วิเคราะห์สถานการณ์โลก ครึ่งปีหลัง 2559


วิเคราะห์สถานการณ์โลกครึ่งปีหลัง 2559

                                                                                                   ดร.ภคพร กุลจิรันธร

1. ภัยคุกคามต่อความมั่นคงโลก

ภัยคุกคามต่อความมั่นคงของโลกในห้วงนี้อาจแบ่งได้ 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ภัยคุกคามจากการก่อการร้าย โดยเฉพาะจากกลุ่ม ISIS ยังคงเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของโลกที่ร้ายแรงที่สุดและมีการปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องโดยพื้นที่การปฏิบัติการยังคงเน้นที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาซึ่งทำให้ประเทศในสหภาพยุโรปต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการรับผู้อพยพจากประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกามีการจำกัดจำนวนมีการตั้งเงื่อนไขในการรับผู้อพยพมากขึ้น และได้มีการประท้วงขับไล่ชาวมุสลิมออกนอกประเทศในประเทศฝรั่งเศสซึ่งการประท้วงชาวมุสลิมนั้นมีแนวโน้มจะมีมากขึ้นในสหภาพยุโรปซึ่งอาจเพิ่มระดับเป็นอาชญากรรมจากความเกลียด (Hate Crime) ได้ประเทศที่ยังคงเป็นเป้าหมายหลักในการปฏิบัติการของกลุ่มISIS ได้แก่ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และอังกฤษ และกลุ่มประเทศที่เป็นเป้าหมายของการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อชักจูงเข้าร่วมกลุ่มได้แก่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และ ประเทศไทย โดยใช้เว็บ Al Fatihin(The Conqueror) และใช้ภาษามาเลเซียเผยแพร่จดหมายข่าวเพื่อดึงดูดกลุ่มผู้ใช้ภาษามาเลเซียให้สนับสนุนกลุ่มISIS มากขึ้นผ่านการประชาสัมพันธ์ข่าว โฆษณากิจกรรมของกลุ่ม ISทั่วโลก และอ้างความรับผิดชอบสำหรับเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กลุ่มที่ 2 ภัยคุกคามจากอาวุธนิวเคลียร์

เกาหลีเหนืออ้างความสำเร็จในการทดสอบหัวรบนิวเคลียร์แบบใหม่ซึ่งได้รับการพัฒนาจนมีขนาดเล็กลงนับเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีด้านนิวเคลียร์ที่เร็วเกินความคาดหมายเกาหลีเหนือมีเป้าหมายที่จะพัฒนาหัวรบนิวเคลียร์ดังกล่าวเพื่อให้สามารถใช้ติดตั้งกับขีปนาวุธภาคพื้นดินพิสัยใกล้ (Short – Range Scud Missile) ซึ่งได้เพิ่มระดับความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้

กลุ่มที่ 3 ภัยคุกคามจากความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ(PCA) มีคำตัดสินกรณีพิพาททะเลจีนใต้ที่ฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องจีนระบุว่าแนวเส้นประ 9 เส้นรูปตัว U ที่จีนใช้อ้างกรรมสิทธ์ในทะเลจีนใต้ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่อยู่บนพื้นฐานของหลักกฎหมายระหว่างประเทศโดยจีนไม่สามารถแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ในแนวเส้นดังกล่าวได้แต่จีนไม่ยอมรับคำตัดสินโดยอ้างว่าศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ (PCA) ไม่ใช่คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแต่เป็นเพียงศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอดีตรัฐบาลฟิลิปปินส์แต่จีนไม่เคยต้องการเห็นความตึงเครียดหรือความขัดแย้งใดๆ ในพื้นที่ดังกล่าวเพราะการพัฒนาของจีนขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีเสถียรภาพ ดังนั้นจีนจะทำงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลจีนใต้ โดยเวียดนามมีท่าทีสนับสนุนจีนในขณะที่ สหรัฐฯ และกัมพูชาสนับสนุนฟิลิปปินส์

2.ภัยคุกคามในภูมิภาคอาเซียน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าภัยคุกคามจาก ISIS ยังคงเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงลำดับ1 ในภูมิภาคอาเซียน โดยมีหลักฐานว่าได้มีการก่อตั้งเครือข่ายISIS ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์โดยมีการบ่มเพาะแนวคิดรุนแรงผ่านทางโซเชียลมีเดียและการปฏิบัติการจะเป็นในรูปแบบ การก่อการร้ายที่เกิดจากการกระทำของผู้ก่อเหตุคนเดียวเพียงลำพัง(lone wolf) มากกว่าการก่อการร้ายโดยกลุ่มติดอาวุธทำให้ตรวจสอบยากและไม่พบสิ่งบ่งชี้ล่วงหน้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มในการเตรียมวางแผนก่อเหตุ

มาเลเซียได้เริ่มใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่เพื่อรับมือกับภัยคุกคามและภัยก่อการ้ายจาก ISIS มีการทบทวนแบบเรียนอิสลามศึกษาโดยเริ่มจากโรงเรียน ปอเนาะและสถาบันการศึกษาระดับสูง เพื่อรับมือกับแนวคิดอิสลามแนวทางรุนแรง โดยเน้นอธิบายถึงความหมายที่แท้จริงของ“ญิฮาด” แก่สมาชิกในสังคม เพื่อไม่ให้เข้าใจความหมายของญิฮาดคลาดเคลื่อนและนำคำญิฮาดมาใช้เพื่อก่อเหตุรุนแรงตามแนวคิดของผู้ก่อการร้าย และมาเลเซียยังได้ส่งพัศดีประจำเรือนจำมาเลเซียไปเข้าร่วมโครงการพิเศษเพื่อลดแนวคิดนิยมความรุนแรงหลังจากที่ดูแลผู้ต้องขังซึ่งต้องสงสัยเกี่ยวข้องกับกลุ่ม ISISและส่อเค้าว่าได้รับอิทธิพลจากกลุ่มผู้ต้องขังกลุ่มดังกล่าว และในด้านความร่วมมือกับไทย มาเลเซียและไทยลงนามในบันทึกความเข้าใจ(MOU) ด้านความมั่นคงครอบคลุมประเด็นปัญหาคนสองสัญชาติอาชญากรรมข้ามชาติ การคมนาคม และการปักปันเขตแดน โดยขอให้ไทยส่งรายชื่อลายพิมพ์นิ้วมือ และข้อมูลทางชีวภาพของบุคคลสองสัญชาติให้แก่มาเลเซียด้วย

หน่วยงานความมั่นคงของอินโดนีเซียเฝ้าระวังความเคลื่อนไหวของชาวอุยกูร์บนหมู่เกาะRiau เนื่องจากเกรงว่าจะไปเข้าร่วมกับกลุ่มก่อการร้ายในพื้นที่และก่อเหตุรุนแรงขึ้นรวมทั้งเฝ้าระวังกลุ่ม East Indonesia Mujahideen (MIT) ที่อาจก่อเหตุแก้แค้นทางการอินโดนีเซียหลังจากนายSantoso ผู้นำกลุ่ม ถูกทางการสังหาร ซึ่งหากค่ายฝึกและแหล่งหลบซ่อนตัวที่จัดตั้งขึ้นโดยนายSantoso ยังไม่ถูกกวาดล้าง ชาวอุยกูร์อพยพก็ยังคงมองกลุ่ม MITเป็นพื้นที่พักพิงชั้นดีและเป็นปัจจัยดึงดูดให้ชาวอุยกูร์จากจีนเดินทางเข้ามาในพื้นที่มากขึ้นโดยก่อนหน้านี้พบว่าชาวอุยกูร์แทรกซึมเข้าไปในอินโดนีเซียโดยใช้เรือเดินทะเลขนาดเล็กข้ามเข้ามาบริเวณหมู่เกาะRiau และบางส่วนใช้หนังสือเดินทางปลอมผ่านเข้ามาทางกาลิมันตันเหนือ

กลุ่มก่อการร้ายอาบูซายาฟในฟิลิปปินส์ต้องการที่จะจัดตั้งรัฐอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้วางระเบิดเมืองดาเวาซึ่งเป็นบ้านเกิดของประธานาธิบดีดูเตอร์เต

เมียนมาเตรียมการจะรับผู้หนีภัยการสู้รบ(ผภร.) ที่อยู่ในไทยประมาณ 105,000 คนกลับประเทศโดยมีแผนจะลงนามความตกลงร่วมกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR)เพื่อสานต่อโครงการจัดเตรียมพื้นที่และรับรองความปลอดภัยให้กับ ผภร.เช่น สถานศึกษา สถานพยาบาล โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และการฝึกอาชีพ และชนกลุ่มน้อยในเมียนมา มีแนวคิดจะจัดตั้งสหพันธรัฐที่แบ่งเขตการปกครองตามกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อให้ชนกลุ่มน้อยมีสิทธิเท่าเทียมกับชาวพม่า โดย 1) คงสภาพ 7 รัฐดั้งเดิมของชนกลุ่มน้อยเนื่องจากเป็นชนส่วนใหญ่ตามชื่อเรียกของรัฐนั้นอยู่แล้ว (รัฐฉาน คะฉิ่น คะยากะเหรี่ยง มอญ ยะไข่ และชิน) 2) รวม 3 มณฑลซึ่งมีชาวพม่าเป็นชนส่วนใหญ่(มัณฑะเลย์ พะโค และมะกวย) เป็น 1 รัฐ เรียกว่า “รัฐพม่า” และ 3) ให้เรียกมณฑลที่เหลืออีก4 มณฑล (มณฑลย่างกุ้ง สะไกง์ ตะนาวศรี และอิระวดี)ซึ่งมีกลุ่มหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ ว่า “รัฐชาติพันธุ์”(Nationalities State) อย่างไรก็ดีนักวิเคราะห์ด้านการเมืองเชื่อว่าเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ นอกจากนี้ยังมีการหารือถึงสิทธิในการปกครองตนเองแบบเบ็ดเสร็จ อำนาจอธิปไตย ความเสมอภาคการให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมทางเพศ ตลอดจนการมีรัฐธรรมนูญ/กฎหมายเฉพาะสำหรับรัฐใดรัฐหนึ่ง

4.วิเคราะห์สถานการณ์ด้านภัยคุกคามต่อความมั่นคงโลกในปี 2560

โลกในปี 2560 ยังคงต้องเตรียมรับมือกับภัยจากการก่อการร้ายของกลุ่ม ISIS ในรูปแบบที่หลากหลายขึ้น และคาดว่าพื้นที่ปฏิบัติการของ ISIS จะขยายเข้ามาในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้นจากสาเหตุที่ประเทศในอาเซียนมีประชากรมุสลิมอยู่มากสามารถขยายแนวคิดในด้านความเชื่อและความขัดแย้งในเรื่องศาสนาแบบผิด ๆ ได้ง่ายการระดมทุนของผู้ก่อการร้ายจะเปลี่ยนไปในรูปแบบของการเรียกค่าไถ่การค้าของผิดกฎหมายมากขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันมีภาวะอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องทำให้ทุนจากตะวันออกกลางลดน้อยลงมาเลเซีย อินโดนีเซีย จะเป็นที่พักพิงและบ่มเพาะสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายมากขึ้นเนื่องจากสภาพพื้นที่และกฎหมายเกี่ยวกับการก่อการร้ายที่ยังไม่ชัดเจนรวมถึงการอ้างหลักศาสนาที่คลาดเคลื่อนเพื่อให้ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่

ภัยคุกคามจากผู้อพยพเนื่องจากภัยสงครามและภัยจากการก่อการร้ายจะขยายพื้นที่เข้าไปสู่ประเทศในเอเซียและประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิคเนื่องจากระเบียบการรับผู้อพยพที่เข้มงวดขึ้นของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประเทศต่างๆ ต้องปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการรับผู้อพยพเนื่องจากสงครามในซีเรียและอิรัคไม่มีท่าทีที่จะยุติ




Create Date : 07 ตุลาคม 2559
Last Update : 7 ตุลาคม 2559 8:08:27 น.
Counter : 1094 Pageviews.

0 comments
ถนนสายนี้ ... ... มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 378 "ฝันที่ไม่เคยเป็นจริง" สมาชิกหมายเลข 7115969
(10 มิ.ย. 2568 22:50:45 น.)
ภาพประวัติศาสตร์ไทย II อากง สมาชิกหมายเลข 7115969
(31 พ.ค. 2568 19:05:56 น.)
ตึก : ทัสนา/สถาปัตยกัม (จบ) ผู้ชายในสายลมหนาว
(29 พ.ค. 2568 10:16:09 น.)
The allegations against Paetongtarn Shinawatra have been confirmed! Is this really the end of her..? sunmachon
(28 พ.ค. 2568 18:33:27 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Shirley129.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 972112
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]

บทความทั้งหมด