bloggang.com mainmenu search






สวัสดีค่ะ




เนื่องด้วยเมื่อหลายเดือนก่อน (อย่ารู้เลยค่ะว่ากี่เดือน เอาเป็นว่า ดองนานได้ที่เลยแล้วกัน แหะๆ) ได้มีโอกาสไปเซอร์เวย์เพื่อจัดงานสัมมนาให้เด็กๆ ที่อยุธยา ก็เลยได้รีวิวมาฝากเพื่อนพ้องน้องพี่ชาวบล็อกแกงค์ทั้งหลายนะคะ




ก่อนที่จะไปวัดสุวรรณดาราราม ขอเริ่มต้นด้วยการบอกการเดินทางสำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจสักนิดนะคะ อยุธยาใกล้ๆ นี้เอง ถ้าเดินทางด้วยรถไฟก็สามารถจะลงสถานีรถไฟ หันหลังให้สถานีเดินข้ามถนนตรงไปที่แม่น้ำก็จะเจอท่าเรือสำหรับข้ามไปฝั่งตรงข้าม ทั้งฝั่งซ้ายและขวาค่ะ แต่เราเลือกลงทางซ้ายมือ ราคาข้ามคนละ 4 บาทค่ะ





















ทางลงของท่าเรือค่ะ





















แล้วก็จะเจอโป๊ะสำหรับขึ้นเรือแบบนี้ค่า





















รอแป๊บหนึ่ง เรือก็มาแล้วหละค่ะ (มีโรสยืนอยู่หน้าเรือด้วยอ้ะ )





















ถ้าเราไปลงท่าเรือฝั่งขวา มันจะข้ามไปแค่ที่ศาลเจ้าตามภาพค่ะ

แต่ท่าที่เราลง จะไขว้วิ่งไปทางขวามือแทน ซึ่งจะใกล้ตลาดเจ้าพรหมมากกว่า (เค้าว่างั้นนะคะ)





















เวลาขึ้น-ลงเรือ ต้องขึ้น-ลงทางหัวเรือหละค่ะ ใครมีเด็กก็คงต้องดูแลกันนิดหนึ่งนะคะ





















จากท่าเรือ เดินไปที่ปากซอย ก็จะเจอถนนเส้นนี้ แถวๆ แถบๆ นี้ค่ะ





















ตรงท่าเรือฝั่งนี้ก็มีร้านให้เช่าจักรยานเหมือนกันนะคะ เราว่าถูกดีค่ะ เหมาทั้งวันอยู่ที่ราวๆ 25-40 บาทอะค่ะ (แล้วแต่ว่าเช่ามาก-น้อยกี่คัน แล้วแต่ต่อรองค่ะ) แต่ต้องเอาบัตรประชาชนไว้ให้ด้วย ถ้ามาเป็นกลุ่มก็อาจจะต่อรองได้นิดหน่อยค่ะ (ทางฝั่งสถานีรถไฟก็มีนะคะ แล้วแต่ชอบค่ะ)





















ก่อนจะกลับไปฝั่งเดิม กระหายน้ำแล้วค่ะ เลยแวะซื้อที่ร้านของชำที่ท่าเรือ

เจอเจ้าเหมียวตัวนี้นอนสบายเชียว เลยเก็บภาพมาฝากแคทเลิฟเวอร์ทั้งหลายค่า
























จากนั้นก็ข้ามเรือกลับมาที่ฝั่งสถานีรถไฟเหมือนเดิม (เพราะจอดรถไว้ฝั่งนี้นะคะ) จะเห็นว่ามีรถตุ๊กหน้ากบอยู่เพียบเลย เช่าเหมาก็ราวๆ 600-800 บาทต่อวันค่ะ (แต่มีน้องคนหนึ่งต่อได้ 400 บาทอ้ะ เก่งมากๆ)























เอาหละค่ะ พาไปเที่ยววัดสุวรรณดารารามตามหัวข้อ (สักที) นะคะ แฮ่..

สำหรับตำแหน่งของวัดนะคะ จะอยู่ที่ฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมืองอยุธยาค่ะ

ตามแผนที่เลยนะคะ





















ก่อนอื่นมารู้จักประวัติของวัดก่อนแล้วกันค่ะ


ซึ่งเราหาจากสองเว็บแล้ว ปรากฏว่าต่างกันค่ะ เว็บหนึ่งบอกอัยกา เว็บหนึ่งบอกบิดาค่ะ ตามนี้นะคะ



ข้อมูลจากเว็บแรก


วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมป้อมเพชร พระอัยกา (ไม่แน่ใจว่าปู่หรือตานะคะ) ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ให้ชื่อว่าวัดทอง เป็นวัดของฝ่ายวังหน้า ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ทรงโปรดเกล้าให้บูรณะวัดนี้ทั้งหมด



ข้อมูลจากเว็บที่สอง


วัดสุวรรณดาราราม ตั้งอยู่ภายในกำแพงกรุงศรีอยุธยาทางทิศใต้ ริมป้อมเพชรบิดาของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้สร้าง “วัดทอง” ขึ้นใกล้กับบริเวณนิวาสถานเดิม ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2310 พม่าได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาแตก วัดทองก็ถูกพม่าทำลาย กลายเป็นวัดร้างมานานถึง 18 ปี


ปีพ.ศ.2325 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษก และสร้างกรุงเทพมหานครเป็นราชธานีแล้ว ต่อมาใน พ.ศ.2328 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดทองที่ถูกทิ้งร้างมาตั้งแต่กรุงแตกใหม่ทั้งอาราม ในการปฏิสังขรณ์และการก่อสร้างครั้งนี้ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระอนุชาได้ทรงร่วมปฏิสังขรณ์และก่อสร้างพระอุโบสถ พระเจดีย์ และหมู่กุฏิทั้งหมดด้วย เมื่อการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ พระองค์ได้พระราชทานนามใหม่ตามชื่อของพระราชบิดา (ทองดี) และพระราชมารดา (ดาวเรือง) ว่า “วัดสุวรรณดาราราม”




เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต พระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมาแห่งราชวงค์จักรี ได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ต่อมาเป็นลำดับ มีการก่อสร้างพระวิหาร เจดีย์ กำแพงแก้ว และปูชนียสถานอื่นๆภายในพระอารามแห่งนี้ นับได้ว่าวัดสุวรรณดาราเป็นพระอารามแห่งราชวงศ์จักรีโดยแท้ และเป็นวัดที่สวยงามมีสง่าน่าชมยิ่งนัก























คราวนี้ไปดูรูปวัดนี้กันบ้างเนาะคะ

จากถนนเลี้ยวเข้าไปแล้ว ให้เข้าไปบริเวณทางขวามือค่ะ ก็จะเจอภาพดังนี้นะคะ




















เข้าไปตามประตูนี้ค่ะ เวลาเปิด-ปิดของวัดคือ 08.30-17.00 น.นะคะ





















เข้าไปปุ๊บก็จะเจอต้นพระศรีมหาโพธิ์และอุโบสถก่อนเลยค่ะ (เห็นใบเสมามั้ยคะ?)























ส่วนทางขวามือ (เมื่อหันหน้าเข้าโบสถ์) คือวิหารที่มีจิตรกรรมฝาผนังที่มีชื่อเสียงของวัดนี้ค่ะ

เดี๋ยวจะพาไปดูทีหลังนะคะ











ไปดูในโบสถ์กันก่อนค่ะ นี่ด้านนอกค่ะ

ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัด ตัวโบสถ์จะตกท้องช้าง (คือออกแนวโค้งลงต่ำน่ะค่ะ)

ทำให้คล้ายท้องเรือสำเภา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของโบสถ์สมัยอยุธยาน่ะค่ะ


สังเกตที่คันทวยนะคะ ตามข้อมูลบอกว่าแกะสลักเป็นรายนกพันรอบทวยด้วยค่ะ (แต่ข้าพเจ้าไม่ได้ซูมมาให้เห็นชัดๆ แหะๆ) แล้วก็รูปทรงพระอุโบสถนี่จะเป็นรูปทรงเรือสำเภา ซึ่งเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้นด้วยค่ะ (แต่ไม่ได้ถ่ายรูปมาให้เห็นอีกเช่นกัน แหะๆ)





















จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถค่ะ




ภาพจิตรกรรมในพระอุโบสถ์นี่มีข้อมูลบอกว่ามีอายุกว่า 200 ปี โดยได้รับความอุปถัมภ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตอนต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งเขียนเรื่องพุทธประวัติ ไตรภูมิ ทศชาติชาดก การลำดับภาพ คือฝาผนังด้านข้างแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนบนเหนือขอบหน้าต่าง เขียนภาพเทพชุมนุม 2 ชั้น ชั้นละ 16 องค์ ชั้นบนเป็นรูปเทพ ชั้นล่างเป็นรูปเทพและยักษ์ซึ่งเทพชั้นนี้ถือเป็นเทพชั้นต่ำสุด เทพทุกพระองค์พนมมือหันหน้าไปทางองค์พระประธาน


ภาพส่วนล่าง ที่ห้องภาพระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพเรื่องทศชาติชาดก ส่วนฝาผนังด้านหน้าเป็นภาพพุทธประวัติ ตอนมารวิชัย มีขนาดใหญ่เต็มผนังและด้านหลังเป็นภาพเรื่องไตรภูมิ


















รูปจิตรกรรมฝาผนังก็มีรูปเทศน์มหาชาติด้วยนะคะ (เวสสันดรชาดก)

อย่างรูปนี้เป็นกัณฑ์มหาราช ฉษัตริย์และนครกัณฑ์ค่ะ























ต่อไปคือพระประธานของวัดค่ะ ข้อมูลตามนี้เลยนะคะ


พระประธานจำลองขยายส่วนจากพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระแก้วมรกต (พระแก้วมรกต) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบเหนือพระรัตนบัลลังก์ที่ประดับกระจกสีด้านซ้าย และขวาเป็นที่ประดิษฐานนพดลมหาเศวตรฉัตร




















เพดานโบสถ์ค่ะ เป็นไม้จำหลักลายดวงดาวบนพื้นสีแดง ลงรักปิดทองประดับกระจกตรงกลางเป็นดาวประธาน ล้อมรอบด้วยดาวบริวาร 12 ดวง


















ต่อไปเราไปยังวิหารกันบ้างนะคะ



















ในวิหารนี่ จะเด่นก็คือ มีจิตรกรรมฝาผนังรูปยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ต้นฉบับที่เคยเห็นกันในหนังสือเรียน วาดโดยพระยาอนุศาสน์จิตรกร จิตรกรเอกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ด้านบนของผนังภายในพระอุโบสถ ยังรายล้อมไปด้วยภาพเทพพนมนับร้อยองค์ลอยอยู่ในวิมาน ที่มีขนาดลดหลั่นกันตามระยะใกล้-ไกล ตามลักษณะของทัศนียภาพแบบตะวันตก ที่เคยมีการวาดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 อีกด้วย











ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารเป็นภาพเขียนสีน้ำมัน ฝีมือของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตร เขียนเมื่อ พ.ศ.2474 เป็นภาพ เรื่องพระราชพงศาวดารสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นภาพเขียนที่มีความเหมือนจริงมีใบหน้า ร่างกายกล้ามเนื้อ และสัดส่วนต่างตามสรีระของบุคคลจริง อันมีอิทธิพลมาจากตะวันตกและได้นำมาประยุกต์ใช้ในจิตรกรรมไทย ซึ่งเชื่อว่าเป็นจิตรกรรมสีน้ำมันบนฝาผนังปูนแห่งแรกในประเทศไทย



















ก็หวังว่า คงพอจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่จะไปเที่ยวอยุธยาบ้างนะคะ

















ปฏิทินธรรม




วันจันทร์ (ทุกวันจันทร์)

เรียนอภิธรรมเบื้องต้น บรรยายโดยพระครูสมุห์ทวี เกตุธมฺโม
ณ บ้านอารีย์ เวลา ๑๗.๓๐-๑๙.๓๐ น.

เว็บไซต์บ้านอารีย์
//www.baanaree.net






วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2554

1. ฟังพระธรรม โดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ
เวลา 18.30-21.00 น.

ณ หอประชุมพุทธคยา อาคารอัมรินทร์พลาซ่า ชั้น 22 ติดโรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ (รถไฟฟ้าบีทีเอสชิดลม)
โทร. 0-2685-2255







วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2554

1.เชิญร่วมฟังการแสดงธรรม โดย พระอาจารย์ธวัชชัย ธัมมทีโป
ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ บ้านวังเมือง จ.พังงา
เวลา 18.30-21.00 น.

ณ หอประชุมพุทธคยา อาคารอัมรินทร์พลาซ่า ชั้น 22 ติดโรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ (รถไฟฟ้าบีทีเอสชิดลม)
โทร. 0-2685-2255


2. ฟังพระธรรมเทศนาจากพระอาจารย์อัครเดช (ตั๋น) ถิรจิตโต
วัดสุทธาวาส จ.ชลบุรี
เวลา 15.30 น.

ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย​








วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2554

1. ฟังพระธรรมเทศนาจากพระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี
ณ ศาลาปันมี บ้านอารีย์
เวลา 18.30-20.00 น.

เว็บไซต์บ้านอารีย์
//www.baanaree.net






วันเสาร์ที่ 23 กรกฏาคม 2554


1. ร่วมตักบาตรหลวงพ่อสนธิ์ อนาลโยที่วัดพุทธบูชา เวลา 07.00 น.
ณ ศาลาปันมี บ้านอารีย์

เว็บไซต์บ้านอารีย์
//www.baanaree.net






วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

1.ร่วมรับฟังพระธรรมเทศนาจาก พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี
วัดมเหยงค์ จ.พระนครศรีอยุธยา

ณ ศาลาไตรสิกขา บ้านจิตสบาย พุทธมณฑลสาย 2 เวลา 14.00 - 16.00 น.

การเดินทาง
รถประจำทางที่ผ่าน สาย 157, 123, ปอ.พ.79
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ 02-448-3392
เวลาทำการ 9.00 – 18.00 น. หยุดวันพุธ


เว็บไซต์บ้านจิตสบาย
//www.jitsabuy.com/index.php?optio
























ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ

925385+53617+17431+5188/6611/605


Create Date :19 กรกฎาคม 2554 Last Update :19 กรกฎาคม 2554 12:24:08 น. Counter : Pageviews. Comments :43