images by free.in.th
"
Group Blog
 
All blogs
 
สินค้ายอดนิยม จากเริ่มต้นสู่แบรนด์อมตะ : ปั้นด้วยใจและไอเดีย จนเติบใหญ่สู่แบรนด์

ผลิตภัณฑ์ที่ฮิตติดตลาดนั้นเป็นเหมือนยาวิเศษสำหรับบริษัทผู้ผลิตที่ทั้งเพิ่มยอดขายเพิ่มผลกำไร เพิ่มมูลค่าหุ้น ส่งเสริมแบรนด์ และกระตุ้นขวัญกำลังใจของพนักงานในบริษัท

 

แต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยอดนิยมก็อาจจะไม่ง่ายอย่างใจคิด  จึงจำเป็นต้องมีขั้นตอนพื้นฐานที่เป็นเหมือน “ขั้นบันได” สู่ความสำเร็จสำหรับผู้รับผิดชอบงานนี้ เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เอาชนะได้ในตลาดที่แข่งขันรุนแรงเช่นในปัจจุบัน

 


สินค้ายอดนิยม จากเริ่มต้นสู่แบรนด์อมตะ

 

โดย MasahiroOhta

 

แปลโดย ผศ.ประยูร เชี่ยววัฒนา

 

หนา 216 หน้า ขนาด Pocketbook (พิมพ์ 2 สี)

 

หมวดการบริหาร-จัดการธุรกิจ

 

 

เดินหน้าผ่าทางตัน รุกตลาดอย่างจริงจังด้วยคู่มือพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ฮิตติดตลาดภาคปฏิบัติที่อธิบายอย่างเป็นขั้นตอน เหมาะสำหรับทุกฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งในธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก

 

“สินค้ายอดนิยม จากเริ่มต้นสู่แบรนด์อมตะ” เล่มนี้ กลั่นจากประสบการณ์การทำงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้เขียนไ ม่ว่าจะเป็นความยากลำบากต่าง ๆ ขณะทำงาน ประเด็นสะดุดใจขณะแนะนำลูกน้องหรือขณะให้คำแนะนำแก่ธุรกิจซึ่งเป็นลูกค้า

 

นอกจากนี้ ผู้เขียนยังนำเสนอกรณีตัวอย่างจริงจากผลิตภัณฑ์ที่เคยรับผิดชอบและผลิตภัณฑ์ยอดนิยมหลากหลายชนิดในตลาดญี่ปุ่น ที่ซึ่งหลายบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกเชื่อว่า หากผลิตภัณฑ์ใดได้รับความนิยมในญี่ปุ่นก็จะประสบความสำเร็จในประเทศอื่น ๆ เช่นเดียวกัน

 

เนื้อหาเริ่มที่การนำเสนอภาพรวมแนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และขั้นตอน  จากนั้นอธิบายรายละเอียดประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญของแต่ละขั้นตอน โดยเน้นวิธีปฏิบัติ ประเด็นสำคัญ ข้อควรระวัง และแนวทางแก้ปัญหาในแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งยังสรุปเคล็ดลับสำคัญให้เข้มข้นอ่านง่าย ไม่เยิ่นเย้อ ด้วยแผนภาพและตารางต่าง ๆ อีกด้วย

 

6 ขั้นตอนปลุกปั้นและบ่มเพาะผลิตภัณฑ์ให้ติดตลาด จนเติบใหญ่เป็นแบรนด์ที่ให้ดอกผลอย่างงดงาม ได้แก่ (1) เริ่มวางแผนงานไม่ให้พลาดจังหวะวางจำหน่าย

(2) สำรวจตลาด มองหาสัญญาณของกระแสความนิยม

 

(3) เฟ้นหาไอเดียพัฒนาคอนเซปต์ ให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

 

(4) กำหนดราคา ตั้งชื่อ และออกแบบผลิตภัณฑ์ให้โดนใจลูกค้า

 

(5) โฆษณา ส่งเสริมการขาย และวางจำหน่ายให้ตรงใจลูกค้าเป้าหมาย

 

(6) กระตุ้นและผลักดันผลิตภัณฑ์จนเติบโตเป็นแบรนด์อมตะ

 

        ลองมาดูตัวอย่างหนึ่งจากเนื้อหากันสักนิดค่ะ

 

        ขั้นตอนหนึ่งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สำคัญมากก็คือ การสำรวจตลาด สิ่งที่ต้องทำในการสำรวจก็คือ การมองหาสัญญาณของความนิยมใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความนิยมในตลาดนั่นเอง  แต่การมองหากระแสความนิยมก็มีประเด็นสำคัญที่ต้องระวังคือ กระแสความนิยมที่เกิดขึ้นแล้วถือว่า “สายเกินไป” ที่จะนำมาใช้เป็นไอเดียพัฒนาผลิตภัณฑ์

 

         หลายคนอาจสงสัยว่า“ทำไม”เหตุผลก็คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นใช้เวลานานหลายเดือน กว่าบริษัทของเราจะพัฒนาผลิตภัณฑ์เสร็จแล้วออกวางจำหน่าย ก็มีความเสี่ยงสูงที่กระแสความนิยมนั้นในตลาดจะซาลงแล้วนั่นเอง ดังนั้น นักพัฒนาผลิตภัณฑ์จึงต้องสังเกตแนวโน้มล่วงหน้าประมาณครึ่งก้าวก่อนจะกลายเป็นกระแสขึ้นมา

 

   วิธีหนึ่งในการสังเกตแนวโน้มความนิยมล่วงหน้าก็คือ ให้ประยุกต์ใช้แนวคิดจากวงการธุรกิจอื่น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของเรา “ล้ำ” กว่าคู่แข่งในวงการเดียวกัน  ตัวอย่างหนึ่งในตลาดญี่ปุ่นคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับแนวคิดจากอาหารเสริม มีการพัฒนาตู้เย็นซึ่งมีจุดเด่นอยู่ที่ช่องเก็บผักได้รับการพัฒนาให้ช่วยเพิ่มวิตามินซีในผักได้  หรือแม้แต่มีแสงไฟที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดวิตามิน เป็นต้น

 

นอกจากนี้ ที่รวมตัวของลูกค้าเป้าหมาย ภาพยนตร์ แฟชั่น ดนตรี ร้านอาหาร ฯลฯ เรียกว่า ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนรอบตัวล้วนเป็นแหล่งหาไอเดียใหม่ ๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ทั้งสิ้น แต่แน่นอนว่าการค้นหาโดยไร้เป้าหมายก็ไม่เกิดประโยชน์ค่ะ  ผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องมีเครื่องมือที่ช่วยให้ค้นพบกุญแจสำคัญสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งในเล่มก็มีหลายเครื่องมือด้วยกัน

 

ตัวอย่างหนึ่ง เช่น “แผ่นบันทึกประเด็นสะกิดใจ” วิธีใช้คือมองหาสิ่งที่กำลังเป็นที่นิยมของคนในสังคม  กระแสความนิยมนั้นมาจากคนกลุ่มใด  คิดหาเหตุผลและภูมิหลังที่ทำให้สิ่งนั้นได้รับความนิยมให้ได้มากที่สุด  จากนั้นให้นึกถึงคำสำคัญที่เกี่ยวข้องให้มากเท่าที่นึกได้  คำสำคัญเหล่านี้จะเป็นกุญแจสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้

ตัวอย่างส่วนหนึ่งของวิธีปฏิบัติและเครื่องมืออื่น ๆ ในเล่ม

 

- ข้อแตกต่างระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของธุรกิจขนาดใหญ่กับขนาดกลางและเล็ก

 

- วิธีมองหาแนวโน้มกระแสความนิยมและกระบวนการเชื่อมโยงสู่แผนพัฒนา

 

- กิจกรรมที่ช่วยสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ

 

- แนวทางการสร้างสรรค์ตำนานของผลิตภัณฑ์

 

- ประเด็นควรระวังในการกำหนดราคาและการตั้งชื่อ

 

- ขั้นตอนการออกแบบและวิธีการประเมิน

 

- การดำเนินการโฆษณาและมาตรการส่งเสริมการขาย

 

- วิธีตรวจสอบหลังการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์

 

- มาตรการรูปธรรมในการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์ขายได้นานไปสู่แบรนด์

 

       นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาที่น่าสนใจอีกมากมายในเล่มค่ะ

       ดูรายละเอียด สารบัญและตัวอย่างเนื้อหาหนังสือเพิ่มเติมได้ที่นี่



----------------------------------------------------------------------------------------------





Create Date : 15 มีนาคม 2556
Last Update : 27 มีนาคม 2557 21:56:30 น. 0 comments
Counter : 3700 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

textbook
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 20 คน [?]




สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. สรรค์สร้างสาระสู่สังคม
มุ่งมั่นผลิตตำราวิชาการและหนังสือเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ การบริหารจัดการ ด้านส่งเสริมการศึกษา เพื่อการพัฒนาตนเองและองค์กร สำหรับภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรม
Friends' blogs
[Add textbook's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.