bloggang.com mainmenu search




สวัสดีค่ะ




หลังจากพาไปหม่ำอาหารเช้าและทำสิ่งที่เป็นกุศลรับปีใหม่ด้วยการไหว้พระ 9 วัดไปแล้ว ๒ วัดดังนี้



หลังจากรีวิวร้านอาหารร้านแรกของทริปปีใหม่ 2554 ไปแล้วคือ ไก่ถังวังทอง พิษณุโลก (คลิกเพื่ออ่าน)

ตามด้วย ข้าวมันไก่เกียรติโอชา + ร้านหวานละมุน (คลิกเพื่ออ่าน)

รีวิวทริปไหว้พระ 9 วัด วัดแรก ณ วัดลอยเคราะห์ (คลิกเพื่ออ่าน)

วัดที่สอง วัดหมื่นล้าน (คลิกเพื่ออ่าน)

และวัดที่สาม วัดดวงดี (คลิกเพื่ออ่าน)










วันนี้ก็จะพาไปไหว้พระวัดที่ ๔ ของทริปนี้แล้วนะคะ นั่นก็คือ วัดชัยพระเกียรตินั่นเอง


สำหรับประวัติของวัดที่เซิร์ชหามาได้มีดังนี้นะคะ
(เครดิตจาก //www.chiangmai-thailand.net/temple/chaiphakiat/chaiphakiat.html)



วัดชัยพระเกียรติ เดิมชื่อ วัดชัยผาเกียรติ เป็นพระอารามของนครเชียงใหม่มาแต่โบราณกาล ในรัชสมัยของพระเจ้าเมกุฏิ วิสุทธิวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ส่วนการสร้างวัดและพระประธานในวิหาร พระมหาเทวีจิระประภา ทรงสร้างเพื่อเป็นอนุสาวรีย์ถวายแด่ สมเด็จพระชัยราชาธิราชกษัตริย์ในวงค์สุวรรณภูมิ ซึ่งปกครองกรุงศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ. ๒๐๘๑ ถึง พ.ศ. ๒๐๘๘ น้ำหนักที่หล่อพระพุทธรูปองค์นี้ มีอยู่ ๕ ตื้อ ตื้อ ๑ เท่ากับ ๑๐ โกฏิ น้ำหนักทอง ๕ ตื้อ เท่ากับ ๕๐ โกฏิ จึงเรียกพระนามว่า "พระเจ้า ๕ ตื้อ" ตามหลักฐานจารึกที่ฐานพระว่าสร้างเมื่อจุลศักราช ๙๒๐ ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๐๑



วัดชัยผาเกียรติ ต่อมาเรียกว่าวัดชัยพระเกียรติ จนถึงปัจจุบัน อักษร พม่าจารึกไว้ว่า ศักราช ๙๒๗ ขึ้น ๑๓ ค่ำ วันพุธตอนบ่ายอังคารและศุกร์อยู่ในฤกษ์ที่ ๔ ดิถี ๑๑


เจ้าไชยยะสรัพศาจาผัน ณ มหานครเชียงใหม่ ผู้เป็นข้าหลวงในเจ้าช้างเผือก เจ้าหอคำมหาธรรมราชาเจ้าชีวิต มีความประสงค์ให้มีสิ่งสักการะบูชาสำหรับคนและเทวดาและพรหม ตลอด ๕๐๐๐ พรรษาของพระศาสนา วันศักดิ์สิทธิ์จึงรวบรวมเอาบรรดาพระพุทธรูปแตกหัก นำมาหล่อเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ชื่อว่าพระพุทธรูปเมืองราย หรือพระพุทธรูปห้าตื้อ ผู้ใดสักการบูชากราบไหว้ จะคุ้มครองรักษาให้มีชัยชนะในการทั้งปวงแลฯ

(ป.ล.จากจขบ. จะเห็นว่า ประวัติการสร้างพระเจ้า ๕ ตื้อ ในตอนแรก กับในย่อหน้านี้ต่างกันนะคะ ย่อหน้าแรกบอกว่า มหาเทวีจิระประภาเป็นคนสร้างค่ะ ซึ่งก็งงๆ อยู่ว่าใครสร้างกันแน่น่อ)



พระครูกิตติชัยโมรี เรียบเรียงจากหนังสือประวัติวัดชัยพระเกียรติ













เข้าไปปุ๊บก็จะเจอวิหารพร้อมเจดีย์ตามภาพอย่างนี้เลยค่ะ





















หันหน้าเข้าวิหาร ทางขวามือก็จะเจอรั้วรอบขอบชิดแบบนี้ค่ะ

ถ้าจำไม่ผิดเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถนะคะ ห้องน้ำก็เดินไปข้างๆ นี้ตามป้ายเลยค่ะ





















มีป้ายบอกประวัติของวัดที่ทางขึ้นวิหารด้วยค่ะ





















ประตูเข้าวิหารค่ะ งามอีกแล้วเนาะ ชอบจัง





















เข้าไปภายในค่ะ จะเห็นว่าเฉพาะเสาคู่หน้าพระประธานนะคะที่มีลายปิดทองแล้ว

เสาอื่นนี่ไม่ปิด หรือว่ารอปิดทองอยู่ก็ไม่แน่ใจนักนะคะ แหะๆ





















พระประธานของวัดนี้ค่ะ ปากออกแดงๆ เหมือนศิลปะพม่านะคะนี่





นอกจากนั้นก็มีข้อมูลเพิ่มเติมอีกดังนี้นะคะ (เครดิตจาก //imagevn.multiply.com/photos/album/159/159)

ที่ฐานของพระพุทธรูปด้านหน้า เป็นอักษรพม่าส่วนด้านหลังของพระพุทธรูป เป็นอักษรพื้นเมืองเชียงใหม่ แสดงให้เห็นสมัยนั้นพม่ามีอิทธิพลควบคุมล้านนามาก ในสมัยพระเมกุฏิล้านนาเกิดการระส่ำระสายเป็นอย่างมาก ได้รับการกดขี่จากพม่า ราษฏรได้รับความเดือดร้อนถูกสั่งเกณฑ์แรงงานเก็บภาษีมากจนทำให้เกิดความเดือดร้อน

เมื่อล้านนาตกเป็นของพม่า พม่าเริ่มมีอิทธิพลทางด้านต่างๆ มากมายเช่น ประเพณีต่างๆ แต่กษัตริย์พม่ามีความเลื่อมใสทางพุทธศาสนา จะเห็นได้ว่าทรงโปรดให้มีการอุปสมบทกุลบุตร อาราธนาพระภิกษุสงฆ์ทั้งคณะวัดป่าแดงและคณะวัดสวนดอกไม้ไปแสดงธรรมถวายด้วย พม่าพยายามปฏิบัติตามจารีตประเพณีดังปรากฎในหลักศิลาจารึกวัดเชียงมั่น จีงมีผลทำให้วัฒนธรรมประเพณีได้รับการผสมกลมกลืนกับประเพณีและวัฒนธรรมของพม่า

ต่อมาพ่อค้าชาวพม่าที่เดินทางเข้ามาค้าขายในเชียงใหม่ก็มักจะมาบูรณะปฏิสังขรณ์หรือสร้างวัดวาอารามให้เป็นศิลปะแบบพม่า โดยช่างฝีมือพม่า ทำให้รูปแบบของสถาปัตยกรรมมีลักษณะแบบพม่า ในสมัยต่อมาเมื่อมีการสร้างวัดก็ยัังคงสร้างให้มีรูปแบบพม่าทำให้เกิดความ เข้าใจผิดอยู่เสมอว่าเป็นศิลปะพื้นเมือง จิตรกรรมฝาผนังตามวัดในเชียงใหม่ก็เขียนยอดประสาท เป็นยอดปราสาทแบบพม่าซึ่งก็เป็นอิทธิพลที่พบในพุทธศาสนา ชาวพม่าก็ยังนับถือผีสางเทวดาควบคู่กันไปด้วยจนเกิดประเพณีว่าเมื่อสร้างวัด หรือปฏิสังขรณ์วัดก็จะมีการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีสางเทวดาและอัญเชิญให้คุ้มครองตนเองด้วย


















หนึ่งในภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารนะคะ

เป็นเทศน์มหาชาติเช่นกันค่ะ ภาพนี้ตัวอักษรเขียนว่ากัณฑ์หิมพานค่ะ

เอิ่ม..สารภาพว่า เห็นจากภาพตอนแรกนึกว่าทานกัณฑ์ซะอีกค่ะ แหะๆ





















สำหรับการไหว้สาที่วัดนี้ก็มีแต่เพียงเท่านี้นะคะ (สั้นกระชับฉับไว พอดีถ่ายรูปวัดนี้มาน้อยค่ะ แหะๆ ) ตอนหน้าจะพาไปไหว้วัดที่ 5 (ครึ่งทางแล้วนะคะ) กับวัดเชียงมั่นค่ะ





















ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาที่บล็อกเรานะคะ
878730/6338/572


Create Date :11 มีนาคม 2554 Last Update :11 มีนาคม 2554 8:09:40 น. Counter : Pageviews. Comments :34