ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์และสำนักคิด กับทฤษฎีนโยบายสาธารณะ และ การบริหารงานภาครัฐ


ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์และสำนักคิดกับทฤษฎีนโยบายสาธารณะ

และ การบริหารงานภาครัฐ

ดร.ภคพร กุลจิรันธร

บทนำ

ในการเริ่มศึกษาศาสตร์ใด ๆ นั้นการเรียนรู้การทฤษฎีที่มีนักวิชาการได้รวบรวมแนวคิด หรือ มีการวิพากษ์ไว้เป็นการเริ่มต้นในการศึกษาที่ดี การศึกษาทางสังคมศาสตร์ นโยบายสาธารณะ และการบริหารงานภาครัฐก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่จะต้องเริ่มต้นจากการศึกษาทฤษฎีในยุคต่าง ๆรวมถึงพัฒนาการของทฤษฎีเหล่านั้น ตามห้วงเวลา สถานการณ์ของนักวิชาการในยุคต่าง ๆในหลายภูมิภาค

ในบทความนี้ ผู้เขียนจะอธิบายถึงการเกิดขึ้นของสำนักคิดทางสังคมศาสตร์แนวคิดของสำนักคิดเหล่านั้น พัฒนาการของสำนักคิด และ คุณลักษณะที่ดีของสำนักคิดรวมถึงการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยของสำนักคิดต่าง ๆหลังจากนั้นจะบรรยายต่อในส่วนของนโยบายสาธารณะ โดยอธิบายถึง ความหมาย ความสำคัญและพัฒนาการของนโยบายสาธารณะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยผู้เขียนได้วิเคราะห์เปรียบเทียบสาระสำคัญของทฤษฎีต่าง ๆและผู้เขียนปิดท้ายบทความนี้ด้วย การบริหารงานภาครัฐ โดยอธิบายถึงความหมายความสำคัญ และความเป็นไปของการบริหารงานภาครัฐในยุคต่าง ๆซึ่งผู้เขียนได้วิเคราะห์ข้อดีข้อด้วย รวมถึงเปรียบเทียบสาระสำคัญในประเด็นต่าง ๆพอสังเขป

ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์และสำนักคิด

สำนักคิดคือชุดของโครงการและผลผลิตทางการวิจัยและวิชาการที่สร้างสรรค์ความคิดในทางทฤษฎีเฉพาะตนและมีตัวบุคคลที่เป็นเจ้าสำนักและสมาชิกได้ร่วมกันผลิตความคิดนั้นออกสู่สังคมในช่วงเวลาที่สืบเองระยะเวลาหนึ่งโดยอาศัยสถานบันวิชาการ เครือข่าย และกลไกต่าง ๆในการทำงานผลิตผลงานและสื่อกับสาธารณะ ซึ่งทำให้สังคมมีการปรับเปลี่ยนไปตามเจตจำนงหลักที่แผงอยู่ในชุดวามคิดนั้นๆ (โชคชัยสุธาเวศ, 2543:40) เช่น 1)สำนักคิดทางปรัชญาของนักปรัชญากรีกโบราณ เช่น โสเครติส เพลโต และอริสโตเติล โดยอาศัยการถามตอบ ทำให้ความคิดมีความก้าวหน้าซึ่งเป็นต้นตำรับที่โสเครติสวางรากฐานไว้2) สถาบันมักซ์พลังค์ ในเยอรมันในการพัฒนาทฤษฎีฟิสิกส์ หรือ 3)นักวิชาการเจ้าของทฤษฎี เช่น Max Weber ในการเปรียบเทียบทฤษฎีสังคมมนุษย์4) Karl Popper จากหลักการตรวจจับข้อผิดพลาดของทฤษฎี 5) Thomas Kuhn จากเรื่องภาวะปกติและวิกฤตของกระบวนทรรศน์ของชุมชนนักวิชาการและการพิสูจน์ความจริงเพื่อยืนยันกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ(โชคชัย สุธาเวศ, 2543:35-38)

การศึกษาสำนักคิดควรครอบคลุมองค์รวมในประเด็น1) พัฒนาการทางความคิดและสำนักคิด 2)องค์ความรู้ของสำนักคิด 3) ผู้นำและสมาชิก 4) สถาบันและเครือข่าย 5) สภาพแวดล้อมและสำนักคิด 6) ผลงาน 7) กลไกกิจกรรมและเครื่องมือการนำเสนอผลงานสู่สาธารณะ 8) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสำนักคิดนั้นๆ กับสำนักคิดอื่น ๆ 9)สำนักคิดกับอิทธิพลต่อสังคมในด้านต่าง ๆ และ 10) ปัญหาและอนาคตของสำนักคิด (โชคชัย สุธาเวศ,2543:41-42)

สำนักคิดของไทยนั้นเริ่มมีจำนวนมากขึ้นนับจากสมัยรัชกาลที่5 ซึ่งมีสำนักคิดเด่น ๆ ทางด้านสังคมศาสตร์ และ รัฐประศาสนศาสตร์ ดังนี้ 1) สำนักคิดประวัติศาสตร์ไทย “ดำรงราชานุภาพ” นำโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพโดยมีองค์ความรู้ด้านสัมพันธภาพระหว่างกษัตริย์กับรัฐและสังคมโดยถูกแข่งขันโดยการนำเสนอคำอธิบายประวัติศาสตร์ฉบับคนชั้นกลางและท้องถิ่น โดยนิธิเอี่ยวศรีวงศ์ และฉบับมวลชน โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธงชัย วินิจจะกูล 2)สำนักคิดเศรษฐศาสตร์การเมือง นำโดยฉัตรทิพย์ นาถสุภาเพื่อนำเสนองานเชิงนโยบายสาธารณะสู่สังคม และ 3)สำนักคิดสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคมไทย โดยมี ปกรณ์ อังศุสิงห์ เป็นผู้นำ และนิคม จันทรวิทุร เป็นผู้สืบทอด โดยนำเสนองานด้านสวัสดิการสังคมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน (โชคชัย สุธาเวศ, 2543:45-78)

แต่เมื่อนำองค์ประกอบการเป็นสำนักคิดทั้ง10 ประเด็นมาพิจารณาแล้วพบว่า สำนักคิดของไทยนั้นยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นสำนักคิดเนื่องจากยังไม่สามารถผลิตแนวคิดใหม่สู่สังคมได้ ซึ่งแตกต่างจากสำนักคิดของต่างประเทศที่สามารถนำเสนอแนวคิด หรือกระบวนทรรศน์ ใหม่สู่สังคมได้ อาจจะด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์แบบกาลิเลโอ (GalileoGalilei, 1564-1642) ที่มีความสามารถในการสังเกตและนำข้อมูลจากการสังเกตมาพัฒนาทฤษฎีเดิม และนำแนวคิดใหม่นั้นไปสู่การปฏิบัติโดยการทดสอบซ้ำอย่างมีระบบรวมถึงปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้มีอำนาจในผลของการทดสอบเพื่อนำไปสู่ทฤษฎีใหม่ได้ เช่นในกรณีการใช้กล้องส่องทางไกลตรวจสอบสภาพภูมิประเทศ ซ้ำ ๆและนำมาพิสูจน์กับทฤษฎีเดิมที่ว่าโลกกลม และ รวบรวมข้อมูลการทดลองหลายครั้งจนสามารถนำเสนอทฤษฎีใหม่ต่อสาธารณะได้ว่า โลกกลม ซึ่งขัดแย้งกับทฤษฎีเดิม (McGettigan,Timothy,2011:1-10) หรือด้วยการใช้หลักทางวิทยาศาสตร์เพื่อใช้พิสูจน์ความจริงของทฤษฎีเดิมตามแบบ Karl Popper หรือ Thomas Kuhn ที่ใช้วิทยาศาสตร์เป็นเส้นทางนำไปสู่การเกิดกระบวนทรรศน์ใหม่ของPostmodernists ว่า องค์ความรู้ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดเป็นกว้างและเป็นสากลมากกว่า ระบบสังคม (Social System) (McGettigan,Timothy,2011:1-10)

ทฤษฎีนโยบายสาธารณะ

คำว่า “นโยบาย” นั้นนักวิชาการให้ความหมายไว้หลายหลายเช่น Dror(1989:xiii, Parsons,1995:13) หมายถึงการกระทำที่ถูกตัดสินใจผ่านขั้นตอนและตัวเลือกเพื่อสังคมWilson (1887, Parsons,1995:14) ให้ความหมายว่าเป็นแผน หรือการกระทำ หรือ จุดมุ่งหมายทางการเมือง ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกับการจัดการ ดังนั้นนโยบายจึงเป็นการแสดงออกแบบของเหตุผลทางการเมืองซึ่งเป็นการเข้าถึงปัญหาและแก้ไขปัญหา (Parsons,1995:15)

คำว่า”สาธารณะ”(Parsons,1995:1-4) นั้นเริ่มมีแนวคิดที่จะแยกจากคำว่า “ส่วนบุคคล” มาตั้งแต่สมัยกรีก-โรมันโดยอริสโตเติล ได้พยายามหาข้อสรุปให้กับข้อโต้แย้งระหว่าง สาธารณะ และ ส่วนบุคคลภายใต้แนวคิดที่ว่า สาธารณะเป็นรูปแบบที่สูงที่สุดของการอยู่ร่วมกันในสังคมและต่อมาในศตวรรษที่ 19 ได้มีข้อสรุประหว่างสาธารณะกับส่วนบุคคลในแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์การเมืองฮาเบอร์มาสกล่าวว่า สิ่งที่จะแยกระหว่างสาธารณะและส่วนบุคคลคือแรงผลักดันของตลาดโดยมีเส้นแบ่งคือความเป็นอิสระของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐจะต้องดำเนินการให้ผลประโยชน์ของส่วนรวมได้รับการคุ้มครอง แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 20 มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของสาธารณะโดยนักเศรษฐศาสตร์ ดิวอี้ และ เคนส์ใน RooseveltNew Deal หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่าระบบตลาดอิสระไม่สามารถแก้ไขปัญหาของสังคมได้อีกต่อไปรัฐควรต้องมีระบบราชการ (Bureaucracy) (Weber,1991:196-252, Parsons,1995;6)ต้องใช้นโยบายสาธารณะในการส่งเสริมผลประโยชน์ของสังคมผ่านการจัดการของภาครัฐและมีข้าราชการเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบาย(Wilson,1887, Parsons,1995:7)

การบริการสาธารณะคือสิ่งที่มีให้สำหรับประชาชนทุกคนโดยไม่แบ่งแยก ซึ่งได้รับงบประมาณมาจากภาษี และการยืมเงินของรัฐ และประชาชนต้องจ่ายราคาของการบริการสาธารณะในรูปของภาษีซึ่งการกำหนดว่าบริการใดเป็นบริการสาธารณะอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐในประเทศนั้นๆ

นโยบายสาธารณะนั้นในมุมมองของนักวิชาการเช่น JohnMaynard Keynes (1936, Parsons,1995:17) ให้แนวคิดว่านโยบายสาธารณะของรัฐบาลที่จะแก้ไขปัญหาสังคมได้ต้องใช้แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์มากกว่าผลประโยชน์ทางการเมืองและ Lasswell (1951:4, Parsons,1995:18) ให้แนวคิดว่านโยบายสาธารณะต้องประกอบด้วย 1)กระบวนวิธีในการตรวจสอบขั้นตอนกระบวนการของนโยบาย 2) ผลของการศึกษานโยบาย3)การค้นพบหลักการที่จะกระจายผลประโยชน์ที่สังคมต้องการดังนั้นนโยบายสาธารณะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ขั้นตอนกระบวนการ และมุ่งแก้ไขปัญหาและการวิเคราะห์นโยบายต้องให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ภายในกระบวนการการก่อตัวของนโยบายและ องค์ความรู้ในการนำนโยบายไปใช้

พัฒนาการของนโยบายสาธารณะ เริ่มที่ Lasswell (Parsons, 1995:21) โดยเขาคำนึงถึงปัญหาและใช้สหวิทยาการในการเข้ามาแก้ไขปัญหาไม่ว่าจะเป็นการก่อตั้ง Think Tank เพื่อประสานความรู้และนโยบายโดยการส่งเสริมให้มีการพูดคุยระหว่าง นักสังคมวิทยา นักธุรกิจ และ นักจัดทำนโยบายต่อมา Herbert Simon(Parsons,1995:22) ได้นำเสนอการบูรณาการกันระกว่าเศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา การจัดการ การสารสนเทศ สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยให้ความสำคัญกับการตัดสินใจด้วยเหตุผลและตรวจสอบการใช้เหตุผลนั้นในกระบวนการต่าง ๆ ของการก่อตั้งนโยบายสาธารณะ และ CharlesLindblom จากบทความเรื่อง “science of mudding through’(Lindblom,1959; Parsons,1995:22) Lindblom ปฏิเสธแนวคิดของ Simonว่า การก่อตัวของนโยบายสาธารณะไม่ควรพิจารณาในแง่ของขั้นตอนเขานำเสนอรูปแบบของการศึกษากระบวนการก่อตัวของนโยบายสาธารณะว่าควรพิจารณาถึงการเลือกตั้ง ระบบราชการ พรรคการเมืองและนักการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์ และพลังอำนาจของ ธุรกิจ ความไม่เท่าเทียมกัน และข้อจำกัดในการวิเคราะห์ ต่อมา David Easton (1953,1965; Parsons,1995:23) ได้เสนอแนวคิดการก่อตัวของนโยบายสาธารณะในแง่ของกระบวนการโดยมีตัวแปรนำเข้าได้แก่ปัญหา ความต้องการ มุมมอง หรือ องค์การ และ มีตัวนโยบายได้แก่ กฎระเบียบการกระจายตัว การจัดการกระจายตัวใหม่ เงินทุน และจรรยาบรรณ และมีตัวแปรนำออกได้แก่การนำไปใช้ การประเมินผล การออกกฎหมายต่าง ๆ

ดังนั้นนโยบายสาธารณะซึ่งเป็นการกระทำของรัฐโดยงบประมาณมากจากเงินภาษีที่เก็บจากประชาชนควรได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบผ่านศาสตร์ด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาของสังคมและส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นนโยบายสาธารณะอาจจะถูกกำหนดขึ้นเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองซึ่งเป็นเรื่องปกติของรัฐบาลและนักการเมืองแต่นโยบายเหล่านั้นควรมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการแก้ปัญหาของประชาชน และนโยบายสาธารณะที่ดีควรมีการประเมินตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน

การบริหารงานภาครัฐ

ตามความเห็นของ Woodrow Wilson (1887;Shafritz, Jay M. and AlbertC. Hyde, 2007;16-27) การบริหารงานภาครัฐเป็นส่วนที่เห็นได้ชัดที่สุดของรัฐบาลเป็นฐานะการเป็นผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ และเป็นส่วนที่มองเห็นได้ของรัฐ หากมองจากประวัติศาสตร์ของชาติผู้นำอาจจะแบ่งการบริหารงานภาครัฐได้3 ระยะ 1)ช่วงของระบบอำนาจเด็ดขาดของผู้นำ 2) ช่วงรัฐธรรมนูญถูกก่อตั้งเพื่อเข้ามาแทนที่ระบบอำนาจเด็ดขาด และ 3)ช่วงผู้มีอำนาจเข้าสู่การปกครองโดยรัฐธรรมนูญใหม่ที่ส่งเสริมให้พวกเขาเข้าสู่อำนาจ

ในทางการบริหารงานภาครัฐสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับรัฐบาลคือการมีความก้าวหน้าในการบริหารจัดการและการรับฟังความเห็นของประชาชนเป็นกฎแรกของรัฐบาลจุดประสงค์ของการศึกษาการบริหารงานภาครัฐเพื่อจะหาวิธีที่ทำให้ผู้บริหารรอดพ้นจากความสับสนและการใช้งบประมาณและสร้างกฎระเบียบพื้นฐาน ซึ่งต้องใช้รายละเอียด และกฎหมายมหาชนเป็นจำนวนมากและการกระจายอำนาจที่เหมาะสมเป็นส่วนสำคัญของระบบประชาธิปไตยการบริหารงานภาครัฐควรได้รับการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนเพื่อผลักดันการบริหารที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่ปกครองนั้นๆ

อ้างอิง

โชคชัย สุทธาเวศ .(2543). สำนักคิดในสังคมไทย:การประเมินเชิงวิพากษ์เบื้องต้นและสำนักคิด

เศรษฐศาสตร์การเมืองแนววัฒนธรรมชุมชน.ศูนย์เศรษฐศาสตร์การเมืองคณะ

เศรษฐศาสตร์.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

McGettigan, Timothy.(2011). GoodScience: The Pursuit of Truth and the Evolution of

Reality.MD: Lexington Books.

Parsons, Wayne.(1995). PublicPolicy: An Introduction to the Theory and Practice of Policy

Analysis.Cambridge: University Press.

Shafritz, Jay M. & Hyde,Alber C. (2007). Classics of Public Administration. Wadsworth;

CengageLearning.




Create Date : 30 สิงหาคม 2559
Last Update : 30 สิงหาคม 2559 18:26:47 น.
Counter : 3190 Pageviews.

0 comments
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
พบเจอภาพอะไร? ส่วนหนึ่งของภาพน่าสนใจจึงตัดมาใช้ คุกกี้คามุอิ
(1 ม.ค. 2567 03:56:23 น.)
BUDDY คู่หู คู่ฮา multiple
(3 ม.ค. 2567 04:49:04 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Shirley129.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 972112
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]

บทความทั้งหมด