bloggang.com mainmenu search


ฝนตกยังไม่หยุด น้ำจะท่วมบ้านเราไหมเนี่ย


อาทิตย์ก่อน ฝนตกตั้งแต่ค่ำจนถึงเข้า แบบตกๆ หยุดๆ เราก็ไม่คิดอะไร
บางทีก็ได้ยินเสียงฟ้าร้อง นอนหลับๆตื่นๆ 

ตอนเช้ามองไปที่สนามหลังบ้าน มีลำธารเวลา ฝนตกน้ำจะไหลแรงน้ำเอ่อขี้นมา
เกือบครี่งสนามหลังบ้านแล้ว มองเห็นน้ำที่ลำธารไหลแรง ฝนก็ตกไม่หยุด
ใจไม่ค่อยดีเหมือนกันน้ำจะมาเข้าบ้านไหมเนี่ย 

ถ้าน้ำเข้าบ้าน งานเข้าเลย ของต่างๆ ก็คงต้องขนทิ้งหมด ระยะนี้อากาศเย็น
ไม่มีแดด ตากอะไรก็ไม่แห้ง บ้านเปียกน้ำ ถ้าไม่จัดการให้น้ำแห้งดีๆ
บ้านก็จะเป็นรา ชักกังวลแล้ว 


เกือบบ่าย ฝนหยุดตก น้ำในลำธารหลังบ้านไหลแรงมาก น้ำที่สนามค่อยๆลด 
สบายใจขี้นหน่อย 
บ้านสามหลังที่ต่อจากบ้านเรา น้ำเข้าบ้านนิดหน่อย ไม่ค่อยเสียหายมาก
ค่อยยังช้่วหน่อย 







น้ำที่ลำธารท่วมมาที่สนามเกือบถึงที่เก็บของแล้ว




น้ำเริ่มท่วมมาถึงทางเข้าบ้านเพื่อนบ้าน




สนามบ้านที่ติดกับบ้านเรา น้ำเต็มไปหมด ถ้าฝนไม่หยุดตก ลำบากแน่







น้ำถึงทางเข้าบ้านข้างๆ




บ้านตรงกลาง ของสองหลังที่น้ำจะเข้าถึงแล้ว  น้ำท่วมที่จอดรถมาถึงถนน 




บ้านตรงข้ามกับหลังที่น้ำเข้าที่จอดรถ



ฝนหยุด ขับรถไปดูถนนหลังบ้าน น้ำในลำธารหลังบ้าน ไหลแรง





ถนนหลังบ้าน ตรงนี้น้ำแรงมาก








วันรุ่งขี้น น้ำแห้งหมดแล้ว












บ้านเราอยู่สุดถนน สามหลังสุดท้ายน้ำท่วมถึงที่จอดรถ น้ำเข้าบ้านนิดหน่อย
ไม่เสียหายมาก

***************

กำจัดเชื้อราภายในบ้าน หลังน้ำท่วม ทำได้ยังไงบ้างนะ !!!


หลังจากเผชิญกับภาวะน้ำท่วมมานานเกือบ 2 เดือน ระยะนี้ ดูเหมือนว่าสถานการณ์น้ำในหลายพื้นที่จะเริ่มคลี่คลายลงแล้ว แบบนี้ใครหลาย ๆ คนก็คงจะดีใจกันยกใหญ่ เพราะในที่สุดก็ได้กลับไปอยู่ในบ้านของตัวเองสักที อ๊ะ ๆ แต่อย่าสบายใจไปค่ะ เพราะไม่ว่าน้ำจะลด ที่บ้านมีความเสียหายน้อยยังไง สิ่งที่คุณ ๆ ต้องจัดการกันแน่ ๆ หลังจากบ้านเผชิญกับภาวะน้ำท่วม ก็คือความอับชื้น กลิ่นเหม็นอับ และเชื้อราที่ผุดขึ้นในบ้านนั่นเอง



ได้มีการรวบรวมวิธีกำจัดเชื้อราในบ้านมาฝากกัน เพื่อให้ผู้ (เคย) ประสบอุทกภัยได้จัดการกับเชื้อราที่นำมาซึ่งอันตรายและเชื้อโรคอย่างหมดจด และถูกวิธีค่ะ



1. เมื่อเกิดเชื้อราขึ้นกับวัสดุที่เป็น “พื้นแข็ง” ให้ใช้น้ำสบู่ แอลกอฮอล์ หรือน้ำยาขัดห้องน้ำล้าง และขัดให้ด้วยแปรงชนิดแข็งจนเชื้อราออกจนหมดจด จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหลาย ๆ รอบจนกว่าจะแน่ใจว่าสะอาด



2. วัสดุที่เป็น”เนื้ออ่อน” เช่น หนังสือ กระดาษมัน พลาสติก กล่อง ให้ใช้สำลีชุบฟอร์มาลีนเช็ด แล้วตามด้วยผ้าชุบน้ำสะอาด จากนั้นนำไปวางไว้ในที่ที่อากาศถ่ายเท และมีแสงแดดส่องถึงเล็กน้อย แล้วปล่อยให้แห้ง

3. พรม ฝ้า หรือที่นอน หาก มีเชื้อราขึ้น ให้โยนทิ้งจะปลอดภัยที่สุด เพราะวัสดุที่มีรูอย่างพรม ฝ้า และที่นอนนี้ เป็นวัสดุที่ล้างเชื้อราออกได้ยากมาก และแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสามารถล้างออกได้หมดจด 100% ซึ่งถ้าหากยังดันทุรังใช้ต่อไป ความชื้นในห้องก็อาจจะทำให้เชื้อราลุกลาม ฟักตัวได้กว้างขึ้น ทำให้เกิดโรคและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของผู้อยู่อาศัยไม่รู้ตัว ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่คุ้มกันเลยล่ะ

4. อย่าทาสีหรือแลคเกอร์ทับในบริเวณที่เกิดเชื้อรา ให้ล้างออกให้สะอาดหมดจดก่อน จากนั้นค่อยเริ่มทาสีหรือแลคเกอร์

5. กรณีที่เชื้อราผุดให้เห็นในข้าวของเครื่องใช้ประเภทเครื่องหนัง ให้ใช้น้ำส้มสายชูเช็ดหลาย ๆ ครั้ง จนแน่ใจว่าสะอาด จากนั้นเช็ดครั้งสุดท้ายด้วยน้ำสะอาด น้ำส้มสายชูจะช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี



6. เฟอร์นิเจอร์ หรือของใช้ที่เป็นไม้เนื้ออ่อน โดยปกติวัสดุเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการขึ้นราเมื่อมีความชื้นอยู่แล้ว ซึ่งมันจะไม่เป็นอะไรมากนักหากนำมาล้างทำความสะอาดภายใน 24-48 ชั่วโมงที่พบเชื้อ หรือเริ่มสังเกตเป็นดอกเป็นดวงขึ้น แต่ในกรณีที่น้ำท่วมแล้วปล่อยบ้านไว้นานเป็นเดือน ๆ ขอแนะนำให้ทิ้งข้าวของเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนเหล่านั้นไปอย่างไม่ ต้องเสียดาย เพราะอาจจะฟักตัวเป็นเชื้อราที่อันตรายมากขึ้นได้





7. ย้ายเฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องใช้ที่มีราขึ้น (และตอนนี้ได้ทำความสะอาดแล้ว) ไปอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือที่แสงแดดส่องถึงสักระยะหนึ่ง คือประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วหมั่นคอยตรวจสอบว่า หลังจากทำความสะอาดแล้วยังมีเชื้อราขึ้นอยู่อีกหรือไม่ หากไม่มีก็แสดงว่าสามารถแน่ใจแล้วว่าเราได้ทำความสะอาดเชื้อราออกไปได้อย่าง หมดจดแล้วจริง ๆ แต่หากยังพบร่องรอยของเชื้อรา ขอให้นำมาทำความสะอาดใหม่ เพราะมันจะลามได้ง่ายมากถ้าหากวันหนึ่งอากาศชื้นอีกครั้ง





วอลเปเปอร์ ใช้กรดซาลิไซลิด ผสมกับแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 1:5 จากนั้นนำผ้ามาชุบไปเช็ดวอลเปเปอร์ซ้ำ ๆ ประมาณ 2 รอบ แต่ถ้าหากว่ามีเชื้อราอยู่มาก แนะนำให้รื้อทิ้งแล้วเปลี่ยนวอลเปเปอร์ใหม่จะดีกว่า

9. เสื้อผ้า ผ้าม่าน และผ้าห่ม หาก พบเชื้อรา สามารถฆ่าเชื้อเบื้องต้นได้โดยใช้น้ำร้อน จากนั้นขยี้แล้วซักให้สะอาดหลาย ๆ ครั้ง และตากในที่ที่มีแสงแดดเท่านั้น เพื่อเป็นการฆ่าเชื้ออีกที

10. งดกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดความชื้นภายในบ้าน หากตัวบ้านเพิ่งมีราขึ้นและได้รับการทำความสะอาดไปใหม่ ๆ ไม่ควรต้มน้ำ ซักผ้า ตากผ้า เปิดเครื่องปรับอากาศเย็นจัด แต่ควรเปิดให้อากาศภายนอกได้ระบายเข้ามาบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันแดดจัด แม้ว่าจะทำให้คุณร้อนอบอ้าวไปบ้าง แต่แสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อราได้ดีเลยทีเดียว

อย่างไรก็ดี การกำจัดเชื้อรานั้นต้องทำไปควบคู่กับการรักษาความสะอาดทุก ๆ จุด และสิ่งของทุก ๆ อย่างภายในบ้านเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกที่บ้านยังคงเก็บความชื้นจากภาวะน้ำเอ่อท่วมไว้อยู่ ต้องคอยดูแลใส่ใจอย่างดีเลยทีเดียวค่ะ รับรอง ว่าถ้าหากทำได้อย่างนี้แล้ว พอพ้นช่วง 2-3 สัปดาห์หลังน้ำท่วมเมื่อไหร่ คุณก็จะได้บ้านอบอุ่นและปลอดภัยปลอดเชื้อโรคหลังเดิมคืนอย่างแน่นอนค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://fb.kapook.com

ชอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.iurban.in.th/review/cleanhomeafterflooding/

สาขา Klaibann Blog /Education Blog



newyorknurse


Create Date :23 เมษายน 2561 Last Update :23 เมษายน 2561 3:24:03 น. Counter : 978 Pageviews. Comments :21