หลงใหลในความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด


Jap@Pro
Location :
Tokyo Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




อยากนำเสนอความรู้ในแนวทางใหม่ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกคน
Business Development
Enterprise Currency Marketing
Psychological Marketing
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Jap@Pro's blog to your web]
Links
 

 

[จิตวิทยาการขาย] สนทนาอย่างราบรื่น ด้วย Reflect Plus One Technique

สำหรับลูกค้าที่เพิ่งพบเป็นครั้งแรก คงจะหาเรื่องคุยลำบาก ดังนั้นขอแนะนำเทคนิคที่ช่วยให้การสนทนาราบรื่นยิ่งขึ้น Reflect Plus One Technique
Reflect Plus One Technique คือ การซ้ำ (Agree) และเสริม บทสนทนาเพิ่มเติมจากสิ่งที่ลูกค้าได้พูดมา ซึ่งจะช่วยให้บทสนทนารื่นไหลไปได้เรื่อยๆ

ตัวอย่าง
ลูกค้า : ตลาดจีนนี่เป็นตลาดที่กำลังเติบโตนะนี่
เซลล์แมน : จริงด้วยครับ จีนเป็นตลาดที่กำลังเติบโต แถมยังเป็นประเทศผู้ผลิตที่ใหญ่มากด้วย
ลูกค้า : อืม สินค้าจากทั่วโลกคงจะผลิตที่นั่น ….

ลูกค้า : ราคาที่ดินตกลงเรื่อยๆเลย
เซลล์แมน : ครับ ราคาที่ดินตกลงเรื่อยๆครับ โดยเฉพาะราคาที่ดินต่างจังหวัดตกลงอย่างฮวบฮาบเลยครับ
ลูกค้า : ใช่แล้ว บริษัทของคุณ ….. บลาๆ





 

Create Date : 05 มิถุนายน 2551    
Last Update : 5 มิถุนายน 2551 12:53:38 น.
Counter : 588 Pageviews.  

[จิตวิทยาการขาย] ใช้ Yes Set Technique เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามรับฟังความคิดเห็น

ภายหลังจากที่เราใช้ Cushion Technique รับข้อโต้แย้งของลูกค้าแล้ว ต่อไปก็เป็นคราวคุณอธิบายเหตุผลต่อไป เพราะว่าลูกค้าได้เกิดที่ว่างภายในใจขึ้นมาแล้ว
การใช้ Yes Set Technique หลังจากที่ยอมรับข้อโต้แย้งแล้วนั้น สิ่งที่สำคัญคือ “ตัวเชื่อม” ลองมาดูตัวอย่าง

ลูกค้า : แต่ว่านะ สินค้าของบริษัทคุณ แพงกว่าที่อื่นนะ
เซลล์แมน : ครับ สินค้าของทางบริษัทแพงกว่าสินค้าของที่อื่นจริงครับ แต่ว่า ค่าใช้จ่ายที่เป็น running cost จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดครับ เช่น ถ้าคิด running cost เป็นรายปี จะได้ว่า ….. บลาๆ

ดูเผินๆเหมือนกับเป็นตัวอย่างที่ดี แต่ว่า อุตส่าห์ใช้ Cushion Technique เพื่อรับข้อโต้แย้งของลูกค้าไปแล้ว ยังใช้ตัวเชื่อม “แต่ว่า” ซึ่งเป็นคำปฎิเสธที่ค่อนข้างแรงตามหลักจิตวิทยา และขัดกับหลักการของ Yes Set Technique
เมื่อใดที่คุณใช้คำว่า “แต่ว่า” ลูกค้าจะรู้สึกว่าทันทีเลยว่า คุณไม่ได้ยอมรับจริงๆนี่นา มนุษย์เรานั้น ไม่ชอบให้มีคนมาโต้แย้งหรือปฎิเสธ และจะมีความรู้สึกแย่ๆคงเหลืออยู่ ตัวอย่าง
“คุณเป็นคนมีรสนิยมดีนะครับ แต่ว่า …”
“การนำเสนอของคุณเข้าใจง่ายดี แต่ว่า …”
ทันทีที่เซลล์แมนพูดคำว่า “แต่ว่า” ขึ้นมา ลูกค้าจะสร้างกำแพงด้านจิตวิทยาขึ้นมาทันที อุตส่าห์ใช้ Cushion Technique ไปแล้วแต่กลับใช้คำว่า “แต่ว่า” ทำให้เทคนิคที่ใช้ไม่มีความหมายเลย

ตัวอย่างที่ดี
ลูกค้า : แต่ว่านะ สินค้าของบริษัทคุณ แพงกว่าที่อื่นนะ
เซลล์แมน : ครับ สินค้าของทางบริษัทแพงกว่าสินค้าของที่อื่นจริงครับ ในความเป็นจริง ค่าใช้จ่ายที่เป็น running cost จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดครับ เช่น ถ้าคิด running cost เป็นรายปี จะได้ว่า ….. บลาๆ

การใช้ตัวเชื่อม “ในความเป็นจริง” จะไม่เป็นการสร้างบรรยากาศโต้แย้งหรือปฎิเสธ
การทำ Cushion Technique และ Yes Set Technique มาประยุกต์ใช้ จะสามารถตั้งรับข้อโต้แย้งของลูกค้าได้เป็นอย่างดี




 

Create Date : 03 มิถุนายน 2551    
Last Update : 3 มิถุนายน 2551 14:53:17 น.
Counter : 538 Pageviews.  

[จิตวิทยาการขาย] ใช้ Cushion Technique รับข้อโต้แย้ง

เฮ้อ ตื่นเช้ามา ปรากฎว่าไม่ได้ปายทำงานที่ญี่ปุ่นแล้ว มันเส้าเจงๆ


-------------------------------------------------------------------------
เมื่อลูกค้าโต้แย้งกลับมา คุณจะทำอย่างไรครับ? คุณจะอธิบายสิ่งที่ลูกค้าเข้าใจผิดทันที หรือจะให้ข้อมูลลูกค้าเพิ่มเติม?
จริงๆแล้วกลวิธีการรับข้อโต้แย้งของลูกค้าที่ดีที่สุดนั้น สามารถทำได้อย่างง่ายๆ นั่นคือ ยอมรับตรงๆนั่นเอง
ซึ่งเรียกว่า Cushion Technique
คุณอาจจะคิดว่า “เอ๋ ให้ยอมรับเนี่ยนะ”
ลองมาดูตัวอย่างกันดีกว่า
ลูกค้า : แต่ว่านะ สินค้าของบริษัทคุณ แพงกว่าที่อื่นนะ
เซลล์แมน : เป็นไปไม่ได้ครับ เพราะว่า …. บลาๆๆ

รู้สึกอย่างไรบ้างครับ เซลล์แมนคนนี้ปฎิเสธสิ่งที่ลูกค้าพูดออกมาตรงๆ นั่นคือการ Dispacing ดีๆนี่เอง (อ้างอิงจากบล๊อกก่อนๆนะครับ)
ถึงแม้ว่าลูกค้าอาจจะเข้าใจผิดก็ตาม แต่การที่ถูกปฎิเสธโดยตรงอย่างนี้ ลูกค้าคงไม่รู้สึกดีเท่าไหร่ และคงไม่ฟังสิ่งที่เซลล์แมนกำลังจะอธิบายต่อไป และถึงแม้เซลล์แมนจะนำเอกสารทั้งหลายมายืนยันความถูกต้อง ลูกค้าก็คงไม่ดู เพราะว่ามันเป็นหลักฐานเพื่อยืนยันว่าตัวลูกค้าผิด

ถ้าเราใช้ Cushion Technique จะเป็นอย่างไร
ลูกค้า : แต่ว่านะ สินค้าของบริษัทคุณ แพงกว่าที่อื่นนะ
เซลล์แมน : ครับ สินค้าของทางบริษัทแพงกว่าสินค้าของที่อื่นจริงครับ

“คนเรานั้น ไม่ว่าใครก็คิดว่าตนเองถูกต้อง และไม่ต้องการถูกโต้แย้งจากคนอื่น”
พอเรายอมรับแล้ว ต่อไป เราจะทำอย่างไรดี มาดูครั้งหน้านะครับ




 

Create Date : 30 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 30 พฤษภาคม 2551 16:16:57 น.
Counter : 467 Pageviews.  

[จิตวิทยาการขาย] สร้างบรรยากาศ Agreement ด้วย Yes Set Technique

ช่วงนี้บ้า system trade ไปหน่อย เลยไม่ได้มีเวลาอัพบล๊อกเลย
ใครอ่านแล้วชอบ ขอให้ช่วยเมนท์บ่อยๆนะครับ ผมจะได้มีกำลังใจ
สู้ต่อปาย


ถ้าสิ่งที่คุณพูดไปทั้งหมด แล้วลูกค้าตอบตกลง คุณคงจะดีใจไม่น้อยเลยทีเดียวใช่ไหม?
ตัวอย่าง
เซลล์แมน : ช่วงนี้อากาศร้อนมากๆเลยนะครับ
ลูกค้า : ใช่แล้ว ถือว่าโชคดีทีเดียว
เซลล์แมน : สินค้าของบริษัทคุณคงจะตรงใจลูกค้าในช่วงนี้เลยทีเดียวใช่ไหมครับ
ลูกค้า : อืม ต้องขอบคุณอากาศช่วงนี้ทำให้สินค้าขายดี
เซลล์แมน : การที่อากาศร้อนอย่างนี้ ทำให้ยอดขายสินค้าโดยรวมเติบโตขึ้นจากปีที่แล้วใช่ไหมครับ
ลูกค้า : ใช่แล้ว บริษัทคู่แข่งก็สินค้าขายดีเช่นกัน

Yes Set Technique มีอยู่ 2 ข้อที่สำคัญคือ
หนึ่งคือ การเลือกหัวข้อบทสนทนา การเลือกหัวข้อบทสนทนาที่ลูกค้าจะพูดคำว่า [YES] ชัวร์ ได้แก่ สิ่งที่เป็นความจริง สิ่งที่ลูกค้าได้พูดมาแล้ว สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงและรับทราบร่วมกัน เป็นต้น
อีกจุดหนึ่งคือ การพูดลงท้ายด้วยคำว่า [ใช่ไหมครับ] หรือ [นะครับ]

การที่พูด [YES] [YES] ซ้ำๆหลายๆครั้ง จะสร้างบรรยากาศ Agreement ให้เกิดขึ้น เพราะว่าลูกค้าจะรู้สึกวางใจและคิดว่า “เซลล์แมนคนนี้เข้าใจเราดี” จากนั้นลูกค้าจะพูดคำว่า [NO] ออกมาได้ยาก จาก [Consistency Rule] (อ้างอิงจากบล๊อกก่อนๆนะครับ) ซึ่งเป็นคุณลักษณะของมนุษย์
“คนเรานั้น เมื่อได้ตอบตกลงซ้ำๆหลายครั้งเข้า อยู่ๆจะให้ปฎิเสธจะทำได้ยาก”

ลูกค้านั้น พอพูดคำว่า [YES] ซ้ำๆหลายครั้งเข้า จะรู้สึกว่าเซลล์แมนคนนี้เข้าใจเรา และจะรับฟังสิ่งที่เซลล์แมนคนนี้เสนอ






 

Create Date : 30 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 30 พฤษภาคม 2551 16:12:15 น.
Counter : 654 Pageviews.  

[จิตวิทยาการขาย] Claim Management

1. การใช้ Pacing ช่วยในเรื่อง Claim Management
คงไม่มีเซลล์แมนคนไหนที่อยากรับมือกับการเคลมของลูกค้า แต่เนื่องจากมันเป็นส่วนของงาน จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
ขณะที่ลูกค้ากำลังโกรธ เซลล์แมนโดยทั่วไปนั้นกลับลืมที่จะ Pacing กับอารมณ์ของลูกค้า แต่กลับรับฟังสิ่งที่ลูกค้ากำลังต่อว่าอย่างเยือกเย็นและเงียบสงบ สิ่งเหล่านี้กลับเป็นการ Dispacing อารมณ์ของลูกค้า และทำให้ลูกค้าหงุดหงิดเพิ่มมากขึ้น
ตัวอย่าง 1
ลูกค้า : (โกรธเสียงดัง ปรี๊ดๆ) ที่มันหมายความว่าไง บ้านที่ซื้อไปมีแต่รอยแตก รอยแยกเต็มไปหมด ทำงานกันอย่างไร ผมจะฟ้อง สคบ. คอยดูสิ
เซลล์แมน : (ตอบอย่างเยือกเย็น) เข้าใจแล้วครับ ใจเย็นๆและเชิญนั่งคุยกันตรงนี้ก่อน
ลูกค้า : ใจเย็น? ใครมันจะไปใจเย็นลง

ตัวอย่าง 2
ลูกค้า : (โกรธเสียงดัง ปรี๊ดๆ) ที่มันหมายความว่าไง บ้านที่ซื้อไปมีแต่รอยแตก รอยแยกเต็มไปหมด ทำงานกันอย่างไร ผมจะฟ้อง สคบ. คอยดูสิ
เซลล์แมน : (อารมณ์ขึ้นตามอารมณ์ของลูกค้า) รอยแยกเต็มไปหมดเลยหรอครับ ต้องขอประทานโทษจริงๆนะครับ ผมจะรีบหาสาเหตุอย่างเร็วที่สุดนะครับ ก่อนอื่นอยากเชิญให้ช่วยเล่ารายละเอียดหน่อยนะครับ

ความโกรธนั้นเป็นอารมณ์ความรู้สึก ดังนั้นขั้นตอนแรกของ Claim Management คือการ Pacing กับอารมณ์ของลูกค้า ถ้าใช้เหตุผลในตอนแรกเลย รังแต่จะทำให้ลูกค้าปรี๊ดๆมากขึ้น เพราะอะไร เพราะว่าลูกค้ารู้สึกว่าอารมณ์ของตนเองได้ถูกมองข้ามไปนั่นเอง
สิ่งที่ลูกค้าต้องการก่อนอื่นใด ก็คือ ให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจอารมณ์ของตน
ภายหลังจากที่อารมณ์ของลูกค้าเริ่มลดลง ก็เริ่มรับฟังสิ่งที่ลูกค้าอยากพูด ซึ่งแน่นอนว่า คงจะมีอยู่มากมายเต็มอก ในขั้นตอนนี้ห้ามพูดอะไรเด็ดขาด ให้รับฟังอย่างเดียว พอลูกค้าได้ระบายสิ่งต่างๆออกมาจนหมดแล้ว จึงเริ่มการพูดจาโดยใช้เหตุผล
ปัญหาเรื่องการเคลมของลูกค้านั้นเกิดจากอารมณ์ซะส่วนใหญ่ เรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ว่าบางทีการจัดการกับเคลมเล็กๆที่เกิดขึ้นได้ไม่ดี เรื่องเล็กๆก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ และบางทีอาจจะย้อนกลับไปจัดการปัญหาเริ่มต้นไม่ได้แล้ว

จุดสำคัญของ Claim Management คือ การจัดการกับอารมณ์นั่นเอง

2. Cliam Management Process




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 13 พฤษภาคม 2551 9:13:39 น.
Counter : 916 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.