bloggang.com mainmenu search




สวัสดีค่ะ





หลังจากพาไปเที่ยววัดมาแล้วสองที่ได้แก่


1. วัดสุวรรณดาราราม (คลิกเพื่ออ่าน)

2. วัดมหาธาตุ (คลิกเพื่ออ่าน)





วันนี้เราจะพาไปอีกวัดหนึ่งนั่นก็คือ วัดธรรมิกราชนั่นเองงงงงงง

ตามประัวัติ ผู้สร้างวัดนี้คือพระเจ้าธรรมิกราช ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง (ที่มีตำนานว่าเป็นผู้สร้างวัดพนัญเชิงน่ะค่ะ)


วัดนี้จะอยู่ทางด้านเหนือของเกาะเมืองอยุธยา ตามแผนที่ที่วงไว้เลยนะคะ




















สำหรับที่วัดนี้ จุดเด่นประการหนึ่งคือ เศียรพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ค่ะ เดิมอยู่ในวิหารหลวงแล้วชาวบ้านก็มีความเชื่อว่าท่านมีความศักดิ์สิทธิ์มาก คือถ้าใครเป็นคดีความกันมาสาบานต่อหน้า คนผิดต้องตายหรือมีอันเป็นไปทุกคนเลยค่ะ

แต่ต่อมาสมัยที่พระยาโบราณราชธานินทร์ เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ในพระราชวังจันทรเกษมขึ้นก็ได้นำเศียรพระพุทธรูปนี้ไป ต่อมากรมศิลปากรจึงนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา ความศักดิ์สิทธิ์จึงคลายไปค่ะ



















มาอ่านประวัติของวัด+เศียรพระเพิ่มกันจากป้ายหน่อยนะคะ ฮี่ๆ





















อันนี้เป็นแผนผังของวัดค่า ทำเอง อาจจะมีตกหล่นไปบ้างอะนะคะ แหะๆ





















เอาป้ายที่บอกว่าจุดสำคัญๆ ของวัดนี้มีที่ไหนบ้างมาฝากด้วยค่ะ





















จากเศียรพระพุทธรูป เดินเข้าไป ทางซ้ายมือจะเป็นวิหารพระนอนค่ะ

มีป้ายบอกว่า พระมเหสีสร้างหลังจากที่พระราชธิดาหายจากประชวรนะคะ


สำหรับพระวิหารพระพุทธไสยยาสน์ (พระนอน) นั้น พระราชมเหสีของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงมีพระราชธิดาประชวร ทรงอธิษฐานไว้เมื่อพระราชธิดาหายแล้วจึงสร้างพระวิหารถวายค่ะ

























แต่เรายังไม่เข้าไปในวิหารพระนอนค่ะ เดินไปด้านในก่อน (ให้วิหารอยู่ซ้ายมือ)

ก็จะเจอเจดีย์สิงห์ล้อมทางซ้ายมือแบบนี้ค่ะ

อ่านประวัติกันนิดหนึ่งเนาะคะ


เจดีย์สิงห์ล้อม ๕๒ ตัวที่แตกต่างไปจากเจดีย์ทั่วไป นับเป็นพระเจดีย์สิงห์แห่งเดียวในพระนครศรีอยุธยา ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา ในสมัยต่อมาพระมหากษัตริย์ได้ทรงบูรณะมาโดยตลอด โดยสังเกตจากร่องรอยการซ่อม และพื้นที่ของวัดที่อยู่ทางทิศตะวันออกของพระนครฯ ตามคติโบราณถือว่าเป็นทิศมงคล























ส่วนทางขวามือจะเป็นวิหารหลวงค่ะ


ในสมัยสมเด็จพระไตรโลกนาถทรงธรรม (พ.ศ. ๒๑๕๓) ทรงบูรณะวัด และสร้างพระวิหารหลวงหลังนี้ เพื่อฟังธรรมในวันธรรมสวนะ (วันพระ)























เดินต่อเข้าไปข้างในอีกถึงจะเจออุโบสถแบบนี้ค่ะ




















ทางเดินเข้าอุโบสถ ร่มรื่นดีเนาะคะ




















แต่..แหงะ อุโบสถปิดซ่อมค่ะ




















เลยได้แต่ถ่ายใบเสมารอบอุโบสถมาฝากค่ะ























เพื่อความชัดเจนและไม่เพี้ยน ดูผังจากป้ายทางวัดอีกทีนะคะ 555






















หลังจากผิดหวังจากอุโบสถ (ที่ปิดซ่อม) แล้ว ไปวิหารพระนอนกันดีกว่าค่ะ

เข้าไปปุ๊บจะเจอพระบาทก่อนเลย




















ที่นี่มีน้ำมนตร์สองโอ่งนะคะ มีชื่อต่างกันด้วยค่ะ
(แต่ปกติเราจะเอาน้ำมนตร์ในอุโบสถอะค่ะ แหะๆ)

แต่น้ำมนต์ที่นี่ขึ้นชื่อนะคะ

น้ำมนต์ในพระวิหารนี้ว่ากันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากมีประชาชนมานำไปใช้เป็นจำนวนมากเลยค่ะ






















พระพักตร์ของพระนอนค่ะ น่าจะอยู่ระหว่างการบูรณะกระมังคะ










นอกจากนั้นวัดนี้ก็มีเรื่องราวที่เกี่ยวพันในประวัติศาสตร์อีกดังนี้นะคะ



1. พระราชพงศาวดารมีบอกว่าเมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เจ้าสามกรมต่างรวบรวมผู้คนเพื่อจะชิงราชสมบัติ พระธรรมโคดมวัดธรรมิกราช และพระราชาคณะวัดกุฏีดาว วัดพุทไธสวรรย์ วัดรามรามาวาส ไปเทศน์โปรดให้เจ้าทั้งสามกรมให้สามัคคีกันและให้กระทำสัตย์สาบานค่ะ

2. ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอุทุมพรทรงผนวชที่วัดนี้พร้อมด้วยมหาดเล็กชื่อนายหง โดยตั้งพระทัยว่าถ้าบ้านเมืองเกิดศึกจะออกไปช่วยรบ ต่อมาเมื่อทัพข้าศึกยกมาถึงตำบลภูเขาทอง นายหงลาสิกขาก่อนออกรบและแตกพ่ายไปเข้ากับพระยาตาก (สิน) เมื่อกู้อิสรภาพแล้วต่อมาได้รับพระราชทานเป็นพระยาเพชรพิชัยจนต่อสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ บุตรของพระยาเพชรพิชัยที่รับราชการต่อมาก็เป็นพระยาเพชรพิชัยสืบมา

จนสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๕) ภริยาพระยาเพชรพิชัยตามเสด็จมาที่วัดเกิดศรัทธาจึงบูรณะวัดขึ้น ในสมัยที่พระครูธรรมิกาจารคุณ (ฟัก) เป็นเจ้าอาวาส โดยบูรณะพระอุโบสถและพระวิหารใหม่และจะขอพระราชทานเป็นพระอารามหลวง แต่ยังไม่เสร็จเรียบร้อยดีทรงสวรรคตก่อน มีสถานที่ตั้งเครื่องรับเสด็จและบ่อน้ำโบราณศักดิ์สิทธิ์ของวัด ประมาณปี๒๔๘๔ พระอุโบสถเดิมพระประธานเป็นศิลปสมัยรัตนโกสินทร์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิด ทอง ผนังด้านตะวันออกเขียนเป็นภาพพุทธประวัติโดยนายช่างแข ก่อนจะทรุดตัวลง หลังคาได้ทรุดลงมาก่อนทางวัดได้มุงสังกระสีไว้ ยังไม่ทันบูรณะผนังพระอุโบสถก็ทรุดพังลง ทางวัดเตรียมการจะบูรณะ แต่ทางกรมศิลปากรได้เข้ามาซ่อมแทน เดิมเขตกฎีสงฆ์ที่เป็นเขตสังฆาวาสนั้นอยู่หลังพระอุโบสถติดกับศาลพระเจ้าธรรมิกราช สมัยที่นายปรีดี พนมยงค์สร้างวัดพนมยงค์นั้น เริ่มทำการบูรณะพระวิหารมงคลบพิตรแล้วจะนำช่างชุดเดียวกันมาบูรณะวัดธรรมิกราชต่อ แต่มีเหตุการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้น ต่อมาสมัยจอมพลแปลกพิบูลสงคราม เป็นนายก ฯ ได้มาสร้างกำแพงวัดปูพื้นพระวิหารพระนอนและกุฏิสงฆ์ ยังไม่แล้วเสร็จก็เกิดเหตุทางการเมืองขึ้นอีกจนกรมศิลปากรเข้ามาดำเนินการต่อ






















สรุปแล้วสำหรับวัดนี้ ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่คนไทยไม่ค่อยได้ไปกันเท่าไหร่หรอกค่ะ แต่มีชื่อเสียงมากเรื่องน้ำมนตร์ (สมัยก่อนนี่ถ้ายังมีเศียรพระองค์จริงอยู่ ก็จะเรื่องมาสาบานกันอีกเรื่องค่ะ) แต่สำหรับเรา เราว่าเป็นวัดหนึ่งที่น่าสนใจค่ะ ถ้าท่านใดมีโอกาสก็ลองไปไหว้พระที่วัดนี้ดูนะคะ









เอนทรี่หน้า จะพาไปวัดเดียวในอยุธยาที่ไม่ได้ถูกเผาไปตอนเสียกรุงฯ นะคะ


















ปฏิทินธรรม







วันจันทร์ (ทุกวันจันทร์)

เรียนอภิธรรมเบื้องต้น บรรยายโดยพระครูสมุห์ทวี เกตุธมฺโม
ณ บ้านอารีย์ เวลา ๑๗.๓๐-๑๙.๓๐ น.

เว็บไซต์บ้านอารีย์
//www.baanaree.net






วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2554

1. ฟังธรรมเทศนา "รู้ใจ ไกลทุกข์" จากพระพระมหาทวีป กตปุญโญ
ณ อาคารอัมรินทร์พลาซ่า (ทาวเวอร์) ชั้น 22 (ลงบีทีเอสชิดลม ประตู 6)






วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2554

1. ฟังพระธรรมร่วมฟังการแสดงธรรมโดย พระครูสังฆกิจพิมล (พระอาจารย์สุรศักดิ์ สุรญาโณ) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ. นนทบุรี
ณ ศาลาปันมี บ้านอารีย์
เวลา 18.00-20.00 น.

เว็บไซต์บ้านอารีย์
//www.baanaree.net






วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2554

1. ฟังพระธรรมร่วมฟังการแสดงธรรมโดยพระครูอุดมธรรมสุนทร (หลวงปู่แปลง สุนทโร) วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
เวลา 18.00 - 20.00 น. ณ อาคารเล้าเป้งง้วน 1 (LPN)
ชั้น 26 ถ.วิภาวดีรังสิต




สำรองที่นั่งได้ที่คุณสุชญา​ 086-556-5599 หรือทาง Facebook ชมรมธรรมปรีดา






วันพุธที่ 10 สิงหาคม 2554

1. ม.ธรรมศาสตร์เชิญฟังธรรมจากพระครูเกษมธรรมทัต (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)
ณ มูลนิธิเผยแผ่สัทธรรม ถ.บรมราชชนนีซอย 13 (ตรงข้ามเมเจอร์ปิ่นเกล้า)

อ่านรายละเอียดได้จากกระทู้นี้ค่ะ
//www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10860594/Y10860594.html

































ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาบล็อกเราค่ะ

925385+53617+17431+5188+10390/6635/609


Create Date :01 สิงหาคม 2554 Last Update :1 สิงหาคม 2554 8:20:21 น. Counter : Pageviews. Comments :49