bloggang.com mainmenu search



สวัสดีค่ะ



หลังจากที่รีวิว Airport Rail Link ในส่วนของเอกซ์เพรสไลน์ไปแล้วที่ลิงค์นี้ (คลิกเพื่ออ่าน)









วันนี้จะมารีวิวในส่วนของซิตี้ไลน์บ้างนะคะ



ขอทวนข้อมูลเมื่อคราวที่แล้วสักนิดหนึ่งนะคะ




โครงการ Airport Rail Link เป็นโครงการให้บริการเดินรถไฟฟ้าด้วยความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงค่ะ โดยมีระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร ผ่านทั้งหมด 8 สถานี (แต่จะแวะจอดแต่ละสถานีเฉพาะซิตี้ไลน์นะคะ) คือ สถานีพญาไท (ที่เชื่อมกับ BTS) สถานีราชปรารภ สถานีมักกะสัน (ที่อยู่ใกล้ๆ อโศก และเป็นสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง สามารถทำอินทาวน์เช็คอินได้ (ในอนาคต)) สถานีรามคำแหง สถานีหัวหมาก สถานีบ้านทับช้าง สถานีลาดกระบัง และสถานีสุวรรณภูมิค่ะ


สำหรับรถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (แตกต่างจาก Express Line คือไม่มีคำว่าด่วนค่ะ) จะรับ-ส่งผู้โดยสารตั้งแต่สถานีพญาไท (ถ้าเอกซ์เพรสไลน์จะเริ่มจากมักกะสันเท่านั้นค่ะ) ถึงสถานีสุวรรณภูมิ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที (แต่เราจับเวลาแล้วประมาณ 25 นาทีค่ะ) จอดรายทางทั้ง 8 สถานี รับผู้โดยสารได้ 745 คนต่อขบวนนะคะ



สำหรับรายละเอียดของแต่ละสถานีก็มีดังนี้ค่ะ (เอามาจากโบรชัวร์เช่นเคยนะคะ)


1. สถานีพญาไท อยู่ทางฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส

2. สถานีราชปรารภ อยู่บนถนนราชปรารภตัดกับถนนนิคมมักกะสันใกล้ประตูน้ำ ซึ่งพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับสถานีจะได้รับการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าแห่งใหม่ที่สำคัญในอนาคต

3. สถานีมักกะสัน สามารถทำเช็คอินบัตรโดยสารเครื่องบินได้ที่สถานีนี้ มีบริการให้ตารางข้อมูลการบิน มีที่จอดรถยนต์ 300 คัน และมีจุดบริการรถแท็กซี่

4. สถานีรามคำแหง อยู่ติดถนนรามคำแหง บริเวณสี่แยกคลองตันใกล้กับมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยอัชสัมชัญ สนามกีฬารัชมังคลากีฬาสถานและห้างสรรพสินค้าในรัศมี 2.5 กม.

5. สถานีหัวหมาก อยู่ทางทิศเหนือของถนนศรีนครินทร์และสถานีรถไฟหัวหมาก ใกล้สี่แยกพัฒนาการและทางหลวงพิเศษ กรุงเทพ - ชลบุรี โดยในรัศมี 2 กม. เป็นที่ตั้งของม.เกษมบัณฑิต

6. สถานีบ้านทับช้าง อยู่ทางทิศเหนือของสถานีรถไฟบ้านทับช้างใกล้กับถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกและทางหลวงพิเศษกรุงเทพ-ชลบุรี

7. สถานีลาดกระบัง อยู่ติดกับถนนร่มเกล้า ใกล้กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และอยู่ทางทิศเหนือของสถานีลาดกระบัง และเนื่องจากการรถไฟฯ มีโครงการขยายเส้นทางการเดินรถไฟฟ้าไปจ.ฉะเชิงเทรา สถานีนี้จึงเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายสำหรับการขนส่งมวลชนที่สำคัญในอนาคต

8. สถานีสุวรรณภูมิ ส่วนหนึ่งของสถานีอยู่ใต้อาคารผู้โดยสารภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ






สำหรับค่าโดยสารจนถึงสิ้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 15 บาทตลอดสาย แต่หลังจากนั้นคิดค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุดอยู่ที่ 45 บาทค่ะ






แต่ก่อนจะไปดูเรื่องซิตี้ไลน์ ขอแถมด้วยการบอกเรื่องการเช็คอินตั๋วเครื่องบินการบินไทยผ่านเครื่องอัตโนมัติก่อนนะคะ มาบอกไว้ให้เป็นข้อมูลค่ะ (ไม่น่าจะเกี่ยวอะไรกับการเก็บตังค์กรณีเช็คอินที่เคาน์เตอร์ เหมือนสายการบินแอร์เอเชียที่คาดว่าจะทำเร็วๆ นี้นะคะ)


ตู้ Kiosk นี้สามารถทำการเช็คอินได้เองค่ะ จากนั้นก็สามารถไปโหลดสัมภาระได้ที่เคาน์เตอร์ซี 15 นะคะ

รวมทั้งคนที่ทำอินเตอร์เน็ตเช็คอินมาก่อนด้วยค่ะ





















หน้าจอค่ะ มีให้เลือกสองภาษาคือ ไทยและอังกฤษ (เป็น touch screen ทั้งหมดนะคะ)





















หลังจากเลือกภาษาแล้วก็สามารถเลือกได้ว่าจะเช็คอินตั๋วหรือว่าจะเช็คไมล์สะสม

เนื่องจากวันนั้นไม่ได้บิน ก็เลยคลิกเลือกตรวจสอบไมล์สะสมก่อนค่ะ





















จากนั้นก็เลือกที่พิมพ์หมายเลขรอยัลออร์คิดพลัส





















ระบบก็จะขึ้นรายละเอียดมาให้ตามนี้ค่ะ (แต่บรรทัดล่างสุดซ้ายมือนี่ error หรือเปล่าเนี่ย?)





















แต่ถ้าต้องการทำเรื่องเช็คอิน พอกดเลือก ก็จะมีเมนูให้เลือกดังภาพค่ะ

คือใช้เลขสมาชิกสะสมไมล์ก็ได้ รหัสสำรองที่นั่งก็ได้ หรือรูดด้วยบัตรเครดิตที่จองตั๋วหรือบัตร ROP ค่ะ





















เอาหละค่ะ เข้าเรื่อง ARL ซะทีเนาะ เราก็ดูป้ายไปค่ะ

เท่าที่สังเกต ป้ายของเคาน์เตอร์ด้านโดเมสติกสำหรับการบอกทางไป ARL จะมีเยอะกว่าโซนทางฝั่งอินเตอร์นะคะ





















เราลงลิฟท์ไปค่ะ แต่ปรากฏว่าลิฟท์ตัวนี้หมดแค่ชั้น 1 อ้ะ ก็เลยต้องลงทางเลื่อนไปอีกทีค่ะ























ลงทางเลื่อนไป ก็ปรากฏว่าเดินไปอีกหน่อยหนึ่งก็จะถึงสถานีแล้วค่ะ ใกล้ดีแฮะ





















วันนั้นเครื่องขายยังคงใช้ไม่ได้ค่ะ ก็ต้องไปซื้อกับเคาน์เตอร์เหมือนเดิม

ตอนนั้นราคา 15 บาทต่อขา ตลอดเส้นทางอยู่ค่ะ























เส้นน้ำเงินค่ะสำหรับซิตี้ไลน์ ส่วนสีแดงนั่นเอกซ์เพรสไลน์ ม้วนเดียวจบ





















ตอนนั้นที่เรานั่งสายนี้รอบแรกยังเป็นตั๋วกระดาษหน้าตาแบบนี้อยู่ค่า





















จากป้าย จะเห็นว่า เค้าบอกว่า ธันวาคมนี้จะมีตั๋วหน้าตาแบบนี้ให้ใช้แล้วนะคะ
(เจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ต่อไปตั๋วรถไฟใต้ดินก็จะเอามาใช้ร่วมกันได้ด้วยค่ะ)




















เนื่องจากเป็นตั๋วกระดาษอยู่ ก็เลยต้องมีเจ้าหน้าที่ตรวจตั๋วอยูตรงทางเข้าอยู่นะคะ





















จากนั้นก็ลงบันไดเลื่อนไปที่ชานชาลาค่ะ





















จากป้ายจะเห็นว่า ขึ้นได้ทั้งสองชานชาลาซ้าย-ขวานะคะ





















ดูจากป้าย ปรากฏว่า รถจะมาในอีก 3 นาทีค่ะ แล้วก็รออยู่ที่ชานชาลา 2 นะคะ























ภายในรถค่ะ ที่นั่งจะเหมือนรถไฟฟ้าทั่วไป คือหันหน้าเข้าหากันนะคะ





















แล้วก็ป้ายไฟ ซึ่งคงเอาไว้บอกสถานีค่ะ น้องบอกว่าตอนแรกๆ มีตัววิ่งอยู่ แต่ไปๆ หายไปเลยซะงั้น




















นั่งไปราวๆ ยี่สิบกว่านาทีก็ถึงสถานีราชปรารภค่ะ เป็นสถานีรองสุดท้ายปลายทางค่ะ

เราลงที่สถานีนี้หละค่ะ เพราะคิดว่าน่าจะใกล้บ้านที่สุด แฮ่





















หลังจากเราลงก็ปรากฏว่าที่จอบอกว่าอีกสิบวินาทีจะเป็นขบวนต่อไปหละค่ะ





















เห็นคนส่วนใหญ่ไปลงลิฟท์กัน เพราะบันไดเลื่อนก็มีแต่เลื่อนขึ้นอะค่ะ

ก็เลยต้องเดินลง (ซึ่งวันนี้ไม่มีสัมภาระ แต่อีกวันที่มีสัมภาระนี่ แทบตายค่ะ )























วิวของฝั่งที่เราลงมาค่ะ รู้สึกว่าจะเป็นด้านพาต้าอินทรา (เก่า) นะคะ





















จากนั้นเราก็เดินไปที่ทางออก แล้วก็ดูป้ายไปเรื่อยๆ ค่ะ
(จำได้เลาๆ ว่า เหมือนไม่มีป้ายบอกว่าเป็นทางออกที่เท่าไหร่ในทุกทางออกนะคะ
ซึ่งเราว่าอันที่จริงควรจะมีหนะ ไม่งั้นงงพอควรเลยค่ะ น่าจะบอกเพิ่มว่าทางออกไหนจะไปโผล่ตรงไหนด้วย)























มีทางออกที่ลงไปแล้วเดินเลาะทางรถไฟแบบนี้ด้วยค่ะ แต่เราไม่ได้ลงทางนี้นะคะ





















แล้วก็ไปเจอทางออก 1 และ 2 ตามป้ายนี่ เอ่อ..ตกลงว่า ทางนี้มันทางออก 1 หรือ 2 คะ





















ก็เลยเดินมั่วๆ ไป มาโผล่ตรงนี้ค่ะ เป็นถนนราชปรารภ ฝั่งเดียวกับพาต้าอินทราหละค่ะ

แต่จะอยู่ข้ามมาทางถนนพญาไทแล้ว





















เอาหละค่ะ ตัดฉับไปที่ตอนที่ใช้บริการเดือนธันวาคมแล้วบ้างนะคะ

วันนั้นเราบินกลับมาถึงสนามบินแล้วก็ลองใช้บริการอีกทีหนึ่งค่ะ

ไปลงตรงใกล้ๆ กับประตูสี่ (ของชั้นหนึ่ง - ผู้โดยสารขาเข้า) นะคะ





















จากนั้นก็มีบันไดเลื่อนให้ลงไปอีกต่อหนึ่งค่ะ





















ลงไปปุ๊บก็เจอทางเข้าสถานีใกล้ๆ ทางขวามือเลยหละค่ะ





















อ๊ะ..วันนั้นเห็นว่าเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติทำงานแล้ว เลยได้ลองค่ะ





















ที่ขายตั๋วอัตโนมัตินะคะ หน้าจอเป็นระบบสัมผัสค่ะ รับได้ทั้งแบงค์และเหรียญนะคะ

แบงก์จะเป็นช่องด้านล่างค่ะ ส่วนเหรียญจะเป็นช่องบนด้านขวามือนะคะ





















ก็กดเลือกสถานีไปค่ะ





















จากนั้นก็เลือกได้ค่ะว่าจะซื้อตั๋วให้สำหรับกี่คน สูงสุดซื้อได้ที่ 5 คนนะคะ
(ตอนนั้นราคายังคง 15 บาทต่อเที่ยวตลอดเส้นทางค่ะ ยังไม่ปรับเป็น 15-45 บาทตามระยะทาง)





















เสร็จเรียบร้อยแล้วก็มีคำบอกว่าไม่มีใบเสร็จนะ จะทำรายการต่อหรือเปล่าด้วยค่ะ





















หน้าตาตั๋วนะคะ เหมือนรถไฟใต้ดินเลยหละค่ะ























แล้วก็เพิ่งสังเกตเห็นในคราวนี้ว่า ตรงใกล้ๆ ประตูมีที่วางกระเป๋าด้วยหละค่ะ

ตอนคราวที่แล้วไม่ยักเห็นแฮะ ไม่แน่ใจว่ามีทุกขบวนหรือเปล่านะคะ





















แล้วข้าพเจ้าก็เพิ่งค้นพบในครั้งนี้แหละค่ะ (แม้ว่าจะลงลิฟท์มาแล้ว) ว่ากระเป๋าล้อลากไม่เหมาะที่จะมาลงสถานีอื่นที่ไม่มีลิฟท์หรือทางเลื่อนถึงถนนข้างล่างนะคะ เพราะต้องหอบหิ้วกระเป๋าหนักมาก ถ้าเป็นเป้คงยังพอไหวอะค่ะ เรางี้แบกตัวเอียงลงบันไดไปเลยค่ะ





















นอกนั้นก็ขอเพิ่มเติมข้อมูลอีกหน่อยจากการเดินทางจากสถานีพญาไทไปลงลาดกระบังนะคะ


เนื่องด้วยพอลงลาดกระบังแล้ว ปรากฏว่า มันไม่มีจุดรอแท็กซี่เป็นหลักแหล่งค่ะเพราะงั้น...จึงเกิดเหตุการณ์ที่ว่า รอคิวๆ กันอยู่ คนที่เพิ่งลงมา ก็เดินไปดักหน้าแท็กซี่ แซงคิวไปซะงั้น ซึ่งเราขอเสนอแนะว่า ควรเซ็ตจุดรอแท็กซี่ให้เป็นหลักเป็นการนะคะ เพราะจะได้เป็นการอำนวยความสะดวกด้วย (ตรงสถานลาดกระับัง ถ้าไม่นั่งแท็กซี่ก็ต้องนั่งสองแถวออกมาค่ะ เพราะไม่มีรถประจำทางถึงอ้ะ) แล้วก็ควรมีที่รอคิวให้คนรอคิวได้อย่างถูกต้อง จะได้ไม่หงุดหงิดใจกันด้วยค่ะ


















ก็หวังว่าคงพอจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จะเดินทางด้วย ARL กันบ้างนะคะ



















ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาที่บล็อกเราค่ะ


813491+10287=823778/6216/552


Create Date :12 มกราคม 2554 Last Update :12 มกราคม 2554 8:21:58 น. Counter : Pageviews. Comments :64