ธรรมะอาศัยกันและกัน



   มองชื่อธรรมะท่านให้มองเหมือนคนนั่งรถเจ็ดผลัดเจ็ดต่อ  ขึ้นคันที่หนึ่งสุดทางแล้วก็ลงแล้วขึ้นคันต่อไป ต่อคันนั้น...คันนั้นๆ จนถึงจุดหมายปลายทาง ถึง ๗ ผลัด.  พูดถึงสติก็ไม่ใช่มีแต่สติตัวเดียว  สติก็ต้องอาศัยธรรมตัวอื่นอีก   พูดถึงปัญญา ไม่ใช่ปัญญา ปัญญา ตัวเดียว  ปัญญาก็อาศัยสติ เป็นต้นอีก  พูดถึงจิต  ไม่ใช่จิต จิตตัวเดียว  จิตคนเดียวทำอะไรไม่ได้  ถ้าไม่อาศัยเจตสิก เช่น  สติ ปัญญา สมาธิ เจตนา มนสิการ  สัญญา เป็นต้น ร่วมทำงาน 107  เพราะดังนั้น พึงมองให้ตลอด
 
 

170ปัญญาส่องสว่างให้เห็นทั่วไป จะเอาอย่างไร ก็แล้วแต่เจตนา


  ตอนนี้ เราก็เข้าสู่วงการตุลาการ  แต่ที่จริงนั้น ต้องถึงกันหมด หลักการก็ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันนั่นแหละ คือเริ่มจากนิติบัญญัติ แล้วบริหาร และตุลาการ บริหารก็ดำเนินการให้เป็นไปตามนิติบัญญัตินั้น แล้วตุลาการก็เอานิติบัญญัตินั่นแหละมาเป็นเกณฑ์ที่จะตัดสิน

 นี่ก็เหมือนพระวินัย และก็คือวินัยในความหมายที่แท้ของมันนั่นแหละ พระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ก็แบบเดียวกัน

 ย้ำอีกทีว่า วินัยนี้เป็นบัญญัติ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทรงแสดงธรรม บัญญัติวินัย ท่านใช้ศัพท์ต่างกัน เพราะว่าธรรมนั้นมีอยู่ของมันตามธรรมดา พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ก็ทรงแสดงไปตามที่มันเป็น แต่วินัยนี้ทรงบัญญัติ คือจัดตั้งวางขึ้นไว้ เป็นเรื่องของฝีมือมนุษย์


  วินัยเกิดจากฝีมือของมนุษย์   ถ้ามนุษย์นั้นมีฝีมือดี อย่างที่ว่าเป็นผู้รู้จริง  มีปัญญาใสสว่างเข้าถึงความจริง แล้วก็มีเจตนาที่ใสสะอาด ก็มาใช้ปัญญาที่สามารถในการจัดตั้ง จัดการวางตราข้อกำหนดบทบัญญัติลงไปได้อย่างดี บัญญัตินั้น จะเรียกว่านิติบัญญัติ หรือวินัยบัญญัติ ก็แล้วแต่ ก็จะได้ผลดีจริง

 ถ้านิติบัญญัติ จัดตั้งไว้ดีแล้ว  มาถึงตุลาการ ก็คงไม่ต้องหนักใจ  แต่ถ้านิติบัญญัติทำมาไม่ดี ตุลาการก็หนักใจ ถ้าทำมาไม่เรียบร้อย ในด้านตัวบทโครงสร้างรูปแบบ ก็คงหนักใจไปแบบหนึ่ง ถ้าทำมาไม่ถึงธรรมในด้านอรรถสาระ ถึงแม้ด้านตัวบทจะเรียบร้อย ถ้าตุลาการมีเจตนาดี มุ่งเพื่อความดีงามความเป็นธรรมความถูกต้องในสังคม ก็คงอึดอัด แต่ถ้าไม่มีเจตนามุ่งถึงธรรม ว่าไปแค่ให้ตรงตามตัวบทก็แล้วไป

 รวมความแล้ว  ตุลาการก็ดำเนินการให้เกิดผลตามนิติบัญญัตินั้น และในการทั้งหมดนั้น ก็อย่างที่กล่าวแล้วว่ามีปัญญา กับ เจตนานี้แหละเป็นสำคัญ

 ทีนี้ ปัญญา กับ เจตนา นั้น  เหมือนเป็นหัวหน้าใหญ่  ต่อจากปัญญาและเจตนา ก็มีข้อธรรมปลีกย่อยมากมายหลายอย่าง เป็นตัวประกอบที่จะกำกับพ่วงไป หรือช่วยรับใช้สนองงานออกสู่การปฏิบัติกระจายออกไปในขั้นตอนต่างๆ

  เราต้องยอมรับว่า ผู้พิพากษานั้นแน่นอนว่าท่านก็เป็นมนุษย์ ท่านก็มีจิตใจ มีความรู้สึก มีความนึกคิด แล้วในด้านความรู้สึกนั้น ก็เป็นธรรมดาตามปกติที่เป็นปุถุชน ก็มีความรู้สึกสบายใจ ไม่สบายใจ บางทีก็มีความทุกข์ใจ แล้วก็หายโล่งไป มีความผ่องใสได้ มีความขุ่นมัวเศร้าหมองได้ บางทีมีความโกรธขัดใจ ต้องใช้ความเข้มแข็งมากที่จะข่มใจระงับ ก็จึงต้องมีหลักธรรม หรือข้อประพฤติปฏิบัติ ในระดับของจริยะ เพื่อช่วยในการที่จะดำรงตัวหรือวางตัวให้ได้ผลดี

  พูดเข้าหลักก็คือ เพื่อให้ปัญญา กับ เจตนา ทำงานประสานออกสู่การปฏิบัติด้วยกัน ให้ออกผลอย่างที่มันควรจะเป็นอย่างแท้จริง ก็มีหลักธรรมข้ออื่นๆ มาประกอบ กำกับ รับใช้ สนองงาน เป็นบริวาร สนับสนุน เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้ ก็มาออกที่ตัวของผู้พิพากษา โดยมีผู้พิพากษาเป็นผู้แสดง

 ก่อนจะพูดถึงธรรมข้อย่อยๆ ที่ออกสู่การปฏิบัติทั่วไป จะต้องทำความเข้าใจให้ชัดอีกหน่อยเกี่ยวกับบทบาทของปัญญา กับ เจตนา นั้น ในฐานะที่เป็นตัวยืน มีขอบเขตการทำงานทั่วรอบครอบคลุมและตลอดแต่ต้นจนจบ

  การทำงานของปัญญา กับ เจตนา นั้นต่างกัน ปัญญาเป็นของดีมีประโยชน์ ซึ่งทำหน้าที่หรือมีบทบาทเหมือนตะเกียง เหมือนไฟฉาย ดวงไฟ ดวงประทีป ตลอดจนเหมือนดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ คือ ให้ความสว่าง ส่องแสง ส่องทาง เมื่อคนและสัตว์ทั้งหลาย อาศัยแสงสว่างนั้น มองเห็นที่เห็นทาง เห็นสิ่งทั้งหลายแล้วจะทำอะไรอย่างไร ดีหรือร้ายเป็นคุณหรือโทษ ก็เป็นเรื่องของคนสัตว์เหล่านั้น

  ตัวเจ้าการเจ้าบทบาทที่จะใช้ประโยชน์จากแสงสว่างของปัญญา คืออาศัยแสงสว่างนั้นแล้วทำอะไรๆ ก็คือเจตนานี่แหละ การดีการร้าย จึงเป็นเรื่องของเจตนา และเจตนาจึงเป็นหัวหน้านำปฏิบัติการในแดนของจริยะ และออกมาในแดนบัญญัติ

  เพื่อให้มั่นใจว่าเจตนาจะนำทำงานอย่างถูกต้องเป็นจริยะอย่างดีที่สุดสำหรับผู้พิพากษา ที่จะออกมาสู่การปฏิบัติในเรื่องของบัญญัติก็จึงหาข้อธรรมที่ตรงเรื่องที่สุดมาไว้ประกอบกำกับเจตนาของผู้พิพากษานั้น

  ตอนนี้  เราจะต้องพยายามให้เจตนานำไปสู่ความถูกต้องเป็นธรรมชอบธรรมให้ได้ เป็นเรื่องของเจตนาที่ว่าจะเอาธรรมหรือคุณสมบัติอะไรมาไว้กับตัวที่จะไปด้วยกัน

  ถึงตอนนี้   ก็มีหลักธรรมชุดย่อยๆ มากำกับสนองงานแก่เจตนานั้น เริ่มด้วยชุดที่ตรงเรื่องและใช้บ่อยที่สุด ก็คือ หลักธรรมชุด "พรหมวิหาร"



Create Date : 29 ตุลาคม 2564
Last Update : 29 ตุลาคม 2564 19:47:10 น.
Counter : 515 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของการค้นพบตนเอง : กะว่าก๋า
(16 เม.ย. 2567 06:05:58 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 36 : กะว่าก๋า
(14 เม.ย. 2567 06:17:30 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 34 : กะว่าก๋า
(12 เม.ย. 2567 05:52:40 น.)
สมบัติรูป สมบัตินามที่ถูกรูป ปัญญา Dh
(10 เม.ย. 2567 18:24:46 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด