bloggang.com mainmenu search





ชม Eclipse กันที่นิวยอร์กซิตี้
ภาพ Full Eclipse ที่สวยงาม
รอบ 99 ปี USA
ชมภาพจากยอดฝีมือจากทั่วโลก



จขบ.(เจ้าของบล็อก) ไม่ได้ตั้งใจจะไปชมEclipse คิดว่าไว้ดูจากทีวี
หรือรูปที่เขาโพสต์กันดีกว่า พอดีพาหลานไปเดินเล่น คนตามถนน
ยืนถ่ายรูปกันเป็นกลุ่มๆ และดูกัน บางคนก็ทำเครื่องมือจากถุงกระดาษ








แวะที่มุมถนน ถ่ายรูปกับเขาบ้าง ไม่เห็นอะไรเท่าไร












คนเป็นกลุ่มทั้งสองฝั่งถนน ถ่ายรูปกัน


























แว่นสำหรับดู ปัองกันอันตรายต่อสายตา




วันนี้โรงเรียนหยุด บางโรงเรียนทำกล้องเอง ให้เด็กได้ชมเป็นทัศนศึกษาด้วย




สอนให้เด็กมองที่ช่องข้างล่าง













รูปนี้ถ่ายแต่ไม่เห็นอะไรมาก เผอิญมีคนเห็นเราสว.พยายามถ่ายรูป
คงสงสารว่าคงไม่ได้เห็นอะไร เพราะไม่มีแว่นเขาก็บอกว่าลองดูทีแว่นไหม
ส่งแว่นให้ดู เห็นชัดสวยงามมาก เลยบอกว่าขอถ่ายรูป
แต่ถ่ายรูปไม่เป็น (คิดไม่ทัน ) ที่จริงต้องเอาแว่นมาวางหน้ากล้องแล้วถ่าย
แว่นอยู่ที่ตา แล้วถ่ายรูป ก็เหมือนกับถ่ายรูปแบบเดิม  คืนแว่นให้เจ้าของแล้ว
มาดูรูปกว่าจะนีกได้ว่าต้องเอาแว่นวางหน้ากล้อง ไม่ใช่ใส่แล้วถ่ายรูป
เลยไม่ได้รูปสวยๆ




ชม Eclipse กัน -Full Eclipse ที่ USA สวยงามในรอบ 99 ปี

(ขอขอบคุณ เพื่อนส่งมาให้ทางไลน์ค่ะ)













*********

ชมภาพจากยอดฝีมือทั่วโลกค่ะ



Keerati Komkongyou Beer added 16 new photos.
4 hrs ·
ภาพจากยอดฝีมือทั่วโลก เค้ามีอะไรดี ผมจะอธิบายให้ฟังนะครับ
หยิบรูปมาวิเคราะห์ มีอะไรเจ๋งๆอยู่ในภาพบ้างไปดูกันครับ





รูปที่1 .จาก Nasa รูปนี้เป็นปรากฏการณ์เพียงเสี้ยววินาที
ที่เราเรียกว่า Diamond ring Effect หรือ ปรากฏการณ์แหวนเพชร นั่นเอง
เป็นช่วงก่อนที่ดวงจันทร์จะบังดวงอาทิตย์จนหมดหรือ
กำลังจะโผล่ออกจากดวงอาทิตย์
จะเห็นเหตุการณ์นี้เพียงแค่ไม่กี่วินาทีครับ






รูปที่2. จาก Jimmy Chin! เป็นปรากฏการณ์Diamond ring Effect
เช่นกันครับ แต่แสงจากดวงอาทิตย์โผล่เข้ามาเยอะกว่าภาพที่1 นิดนึงครับ=






รูปที่3. จาก NASA เป็นภาพจากเครื่องบินในโครงการ G-III
ความพิเศษของโครงการนี้ก็คือ เค้าจะบินตามถ่ายเลยครับ
เพื่อเก็บข้อมูลไปวิเคราะห์ หรือเพื่อเก็บข้อมูลเพื่อใช้ยืนยันผล
จากการทำนายในทฤษฏีต่างๆที่ผ่านมา







รูปที่4 .จาก Michael Shainblum Photography รูปนี้ไม่ต้องบอกก็รู้เลย
เค้าเป็นช่างภาพสาย Land scape ซึ่งมักจะเน้นที่ฉากหน้า
ต่างกับนักดาราศาสตร์ทั่วไปที่สนแต่ตัว object และเหตุการณ์หลัก
ผู้ถ่ายใช้วิธีบอกเล่าผ่านการปีนหน้าผา ซึ่งต้องอาศัยการคำนวนเป็นอย่างมาก
เพื่อให้ดวงอาทิตย์มาอยู่พอดีระหว่างเหตุการณ์ ถือว่าเป็นความสร้างสรรค์บวกกับเหตุการณ์ทางธรรมชาติได้เป็นอย่างดีครับ






รูปที่5. จาก Damian peach เป็นนักถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ชื่อดัง
ผลงานของเค้าส่วนใหญ่จะเป็นภาพดาวเคราะห์ รูปนี้เหมือนไม่มีอะไรพิเศษ
ที่คนทั่วไปถ่ายเพื่อเน้นลำแสงโคโรน่าของดวงอาทิตย์ แต่เปล่าเลยครับ
ถ้าสังเกตดีๆจะพบว่า จะเห็นเงาที่ของดวงจันทร์ลางๆด้วย ซึ่งเป็นแสง
ที่สะท้อนจากโลกกลับไปที่ดวงจันทร์ หรือที่เราเรียกว่า Earth Shine นั่นเอง
ผู้ถ่ายต้องการเน้นในจุดนี้เป็นพิเศษ เพราะเป็นนักถ่ายภาพดาราศาสตร์
และรู้ว่าจริงๆแล้วเราสามารถเห็นเหตุการณ์อื่นได้ด้วยในขณะที่กำลังเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาอยู่ และหากสังเกตดีๆจะพบดวงอีกสองดวงอยู่ในภาพนี้อีกด้วย






รูปที่6 .จากผอ.และทีมงานของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เป็นผลงาน
ที่น่าภูมิใจเป็นอย่างมากของประเทศไทยครับ จะเป็นโคโรน่าได้อย่างชัดเจน
ในสีขาวนวล งดงามเป็นอย่างมากครับ






รูปที่7. จากผอ.และทีมงานของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติอีกเช่นกัน
รูปนี้เป็นเหตุการณ์ที่คล้ายกับ Diamond ring Effect จริงๆแล้วเป็นเสี้ยววินาที
ก่อนที่จะเกิดDiamond ring Effect ครับ เนื่องจากดวงจันทร์นั้นไม่ได้กลมดิก
มีผิวขอบข้างที่บางทีแสงรอดออกมาได้ เราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า The Baily's beads effect หรือ ลูกปัดเบลี ซึ่งได้ชื่อจากฟรานซิส เบลี นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ
ผู้อธิบายสาเหตุของปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ว่าเกิดจากแสงของดวงอาทิตย์
ที่ยังลอดผ่านช่องเขาที่อยู่ตามบริเวณขอบของดวงจันทร์






รูปที่8. จากผอ.และทีมงานของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เหตุการณ์
The Baily's beads effect หรือ ลูกปัดเบลีเช่นกัน แต่อยากให้เน้นไปที่สีแดงส้ม
ที่ขอบของดวงอาทิตย์ นั่นคือเปลวไฟของดวงอาทิตย์บนตัวดวงอาทิตย์
ที่โผล่จากตัวดวงอาทิตย์ออกมา เรียกว่า Solar Flare และ Prominance
ที่เกิดจากดวงอาทิตย์ หรือภาษาไทยเรียกว่า เปลวสุริยะ เปลวสุริยะนั้นคือการระเบิด
ในชั้นบรรยากาศบนดวงอาทิตย์ ซึ่งทำให้เราเรียนรู้กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น
ในดวงอาทิตย์ ว่าดวงอาทิตย์นั้นมีปฏิกิริยาอยู่ตลอดเวลา
เห็นเป็นแสงเล็กๆจากขอบของดวงอาทิตย์แบบนี้
บางครั้งเปลวสุริยะนี้อาจมีขนาดใหญ่กว่าโลกของเราอีกด้วย






รูปที่9 .จากผอ.และทีมงานของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
เหตุการณ์ Diamond ring Effect ที่เห็นไปพร้อมๆกับเปลวสุริยะ ครับ
ไม่ได้หาชมง่ายๆ นับว่างดงามเป็นอย่างมากครับ







รูปที่10. จาก NASA นี่ก็ออกแนวบ้าพลังครับ การถ่ายภาพSolar Eclipse ว่ายากแล้ว
รูปนี้ถือว่ายากกว่า เพราะ ที่เห็นเล็กๆในภาพนั่นคือ สถานีอวกาศ ISS หรือ
international space station สถานีอวกาศจากความร่วมมือ
ของหลายๆชาติในโลกครับ รูปนี้ผ่านการคำนวนมาแล้วเป็นที่เรียบร้อย
ต้องไปยืนในตำแหน่งและเวลาที่ถูกต้อง เพื่อที่จะเก็บภาพนี้มา
ใครก็ตามที่ออกไปถ่ายภาพแบบนี้ต้องนับถือความพยายามเป็นอย่างมากครับ
เพราะเหตุการณ์เกิดเพียงเสี้ยววินาที เนื่องจากสถานีอวกาศนั้นบินผ่านไวมากครับ
อาจจะแค่1-2 วินาทีเท่านั้น รูปนี้จัดเป็นทีเด็ดมากเลยครับ








รูปที่11. จาก NASA เช่นกันครับ รูปนี้ เพื่อแสดงให้เห็น เฟสต่างๆระหว่างเหตการณ์
ตั้งแต่เริ่มคราส จนกระทั้งออกจากคราส นับเป็นความสวยงามและให้เห็น
ในความสมบูรณ์แบบครับ






รูปที่12 .จาก NASA รูปนี้ไม่ใช่ดวงจันทร์เสี้ยวที่เราเห็นบนฟ้ายามค่ำคืนนะครับ
เป็นรูปดวงจันทร์กำลังเข้าเคลื่อนบังดวงอาทิตย์ตอนเกิดเหตุการณ์สุริยุปราคา
ขณะยังไม่เต็มดวงเต็มที่ ที่เห็นเป็นสีเหลืองนี้ถือถ่ายผ่าน filter
เพราะให้สามารถมองเห็นเหตการณ์ได้ชัดเจน
และไม่ทำร้ายดวงตาของมนุษย์ด้วยครับ





รูปที่13. จาก NASA รูปนี้ตั้งใจให้สังเกตุจุดดับบนดวงอาทิตย์ หรือ Sun Spot ครับ
ที่กลางภาพจะพบว่ามีจุดบางอย่างอยู่ 3-4 จุด นี่คือจุดดับบนดวงอาทิตย์ครับ
จุดดับเกิดจากพื้นที่ส่วนหนึ่งบนชั้นโฟโตสเฟียร์ของดวงอาทิตย์ซึ่ง
มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบครับ จริงๆแล้วมันไม่ได้ดับหรอกครับ
เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำกว่ารอบๆทำให้เราเห็นว่ามันสว่างน้อยลงเมื่อเทียบกับ
ข้างๆในบริเวณนั้น มันยังคงมีอุณหภูมิสูงถึง 4000-4500 เคลวิน
เทียบกับบริเวณปกติโดยรอบที่มีอุณหภูมิประมาณ 5800 เคลวินครับ








รูปที่14. จาก NASA ภาพเหลื่อมเวลาของ สถานีอวกาศ ISS หรือ international space station ที่ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ขนาดเกิดเหตุการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงครับ
นี่ก็ถือว่าเป็นภาพทีเด็ดเช่นกันครับ







รูปที่15. จาก NASA เป็นภาพที่ไม่ได้มีเงาโค้งจากการบังจากดวงจันทร์
แต่เกิดจากเงาของสิ่งของที่อยู่บนโลก โดยน่าจะเป็นภูเขาที่บังอยู่ครับ
นับว่าแปลกตาไปอีกแบบครับ






รูปที่16.จาก NASA รูปสุดท้ายของเรา เป็นรูปในมุมกว้างที่เค้าบันทึกมาตั้งแต่เริ่มต้นเหตุการณ์ทั้งหมดครับ จะเห็นตั้งแต่ก่อนคราส จนกระทั่งเต็มดวง
และออกจากคราส ฟ้าที่มืดมิดแบบนี้น่าจะเกิดขณะช่วงดวงอาทิตย์ถูกบังเต็มดวง
นับเป็นความงดงาม ปิดฉาก สุริยุปราคาอันยิ่งใหญ่ของทางฝั่งอเมริกาเหนือ
ได้อย่างคุ้มค่าการรอคอยครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10155062727728681&set=pcb.10155062801608681&type=3




Total Solar Eclipse 2017 from Idaho Falls, Idaho,
21 August 2017 ความยาว 4.01 นาที




ขอขอบคุณ ภาพ ข้อมูลและยูทูปจากอินเตอร์เนต


สาขา Klaibann Blog


GIOVANNI MARRADI - El Condor Pasa
Music For Your Soul




newyorknurse


Create Date :29 สิงหาคม 2560 Last Update :1 กันยายน 2560 2:41:06 น. Counter : 3292 Pageviews. Comments :21