หลงใหลในความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด


Jap@Pro
Location :
Tokyo Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




อยากนำเสนอความรู้ในแนวทางใหม่ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกคน
Business Development
Enterprise Currency Marketing
Psychological Marketing
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Jap@Pro's blog to your web]
Links
 

 

ECM : Enterprise Currency Marketing (2)

เนื่องจากเห็นว่ามีคนสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้เลยขอเพิ่มเนื้อหาเข้าไปอีก

EC : Enterprise Currency คือเงินหรือสิ่งที่มีมูลค่าเทียบเท่าเงินที่ออกโดยองค์กรเอกชน ดังนี้เคยเขียนไปบ้างแล้ว ยกตัวอย่างเช่น แต้ม, บัตรเติมเงิน, Cash Card, Coupon เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ออกโดยบริษัทเอกชน ดังนั้น ถ้าบริษัทเหล่านั้นเจ๊งหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขอะไรก็แล้วแต่อาจจะส่งผลทำให้บัตรที่เราถือเหล่านั้นไม่มีมูลค่ากลายเป็นแค่บัตรเปล่าๆก็เป็นได้ เราอาจจะไปเรียกร้องอะไรมากก็ไม่ได้ เพราะว่าไม่ได้มีกฎหมายรองรับว่า ถ้าบริษัทเจ๊ง รัฐบาลจะต้องคุ้มครองมูลค่าของ EC นั้นๆ

อันนี้เราต้องทำความเข้าใจให้ดี

การทำการตลาดแบบ ECM ในประเทศไทยนั้น ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น คือ เป็นช่วงการแนะนำว่า "แต้ม" นั้นคืออะไร ใช้ยังไง เสียมากกว่า เมื่อคนเริ่มตระหนักถึงมูลค่าของมันและเริ่มใช้สิทธิ์มากขึ้น

ในขั้นตอนต่อไปก็คือ การสร้างมูลค่าให้แก่แต้ม (create value) เพราะว่าบัตรที่ "แต้ม" มีมูลค่า ( value) สูงเท่านั้น ถึงจะอยู่ในกระเป๋าสตางค์ของลูกค้า ยกตัวอย่างง่ายๆ แต่ละคนอาจจะมีบัตรเครดิต 5-6 ใบ แต่ที่พกติดตัวและใช้บ่อยๆ คงมีแค่ 1-2 ใบเท่านั้น ใช่ไหมครับ กระเป๋าสตางค์ใบนิดเดียว (กระเป๋าของผู้หญิงอาจจะใหญ่) คงใส่บัตรได้ไม่กี่ใบเท่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าบัตรเครดิตใบไหน ถูกใจลูกค้ามากกว่ากัน

"การที่ลูกค้าไม่พกบัตร ต่อให้คุณทำโปรโมชั่นดีแค่ไหน ก็เปล่าประโยชน์"

มูลค่าหรือ value นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นมูลค่าที่เป็นตัวเงินก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น บัตรเครดิตที่สามารถชำระค่าบริการได้ง่าย (โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) หรือบัตรใบนี้ใช้เป็นส่วนลดร้านค้าได้มากมาย ก็เป็นการสร้างมูลค่าอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกัน


ใครที่อยู่ในแวดวง CRM และ Loyalty Program อยากให้ศึกษาเรื่อง ECM ให้มาก เพราะว่าถ้าทำดีๆแล้ว First Mover Advantage ครับผม

ต่อคราวหน้านะครับ




 

Create Date : 02 มิถุนายน 2551    
Last Update : 2 มิถุนายน 2551 13:26:41 น.
Counter : 994 Pageviews.  

Enterprise Currency Marketing

นักการตลาดต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ความภักดีต่อตราสินค้าที่ลดน้อยลงของลูกค้า เครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพลดน้อยลงไปทุกวัน สิ่งเหล่านี้ท้าทายนักการตลาดให้ต้องหาเครื่องมือทางการตลาดใหม่ๆเพื่อดึงดูดลูกค้าไม่ให้เปลี่ยนไปใช้สินค้าของผู้แข่งขันได้
Enterprise currency marketing (ECM) เป็นแนวทางการตลาดรูปแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้แพร่หลายในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น

ECM เป็นการตลาดโดยใช้ enterprise currency (เงินหรือสิ่งที่มีมูลค่าเทียบเท่าเงินที่ออกโดยองค์กร เช่น แต้มหรือ electronic money เป็นต้น) ในการดึงดูดและสร้างความภักดีของลูกค้าต่อสินค้าของบริษัท การตลาดแนวทางนี้ไม่ใช่สิ่งใหม่ ทุกท่านคงจะคุ้นเคยกับโปรโมชั่นสะสมแต้มที่ออกโดยบริษัทบัตรเครดิตหรือสายการบินเพื่อใช้แลกของรางวัลต่างๆ ECM ในต่างประเทศมีการพัฒนาไปค่อนข้างมาก มีการนำนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาใช้ ไม่ว่าจะเป็น ประเภทของบัตรสะสมแต้ม โปรโมชั่น และการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า เป็นต้น

ประโยชน์ของ ECM คือ
1. Customer Log-In Strategy : ภายหลังจากที่ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการไปแล้วแต้มที่ได้จากการซื้อสินค้าครั้งนั้น จะสามารถนำไปใช้แลกของรางวัลหรือเปลี่ยนเป็นสินค้าภายในร้านได้ในครั้งต่อไป ทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่อยากไปซื้อสินค้าที่อื่น เพราะเสียดายแต้มที่ได้สะสมมา เป็นการ login ลูกค้าและสร้างความภักดีที่มีต่อตราสินค้าได้ในระดับนึง
2. Direct Marketing : เม็ดเงินที่ใช้ในการทำการตลาดแบบ ECM ที่บริษัทให้แก่ลูกค้านั้น ถือเป็นการตอบแทนลูกค้าโดยตรง ทุกบาททุกสตางค์ที่ลูกค้าของบริษัทใช้จับจ่ายสินค้าและบริการของบริษัท บริษัทก็ให้ผลตอบแทนกลับในรูปของแต้ม ซึ่งต่างจากการทำการตลาดวิธีอื่น เช่น การโฆษณาหรือการจัด event เป็นต้น เป็น นอกจากเป็นการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าแล้ว ยังเป็นการตลาดโดยตรงที่คุ้มค่าต่อเงินที่ลงทุนไป
3. Customer Behavior Detection: ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการตลาดแบบ ECM คือ ข้อมูลการซื้อสินค้าและบริการของลูกค้าสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อใช้ในการทำการตลาดเชิงลึกต่อไป
การทำโปรโมชั่นแบบลดราคากับการสะสมแต้มนั้นแตกต่างกันอย่างไร
การทำโปรโมชั่นแบบการลดราคานั้น เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการแล้ว ในครั้งต่อไปลูกค้าไม่จำเป็นต้องกลับมาซื้อสินค้าและบริการจากเราอีก ลูกค้าสามารถจะ switching ไปยังสินค้าและบริการของคู่แข่งได้โดยง่าย ในขณะที่การทำโปรโมชั่นสะสมแต้มนั้น ลูกค้าจะได้ประโยชน์ก็ต่อเมื่อนำแต้มมาใช้แลกซื้อสินค้าและบริการในครั้งต่อไป ทำให้ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้สินค้าและบริการของคู่แข่งได้โดยยาก นอกจากนี้ ผลสำรวจความพึงพอใจลูกค้าในประเทศญี่ปุ่นระหว่างโปรโมชั่นลด 10% กับได้แต้ม 10% พบว่า ลูกค้าพึงพอใจที่จะได้แต้ม 10% มากกว่าโปรโมชั่นลด 10% ค่อนข้างมาก
โปรโมชั่นสะสมแต้มในเมืองไทย
ในปัจจุบัน การตลาดแบบ ECM ยังไม่สามารถใช้ได้ผลและมีประสิทธิภาพมากนักในเมืองไทย เนื่องจากกิจกรรมทางการตลาดที่แต่ละบริษัทนำมาใช้นั้น เป็นการตลาดที่ไม่ได้คำนึงถึงพฤติกรรมของลูกค้าอย่างแท้จริง มีการทำการตลาดแบบ ECM อย่างผิวเผิน การสะสมแต้มที่ทำได้ลำบาก และการแลกของรางวัลที่ยังไม่จูงใจ ทำให้ลูกค้าไม่ได้ตระหนักถึงมูลค่าและประโยชน์ที่ได้จากการสะสมแต้มมากนัก
แนวโน้มการตลาดในอนาคต
ข้อมูลจาก Nomura Research Institute พบว่ามูลค่าของแต้มหรือไมล์ที่ออกโดยบริษัทต่างๆในญี่ปุ่นในปี 2007 ที่ผ่านมา มีมูลค่าสูงถึง 6,872,000 ล้านเยน และในแต่ละปีมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ



นอกจากนี้ ประโยชน์ของ ECM ที่กล่าวมาข้างต้น พอจะบอกได้ถึงแนวโน้มการตลาดในเมืองไทย ที่จะมีการใช้โปรโมชั่นสะสมแต้มอย่างแพร่หลายมากขึ้น


PS การตลาดแบบ ECM นั้นจะมีมูลค่ามหาศาลในอนาคต และกล้าพูดได้ว่าเป็นเทรนด์การตลาดในอนาคต
ใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อหลังไมค์ครับ




 

Create Date : 07 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 7 พฤษภาคม 2551 8:11:46 น.
Counter : 872 Pageviews.  

ทฤษฎีการบริหารจัดการและการวางกลยุทธ์

ขอใส่แต่รูปก่อน เนื้อหาเอาไว้ทีหลังเด้อ




































 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2550 21:19:21 น.
Counter : 1189 Pageviews.  

ทุนมนุษย์

ทุนมนุษย์ 2020 : เก็บเกร็ด
จุมพฎ สายหยุด กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เวลาเราดูรายการประเภททำอาหารรสเด็ด คำถามสุดท้ายที่พลาดไม่ได้ตอนจบก็คือ เคล็ดลับคืออะไร หรือบางทีเราไปเดินดูภาพวาดรามเกียรติ์ ตามระเบียงวิหารวัดพระแก้ว เรามองไปที่มุมภาพวาด เผื่อจะได้เห็นอะไรดีๆ ที่จิตรกรแอบวาดเอาไว้

เวลานั่งฟังคำบรรยายแล้วรู้สึกง่วง พลันเราอาจจะตาสว่างขึ้นมา หากผู้บรรยายพูดขึ้นมาว่า "มีเกร็ดของเรื่องนี้ว่า..."

เมื่อหลายเดือนก่อนที่ผมทำนิตยสาร ก็เลยเอาไอเดียนี้มาทำ คือรวบรวมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของบริษัทต่างๆ มารวมกันให้ได้ครบ 101 ข้อ ตามลำดับเล่มของนิตยสาร

ก็ปรากฏว่ามีหลายท่านชื่นชอบ ถึงขั้นเอาไปเป็นโจทย์ตั้งเป็นกรณีศึกษาก็มี

เกร็ดพวกนี้ส่วนใหญ่จะไม่ปรากฏในรายงานข่าวทั่วไป เนื่องหากประเมินกันในเชิงคุณค่าของข่าวมักจะเป็นข่าวไม่ได้ ส่วนงานพีอาร์ของบริษัท ก็ไม่คิดหยิบยกมาเป็นประเด็นเผยแพร่

แหล่งข้อมูลชั้นดีพวกนี้ ผมมักจะได้จากเอกสารของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีศึกษา Best Practices TQC-TQA Winner ที่จัดทำขึ้นทุกปี

วันนี้ขอนำเกร็ดที่เกี่ยวข้องกับ "คน" ของบริษัทมาสัก 3 แห่งดังนี้

ห้องสมุดไม่มีบรรณารักษ์

บริษัท สแปนชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้ผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เดิมคือ บริษัท เอเอ็มดี (ไทยแลนด์) ได้กำหนดค่านิยม "ความเคารพและให้เกียรติในสิทธิส่วนบุคคล" (Respect for People) สแปนชั่นได้จัดตั้งห้องสมุดวิชาการที่ไม่มีบรรณารักษ์ และให้สิทธิพนักงานเข้าไปยืม และคืนหนังสือด้วยการรูดบัตรพนักงาน

โครงการนี้เป็นกลไกหนึ่งที่องค์กรพยายามสื่อสาร ให้พนักงานเข้าใจถึงการปฏิบัติตนตามค่านิยมดังกล่าว และเป็นแนวทางในการสร้างหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมพนักงาน

จากการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเป็นเวลา 8 ปี ปรากฏว่าห้องสมุดของ สแปนชั่นมีหนังสือสูญหายไปเพียง 400 กว่าเล่ม จากหนังสือที่มีอยู่ 3,050 เล่ม ซึ่งคิดเป็น 15-16% หรือเฉลี่ยคิดเป็นจำนวนหนังสือสูญหายในอัตรา 2% ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นการสูญหายในปีแรกๆ ที่เริ่มดำเนินโครงการ

รัฐบาลเงาเซเรบอส

บริษัทเซเรบอส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตซุปไก่สกัด ตราแบรนด์ ในช่วงที่ผ่านมาใช้ระบบการบริหารโดยผ่าน Executive Committee (Excom) ซึ่งเป็นการระดมความคิดร่วมกันระหว่างผู้บริหารจากสายงานต่างๆ รวม 5 คน

อย่างไรก็ตามหลังจากวันที่ 1 ต.ค. 2547 เป็นต้นมา บริษัทได้จัดตั้งทีมบริหารชุดเล็ก หรือ Yong Executive Committee (Young Excom) ขึ้นมาเพื่อวางรากฐานต่อเนื่องทางธุรกิจ โดยบอร์ดชุดนี้จะเล็กลงมา 1 ชั้นคล้ายเป็นรัฐบาลเงา

Young Excom เลือกจากคนที่หน่วยก้านดี สามารถขึ้นมาแทน Excom กลุ่มใหญ่ได้ จำนวน 6 คน ทีมใหญ่จะทำหน้าที่ฝึกหัดให้โจทย์ไปคิดว่าเพราะเหตุใด Excom จึงตัดสินใจเช่นนั้น ขณะเดียวกันก็จะมี input ใหม่ๆ ที่ได้จาก Young Excom ทำให้เกิดการเรียนรู้และฝึกฝน ความเข้าใจก็จะมีมากขึ้น

Young Excom จะมีวาระการทำงานคราวละ 1 ปี แล้วเวียนคนใหม่ไปเรื่อยๆ เน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะระดับผู้จัดการฝ่าย

โดยสรุปแล้วแนวคิดของ Young Excom มุ่งเน้นเรื่องของการสื่อสาร การฝึกหัด ได้เข้าใจในสิ่งที่บอร์ดใหญ่ต้องตัดสินใจ จากเดิมที่บอร์ดใหญ่ทำออกมาแล้วมองไม่เห็นภาพร่วมกัน เห็นแต่ผลลัพธ์เท่านั้น

เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้คนรุ่นใหม่ ที่พร้อมจะเป็นผู้นำในยุคต่อไป

"จับถูก" ดีกว่า "จับผิด"

ยกตัวอย่างมาสองบริษัทล้วนแต่อินเตอร์ แต่เกร็ดสุดท้ายมาจากบริษัทคนไทยแท้ๆ นั่นคือบริษัท ชัยบูรณ์ บราเดอร์ จำกัด ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์การพิมพ์สกรีน และเคมีภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในการพิมพ์สกรีนทุกชนิดแบบครบวงจร เป็นบริษัทที่เน้นการสร้างทัศนคติแบบ "จับถูก" ให้เกิดขึ้นในองค์กร

กล่าวคือ จะไม่มีการตำหนิเมื่อมีการทำผิด กระบวนการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ แต่จะเน้นให้ทุกคนนำไปแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง

หากเรื่องใดยังไม่มีกระบวนการฯ ก็ให้เขียนขึ้นมา และถ้าเพื่อร่วมงานเห็นว่ามีวิธีการใหม่ๆ ที่ดีกว่า ก็แก้ไขกระบวนการฯ เดิมที่มีอยู่ได้

เพราะจุดประสงค์ของการเขียนกระบวนการฯ ขึ้นมา ก็เพื่อ "เขียนไว้ให้ใช้" คือเป็นกติกาที่ทุกคนต้องทำ และ "เขียนไว้ให้แก้" คือถ้าเพื่อนร่วมงานเห็นว่ามีวิธีการอื่นที่ดีกว่า ก็สามารถเสนอเพื่อแก้ไขได้ตลอดเวลา

เพื่อส่งเสริมให้เพื่อนร่วมงานเรียนรู้ ที่จะปรับปรุงวิธีทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง บริษัท ชัยบูรณ์ บราเดอร์ จำกัด จึงได้นำ "ระบบการปรับปรุงคุณภาพงาน" (Kaizen) มาใช้ โดยเรียกชื่อย่อสั้นๆ เพื่อความเข้าใจร่วมกันทั้งบริษัทว่า ป.ป.ค.ง.

บริษัทมีนโยบายให้เพื่อนร่วมงานทุกคนและผู้จัดการระดับฝ่าย ส่งรายงานการปรับปรุงคุณภาพงานคนละ 12 เรื่องต่อปี หรือเดือนละ 1 เรื่อง โดยจะนำผลของการปรับปรุงคุณภาพงาน มาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของเพื่อนร่วมงาน

สังคมไทยหาก "จับถูก" แทนที่จะ "จับผิด" คนในประเทศก็จะมีพลังกาย พลังใจเหมือนกับที่ ชัยบูรณ์ บราเดอร์ นั่นเอง




 

Create Date : 02 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2550 18:09:36 น.
Counter : 378 Pageviews.  

ปัญหา SUBPRIME

ช่วงนี้ข่าวเกี่ยวกับ ปัญหา Sub Prime ของอเมริกาจะเป็นที่โด่งดังมาก เพราะว่าทำให้สถาบันการเงินดังๆของโลกหลายแห่งประสบปัญหาขาดทุนเป็นอย่างมาก เมื่อไม่นานมานี้ ก็มี Citicorp, Nomura ที่ขาดทุนหลักหมื่นล้านบาท ผมจำตัวเลขแม่นไม่ได้แต่จำได้ว่ามันมูลค่ามหาศาล

ปัญหา Sub Prime คืออะไร
การที่สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ที่มี credit ต่ำในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความกังวลกันว่าปัญหานี้ของสหรัฐที่เป็นประเทศเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลกจะส่งผลกระทบไปทั่วโลก

ทำไมสถาบันการเงินถึงปล่อยสินเชื่อเหล่านั้นให้แก่กลุ่มคนที่มี credit ต่ำเหล่านั้น
ปัจจัยแรกคือ กลุ่มคนที่มี credit สูงหรือมีกำลังมากพอที่จะผ่อนชำระสินเชื่อได้นั้น สถาบันการเงินหลายๆแห่งก็มุ่งที่จะปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ การแข่งขันที่สูง และเกิดภาวะอิ่มตัวในตลาดนี้ ในขณะที่กลุ่มคนที่มี credit ต่ำและมีความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังมีอยู่มากมาย
ปัจจัยสองคือ ราคาอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาที่มีแต่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทำให้สถาบันการเงินรู้สึกมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากราคาของหลักประกันมีแต่จะสูงขึ้นเรื่อยๆและมีมูลค่าสูงกว่าหนี้สินที่ลูกค้ากู้ไป

ปัญหามันเกิดตรงไหน
เริ่มจากราคาอสังหาริมทรัพย์ที่มีแนวโน้มว่าจะลดต่ำลง นั่นหมายความว่าราคาหลักค้ำประกันมีมูลค่าลดลง ความเสี่ยงต่อสินเชื่อที่ปล่อยไปสูงขึ้น อีกทั้งผู้กู้ไม่มีศักยภาพในการชำระหนี้ต่อไป

ปัญหามันซับซ้อนขึ้นไปอีกเนื่องจาก
สถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกามีแต่พวกหัวกะทิ จับโน่นชนนี่ มีการออกนวัตกรรมสินค้าทางการเงินหลายแบบออกมา หนึ่งในนั้นก็คือ การนำสินเชื่อที่อยู่อาศัยดังกล่าวมายำ แล้วนำมาใช้เป็นหลักค้ำประกันตราสารอื่นๆ เช่น CDO (Collaterilized debt obligation) หรือ กองทุนอื่นๆ (บางกองทุนถูกจัด credit AAA เทียบเท่า Government Bond หรือตราสารหนี้บริษัทใหญ่ๆ)

Why นำสินเชื่อเหล่านั้นมาค้ำประกันแล้วตราสารถึง credit ดี
เนื่องจากว่าสินเชื่อพวกนี้มีการกระจายความเสี่ยง ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดปัญหาหนี้เสียพร้อมกันจึงเป็นไปได้ยาก < เค้าว่ายังงั้น >

CDO ขยายตัวเร็ว เพราะ
1.กองทุนวาณิชธนกิจขนาดใหญ่ซื้อสินเชื่อพวกนี้จากธนาคาร(เมื่อสินเชื่อถูกปล่อยออกไปธนาคารจึงคล่องตัว) แล้วตกแต่งบัญชีขายให้กับนักลงทุนทั่วไป
2. ดอกเบี้ยต่ำ -> ต้นทุนต่ำ -> ซื้อสินเชื่อพวกนี้มากขึ้น (ความเสี่ยงเท่าเดิม)
3. ประเมินความเสี่ยงผิดพลาด

จุดสำคัญก็คือ
1. การขายสินเชื่อให้ COD ทำให้ความเสี่ยงอยู่นอกธนาคาร งบดุลของธนาคารก็ออกมาดี แต่กลับมาอยู่ในระบบการเงินแทนซึ่งประเมินมูลค่าได้ยากมาก
2. ดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ subprime ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ปัญหาความตกต่ำของภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐนั้น ยังคงมีอยู่ต่อไป ยังมีบ้านที่ค้างสต็อกขายไม่ได้เป็นมูลค่ามหาศาล สินเชื่อที่ปล่อยส่วนมากเป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในช่วง 2-3 ปีแรก และจะปรับตัวสูงขึ้นในปีต่อๆไป ลซึ่งจะส่งผลให้ลูกหนี้ที่ปกติก็รายได้ไม่ดีอยู่แล้ว ไม่สามารถผ่อนชำระสินเชื่อคืนได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ตกต่ำลง (และขายทอดตลาดยาก) มีแต่จะส่งผลให้ปัญหา sub prime ทวีความรุนแรงมากขึ้น

มึนตึ๊บ




 

Create Date : 01 กันยายน 2550    
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2550 21:59:34 น.
Counter : 374 Pageviews.  

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.