bloggang.com mainmenu search



สวัสดีค่ะ



เอนทรี่ล่าสุด
รีวิว Lin-fa ห้องอาหารหลินฟา - ติ่มซำอร่อยที่สุดในกรุงเทพฯ ของเราค่ะ





วันนี้ก็ได้ฤกษ์มารีวิวหนังสือกันอีกเล่มนะคะ กับหนังสือเล่มนี้นี่เอง



หยดน้ำหวานในหยาดน้ำตา

เขียนโดย อุรุดา โควินท์
สำนักพิมพ์ มติชน
ราคาปก 370 บาท
จำนวนหน้า 408 หน้า





เรื่องย่อ

 
เรื่องราวที่อุรุดาเขียนถึงเรื่องราวของตนเองและคนรัก/นักเขียนผู้ล่วงลับไปแล้ว กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ นับตั้งแต่วันที่เจอกัน ใช้ชีวิตด้วยกัน จวบจนวันที่เขาจากไป



 
ความรู้สึกที่ได้อ่าน

 
อ่านด้วยความรู้สึกหลากหลายมาก ยอมรับว่าตอนได้ข่าวนักเขียนท่านนี้เสียชีวิต ก็ตกใจ แต่ไม่ได้มีความอาลัยหรือเสียใจ เพราะไม่ได้จัดว่าเป็นนักเขียนคนโปรด ที่เรารัก ศรัทธาและติดตามผลงาน แต่พอได้มาอ่านหนังสือเล่มนี้ ก็เหมือนได้รู้จักเขามากขึ้นในหลายๆ แง่ แต่แน่หละว่าเป็นการรู้จักผ่านสายตาของคุณอุรุดา
 
ซึ่งนั่น...มันอาจจะไม่ใช่ความจริงแท้ทั้งหมด แต่เป็นความจริงผ่านการบอกเล่าของคนรักและผู้หญิงคนหนึ่ง (กระทั่งเจ้าตัวเองก็บอกทางสนพ.ว่าให้โปรโมทหนังสือเล่มนี้ในฐานะ "นวนิยาย" ไม่ใช่ "อัตชีวประวัติ" หรือ "บันทึกรัก")




 
ยอมรับว่าพฤติกรรมหลายๆ อย่างของนักเขียนท่านนี้ (กนกพงศ์) ในนิยายเรื่องนี้ ทำให้เราหงุดหงิดมาก และต้องถึงกับถามว่า “เห้ย นี่รักอยู่ได้ไงฟระ” แต่พอถามตัวเองก็ได้คำตอบว่า เออ บางทีความรักมันก็ร้ายกาจแบบนี้แหละ หากเอาเหตุเอาผลไปจับ มันเป็นเรื่องงี่เง่า โง่และไร้สติมาก แต่บางความรู้สึกมันเอาเหตุผลไปจับไม่ได้จริงๆ

นี่ (แอบ) ด่านักเขียน (กนกพงศ์) ไป (ที่ร้ายต่อคนรักได้ขนาดนี้) ด่าคนเขียนไป (ที่ยังทนอยู่ได้ทั้งที่เขาเป็นคนรักที่แย่ขนาดนี้) แต่พอย้อนมาคิดถึงหลายๆ เรื่องราว ทั้งเรื่องของตัวเองและคนอื่น ก็ให้พบว่า เวลาเรามองจากสายตาคนนอกนะ เราเห็นสิ่งที่ควรเป็นทั้งนั้นแหละ แต่เวลาที่เรากลายเป็นคนๆ นั้นซะเอง เราก็ไม่สามารถทำในสิ่งที่ "ควรทำ" ได้เสมอไปหรอก เช่น รู้ว่าเลวนะ แต่เลิกมั้ย ก็ไม่เลิก เป็นต้น 555




 
แต่ขณะเดียวกัน เราก็รู้สึกว่า คุณพู (คนเขียน) เองก็เขียนแบบมีเกราะป้องกันตัวเองบางอย่าง ที่พยายามจะเขียนไม่ให้ตัวเองดูแย่เกินไป (ถึงจะบอกอยู่ครั้งสองครั้งว่าตัวเองไม่ใช่ผู้หญิงดีก็เถอะ) ก็เลยมีความรู้สึกว่า อืมม์ เธอน่าจะถูกมองไม่ดีหลายอย่างเหมือนกันล่ะมั้ง (แต่บางพฤติกรรมมันก็สมควรแล้วหละที่จะถูกมองอย่างนั้นอะนะ...อันนี้ไม่ได้เหยียด พูดกันตามหลักความจริงที่เกิดขึ้นว่าพฤติกรรมไหนที่ "สามารถถูกมองว่าไม่ดี" น่ะค่ะ)


นิยายเล่มนี้ทำให้มีความคิดอะไรหลายๆ อย่าง และได้รู้จัก/รู้ข้อมูลเพิ่มขึ้นในหลายๆ มุม เช่น สไตล์การใช้ชีวิตของคนทั้งคู่ ความต้องการที่จะทุ่มเทต่องานเขียนทั้งชีวิตและวิญญาณของนักเขียนอย่างกนกพงศ์ การพยายามที่จะเป็นนักเขียนที่ดีของอุรุดา แวดวงของกลุ่มนักเขียนบางกลุ่ม ฯลฯ ซึ่งมันก็เหมือนทำให้เราได้ไปรู้ไปเห็นบางสิ่งบางอย่างที่ถ้าเราไม่ได้อยู่ตรงนั้น และไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ก็คงไม่รู้เรื่องราวเหล่านี้น่ะนะคะ


ซึ่งมารู้ว่า หนังสือเล่มนี้ทำให้กลุ่มนักเขียนที่ถูกพูดถึงในหนังสือ ไม่พอใจคุณอุรุดานี่ (ออกแนวว่าคุณอุรุดาเขียนให้พวกเขาดูเป็นตัวร้าย) นี่...เราค่อนข้างแปลกใจนะ เพราะตอนเราอ่าน เราไม่ยักรู้สึกว่าพวกเขาเป็นตัวร้ายอ้ะ อืมม์...ก็แปลกดีค่ะ ถ้าเขาจะไม่พอใจเพราะเหตุนี้อะนะ แต่...ถ้าเป็นเหตุที่ว่า คุณอุรุดาเขียนโดยไม่ตรงกับความเป็นจริง ก็อยากจะให้คิดอะนะคะว่า ความจริงบางครั้งมันถูกมองได้จากต่างมุมน่ะ อย่างที่ใครอาจจะเคยผ่านการเวิร์คช็อปเรื่อง "ความจริงในมุมของเรา" / "ความจริงในมุมของคนอื่น" / "ความจริงที่เป็นความจริงแท้" น่ะนะคะ




อ้อๆ แต่ที่เราออกจะผิดคาด (จนเรียกได้ว่า เกือบผิดหวัง) นิดๆ ก็คือ เรื่องราวตอนเสียชีวิตของคุณกนกพงศ์ ที่ค่อนข้างจะไม่เคลียร์และคลุมเครือพอสมควรค่ะว่าสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริงคืออะไร แต่ก็อาจจะเป็นได้ว่าทางคุณพูเองก็คงไม่อยากพูดถึงมันมาก หรืออยากเก็บไว้เป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่ได้อยาก "เคลียร์" อะไรให้ชัดเจนมากขนาดนั้นน่ะนะคะ


อีกเรื่องก็คือ...หนังสือเล่มนี้บทอิโรติกพอควรค่ะ แต่ไม่ได้ชัดเจนจะแจ้งเหมือนนิยายที่นักเขียนไทยบางท่านถนัดถนี่ในการเขียนงานออกมาหลายเล่มแล้วนักหรอกนะคะ 5555 แต่ก็ถือว่ามีพอควรจนทำให้คนที่ไม่ได้คาดคิดว่าจะมีบทแบบนี้ในนิยายแนวนี้เซอร์ไพรซ์พอควรเลย แฮร่...




 
สรุปแล้วก็เป็นนิยายที่อ่านแล้วให้ความรู้สึกหลากหลายมาก แบบขมอมหวานประมาณนั้นแหละ สมกับชื่อนิยายเป็นอย่างมากค่ะ


 


ปฏิทินธรรม
 
 
 
 
 
วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2562
 
1. ทำบุญตักบาตร ณ วัดพุทธบูชา (กิจกรรมจัดทุกวันเสาร์แรกของเดือน)
 
 
 
 
วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2562 (ปกติกิจกรรมจัดทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน แต่เดือนมกราคม จะจัดวันปีใหม่)

1.ทำบุญกับพระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ณ มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ถ.จรัญสนิทวงศ์ซอย 37
เวลา 06.30-10.30 น. 

ดูรายละเอียดพระที่มารับบาตรและแผนที่ได้ที่
https://www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=3447
 
 
 
2. งานไถ่ชีวิตโคกระบือ ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพฯhttps://web.facebook.com/bogboon/photos/a.614964165213890.1073741836.335629013147408/540852169291757/
 
 
 
 
 
 
วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2562
 
1. ตักบาตรพระกรรมฐาน 
ณ ปราสาทจตุรมุข วัดสังฆทาน นนทบุรี (กิจกรรมทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน)
 
 
 
วันอาทิตย์ที่ 8 และ 22 กันยายน 2562 (กิจกรรมจัดทุกๆ วันอาทิตย์ที่ ๒ และ ๔ ของเดือน)

1. ทำบุญ ฟังธรรม จากครูบาอาจารย์พระป่าสายกัมมฐาน ณ ศาลาลุงชิน แจ้งวัฒนะ 14
กิจกรรมจะเริ่มจากการถวายภัตตาหารร่วมกันเวลา ๘:oo น. สำหรับท่านที่สนใจนำอาหารมาร่วมทำบุญ แนะนำให้มาก่อนเวลาเพื่อจัดเตรียมอาหารใส่ภาชนะ ซึ่งจะเริ่มลำเลียงถาดอาหารเพื่อเตรียมประเคนเวลาประมาณ ๗:๔๕ น.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
https://www.facebook.com/SalaLungChin?fref=ts


วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2562

1. ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งพระป่า 9 วัด เสาร์ที่ 3 ของทุกเดือน
ณ บ้านลานเสียงธรรม 
เลขที่ 7/44 หมู่4 ซอยนาคนิวาส 40 แขวงเขตลาดพร้าว กทม

 
 
 
วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2562 (จัดทุกอาทิตย์ที่สามของเดือน)
 
1. ตักบาตร พระกัมมัฏฐาน และ ฟังพระธรรมเทศนา เวลา 7.00 น.
ณ ชมรมกลุ่มพุทธธรรมลานทอง หมู่บ้านลานทอง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
ดูรายละเอียดได้ที่ลิงก์นี้
 
 
 
วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2562 
 
1. ทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารโดยพระเถระวัดป่ากรรมฐาน (กิจกรรมทุกเสาร์ที่ 4 ของเดือน)
 
เมตตารับบาตรโดย
เวลา ๐๗.๐๐-๑๐.๐๐ น. ณ ศาลาปันมี มูลนิธิบ้านอารีย์
 
 
 


วันเสาร์และอาทิตย์ที่ 28-29 กันยายน 2562 (ทุกเสาร์และอาทิตย์สุดท้ายของเดือน)
 
1. งานบุญประจำเดือน (ทุกเสาร์และอาทิตย์สุดท้ายของเดือน) ทำบุญบำรุงรักษาสวนแสงธรรม และถวายปัจจัย





 
 
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ

1469696+7345285=8814981/
14255/1869


 
 
 
ประกาศ

ท่านใดประสงค์จะโหวต โหวตได้นะคะ แต่เจ้าของบล็อกนี้จะไม่ได้โหวตกลับให้ทุกคนที่โหวตค่ะ จะโหวตเฉพาะบล็อกที่เราอยากโหวตให้เท่านั้นนะคะ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและพิจารณาเองว่าจะโหวตให้บล็อกนี้หรือไม่ค่ะ
Create Date :13 กันยายน 2562 Last Update :13 กันยายน 2562 8:28:01 น. Counter : 3460 Pageviews. Comments :12