bloggang.com mainmenu search




ต้อกระจก - Cataracts ไปเป็นเพื่อน
เพื่อนผ่าตัดต้อกระจก



วันนี้ไปเป็นเพื่อน เพื่อนไปผ่าตัดตา (ต้อกระจก) ไปเป็นเพื่อน เพื่อน
ก็ดีเหมือนกัน เพราะอีกหน่อยเราก็ต้องทำผ่าตัดเหมือนกัน
เราไปถึงที่ผ่าตัด เป็น Office ไม่ได้ทำที่โรงพยาบาล
บรรยากาศ สบายใจ กว่าไปโรงพยาบาล เพราะเหมือน
แค่ไปหาหมอตามนัด



พอถึงก็แจ้งว่ามาถึงแล้ว พนักงานก็ให้ป้ายชื่อ ที่ข้อมือและถาม
คนไข้เพื่อความแน่ใจ ว่าคนไข้ รู้ไหมว่ามาทำอะไร เพื่อนก็บอกว่า
มาผ่าตัดตาข้างขวา

เสร็จแล้วมานั่งรอกัน คุยกันสักพัก พยาบาลก็มาเรียกเพื่อน
เข้าไปข้างใน ญาติรอข้างนอก



ขณะที่รอ เพื่อนให้หมายเลขไว้ เราจะได้ดูที่บอร์ดว่าตอนนี้
เขาพาเพื่อนไปทำอะไร เริ่มตั้งแต่ เข้าไปเตรียมผ่าตัด
เข้าห้องผ่าตัดและหัองหลังผ่าตัด ทำให้คนรอไม่กังวล
ว่าคนไข้ทำอะไรอยู่




คนรอข้างนอกก็ดูที่บอร์ด ไปเรื่อยๆ








พอเพื่อนเข้าห้องพักฟี้น ไม่นาน พยาบาลก็เข็นเพื่อนออกมา ตาข้างที่ผ่าตัด
จะมีที่ครอบตา (ตะกร้อครอบตา - eye shield) เราก็กลับบ้านได้ พยาบาล
เช็นรถพาเพื่อนไปส่งถึงที่รถเลย มีแว่นกันแดดแจกให้ใส่ด้วย

เรากลับบ้านทานอาหารเที่ยงกัน เพื่อนบอกไม่น่ากลัว และตอนนี้ก็ไม่เจ็บอะไร
บ่ายๆก็ให้เพื่อนนอนพักผ่อน เพราะหมอไม่ให้ใช้สายตา

วันรุ่งขี้นเพื่อนไปหาหมอ ตรวจตาหลังผ่าตัดและถอดที่ครอบตาออก
คุณหมอให้ใส่แว่นกันแดดตลอด

วันทีสองเพื่อนก็บอกว่าพอเห็นลางๆ
เพื่อนผ่าต้อกระจกและใช้เลนซ์พิเศษ หลังผ่าตัดไม่ต้องใส่แว่นตา
ถ้าผ่าตัดเลนซ์ธรรมดาหลังผ่าตัด ยังต้องใช้แว่นตาอยู่

ถ้าใช้เลนซ์ธรรมดา ประกันสุขภาพจะจ่าย 80 % ถ้าใช้เลนซ์
ที่ไม่ต้องใส่แว่น ต้องจ่ายค่าเลนซ์เพิ่มเอง ราคาข้างละ 3,000 เหรียญ
เพื่อนทำตาที่สองแล้ว จ่ายแล้ว 6,000 เหรียญ
เพื่อนบอกว่าตาแรกที่ทำไป รู้สีกดี อีกไม่นานเพื่อนก็จะใช้
ตาสองช้าง ไม่ต้องใช้แว่นตา
(ถามว่าเสียดายเงินไหม ถ้าทำแล้วดีจริงก็ไม่เสียดายนะ แต่หมอบอกว่า
จะมี 1% ที่ทำแล้วไม่เวิก เราคิดหนัก... ถึงคราวเรา เ
เราจะเอาแบบไหนดีหนอ

แต่การไปเป็นเพื่อน เพื่อน ก็ดีได้เห็นเพื่อนทำไม่นาน
ถึงคราวเรา ก็ไม่กลัวแล้ว


***************

ต้อกระจก - Cataracts

ต้อกระจกเป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่เกิดจากการขุ่นของ "แก้วตา" หรือ "เลนส์ตา" โดยปกติเลนส์ตาจะมีลักษณะใสทำหน้าที่รวมแสงให้ตกลงบนจอประสาทตาพอดี เมื่อเกิดต้อกระจก จอประสาทตาจะรับแสงได้ไม่เต็มที่ ทำให้สายตาพร่ามัวเหมือนมองผ่านกระจกฝ้า ยิ่งแก้วตาขุ่นมากขึ้น การมองเห็นจะลดน้อยลงตามลำดับ ทั้งนี้ ต้อกระจกจะไม่มีอาการอักเสบหรือเจ็บปวดใดๆ ต้อกระจกมักจะพบในผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจก ในช่วงอายุระหว่าง 55 - 64 ปี จะพบได้ 40% ส่วนช่วงอายุ 65 - 74 ปี จะพบได้ 50% และอายุมากกว่า 74 ปี พบว่าเป็นต้อกระจกมากกว่า 90%

เกร็ดความรู้เรื่อง "ต้อกระจก"
1. ต้อกระจกไม่ใช่โรคติดต่อจึงไม่ลุกลามจากตาข้างหนึ่งไปอีกตาข้างหนึ่ง ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสองตา แต่รอยโรคและอาการอาจลุกลามมากน้อยไม่เท่ากัน
2. การใช้สายตามากๆ ไม่ใช่สาเหตุของการเกิดต้อกระจก หรือทำให้อาการที่เป็นอยู่ลุกลามมากขึ้น
3. ต้อกระจกมักเกิดขึ้นอย่างช้าๆ จนกว่าสายตาของผู้ป่วยจะขุ่นมัวจนมองเห็นไม่ชัด อาจใช้เวลานานหลายเดือน หรือหลายปี โดยทั่วไปต้อกระจกถือว่าเป็นโรคทางตาที่รักษาแล้วได้ผลดีมาก

สาเหตุ
1. วัยสูงอายุ คือ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด แก้วตาจะขุ่นและแข็งตัวเร็วขึ้น แต่ต้อกระจกชนิดนี้อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยที่อายุเพียง 40 ปี
2. อุบัติเหตุ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดต้อกระจกได้ หากดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง โดนของมีคม สารเคมี หรือสารรังสี
3. โรคตา หรือ โรคทางร่างกายบางโรค เช่น การติดเชื้อ โรคเบาหวาน การรับประทานยาบางชนิด โรคตาบางโรค อาจจะเป็นสาเหตุหรือกระตุ้นให้ต้อกระจกขุ่นเร็วขึ้นได้
4. กรรมพันธุ์ และความผิดปกติแต่กำเนิด ในกรณีที่พบต้อกระจกในผู้ป่วยที่เยาว์วัย เกิดขึ้นได้จากกรรมพันธุ์ หรือจากการติดเชื้อและการอักเสบตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เช่น มารดาเป็นหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ แต่ในหลายรายต้อกระจกอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด

อาการ
1. สายตามัวเหมือนมีฝ้า หรือหมอกบัง จะมัวเร็วหรือช้า มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระดับและตำแหน่งของความขุ่นในเนื้อเลนส์แก้วตา หากเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณขอบเลนส์ ผู้ป่วยจะยังคงมองเห็นได้ชัดเจนตามปกติ
2. เห็นภาพซ้อน สายตาพร่า อาการระยะแรกของต้อกระจกในผู้ป่วยบางราย จะมีสายตาสั้นมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นตาบ่อยๆ บางรายสายตาสั้นขึ้นจนอ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องใส่แว่น เรียกว่า "สายตากลับ" เมื่อเป็นต้อกระจกรุนแรงขึ้นสายตาจะขุ่นมัวจนแว่นตาก็ไม่สามารถช่วยได้ สังเกตได้จากการมองผ่านรูม่านตา ซึ่งปกติเห็นเป็นสีดำ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีขาว
3. สู้แสงสว่างไม่ได้
4. มองเห็นสีต่างๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม
หากละเลยทิ้งไว้จนต้อกระจกสุกเกินไป อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคต้อหิน การอักเสบภายในตา ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดตา ตาแดง และอาจถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้

ขั้นตอนและวิธีการรักษา
จักษุแพทย์จะตรวจวินิจฉัยดวงตาอย่างละเอียด เพื่อแยกชนิด ตำแหน่ง และความรุนแรงของต้อกระจก นอกจากนี้ยังต้องวัดความดันลูกตา ตลอดจนตรวจน้ำวุ้นตากับจอประสาทตาอย่างละเอียด เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าต้อกระจกเป็นสาเหตุเดียวที่ทำให้สายตาขุ่นมัว หรือมีโรคตาอื่นมาประกอบด้วย
ในบางกรณีจักษุแพทย์บางท่านอาจใช้ยาหยอดตา เพื่อชะลอความรุนแรงของต้อกระจก แต่ไม่มียาชนิดใดสามารถลดหรือหยุดต้อกระจกได้ เมื่อสายตาขุ่นมัวจนไม่สะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ควรทำการผ่าตัด หรือสลายต้อกระจก และใส่เลนส์สังเคราะห์ หรือเลนส์แก้วตาเทียมให้แก่ผู้ป่วย เพื่อให้มองเห็นในระยะไกลได้เป็นปกติ

วิธีการสลายต้อกระจก
1. วิธีสลายต้อกระจกด้วยคลื่นอุลตร้าซาวด์ หรือ “เฟโค”
(Phacoemulsification + Intraocular Lens Implantation)
การสลายต้อด้วยคลื่นอุลตร้าซาวด์เป็นวิธีล่าสุดที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในปัจจุบัน โรงพยาบาลจักษุ รัตนิน เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่รักษาต้อกระจกด้วยวิธีนี้จักษุแพทย์จะเปิดช่องเล็กๆ ที่ผนังตาขาวประมาณ 3 มม. เพื่อสอดเครื่องมือสลายต้อเข้าไปที่ตัวต้อกระจก และปล่อยคลื่นอุลตร้าซาวด์หรือคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าสลายและขจัดต้อกระจกจนหมด เหลือไว้แต่เปลือกหลังของเลนส์แก้วตาเพื่อเป็นถุงรองรับเลนส์แก้วตาเทียม จึงใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ในถุงนี้ เนื่องจากแผลที่เกิดจากการรักษาด้วยวิธีนี้มีขนาดเล็กมาก จึงสมานตัวเป็นปกติได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเย็บแผลในคนไข้ส่วนใหญ่ และภายหลังการสลายต้อกระจก ผู้ป่วยจะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในทันที และใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้น้ำเข้าดวงตาหลังการสลายต้อกระจกตามระยะเวลาที่จักษุแพทย์กำหนด พร้อมทำความสะอาดดวงตา รับประทานยา และหยอดยา ตามคำแนะนำของจักษุแพทย์อย่างเคร่งครัด
2. วิธีผ่าตัดต้อกระจกแบบเปิดแผลกว้าง
เป็นวิธีผ่าตัดดั้งเดิมที่ใช้ในกรณีที่ต้อกระจกสุก และแข็งตัวมาก จนไม่เหมาะกับการสลายด้วย
คลื่นอุลตร้าซาวด์ จักษุแพทย์จะเปิดแผลตามแนวรอยต่อระหว่างกระจกตาดำ และผนังตาขาวบริเวณครึ่งบนของลูกตายาวประมาณ 10 มม.เพื่อเอาตัวเลนส์แก้วตาที่เป็นต้อกระจกออก เหลือเพียงเปลือกหุ้มเลนส์ด้านหลังไว้เป็นถุง แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ในถุงนี้ หลังจากนั้นจึงเย็บปิดแผลด้วยไนล่อนชนิดบางพิเศษ

ทำไมต้องใส่เลนส์แก้วตาเทียม
ภายหลังการสลายเลนส์แก้วตาที่เป็นต้อกระจกออกแล้ว ดวงตาจะไม่มีเลนส์แก้วตาเพื่อทำหน้าที่รวมแสง มีผลให้สายตายังมัวอยู่ ดังนั้น จักษุแพทย์จึงใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าแทนที่เพื่อทำหน้าที่รวมแสงให้การมองเห็นเป็นปกติ



แก้วตาเทียม หรือ เลนส์ตาเทียม
แก้วตาเทียม คือ วัสดุสังเคราะห์ที่จักษุแพทย์ใช้ใส่เข้าไปในถุงหุ้มเลนส์ภายในลูกตา หลังจากการสลายต้อกระจกออกไปแล้ว เพื่อใช้ในการคำนวณค่ากำลังเลนส์แก้วตาเทียม
การใส่แก้วตาเทียม หรือที่เรียกว่า “การฝังเลนส์เทียม” ซึ่งจักษุแพทย์จะทำการวัดขนาดลูกตาและความโค้งกระจกตาเพื่อใช้ในการคำนวนค่ากำลังเลนส์แก้วตาเทียมให้ถูกต้อง ก่อนทำการสลายต้อกระจก หลังจากใส่เลนส์แก้วตาเทียมแล้ว ผู้ป่วยสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนเหมือนก่อนเป็นต้อกระจก
เลนส์แก้วตาเทียม จะมีอายุการใช้งานได้นานตลอดชีพ มากกว่า 95%ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาต้อกระจกและได้รับการใส่เลนส์แก้วตาเทียมจะมีสายตาที่ดีขึ้น มีน้อยรายที่เยื่อรองรับเลนส์แก้วตาเทียมอาจมีการขุ่นตัว หลังจากใส่เลนส์ไปเป็นเวลาหลายปี สายตาที่เคยเห็นได้ชัดเจนหลังผ่าตัดใหม่ๆ จะค่อยๆ มัวลงบ้าง จักษุแพทย์สามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยไม่มีความเจ็บปวด ด้วยการใช้ แย็กเลเซอร์ (Yag Laser) เพื่อขจัดความขุ่นตัวของเยื่อรองรับเลนส์ให้หมดไปได้ทันที
การฝังเลนส์แก้วตาเทียม ไม่มีผลกระทบกระเทือนจากการทำงานหนักแต่อย่างใด ยกเว้นต้องระวังอย่าให้ตาข้างนั้นโดนกระแทกโดยตรงอย่างรุนแรง เพราะเลนส์ที่ใส่ไว้จะเคลื่อนที่ได้ และทำให้ตามัวลงทันที
การฝังเลนส์เทียม เป็นการฝังเลนส์ไว้อย่างถาวรไปตลอดชีวิต โดยไม่มีการเปลี่ยนขนาดอีก เพราะถ้าต้องเปลี่ยนก็ต้องผ่าตัดใหม่อีกครั้ง มักไม่พบอาการแทรกซ้อนจากการใส่เลนส์เทียมถ้าผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดสลายต้อกระจกได้อย่างเรียบร้อยและถูกวิธีตั้งแต่แรก

ข้อควรระวังหลังสลายต้อกระจก
1. ให้สวมแว่นตาคู่เดิม แว่นตากันลม หรือแว่นตากันแดด เพื่อป้องกันการขยี้ตาและป้องกันการเกิดการกระทบกระเทือนที่ดวงตา และก่อนนอนทุกคืนให้ครอบตาข้างที่สลายต้อกระจกด้วยฝาครอบตา เพื่อป้องกันการขยี้ตาในระหว่างการนอนเช่นกัน
2. ห้ามน้ำเข้าดวงตาโดยเด็ดขาด ตามระยะเวลาที่จักษุแพทย์กำหนด เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าดวงตา ให้ใช้ผ้าขนหนูที่สะอาดชุบน้ำเช็ดหน้าแทนการล้างหน้า และไม่ควรสระผมด้วยตนเอง ควรนอนหงายให้ผู้อื่นสระผมให้ และในขณะสระผมควรหลับตา เพื่อป้องกันน้ำที่อาจกระเด็นเข้าดวงตาได้
3. ทำการเช็ดทำความสะอาดดวงตาตามวิธีที่จักษุแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด

https://www.rutnin.com/th/eye_knowledge/detail.27.1.html

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://medthai.com/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%81/




สาขา Health Blog



newyorknurse

htmlentities('< ')
Create Date :17 มิถุนายน 2561 Last Update :18 มิถุนายน 2561 8:42:30 น. Counter : 2969 Pageviews. Comments :26