การสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ


การสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ

ภคพรกุลจิรันธร

บทนำ

บทความนี้เป็นการวิเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยในด้านการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการและอุปสรรคในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในพื้นที่ต่าง ๆ จำนวน 16งานวิจัย ในห้วงเวลา ปี พ.ศ. 2543 -2559 (ค.ศ. 2000-2016) เพื่อศึกษา เชื่อมโยง และวิเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยปัญหาอุปสรรควิธีดำเนินงาน ผู้จัดบริการ เกี่ยวกับการศึกษาสำหรับคนพิการ สังเคราะห์ภาพรวมงานวิจัย และจัดทำกรอบแนวคิดสำหรับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อนำไปศึกษาในเชิงลึกต่อไป

กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษาพ.ศ. 2552(2552)  ได้กำหนดประเภทความพิการทางการศึกษา ไว้ 9 ประเภท ได้แก่ (1) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น  (2)บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (3) บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา   (4)บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ (5)บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (6) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา(7) บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม หรืออารมณ์ (8)บุคคลออทิสติก (9) บุคคลพิการซ้อน

วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาของคนพิการ

การจัดการศึกษาของคนพิการหมายถึงการดำเนินการเพื่อให้ความรู้ทั้งทางด้านทฤษฎี หรือ ทางด้านการปฏิบัติให้คนพิการอาจจะหมายถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย หรือ การศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อการประกอบอาชีพการจัดการศึกษาให้คนพิการในประเทศไทยเป็นสิทธิของคนพิการที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณภาพคนพิการพ.ศ. 2550 การจัดการศึกษาของคนพิการในประเทศไทยเป็นบริการสาธารณะซึ่งรัฐต้องจัดให้อย่างเท่าเทียมกับการศึกษาของคนปกติโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการมุ่งเน้นพัฒนาความสามารถคนพิการให้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล มุ่งเน้นการให้โอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกันทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยต่อเนื่องตลอดชีวิตโดยยึดหลักการศึกษาเพื่อปวงชนที่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 43 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12ปี รัฐจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ” ประกอบกับมาตรา 30 วรรค 3 บัญญัติไว้ว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกาย หรือสุขภาพสถานะของบุคคลจะกระทำมิได้” นั่นหมายถึงว่าประชาชนคนไทยทกคนมีสิทธิเสมอกันทางการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ว่าจะยากดีมีจน หรือสภาพร่างกายพิกลพิการ โดยรัฐต้องจัดสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลืออื่นทางการศึกษาให้ มาตรา 55 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลพิการ หรือทุพพลภาพ มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลือจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”

การจัดการเรียนการสอนแก่เด็กพิการหรือผู้ที่มีความบกพร่องย่อมแตกต่างกันไปตามความพิการหรือความบกพร่องของแต่ละประเภทจึงจำเป็นต้องมีการจำแนกความพิการหรือความบกพร่องให้ชัดเจนเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องตามความต้องการจำเป็นและศักยภาพของคนพิการ ให้บังเกิดในการพัฒนาอย่างแท้จริง

ประเภทของการจัดการศึกษาของคนพิการ

การศึกษาของคนพิการมีหลายประเภทได้แก่ การเรียนร่วม โรงเรียนศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ การจัดในครอบครัว การจัดโดยชุมชน การจัดในสถานพยาบาล การจัดในศูนย์การศึกษาพิเศษ การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

1. การเรียนร่วม (Inclusive Learning) เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัด

การศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติหรือเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพามาเข้าเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กและจะต้องจัดการศึกษาให้เขาอย่างเหมาะสมการเรียนร่วมยังหมายถึงการศึกษาที่ไม่แบ่งแยกระดับชั้น เช่น อนุบาลประถมศึกษามัธยมศึกษา อุดมศึกษาตลอดจนการดำรงชีพของคนในสังคมหลังจบการศึกษาจะต้องดำเนินไปในลักษณะร่วมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับเด็กปกติโดยไม่มีการแบ่งแยกซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดความหมายของการเรียนร่วมว่า หมายถึงวิธีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติเพื่อส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้ตามรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุขการจัดการเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกตินั้นสามารถจัดการศึกษาได้หลายหลายรูปแบบ คือ

1) การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) เป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติโดยอาจจัดให้อยู่ในชั้นปกติในบางเวลา เช่น วิชาดนตรี พลศึกษา หรือร่วมกิจกรรมลูกเสือ- เนตรนารี กีฬาสี เป็นต้น คาดหวังว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษจะมีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ และยังหมายถึงการจัดชั้นเรียนเฉพาะสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนปกติเด็กที่รับบริการในลักษณะนี้มักเป็นเด็กที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมากจึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ต้องมีการจัดทำแผนการศึกษาพิเศษเฉพาะบุคคลให้กับเด็ก

2) การเรียนร่วมเต็มเวลา(Mainstreaming) การจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้มีโอกาสได้เรียนชั้นเดียวกับเด็กปกติ ตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียนเด็กปกติได้รับบริการการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนอย่างไร เด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ได้รับบริการเช่นเดียวกันเป้าหมายสำคัญของการเรียนร่วมเต็มเวลาคือ เพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกันตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติเด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกันมนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน


2.การจัดตั้งโรงเรียนพิเศษ เป็นการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กพิการแต่ละประเภทโดยเฉพาะโรงเรียน 1 แห่ง รับเด็กพิการประเภทเดียวการจัดตั้งโรงเรียนในลักษณะดังกล่าวจะทำเมื่อไม่สามารถจัดการศึกษาในลักษณะการเรียนร่วมได้โรงเรียนประเภทนี้ควรเป็นโรงเรียนประจำเพราะให้บริการแก่เด็กที่มีภูมิลำเนาอยู่ห่างไกลจากโรงเรียน ศูนย์การศึกษาแห่งชาติของประเทศไทย ได้กำหนดรูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษในประเทศไทยในแง่ของการจัดการ 4 ประการ คือ
            1) จัดในรูปแบบของโรงเรียนพิเศษเป็นโรงเรียนที่จัดเป็นพิเศษสำหรับเด็กที่ต้องการพิเศษในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะเด็กเหล่านี้ไม่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้คือ โรงเรียนเศรษฐเสถียร โรงเรียนโสตศึกษาโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ โรงเรียนศรีสังวาล โรงเรียนราชานุกูล และโรงเรียนปัญญาวุฒิกรเป็นต้น

            2) จัดในรูปชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติเป็นการจัดชั้นเรียนพิเศษสำหรับเด็กพิเศษในโรงเรียนปกติ มักเป็นโรงเรียนอนุบาลหรือโรงเรียนประถมศึกษา เป็นการจัดชั้นพิเศษสำหรับเด็กเรียนช้าในบางโรงเรียนอาจมีครูจากกระทรวงศึกษาธิการไปช่วยสอน คือ โรงเรียนพญาไทโรงเรียนวัดหนัง โรงเรียนดาราคาม โรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส โรงเรียนวัดหงส์รัตนารวม โรงเรียนวัดชนะสงคราม โรงเรียนพิบูลย์ประชาสรรค์ และโรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทรีการามเป็นต้น
             3) จัดในรูปโครงการเรียนร่วมกับโรงเรียนปกติเพื่อให้เด็กตาบอดเรียนร่วมกับเด็กปกติเพื่อเด็กพิเศษเหล่านี้จะได้คลุกคลีกับเด็กปกติ คือ โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์โรงเรียนอนุบาลวัดนางนอง โรงเรียนอนุบาลสามเสน โรงเรียนพญาไท โรงเรียนวัดชิโนรสโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และโรงเรียนวัดสังเวช เป็นต้น
            4) จัดในรูปส่งครูพิเศษไปสอนตามโรงเรียนต่างๆที่มีเด็กพิเศษเรียนอยู่ โดยจัดทั้งในส่วนกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาคและตามโรงพยาบาลต่างๆ

3. การจัดการศึกษาในครอบครัว จัดโดยบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ ส่วนใหญ่จะเป็นการให้การศึกษาขั้นต้นสำหรับคนพิการโดยเฉพาะคนพิการทางสติปัญญาแต่ปัจจุบันนักการศึกษาทั่วโลกพยายามให้การจัดการศึกษาในครอบครัวทำในช่วงเวลาที่เด็กพิการมีอายุต่ำกว่า7 ปี และขอให้ครอบครัวจัดส่งเด็กพิการของตนเองเข้าสู่การเรียนรู้ในระบบอื่นๆ เพื่อให้เด็กได้มีพัฒนาการทางสังคมและการอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ ในสังคมรวมถึงได้พบปะใช้ชีวิตร่วมกับเด็กพิการคนอื่น ๆ ด้วย

4. การจัดการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชน( Community-Based Rehabilitation: CBR) ด้วยกระบวนการทางการศึกษาCBR เป็นหลักยุทธศาสตร์ที่รวมอยู่ในการพัฒนาชุมชนโดยมีเป้าหมายเพื่อ1) การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ 2) ความเท่าเทียมกันของโอกาสและ 3) ให้คนพิการมีส่วนร่วมและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคมซึ่งวิธีการที่จะทำให้ได้มาซึ่งเป้าหมายทั้งสามนี้จะต้องอาศัยการประสานกันระหว่างตัวของคนพิการเองครอบครัวของคนพิการ และชุมชนที่คนพิการอาศัยอยู่โดยเป็นโครงข่ายที่เชื่อมโยงกันอย่างเหมาะสมในด้านต่างๆ ได้แก่ การแพทย์ การศึกษา การอาชีพและการบริการทางสังคม ดำเนินการโดยจัดกระบวนการทางการศึกษาให้สามารถเสริมสร้างสมรรถภาพหรือความสามารถของคนพิการให้มีสภาพที่ดีขึ้นให้คนพิการได้มีโอกาสทำงานหรือดำรงชีวิตในสังคมทัดเทียมคนปกติ โดยการให้ครอบครัวและชุมชนเป็นหลักในการดูแลคนพิการ เพื่อสนอง ความต้องการจำเป็นที่แท้จริงของคนพิการเพราะกิจกรรมในชุมชนมีหลากหลายทำให้มีความสุข ในการดำรงชีวิตมากกว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการให้บริการช่วยเหลือคนพิการและมีผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง กับสถาบันที่ให้บริการช่วยเหลือด้วยเพราะผู้ปกครองจะไม่รู้สึกโดดเดี่ยว หรือถูกทอดทิ้งให้รับภาระอยู่ฝ่ายเดียวทั้งนี้เพื่อให้คนพิการได้รับ การพัฒนาในด้านต่าง ๆได้แก่ พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว พัฒนาการด้านการใช้มือและตาพัฒนาการด้านการใช้ภาษา พัฒนาการด้านความสามารถในการเรียนรู้พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเอง และพัฒนาการทางด้านสังคมซึ่งส่งผลให้คนพิการสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง จนสามารถลดระดับความพิการ เมื่อได้รับการดูแลช่วยเหลือจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนอย่างถูกต้องและเหมาะสม

กิจกรรมหรือโครงการที่จัดว่าเป็น CBR จะต้องมีลักษณะสำคัญคือ 1) คนพิการจะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรม/โครงการนั้นทุกขั้นตอนของโครงการนับตั้งแต่เริ่มการออกแบบโครงการ2) วัตถุประสงค์หลักของโครงการจะต้องเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต(Quality of Life, QOL) ของคนพิการให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระ (Independent Living) 3) มุ่งเน้นในการทำงานกับชุมชนเพื่อส่งเสริมให้คนพิการเกิดทัศนคติทางบวกและให้สมาชิกในชุมชนมีแรงจูงใจที่จะให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมกับชุมชนและ 4) ต้องเป็นโครงการที่มีความยืดหยุ่นเหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะของชุมชนแต่ละแห่ง

โดยจะต้องมีผู้เกี่ยวข้องในชุมชนเป็นผู้ดำเนินงานได้แก่1) คนพิการในชุมชนนั้น 2)ครอบครัวของคนพิการ 3) ชุมชนของคนพิการ 4)หน่วยงานภาครัฐ ทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และประเทศ 5) องค์กรเอกชน ทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค ประเทศ และต่างประเทศ 6) บุคลากรทางการแพทย์ นักการศึกษา นักสังคมสงเคราะห์ และวิชาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง7) นักธุรกิจหรือผู้สนับสนุนงบประมาณ

5. การจัดการศึกษาในสถานพยาบาล โดยเน้นให้ผู้พิการได้เรียนตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการโดยเน้นให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีให้โอกาสเด็กพิการ ได้เรียนทั้งด้านภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในหลักสูตรสายสามัญและให้ฝึกวิชาชีพเพิ่มเติมไปด้วยเพื่อให้คนพิการสามารถพัฒนาตนเองให้เพียงพอที่จะพึ่งตนเองได้ และให้ปรับ กฎระเบียบให้เอื้อต่อการรับเด็กพิการทุกคน และให้รับตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการ ทำทะเบียนเพื่อรับรองความพิการที่ต้องได้รับการช่วยเหลือตามกฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกในการศึกษาของคนพิการ และขอความร่วมมือจากสถานศึกษาและสถานพยาบาลมาร่วมกันจัดการศึกษาและฝึกอบรมพ่อแม่ให้รู้จักดูแลลูกพิการตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการ

6. การจัดในศูนย์การศึกษาพิเศษ เป็นการจัดบริการการศึกษาเฉพาะสำหรับคนพิการในประเทศไทยมีศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดทุกจังหวัดเพื่อให้บริการการศึกษาสำหรับคนพิการที่ไม่สามารถเข้ารับการศึกษาในรูปแบบอื่นได้

7. การจัดการศึกษานอกระบบ

ในประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีหน้าที่โดยตรงต่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการที่อยู่นอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับคนพิการอย่างกว้างขวาง ทั่วถึง และครอบคลุมความพิการทั้ง 9 ประเภทคือบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหือสุขภาพบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษาบุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษาบุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ บุคคลออทิสติก และบุคคลพิการซ้อนเพื่อให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ครอบครัว ชุมชนและบุคคลได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทเป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนพิการให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการนอกระบบโรงเรียนในภาพรวมของสำนักงาน กศน.เป็นการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยควบคู่กันซึ่งการศึกษานอกระบบเป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานคู่ขนานกับการศึกษาในระบบโรงเรียน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

8. การศึกษาตามอัธยาศัย

ในประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีหน้าที่โดยตรงต่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการที่อยู่นอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับคนพิการ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพและการศึกษาตามอัธยาศัยตามวิถีการดำเนินชีวิตทั่วไปและเพื่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับคนพิการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อนักศึกษาพิการ

องค์ประกอบของการจัดการศึกษาของคนพิการ

องค์ประกอบในการจัดการศึกษาให้แก่คนพิการนั้นควรเป็นการบูรณาการกันของทุกภาคส่วนเพื่อให้คนพิการมีความเท่าเทียมกัน และใช้ชีวิตได้รับการศึกษาและประกอบอาชีพเหมือนคนปกติในสังคมโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติประเทศส่วนใหญ่มีความตื่นตัวในการจัดการศึกษาให้คนพิการในระดับที่แตกต่างกัน จากการทบทวนและสังเคราะห์จากงานวิจัยผู้เขียนได้สรุปองค์ประกอบที่จำเป็นเพื่อการจัดการศึกษาให้คนพิการอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพได้ดังนี้

1. กฎหมาย

การมีกฎหมายที่ให้สิทธิแก่คนพิการในการศึกษาอย่างเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติเป็นเครื่องมือและองค์ประกอบสำคัญในการที่คนพิการจะได้เข้าถึงและ เข้ารับบริการด้านการศึกษาได้ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงการศึกษาในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องกับเงื่อนไขของในด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติกฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษาของคนพิการควรจะรวมถึงการให้สิทธิในการเข้ารับการศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายการให้การสนับสนุนในเรื่องเครื่องมือการศึกษาหรือเครื่องมือสื่อสารที่จำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดจากความพิการของนักเรียนนักศึกษาเช่น การมีตำราด้วยอักษรเบลรวมถึงการมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นแก่คนพิการในสถานศึกษา เช่น ลิฟท์ หรือทางลาด เป็นต้น

กฎหมายสำหรับการศึกษาของคนพิการในประเทศไทยนั้นให้ความเท่าเทียมกันไม่มีการเลือกปฏิบัติ สิ่งที่ต้องพัฒนาต่อไปคือการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติรวมถึงการปรับทัศนคติของผู้เกี่ยวข้องได้แก่ ครอบครัว รัฐ และ โรงเรียน

2.ทัศนคติที่เป็นบวกต่อคนพิการและความเข้าใจในข้อบกพร่องหรือความพิการของคนเหล่านั้น

โดยปกติคนพิการขาดความมั่นใจในตัวเองอยู่แล้วการได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว ชุมชน โรงเรียนมหาวิทยาลัยโดยยอมรับว่าคนพิการเป็นสมาชิกของชุมชนของสังคมคนพิการมีสิทธิเท่าเทียมกันไม่ควรได้รับการเลือกปฏิบัติในกรณีต่าง ๆและควรให้การเสริมแรงทางบวกแก่คนพิการเพื่อเปลี่ยนความพิการเหล่านั้นเป็นพลังและสามารถทำประโยชน์ให้สังคมได้ต่อไป

ทัศนคติต่อคนพิการในประเทศกำลังพัฒนาอาจจะยังมีปัญหาทำให้คนพิการมีความลำบากในการได้รับการตอบรับเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย หรือตอบรับเข้าทำงาน เนื่องจากกลัวความยุ่งยากที่จะเกิดจากคนพิการ

3.การบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ

อุปสรรคที่สำคัญของการจัดการศึกษาให้แก่เด็กพิการด้อยโอกาสคือการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานทั้งในกระทรวงเดียวกันและต่างกระทรวงที่ยังไม่มีระบบการส่งต่อข้อมูลและการพัฒนาเด็กเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควรยังคงใช้ความสัมพันธ์และการโทรหากันเพื่อปรึกษาถึงเด็กเป็นกรณีๆไปไม่เป็นการทำงานอย่างเป็นระบบแม้มีกรอบทางกฎหมายที่ชัดเจนว่าเด็กและเยาวชนทุกคนมีสิทธิทางการศึกษาที่เท่าเทียมแต่ในทางปฏิบัติแล้วยังมีเด็กยังขาดโอกาสทางการศึกษาอีกจำนวนมากจากการไม่ประสานงานกันของหน่วยงานในท้องถิ่นและรัฐบาล

การจัดทำฐานข้อมูลคนพิการกลางของประเทศก็อาจจะเป็นการแก้ปัญหาการดำเนินงานเรื่องนี้ได้ส่วนหนึ่งนั่นหมายถึงการแลกเปลี่ยนและบันทึกข้อมูลของคนพิการในแต่ละส่วนงานรวมเข้าด้วยกันเพื่อบูรณาการการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ทั้งการศึกษา การสาธารณสุขและการประกอบอาชีพ

4. ครูหรือผู้สอนที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อสอนคนพิการหรือมีจิตวิทยาเกี่ยวกับคนพิการ

ครูผู้สอนคนพิการนับว่าเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญยิ่งที่จะทำให้คนพิการมีศักยภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยเป็นผู้ที่ทำหน้าที่จัดกิจกรรมและอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนพิการเนื่องจากคนพิการมีข้อจำกัดในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านการเดินทาง การเรียนรู้ทำให้ไม่สามารถที่จะไปศึกษาในระบบโรงเรียนได้ดังนั้นครูผู้สอนคนพิการจะต้องไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนที่บ้านหรือในชุมชนตั้งแต่การส่งเสริมการรู้หนังสือ การศึกษาขั้นพื้นฐานเริ่มตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย การศึกษาต่อเนื่องซึ่งประกอบไปด้วยการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ และการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมชุมชน พร้อมทั้งจัดการศึกษาตามอัธยาศัยและกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับคนพิการ ครูผู้สอนคนพิการเปรียบเสมือนผู้ช่วยเหลือให้คำปรึกษาและชี้แนะแนวทางให้คนพิการได้รู้ถึงศักยภาพของตนเองสามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวชุมชมและสังคมได้อย่างมีความสุขและสามารถช่วยเหลือสังคมได้ตามศักยภาพของตนเอง

5.เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ลดช่องว่างระหว่างคนพิการกับคนปกติในการดำเนินชีวิต

เนื่องจากคนพิการมีภาวะบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตตามปกติด้วยสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งอำนวยความสะดวกตามปกติได้การที่จะทำให้คนพิการดำเนินชีวิตตามปกติเช่นบุคคลทั่วไปคือการเสริมแรงด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ลดช่องว่างของความบกพร่องนั้น เช่นคนเข็นไฟฟ้าสำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหว ทางลาดหรือรถโดยสารชานต่ำเพื่อให้คนพิการสามารถใช้บริการด้วยตนเองได้ ไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือของคนอื่นโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชนิดต่าง ๆอักษรเบลสำหรับคนพิการทางการมองเห็น หรือ ภาษามือสำหรับคนพิการทางการได้ยินเป็นต้นสิ่งเหล่านี้คือเครื่องมือเสริมแรงในการศึกษาของคนพิการ

6.หลักสูตรการศึกษาที่คนพิการสามารถนำไปประกอบอาชีพได้

การพัฒนาระบบการศึกษาที่เชื่อมโยงการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กันในรูปแบบของการศึกษาตลอดชีวิตซึ่งการพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต มีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตเนื่องจากในประเทศไทยมีผู้ที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ขาดโอกาสทางการศึกษาตกอยู่ในสภาวะปัญหาดังกล่าวอยู่เป็นจำนวนมากการส่งเสริมการศึกษาจึงมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศโดยเชื่อว่า มนุษย์เป็นทุนทางสังคมที่มีคุณค่าหากได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาคเท่าเทียมในทิศทางที่ถูกต้องตามศักยภาพแล้วย่อมจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้

การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษารวมถึงการจัดฝึกและพัฒนาอาชีพสำหรับคนพิการเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการให้เพิ่มขึ้นสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุขอย่างแท้จริงซึ่งการบริการจัดฝึกและพัฒนาอาชีพให้แก่คนพิการวัยแรงงาน คือลักษณะของการฝึกอบรมงานวิชาชีพ และการเตรียมความพร้อมในการทำงานโดยรูปแบบของการจัดการศึกษาวิชาชีพในโรงเรียนหรือสถาบันฝึกอาชีพที่จัดขึ้นเฉพาะสำหรับคนพิการโดยอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อส่งเสริมทักษะความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานตามความสามารถความเหมาะสมต่อสภาพความบกพร่องของคนพิการ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมให้แก่คนพิการก่อนการประกอบอาชีพในสถานประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระเพื่อให้คนพิการสามารถพึ่งพาตนเอง มีรายได้หาเลี้ยงชีพครอบครัว และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างภาคภูมิ

7.งบประมาณสำหรับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ

การจัดการฝึกอบรมให้แก่คนพิการต้องได้รับความร่วมมือจาก คนพิการผู้ดูแลคนพิการ ชุมชน (ในกรณีที่ต้องการความช่วยเหลือในการขนย้าย)และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ในด้านงบประมาณ)นอกเหนือจากงบประมาณของรัฐจากกระทรวงต่าง ๆ

ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ’ ซึ่งผู้ปกครอง มูลนิธิสมาคมหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็สามารถตั้งได้เพียงแต่ยังไม่มีระเบียบสนับสนุนที่ชัดเจน ทำให้ไม่มีงบประมาณที่เพียงพอคือใครตั้งก็ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ทำให้ศูนย์นี้มีจำนวนไม่มากด้วยเหตุนี้ล่าสุดทาง สพฐ.จึงมีนโยบายให้ศูนย์การศึกษาพิเศษลงไปขยายผลในท้องถิ่นทว่าก็ประสบปัญหาเดียวกัน คือไม่มีงบจัดสรรไปให้การทำงานก็เลยยังไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถนำเด็กเข้าสู่ระบบได้อย่างที่คาดหวัง

การจัดวางโครงสร้างของการศึกษาพิเศษก็มีปัญหาเพราะทุกวันนี้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นเพียงหน่วยงานเล็กๆ ในสังกัด สพฐ.ซึ่งมีหน้าที่ดูแลโรงเรียนต่างๆ ของรัฐที่อยู่ในระบบซึ่งไม่สอดคล้องกับภารกิจที่กฎหมายกำหนดเอาไว้เนื่องจากสำนักที่ว่านี้ต้องดูแลคนพิการตั้งแต่แรกเกิดจนถึงปริญญาตรีรวมไปถึงการศึกษาทางเลือก การศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษาซึ่งทั้งหมดนี้ต่างอยู่นอกเหนืออำนาจของ สพฐ. ส่งผลให้ที่ผ่านมาการศึกษาพิเศษไม่สามารถบูรณาการในภาพรวมได้อย่างที่ควรจะเป็นบวกกับงบประมาณที่มีอยู่จำกัดจริงอยู่ที่การศึกษาพิเศษมีเงินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการแต่ก็เป็นสัดส่วนที่น้อยมาก

8. ครอบครัว ชุมชน หรือ NGOทางด้านคนพิการหรือทางด้านการศึกษา

ผู้มีส่วนได้เสียในตำบลบัคลุงมี 4กลุ่ม ได้แก่ 1) ครอบครัวที่มีเด็กพิการซึ่งเป็นกลุ่มหลัก2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) NGOs 4) โรงเรียน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นผู้จัดหาสถานที่สำหรับการเรียนNGOs จะให้ความสำคัญในด้านการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการเรียนแต่ยังต้องการการปรับปรุงโครงการอีกมาก การเข้าถึงการศึกษาระหว่างเด็กพิการในประเภทต่างๆ มีระดับต่างกัน โดยเด็กพิการการทางได้ยินสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเพียงพอ แต่เด็กพิการทางการมองเห็นและพิการทางสติปัญญามีโรงเรียนน้อยสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยสำคัญในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กพิการ มีความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าถึงการศึกษาความสามารถในการชำระค่าการศึกษา และจำนวนสถานศึกษา เนื่องจากที่ตั้งของโรงเรียนรายได้ของผู้ปกครองมีผลกระทบซึ่งกันและกัน ผู้ปกครองต้องการโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใกล้บ้านเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางคุณสมบัติของครูก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ

กรอบแนวคิดเพื่อความสำเร็จของการจัดการศึกษาของคนพิการ

1. กระบวนการ ‘แม่ฮ่องสอนโมเดล’

งานวิจัยนำร่องของ สสค.ผ่านการลงพื้นที่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งเป็นจังหวัดที่มีเด็กพิการด้อยโอกาสประมาณ1,000 คนในขณะที่ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดแม่ฮ่องสอนสำรวจพบแล้ว327 คน และมีเพียง 120 คนที่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องสาเหตุสำคัญมาจากความห่างไกลของพื้นที่ทำให้เด็กพิการไม่สามารถเดินทางมาอยู่ศูนย์ได้ในทางกลับกันแม้ครูประจำศูนย์จะสามารถไปเยี่ยมบ้านเด็กพิการได้แต่เพราะการเดินทางจึงไม่ได้ไปได้บ่อยๆ โอกาสที่พัฒนาพ่อแม่ให้กลายเป็นครูเพื่อช่วยพัฒนาเด็กได้อย่างต่อเนื่องจึงลดตามไปด้วยกระบวนการนี้ประกอบด้วย

1) การออกแบบระบบการเชื่อมโยงและส่งต่อระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของเด็กพิการด้อยโอกาสภายใต้โครงการวิจัยระบบหลักประกันโอกาสทางการศึกษาโดยเริ่มให้ผู้ปกครองและบุตรหลานเข้ามาฝึกทักษะชีวิตฝึกพัฒนาการทางด้านร่างกายทักษะการเรียนเรียนรู้เบื้องต้นสำหรับการเข้าสู่ระบบการศึกษา

2)ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อจัดการศึกษา

ให้แก่ลูกหลานของตนเองในท้องถิ่นโดยทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ให้การสนับสนุนในรูปแบบของงบประมาณรวมไปถึงมีการผลักดันกฎหมายท้องถิ่นเพื่อจัดสรรงบประมาณปีละ 400,000 บาท

สนับสนุนให้มีระบบการดูแลเด็กแบบประกบตัว(Case Management System) อย่างต่อเนื่องและ

3)สนับสนุนการส่งต่อเด็กและเยาวชนด้อยโอกาสเหล่านี้ให้ได้รับบริการทั้งด้าน

สาธารณสุขการศึกษาและสังคมสงเคราะห์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ไม่มีเด็กคนใดหลุดออกจากระบบการศึกษาอีกต่อไป เส้นทางหลักสู่ระบบหลักประกันโอกาสทางการศึกษามี4 เส้นทางได้แก่สถานพยาบาล ศูนย์การศึกษาพิเศษ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพัฒนาสังคมจังหวัด

4)ระบบฐานข้อมูลที่จัดทำขึ้นจะประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญคือ (1) ระบบสนับสนุนการ

การลงทะเบียนเด็กด้อยโอกาสจาก 4 ช่องทางเข้าสู่กระบวนการดูแลการคัดกรองเบื้องต้นและการวางแผนสวัสดิการ (2) ระบบส่งต่อข้อมูลบุคคลและแผนการดูแลเด็กเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานในระดับท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ในการดูแลเด็กด้อยโอกาส (3) ระบบการติดตามและประเมินผลการดูแลเด็กด้อยโอกาสแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่การติดตามสนับสนุนชุดสิทธิประโยชน์และการส่งต่อการดูแลเด็กด้อยโอกาสของ CaseManager ในหน่วยงานในระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องและการติดตามประเมินผลพัฒนาของเด็กด้อยโอกาสอย่างต่อเนื่อง (4) ระบบการบริหารจัดการข้อมูลสวัสดิการและค่าใช้จ่ายต่อหัวในการดูแลโดยจัดทำการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลสวัสดิการและข้อมูลค่าใช้จ่ายรายกิจกรรมเกิดขึ้นเพื่อให้ Case Manager และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถสนับสนุนชุดสวัสดิการที่จำเป็นต่างๆแก่เด็กได้อย่างต่อเนื่องและ (5) ระบบคลังข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวิจัยพัฒนาคุณภาพการดูแลเด็กด้อยโอกาสและเป็นฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดทำนโยบายและแผนงบประมาณเพื่อขยายผลการทำงานของระบบหลักประกันโอกาสทางการศึกษาสู่พื้นที่อื่นๆจองประเทศต่อไปในอนาคต

2. Rutherford Model

Rutherford อธิบายถึง 4เป้าหมายหลักในการศึกษาเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนพิการในสหรัฐอเมริกา ได้แก่1) การมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน 2) การเข้าร่วมโครงการอย่างเต็มใจเต็มกำลัง3) ความต้องการมีชีวิตอิสระ ไร้การพึ่งพาคนอื่น 4)การมีความสามารถในเชิงเศรษฐกิจของตนเอง

3.กรอบแนวคิดแบบภคพร

ผู้เขียนได้สรุปกรอบแนวคิดในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เคยมีมาแต่เดิมและเติมเต็มตามวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาคือเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ความเข้าใจในอัตราที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดเพื่อตนเองและสังคมได้ ดังนี้

รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ

- สถานที่จัดการศึกษา

- หลักสูตร

- คุณสมบัติผู้สอน

- การประเมินผล

1.ทัศนคติของคนพิการต่อการศึกษา

2.ทัศนคติของคนในครอบครัวคนพิการต่อการศึกษา

3.การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ

4.บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษาของคนพิการ

อ้างอิง

1]ภคพร กุลจิรันธร.(2556).รูปแบบศูนย์บริการคนพิการที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย.

กรุงเทพฯ:สำนักงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ.

2]ภคพร กุลจิรันธร.(2559).แนวทางการพัฒนาศักยภาพกำลังพลกองทัพบกที่พิการจากราชการ

สนามเพื่อประกอบอาชีพที่เหมาะสม.วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาความมั่นคงศึกษา.โรงเรียนเสนาธิการทหารบก.

3]อวิรุทธ์ ฉัตรมาลาทอง.(2555).การพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการฝึกและพัฒนาอาชีพเพื่อ

ส่งเสริมศักยภาพแรงงานคนพิการไทยในเขตภาคกลาง.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

4]Alrashidi,A.(2010).University Education And Students' Perceptions Of Physical

DisabilitiesAt Kuwait University.Doctoral Thesis. UnitedStates-Indiana: Purdue

University.

5]Brown,J. (2011). Disability: A normative evaluation. PhD Dissertation. UnitedStates:

Missouri:Washington University at St. Louis.

6]Cheausuwantavee T (2008). Perspective on Disabilitythrough Concept and Theory.

Bangkok, Thailand: Tana Press.

7]Cheausuwantavee T.(2012).Rights,Equality, Educational Provisions and Facilities for

Students with Disabilities in Thailand: Legal and PracticalPerspectives over the

Past Decade.Bangkok:TanaPress.

8]Geetha r.Bhat.(2013). Inclusive EducationAnd Special School Concepts Are Not

Competitive But Complementary. India.Bangalore:Hamsakutira Foundation.

9]Harvey, W. Michael. (2001). The Efficacy of Vocational Education for Students with

Disabilities Concerning Post-School Employment Outcomes: A Reviewof the

Literature.ThePennsylvania State University:Pennsylvania.

10]Oosterlee, A.S. (2012).The Accessibility To BasicEducation ForDisabled Children

In Baglung District, Nepal. Master Thesis.Faculty of Geosciences. Utrecht University.

The Netherlands.

11]RutherfordHR.(2013).A Quality of Life Framework of Special Education Outcome.

DoctoralThesis.United States.Lawrence:University of Kansas.

12]Saint Paul Edeh.(2012). Education As AHuman Right : Inclusion And Social

Justice.Ph.D.Dissertation.Iceland. Reykjavik:University of Iceland.

13]Singh Yash. (2015).Problems And ProspectsOf Inclusive Education In India. India.Uttar

Pradesh: M J P Rohilkhand University.

14]Smith,M. (2011). Facilitating Self-Disclosure Among Students With Disabilities In

InstitutionsOf Higher Education .PhD Dissertation. United States:Florida: Nova

SoutheasternUniversity.

15]Stanley,Paul.(2000).Students With Disabilities In Higher Education.Ph.D. Dissertation.

United States: Alabama: AlabamaUniversity.

16]TorrenoStephanie. (2012). Barriers to Inclusive in Education. New York.UNESCO.




Create Date : 26 ตุลาคม 2559
Last Update : 26 ตุลาคม 2559 11:31:48 น.
Counter : 1980 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Shirley129.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 972112
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]

บทความทั้งหมด