bloggang.com mainmenu search



สวัสดีค่ะ





ก่อนอื่นขอหาเสียงก่อน เสียงอยู่ไหนนนนนนน เย้ย..ไม่ช่าย

หากคิดว่าบล็อกนี้มีประโยชน์กับการท่องเที่ยวบ้างก็โหวตให้หน่อยนะค้า (คลิกเลย)






หลังจากได้รีวิวทริปทำบุญที่เชียงใหม่ทั้งหมดไปแล้วดังนี้

ซึ่งก็ได้ปล่อยไปแล้วสามรีวิวคือ รีวิวโรงแรมตากอันดามันรีสอร์ท(คลิกเพื่ออ่าน)

รีวิวร้านอาหารเฮือนเพ็ญ อาหารเหนือ (คลิกเพื่ออ่าน)

รีวิวอินทนนท์ไฮแลนด์ รีสอร์ท(คลิกเพื่ออ่าน)

รีวิวพระธาตุดอยน้อยและครูบาศรีวิชัย (คลิกเพื่ออ่าน)

รีวิววัดอุโมงค์ พักกายพักใจ (คลิกเพื่ออ่าน)

และ รีวิวร้านอาหารห้องแถว ร้านอาหารไทย ณ นิมมานฯ (คลิกเพื่ออ่าน)





วันนี้จะพาไปเที่ยวเวียงกุมกามบ้างนะคะ



เวียงกุมกาม เป็นเมืองที่พ่อขุนเม็งรายสร้างก่อนที่จะไปสร้างเมืองเชียงใหม่ค่ะ แล้วเมืองนี้ก็ถูกน้ำท่วมและสูญหายไปจากประวัติศาสตร์ (เห็นว่าช่วงน้ำท่วมเป็นช่วงที่พม่าปกครองล้านนาอยู่ค่ะ เลยทำให้ไม่มีการบันทึกประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นไว้ เวียงกุมกามก็เลยหายไปด้วย


ถ้าต้องการได้ข้อมูลเวียงกุมกามแบบละเอียดยิบๆ นะคะ แนะนำให้ไปที่ บล็อกคนนี้ค่ะ (คลิกเพื่ออ่าน)



ก่อนอื่นเลยก็ไปที่ศูนย์บริการซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นก่อนนะคะ เลี้ยวเข้าประตูไปก็จะเป็นลานจอดรถค่ะ หันหลังให้ถนน อาคารตรงกลางข้างหน้าเราจะเป็นพิพิธภัณฑ์ (เสียค่าเข้า 20 บาทต่างหากจากค่าเข้าชมเวียงกุมกามค่ะ)



ที่เห็นสีเหลืองๆ ข้างๆ นี่เป็นรถที่เอาไว้ชมเวียงกุมกามแบบหนึ่งนะคะ

















ทางฝั่งซ้ายมือจะเป็นพวกร้านค้า ส่วนฝั่งขวามือจะเป็นที่ขายตั๋ว หน้าตาอาคารขายตั๋วเป็นแบบนี้ค่ะ















ราคาค่าตั๋วก็ตามนี้เลย กล่าวคือ ถ้าเช่าจักรยานก็ 20 บาท (ไม่มีไกด์) ถ้าเช่ารถม้าก็ 200 รถรางก็แล้วแต่ขนาดของที่นั่งค่ะ ถูกสุดก็อยู่ที่ 300 บาทค่ะซึ่งกรณีที่เช่ารถราง เค้าจะมีมัคคุเทศก์อาสาสมัครให้นะคะ ซึ่งเราจะให้สินน้ำใจตอบแทนเขาหรือไม่ก็ได้ค่ะ ถ้าจะให้ จะให้เท่าไหร่ก็ได้ แล้วแต่ทางเราจะพิจารณา



















แล้วก็ตรงนี้ก็จะมีหนังสือเกี่ยวกับเวียงกุมกามขายด้วยนะคะ เล่มละ 120 บาท (แน่นอนว่าซื้อมาแต่..ยังหาไม่เจอเลยว่าเอาไปไว้ไหน เง่อ...) ส่วนโบรชัวร์ เสียค่าบำรุงชุดละ 5 บาทค่ะ ก็ซื้อมาอีกแหละ เพราะเอาไปให้คุณแม่ กับคุณพ่อคุณแม่สามีได้อ่านประกอบกับการฟังไกด์น่ะค่ะ


























นอกจากนั้นถ้าเลือกนั่งรถม้า ก็จะได้หน้าตาแบบนี้นะคะ



















คณะเราไปกัน 5 คน ที่จริงจะรอรวมกับกรุ๊ปอื่นก็ได้ แต่เราก็ขี้เกียจรอ (ไม่รู้ว่าจะมีคนมาไหมน่ะค่ะ) ก็เลยเหมาไปกัน 5 คน 300 บาท ได้รถคันนี้มาค่ะ (ทำไมไม่เหมือนไอ้คันเหลืองๆ นั่นง่ะ )

ตอนแรกคุณสามีถามหาไกด์ (วิทยากร) อีกท่านหนึ่ง แต่ปรากฏว่าท่านไม่อยู่ค่ะ คือ คุณสามีเคยมาแล้วครั้งหนึ่ง แล้วประทับใจ เค้าบอกว่า พูดดีมาก ละเอียดมาก พาชมทุกจุด แต่เสียดายว่าไม่อยู่อะค่ะ ก็เลยต้องไปกับท่านอื่นแทน





รถแบบนี้ ทางขึ้นลงแ่ต่ละแถวจะสลับกันนะคะ ถ้าแถวแรกขึ้นทางซ้าย แถวที่สองก็จะขึ้นทางขวา แถวที่สามขึ้นทางซ้าย สลับกันไปอย่างนี้อะค่ะ (มีใครช่วยตอบไ้ด้มั้ยคะว่า เขาทำอย่างนี้เนื่องจากอะไร อยากรู้ง่ะ)


















จากนั้นก็มีตากล้องมาถ่ายรูป (เพื่อจะเอาไปติดจานค่ะ) ก็ถ่ายไปนะคะ เค้าไม่ได้บังคับซื้ออะค่ะ
(เด็กเสื้อน้ำเงินนี่ลูกคนขับนะคะ แฮ่)



















จากนั้นรถก็วิ่งออกจากศูนย์บริการฯ ค่ะ ไปวิ่งถนนใหญ่ โดยไกด์ก็กล่าวทักทายเล่าข้อมูลไป





















จากนั้นก็วิ่งเข้าซุ้มประตูอย่างนี้ค่ะ (วิ่งออกถนนใหญ่แป๊บเดียวค่ะ ไม่นานมาก)



















แล้วก็ถึงจุดแรก จะอยู่ทางขวามือนะคะ

นั่นก็คือวัดกู่ป้าด้อมค่ะ เป็นพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของกู่ (สถูปบรรจุกระดูก) ของป้าด้อม


ต่อมาก็ได้ให้ที่นี้กับทางราชการน่ะนะคะ ชื่อของหลายๆ วัดก็จะตั้งตามชื่อของเจ้าของที่ที่เป็นชาวบ้านนั่นแหละค่ะ เพราะอย่างที่บอกว่า ประวัติก็หายไปเยอะ เพราะฉะนั้นหลายๆ วัดก็ไม่รู้ว่าชื่อเดิมจริงๆ ชื่ออะไร อีกอย่างก็เป็นการให้เกียรติแก่ชาวบ้านเจ้าของที่ด้วยค่ะ

วัดกู่ป้าด้อมนี่เป็นวัดที่มีปรากฏร่องรอยการฉาบผิวนอกของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ด้วยปูนขาวมากที่สุดในบรรดาวัดทั้งหลายของเวียงกุมกามด้วยนะคะ






















จากนั้นเราก็เดินทางไปยังจุดต่อไปค่ะ ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้เกิดการค้นพบเวียงกุมกาม นั่นก็คือ วัดช้างค้ำนั่นเอง

ซึ่งอีกชื่อหนึ่งก็คือ วัดกานโถมนะคะ


















ซึ่งในบริเวณวัดก็มีแผนที่เวียงกุมกามให้ดูด้วยนะคะ
(แต่ทรุดโทรมแล้ว ควรทำใหม่ได้แล้วน้า)



















เดินเข้าไปชมกันค่ะ (จะเห็นว่าที่เสามีป้ายเขียนว่าจุดค้นพบเวียงกุมกามนะคะ)





















เล่าแบบเอาจากความทรงจำ (อันย่ำแย่) ของเรานะคะ แหะๆ


สาเหตุที่ที่นี่เป็นจุดเริ่มต้นในการค้นพบเวียงกุมกามเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๗ นั่นก็เป็นเพราะว่า จะมีการสร้างสนามใหม่ระหว่างวัดช้างค้ำกับโรงเรียนวัดช้างค้ำอะค่ะ แล้วก็เลยเริ่มขุดค้นพบ


ซึ่งสิ่งแรกที่ค้นพบก่อนก็อาคารหลังนี้แหละค่ะ



















นอกจากนั้นในบริเวณวัดนี้ก็มีต้นศรีมหาโพธิ์อยู่ด้วยค่ะ

ซึ่งเป็นต้นที่พ่อขุนเม็งรายได้ให้พระเถระนำพันธุ์มาจากลังกาทั้งหมด 4 ต้นนะคะ





















ใกล้ๆ กันก็มีวิหารของพ่อขุนเม็งรายผู้สร้างเมืองนี้ด้วยค่ะ























จากนั้นก็เดินลึกเข้าไปอีกก็จะเจอที่มาของชื่อวัดช้างค้ำค่ะ
นั่นก็เป็นเพราะมีช้างอยู่รอบองค์เจดีย์นั่นเอง



















อ่านประวัติเพิ่มเติมกันหน่อยค่ะ


















ที่อีกฝั่งก็มีอาคารหลังเล็กๆ นี้ด้วยค่ะ น่าจะเป็นวิหารนะคะ แต่เราไม่ได้เดินเข้าไปดูอะค่ะ





คือ..ทั้งหมดนี้ มัคคุเทศก์ปล่อยให้เราเดินชมเองทั้งหมดค่ะ ไม่มีการพาเดินแล้วอธิบายเิ่พิ่มเติมอะไรทั้งสิ้นนะคะ ซึ่ง...คุณสามีเซ็งเป็นอันมาก บอกว่ามัคคุเทศก์คนที่คุณสามีเจอคราวที่แล้ว ดูแลเอาใจใส่ดีกว่านี้เยอะเลย ข้อมูลก็ละเอียดกว่านี้ เวลามาวัดนี้ก็จะพาไปเดินชมเป็นจุดๆ อธิบายเพิ่มเติมตลอด แต่มัคคุเทศก์คนนี้ ไม่ได้ทำอะไรเช่นนั้นเลยอะค่ะ

















ชมเองก็ชมเองวุ้ย ที่นี่ก็มีกระเบื้องให้ทำบุญด้วยนะคะ แผ่นละ 9 บาทเองค่ะ

ก็เขียนชื่อ-นามสกุลเราที่กระเบื้องอีกเช่นเคยค่ะ





















แล้วก็มีวิหารหลังใหญ่อีกหลังค่ะ รู้สึกว่าจะมีพระอยู่นะคะ ก็เข้าไปกราบขอพรตามปกติหละค่ะ



















ส่วนนี่...ถ้าจำไม่ผิด เนื่องจากทำบุญกระเบื้องเท่าไหร่ไม่รู้อะค่ะ เค้าก็เลยให้มาบูชาด้วย


















ซึ่งในเวลาอันรวดเร็วมาก ก็มีจานที่ติดรูปเราจากที่ถ่ายตอนขึ้นรถรางมาจำหน่ายแล้วค่ะ

ซื้อมาค่ะ แต่...จำราคาไม่ได้แล้ว แหะๆ


















จากนั้นเราก็ไปยังจุดต่อไปค่ะ วัดอีค่าง (ค.ควายมิใช่ด.เด็กนะคะ เดี๋ยวเห็นน้องหมาที่นอนอยู่ข้างๆ แล้วจะเข้าใจผิด )

ที่เรียกว่าวัดอีค่างหรืออีก้างนั้นเพราะเดิมบริเวณวัดเป็นป่ารกร้างและมีฝูงลิงฝูงค่างใช้ซากวัดแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งค่างในภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “อีก้าง” ค่ะ




















วัดนี้สันนิษฐานว่าคงเป็นวัดที่ใหญ่มากพอสมควรในสมัยก่อน

เนื่องจากวิหารมีถึง 7 ห้อง (ถ้าจำไม่ผิดนะคะ) ที่อยู่ตรงขวามือของรูปนี้น่ะค่ะ



















ส่วนที่บันไดก็ทำเป็นรูปก้นหอย ซึ่งเป็นศิลปะดั้งเดิมของล้านนาเลยค่ะ



วัดอีค่างนี่ไม่ได้ให้ลงชมนะคะ ให้ชมอยู่บนรถค่ะ



















จากนั้นก็ไปยังวัดต่อไปคือวัดหนานช้างนั่นเองค่ะ (แต่ไม่ได้ลงชมอีกเช่นกัน)




















ในรูปสุดท้ายนี่ที่มีหลังคา มีความสำคัญด้วยนะคะ แต่ว่า..เราจำไม่ได้แล้วว่าสำคัญยังไง
























จากนั้นเราก็ผ่านวัดปู่เปี้ย ซึ่งไกด์บอกว่า เจดีย์องค์นี้มองไปทางไหนก็จะเห็นเอียงไม่เหมือนกันเลยค่ะ ลองดูแล้วกันนะคะว่าจะเป็นอย่างที่เขาว่ามั้ย





















ซึ่งก็ยังคงมีฐานใบเสมาเดิมของอุโบสถวัดนี้ให้ได้เห็นอยู่ด้วยนะคะ



















ส่วนหน้าอุโบสถนี่ ไกด์เล่าแล้วแต่จำไม่ได้ว่ามันคืออะไรค่ะ

ถ้าจำไม่ผิดคือแท่นบูชา ศาลผีเสื้ออะนะคะ แต่จำรายละเอียดไม่ได้แล้ว แหะๆ

















จุดต่อไป ไกด์ได้พูดคุยว่าเป็นจุดที่มีความสำคัญเพราะมีการขุดค้นพบของใช้ต่างๆ ค่ะ นอกจากนั้นก็มีการพบพระองค์เล็กๆ ในพระองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ด้วยค่ะ

























นั่นก็คือ วัดธาตุขาวค่ะ

ที่จำหน่ายดอกไม้ธูปเทียนก็อยู่ข้างๆ ป้ายนี้เลยนะคะ

จุดนี้จอดให้ลงค่ะ (แต่..ไกด์ก็ยังคงไม่ลงพาชม+อธิบายเช่นเดิม )



















อ่านประวัติย่อๆ กันนิดหนึ่งนะคะ



















ได้ดอกไม้ธูปเทียน (สะเดาะเคราะห์ ประำจำวันเกิดด้วยค่ะ) มาแย้ว



















ไปสักการะกันเลยค่ะ




















ตัวองค์พระที่พบพระองค์เล็กๆ ค่ะ

พักตร์ท่านขรึมดีนะคะ



















ต่อไปเป็นจุดสุดท้ายของที่นี่แล้วค่ะ


นั่นก็คือวัดเจดีย์เหลี่ยมค่ะ (แต่อ่านจากบางรีวิว บางคนก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นนะคะ แล้วแต่ไกด์มั้งคะว่าจะพาไปไหนก่อน แต่เราว่าพามาวัดนี้ทีหลังสุดน่าจะเวิร์คกว่า เพราะเป็นวัดที่อลังการที่สุดแล้วอะค่ะในความคิดเรา ถ้าเอาไว้เป็นที่แรก วัดอื่นๆ จะดูดร็อปลงน่ะค่ะ)



















วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือวัดกู่คำ ตอนที่เริ่มสร้างเวียงกุมกาม พ่อขุนเม็งรายหรือพญามังรายให้ขุดคูเวียงหาทั้งสี่ด้านและไขน้ำปิงเข้าสู่คูเวียง และตั้งค่ายไว้โดยรอบ แล้วให้ขุดหนองสระไว้ใกล้ที่ประทับ และได้ให้เอาดินที่ขุดออกจากหนองนี้ทำอิฐก่อเจดีย์กู่คำ คือ เจดีย์เหลี่ยม นี้ค่ะ

เจดีย์นี้สร้างโดยใช้ต้นแบบจากวัดจามเทวี (วัดกู่กุด) ลำพูน ซึ่งเป็นแบบศิลปกรรมของลพบุรีมีพระพุทธรูปยืนอยู่ในซุ้มพระทั้งสี่ด้าน ด้านละ 15 องค์ รวม 60 องค์




















นอกจากนั้นก็ยังมีสิงห์ปั้นอยู่โดยรอบด้วยนะคะ


















ตรงเบื้องหน้าของเจดีย์ก็มีประวัติของรองอำมาตย์เอกหลวงโยนะการพิจิตรด้วยค่ะ



















แล้วก็ตัววิหาร ก่อสร้างด้วยศิลปะล้านนาค่ะ ส่วนตัวนี้ไม่รู้ว่าคืออะไร
(จะถามไกด์ ไกด์ก็นั่งคุยกับคนขับอยู่บนรถ หาได้ลงมาให้ถามไม่ เหอๆ )





















แต่ดีหน่อยที่ระหว่างที่เราเรียกให้ทุกคนมาถ่ายภาพหมู่ หลังจากเราถ่ายไปสักพัก ไกด์เค้าก็อาสามาถ่ายภาพหมู่แบบรวมครบทุกคนให้ค่ะ (ทำงานสมแก่การเป็นไกด์หน่อยอะนะ)


จากนั้นรถรางก็วิ่งไปจอดตรงที่เดิมค่ะ คุณแม่ก็ให้เงินให้เราให้ทิปไกด์ ซึ่งเราคืนแม่ไปครึ่งหนึ่ง บอกแม่ไปว่า ให้ในจำนวนเืงินที่เค้าควรได้ ให้เท่าที่เค้าทำงานสมแก่ความเป็นไกด์ (ถ้าทำงานดีกว่านี้ จะให้ครบตามที่แม่จะให้ค่ะ) แต่มาบอกทีหลังนะคะ (ไม่งั้นเดี๋ยวโดนฆาตกรรมตรงนั้น เหอๆ)

ซึ่งตอนดึงเงินคืนแม่นี่ เค้าก็เห็นนะคะ แต่แค่ครึ่งหนึ่งนั่นก็เยอะพอควรแล้วค่ะสำหรับการทำงานไม่กี่ชั่วโมง แต่อยากให้เค้ารู้ว่า ถ้าเค้าเอาใจใส่ลูกทัวร์กว่านี้ ตั้งใจทำงานกว่านี้ เค้าจะได้ค่าตอบแทนเป็นสองเท่าจากที่เค้าได้รับในครั้งนี้นะ (โหดเนาะ เราน่ะ...เวลาโหด จะโหดมากเลยค่ะ เหอๆ )







จากนั้นก็ไปเข้าห้องน้ำค่ะ ห้องน้ำจะอยู่ทางซ้ายมือนะคะ (ถ้าหันหน้าเข้าอาคารขายตั๋วน่ะค่ะ)

ก็สะอาดปานกลางนะคะ พอได้อยู่





















จากนั้นก็เดินไปดูของที่ระลึกค่ะ ก็เห็นเสื้อเพ้นท์เวียงกุมกาม ก็เลยซื้อมาค่ะ






















สรุปสำหรับที่นี่นะคะ



ก็เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวหนึ่งที่ใครที่ชอบประวัติศาสตร์ก็น่าจะชอบหละค่ะ ซึ่งยิ่งถ้าได้ไกด์ดีๆ ด้วยแล้วหละก็..เรียกว่าจะยิ่งประทับใจสำหรับที่นี่เลยค่ะ (ที่จริงเค้าน่าจะเทรน และมีแบบประเมินให้นักท่องเที่ยวประเมินการทำงานของไกด์แต่ละคนนะคะ จะได้เอาไปปรับปรุงกันได้น่ะ)

ถ้าคนไหนอยากอินมากยิ่งขึ้น แนะนำให้หานวนิยายของคุณทมยันตี เรื่อง "เวียงกุมกาม" มาอ่านนะคะ จะได้ช่วยเสริมจินตนาการและความอยากไปมากขึ้น (คุณแม่รีเควสท์อยากไปที่นี่เพราะอ่านนิยายเล่มนี้เลยหละค่ะ )








ก็หวังว่ารีวิวนี้คงจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่จะไปเชียงใหม่บ้างนะคะ


















ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาบล็อกเรานะคะ

746866/6008/506


Create Date :26 ตุลาคม 2553 Last Update :26 ตุลาคม 2553 9:16:04 น. Counter : Pageviews. Comments :39