผิดชอบ ซึ่งมาตรงต่อเวลาฯ ผมคิดเลยเถิดไปว่า ถ้าประธานในที่ประชุม เป็นคนที่เอาจริงเอาจังฯ ไม่เห็นการประชุม เป็นแค่รูปแบบฯ ไม่มีเนื้อหาแล้ว การตรงต่อเวลาควรเป็นเรื่องสำคัญฯ เมื่อถึงเวลา ประธาน ก็ควรจะเริ่มประชุมทันที หากใครมาสาย ก็ให้รายงานชี้แจงเหตุผลฯ หากไม่มีเหตุผลอันสมควร ก็ต้องพิจารณาทัณฑ์ฯ กันไป ถ้าประธานทำอย่างนี้ รับรองว่า ครั้งต่อไป ไม่มีใครมาสายแน่ วัฒนธรรมดี ๆ ก็จะเกิดขึ้น

การประชุม เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เพราะช่วยให้ผู้ร่วมปฏิบัติการเข้าใจนโยบาย แก้ไขปัญหาการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน รวมถึงการระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาฯ และตรวจสอบการปฏิบัติงานที่ผ่านมาขององค์กรฯ หรือ เจ้าหน้าที่ในสังกัดของตน แต่ในทางข้อเท็จจริง การประชุมที่เมืองไทย จะเน้นที่รูปแบบ มีดอกไม้สวย ๆ มีป้ายงาม ๆ ติดบนเวที ฯลฯ แต่แทบจะหาเนื้อหาไม่ได้ แถมถ้ามีใครเสนอความขัดแย้งกับประธานในที่ประชุมฯ หรือ ผู้หลักผู้ใหญ่ ที่มีตำแหน่งหน้าที่สูงกว่าแล้ว ยังถูกมองว่าไม่รู้จักกาละเทสะ ไม่รู้จักเด็กผู้ใหญ่อีกต่างหาก

ตอนทำงานอยู่เมืองไทย ก็ไม่เคยย่อท้อที่จะแสดงความเห็น เพราะผมยึดหลักว่า ประชุม คือ การถกเถียง ทำความเข้าใจ และแก้ไขปัญหาร่วมกัน หากไม่ต้องการแสดงความเห็น ก็ไม่ควรจะมีการประชุม คนเรามีความเห็นแตกต่างกันได้ ในที่ประชุม ก็ควรจะแสดงความเห็นเต็มที่ แต่หลังจากประชุม เราคือ เพื่อนร่วมงานกัน ไม่มีโกรธเคือง ฯ แต่เมืองไทย กลับไม่เป็นเช่นนั้น มีการผูกอาฆาตพยาบาท “มึงนี่ทะลึ่ง หักหน้ากู” อะไรทำนองนั้น ตอนผมเป็นหัวหน้างาน ก็เรียกประชุมบ่อย โดยพยายามสร้างวัฒนธรรมใหม่ คือ ตรงต่อเวลา และการถกเถียงอย่างเต็มที่ในที่ประชุมฯ ตอนเย็น เราก็ไปกินเหล้า กินส้มตำ ฯลฯ หน้าสถาบันนิติเวช ที่มีราคาถูกมาก ๆ เหมาะสำหรับข้าราชการจน ๆ อย่างพวกเรา หวังว่า ลูกน้องผม ที่เติบโตขึ้นไป จะเอาวัฒนธรรมที่ผมพยายามปลูกฝังอยู่นานไปใช้บ้างฯ ไม่มากก็น้อยฯ

ผมได้แต่ตั้งคำถามกับตัวเองว่า จนกว่าชีวิตผมจะหาไม่ในชาตินี้แล้ว ผมจะได้ยินคำชมว่า ชาติไทย หรือชาติในเอเชีย เป็นคนที่ “ตรงต่อเวลา” หรือไม่




 

Create Date : 30 พฤษภาคม 2548    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:05:44 น.
Counter : 638 Pageviews.  

เคยเจอโทรศัพท์ลึกลับไหม

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กลางดึก น้องเอ๊ะ ซึ่งเป็นนักเรียนทุนรัฐบาล มาเรียนปริญญาเอกทางเกษตรฯ และการวิจัยทางพันธุ์พืชที่มหาวิทยาลัยอิลลินอย โทรศัพท์มาผมกลางดึกกลางดื่น พร้อมทำเสียงเต้นเต้นตกใจ โดยถามคำถามผมว่า “พี่ ๆ เอ๊ะได้รับโทรศัพท์จากคุนชื่อประกิตฯ เขาแนะนำตัวว่าเขามาเรียนปริญญาเอกทางด้านมะเร็งที่มหาวิทยาลัยเรา แต่เพิ่งมาได้อาทิตย์กว่า จึงเหงามาก เลยโทรมาหาเอ๊ะ เพื่อเป็นเพื่อนคุยฯ”




ตามสไตล์ พี่ไทยน้องไทยด้วยกัน น้องเอ๊ะ ก็เลยคุยไป ทำไป ทำกับข้าวครับ คุณประกิต ก็ถามคำถามน้องเอ๊ะมากมาย พร้อมถามว่า ใส่เสื้อผ้าอย่างไร ซักเสื้อผ้าบ่อยมั๊ย พร้อมเสนอให้ขนเสื้อผ้าไปซักที่บ้านของเขาได้ เพราะเขาเพิ่งซื้อเครื่องซักผ้ามาเลย

น้องเอ๊ะ ผู้มีน้ำใจงาม ก็เลยถามว่าคุณประกิตฯ อยู่ที่ใด พร้อมเชิญมาทานอาหารเรียบร้อย ด้วยความมีน้ำใจตามแบบฉบับคนไทยด้วยกัน แต่คุณประกิตตอบปฏิเสธฯ คำเชิญ หลังจากสนทนากับคุณประกิตสักชั่วโมง น้องเอ๊ะ จึงตัดสินใจโทรมาหาผม พร้อมกับพูดว่า

“เอ๊ะไม่เคยนะพี่”

อยู่ดี ๆ จะมีชายแปลกหน้า มาแนะนำตัว และพูดจาแทะโลมถามเรื่องส่วนตัวของหนู แต่พอหนูถาม เค้าไม่ตอบอะไรหนูเลย

ผมจึงแนะนำว่า ถ้าเขาโทรมาอีกให้ลองคุยไปเรื่องฯ แล้วเก็บข้อมูลฯ ให้มากที่สุดฯ เพราะไม่มีนักเรียนไทย เขาซื้อเครื่องซักผ้ากันฯ หยอดเหรียญ เครื่องซักผ้าอัตโนมัติดีกว่าเยอะ แค่ครั้งละ ๑ เหรียญกว่า ๆ เท่านั้น แถมไอ้ โรงเรียนหมอ ของมหาวิทยาลัยผมนี่ เขามีแค่ปี ๑ หรือปี ๒ บางวิชา เพื่อเตรียมความพร้อมทางวิทยาศาสตร์ฯ หลังจากนั้น ก็จะย้ายไปเรียนที่ มหาวิทยาลัยอิลลินอย ที่วิทยาเขตชิคาโก้ ต่อไป ไม่มีเรียนถึงปริญญาเอกซะหน่อยฯ (ข้อมูลไม่ดีเลยนะ คุณประกิตฯ )

อีกสัก ครึ่งชั่วโมง ทางสมาคมนักเรียนไทย (TSA) ก็ส่งจดหมายอิเล็คทรอนิกส์ ถึงเพื่อนสมาชิกทุกคน เตือนเพื่อนสมาชิกว่า ระวังชายคนชื่อประกิตฯ พฤติการณ์ ตรงกับที่น้องเอ๊ะ ประสบมาทุกประการ แต่ที่ผมแปลกใจ คือ เขารู้เบอร์โทรศัพท์ของพวกเราได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่ในเวปไซต์สมาคม ก็ไม่ได้ลงเบอร์โทรศัพท์เอาไว้ฯ ผมถามน้องเอ๊ะว่า แล้วให้เบอร์โทรศัพท์มือถือใครไปบ้างฯ ละ เอ๊ะตอบทันควัน ให้ไปไม่กี่คน รวมถึงผมด้วย ................เอ....แล้วนายประกิตฯ เอาเบอร์มาจากไหนฯ หรือว่า...น้องเอ๊ะจะรู้ว่าผมเป็นคนโทรไป ................เอิ๊ก เอิ๊ก ไม่ใช่แล้วครับท่านผู้อ่านฯ

ความจริงแล้ว ถ้าเราคิดในแง่บวกก็ได้นะ ....คือ ถ้าผมเป็นน้องเอ๊ะ ผมคงดีใจวะ “กูก็มีเสน่ห์ เหมือนกันนะเนี่ย” ก๊าก ก๊าก

ผมเอามาลงในส่วนนี้ เพราะ อาจจะเป็นประโยชน์ฯ สำหรับ น้องนักเรียนไทยในสหรัฐฯ ที่จะต้องเจอพวกโรคจิตฯ เช่นคุณประกิตฯ (ความจริง คุณประกิตฯ ทำเพื่อนผม เสียชื่อจริง ๆ ประกิต เพื่อนผมเป็นทหารเรือ เก่งมาก ๆ สอบได้ที่ ๑ โรงเรียนนายเรือ เกรดเฉลี่ย ๔.๐๐ ตลอด จบปุ๊บ ก็ได้ทุนมาเรียนที่ มิชิแกน แอน ฮาร์เบอร์ และจบปริญญาเอกที่ ฟอริด้าฯ กลับไปราชการเรียบร้อย ไม่น่าเลยประกิตฯ เพื่อนรัก)

ต่อไปนี้ คือ เนื้อความในจดหมายฯ ที่สมาคมนักเรียนไทย ส่งมาเตือนทุกคนครับ

“Recently, Thai female students at USC, Penn State, and Ann Arbor have been receiving phone calls from a guy named "PRAKIT". To female students at Ann Arbor, the only information that he tells about himself is that he is a new-coming student in the Medical School here in Ann Arbor FEELING VERY LONELY and WANTS TO HAVE SOMEONE TO TALK TO (of course, he always withheld his own phone number). Then, if you ask him back, he would not know anything in specific about Ann Arbor, not even know where what street he lives on.

A guy using the same name had done the same thing to Thai students at Penn State as well. I’ve also learned that Thai students at Penn State University already informed the police and currently are trying to track/hunt down this guy.

I myself received four of them yesterday. Two female friends of mine got another six. This does not include the incidents with other female students at USC. These are observations from my and my friends'conversations with "PRAKIT".

He claimed that he's a new medical student at USC, very lonely, and wants someone to talk to. He said he's got my phone number from the website of USC's Thai Student Organization. But he didn't seem to know that USC's medical school is located on a separate campus.

The first time he called, he asked specifically for "Pink". At other times, he simply asked "Where/Who is that?" Another observation is that at the beginning of the conversation, he sounded very much like a guy, but his voice turned a little "gay" afterwards.

He is interested in asking personal questions, such as how I look like, what I am doing, whether I live alone, etc. He asked a friend of mine directly whether he could ask her personal questions. If a male answers his calls, he hangs up immediately. Apparently, he calls only to home phones even though cell phone numbers are also available on the website he claimed is his source. (Of course, this is for the purpose of concealing his identity as most home phones do not show the caller's number.)

So.. please pass this on to your friends who might be at risk. People who have made their phone numbers available on any sort of Thai Student Association's websites may consider taking it down. If you have any information regarding this guy and have experienced the same type of phone calls, please share information with us, so what we can look after for each other.”




 

Create Date : 27 พฤษภาคม 2548    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:05:22 น.
Counter : 612 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.