images by free.in.th
"
Group Blog
 
All blogs
 
Logical Thinking คิดอย่างมีตรรกะ ชนะทุกเงื่อนไข

วันนี้มีหนังสือที่น่าสนใจมาแนะนำกันอีกเช่นเคยค่ะ นั่นคือ..



Logical Thinking คิดอย่างมีตรรกะ ชนะทุกเงื่อนไข
โดย คัตสึมิ นิชิมูระ (Katsumi Nishimura)
แปลโดย รังสรรค์ เลิศในสัตย์
หนา 272 หน้า
ISBN 974-443-229-2

“Logical Thinking คิดอย่างมีตรรกะ ชนะทุกเงื่อนไข” เล่มนี้แนะนำให้รู้จักกับ Logical Thinking ตั้งแต่พื้นฐาน ให้เข้าใจว่า Logical Thinking คืออะไร มีวิธีคิด วิธีปฏิบัติอย่างไรเพื่อสร้างนิสัยให้มี Logical Thinking ไปจนถึงตัวอย่างวิธีปฏิบัติในการนำ Logical Thinking ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและการทำงาน เพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Logical Thinking มาแล้ว หรือบางคนอาจจะยังไม่เคยรู้จักมาก่อน ดังนั้นมาดูความหมาย Logical Thinking กันก่อนค่ะ

Logical Thinking หมายถึงอะไรกันแน่ ?...

ความหมายตรงตัวที่หลาย ๆ คนเข้าใจก็คือ การคิด (Thinking) ที่เป็นตรรกะ (Logical)

แล้วการคิดที่เป็นตรรกะคืออะไรล่ะ ? การคิดที่เป็นตรรกะก็คือ การคิดที่มีตรรกะเข้ามาเกี่ยวข้องหรือการคิดที่มีลำดับขั้นตอน เป็นเหตุเป็นผลนั่นเองค่ะ

ตัวอย่าง Logical Thinking แบบง่าย ๆ ก็อย่างเช่น การเขียนภาพ Scenario โดยตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนไว้ แล้วเขียนภาพในการบรรลุเป้าหมาย (Goal) โดยมีลำดับขั้นตอนเป็นเหตุเป็นผลเอาไว้ และการเขียน Scenario นี้จะต้องเขียนให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วยการใช้กำลังแรงที่น้อยที่สุด

นอกจากนั้นสิ่งที่สำคัญคือ จะต้องหลีกเลี่ยงอุปสรรคไว้ก่อนเสมอ คือทำอย่างไรจึงจะไม่ให้ประสบอุปสรรค หลายครั้งอาจจะต้องเดินทางอ้อมไปไกลเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงอุปสรรคนั้น หรืออาจจะต้องอ้อมให้ไกลขึ้นเพื่อเลือกเส้นทางที่มีอุปสรรคน้อยที่สุด ซึ่งอาจจะมีประสิทธิผลที่ดีกว่า

ดังนั้น Logical Thinking จึงเป็นวิธีการทางความคิดที่ขาดไม่ได้ในการเพิ่มอัตราส่วนของความสำเร็จเพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมาย เพราะเมื่อคิดแบบ Logical Thinking อยู่เสมอ ก็จะสร้างนิสัยการมองภาพรวมและคิดอย่างเป็นระบบได้ จึงทำให้สามารถเลือกสรรเส้นทางที่สั้นที่สุดที่จะไปสู่เป้าหมายซึ่งมีการเคลื่อนไหวหรือการทำงานที่สูญเปล่าน้อยที่สุดได้นั่นเอง

ต่อไปลองมาดูตัวอย่างการใช้ประโยชน์ Logical Thinking ที่ใกล้ตัวกันค่ะ

  • เพิ่มความสามารถในการนำเสนอ (Presentation) การอธิบายเรื่องราวนั้นหากไม่เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นเหตุเป็นผล ก็ไม่สามารถจะนำเสนอข้อมูลข่าวสารได้ เพราะหากเกิดความขัดแย้งเชิงตรรกะแล้ว ผู้ฟังก็ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ ซึ่ง Logical Thinking จะช่วยให้อธิบายเรื่องราวได้เป็นลำดับขั้นตอน มีเหตุมีผล

  • เพิ่มความสามารถในการเจรจา Logical Thinking จะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจว่าอีกฝ่ายต้องการจะพูดอะไร ตัวเองต้องการจะพูดอะไร และจุดประสานจะอยู่ตรงไหน รวมทั้งช่วยแก้ข้อสงสัยให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจได้

  • เสริมสร้างความสามารถในการแก้ไขปัญหา Logical Thinking จะช่วยให้สามารถค้นพบประเด็นปัญหาจากสภาพการณ์อันสับสน โดยลองใช้คำว่า “ทำไม” ในการค้นหาสาเหตุที่แท้จริง ถ้าสาเหตุที่แท้จริงมีความชัดเจนแล้ว ก็จะนำไปสู่การค้นหามาตรการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพสูงได้ไม่ยากนัก


จะเห็นว่า Logical Thinking นี้มีประโยชน์มากมายเลยนะคะ แล้วในเมื่อ Logical Thinking มีประโยชน์มากขนาดนี้ แล้วเราจะต้องทำยังไงถึงจะคิดแบบ Logical Thinking ได้ล่ะ ? คำตอบอยู่ในหนังสือเล่มนี้แล้วค่ะ

ตัวอย่างวิธีฝึกง่าย ๆ ที่จะทำให้มี Logical Thinking เป็นนิสัย ก็อย่างเช่น การถามตัวเองอยู่เสมอว่า “ทำไม” เราควรสร้างนิสัยให้อยากจะค้นหาสาเหตุที่แท้จริง ว่าทำไมจึงสำเร็จ ทำไมจึงล้มเหลว และควรระมัดระวังความคิดที่จะยอมรับแต่ผลลัพธ์โดยไม่พิจารณาเหตุผลให้ถ่องแท้

ซึ่งการมีข้อสงสัยที่ง่าย ๆ ตรง ๆ นี้จะนำมาสู่การมีจิตสำนึกต่อปัญหามากขึ้น ทำให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้มากกว่าคนอื่นแม้ว่าจะมองเห็นสิ่งเดียวกัน ข่าวสารข้อมูลแบบสิ่งละอันพันละน้อยเช่นนี้ แม้ว่าอาจจะไม่เป็นประโยชน์ต่องานโดยตรง แต่ก็ช่วยให้ความสามารถทางความคิดและการสื่อสารเพิ่มสูงขึ้นได้

และสำหรับตัวอย่างวิธีปฏิบัติในการนำ Logical Thinking ไปประยุกต์ใช้ ก็อย่างเช่น การพูดอย่างมีตรรกะค่ะ โดยมีเทคนิคง่ายๆ ดังนี้

  • พูดข้อสรุปของเนื้อหาโดยรวมก่อน เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจถึงภาพรวมภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยแนะนำอย่างสั้น ๆ ถึงที่มาที่ไป หรือเหตุผลต่าง ๆ ก่อนจะมาเป็นข้อสรุปนี้ พูดถึงข้อสรุปดังกล่าว แล้วจึงบอกว่า “รายละเอียดนั้นจะอธิบายให้ฟังต่อจากนี้ไป”

  • อย่าใส่ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องไว้ในข้อสรุป เพราะข้อมูลที่มากเกินไปจะทำให้ผู้ฟังเกิดความสับสนได้

  • หนึ่งหน้า หนึ่งข้อความ (One Page One Message) นั่นคือใน 1 หน้า ให้มีข้อสรุปที่ชัดเจนเพียงข้อสรุปเดียวเท่านั้น เพราะหากมีข้อมูลมากเกินไป ความเข้าใจของผู้ฟังจะกระจายไปยังเรื่องต่าง ๆ และหากทำให้ผู้ฟังมีความเข้าใจที่ผิดพลาด จะทำให้ความเป็นเหตุและผลไม่เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน

  • การเชื่อมโยงด้วยเหตุและผลต้องต้องให้มีความราบรื่น นั่นคือต้องอธิบายได้ด้วยการลำดับเรื่องราวที่ดี และคอยตรวจสอบโดยรวมด้วยว่าการเชื่อมโยงด้วยเหตุและผลมีความราบรื่นดีหรือไม่ หรือมีการอธิบายอ้อมค้อมเกินความจำเป็นหรือไม่

    หรือถ้าอยากจะอธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผล แต่ไม่สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่ตัวเองคิดอยู่เข้าด้วยกันได้ เทคนิคง่าย ๆ ในการจัดระเบียบความเป็นเหตุเป็นผลก็คือ ลองเขียนลงบนกระดาษ ซึ่งจะช่วยให้สะดวกยิ่งขึ้นในการตรวจสอบความสัมพันธ์ของเหตุและผล





นอกจากตัวอย่างที่หยิบมาเล่าให้ฟังแล้ว “Logical Thinking คิดอย่างมีตรรกะ ชนะทุกเงื่อนไข” ยังมีหลักการคิด วิธีการฝึกสร้างนิสัย Logical Thinking และวิธีการนำ Logical Thinking ไปปฏิบัติในเรื่องใกล้ตัว ทั้งในการทำงานและชีวิตประจำวันอีกมาค่ะ

สำหรับใครที่สนใจ ลองหามาอ่านแบบเต็มๆ กันได้ค่ะ





Create Date : 27 พฤษภาคม 2553
Last Update : 16 มิถุนายน 2553 14:07:45 น. 5 comments
Counter : 23292 Pageviews.

 
ขอบคุณครับ


โดย: ปอขี้เมา IP: 118.172.104.200 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:21:43:09 น.  

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: fragolina IP: 87.14.0.96 วันที่: 31 ตุลาคม 2556 เวลา:1:09:24 น.  

 
Logical Thinking คิดอย่างมีตรรกะ ชนะทุกเงื่อนไข replica bags
replica bags //www.itbagonline.com


โดย: replica bags IP: 192.99.14.34 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:19:59:39 น.  

 
ยังมีขายอยู่ไหมครับ สนใจมาก
0985372915 โก้


โดย: ภาคิน IP: 58.10.180.66 วันที่: 31 มกราคม 2558 เวลา:20:37:30 น.  

 
มีประโยชน์มาก ขอบคุณมากครับ


โดย: ดุลยวัต IP: 157.7.52.183 วันที่: 13 มกราคม 2560 เวลา:18:58:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

textbook
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 20 คน [?]




สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. สรรค์สร้างสาระสู่สังคม
มุ่งมั่นผลิตตำราวิชาการและหนังสือเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ การบริหารจัดการ ด้านส่งเสริมการศึกษา เพื่อการพัฒนาตนเองและองค์กร สำหรับภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรม
Friends' blogs
[Add textbook's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.