ข้างใน มีใจเที่ยงตรง ข้างนอก เป็นธรรมเสมอกันทุกคน


170ข้างใน มีใจเที่ยงตรงต่อธรรม ข้างนอก มีความเป็นธรรมเสมอกันต่อทุกคน


  ทีนี้ กลับมาสู่ตัวสรุปคุมท้ายอีกทีที่ว่า ถ้าไม่มีความเป็นธรรมเสียอย่างเดียว แม้แต่มีเมตตามากมาย มันก็กลายเป็นความลำเอียง ก็เสียเลย รักษาสังคมไว้ไม่ได้  เมตตาเป็นต้น จึงไม่ใช่เป็นหลักประกันเพียงพอที่จะธำรงสังคมไว้ได้  อุเบกขาจึงเป็นหลักสำคัญที่สุด แต่อุเบกขาที่ว่านั้น หมายถึง อุเบกขาที่มากับปัญญา อย่างที่ว่าต้องครบชุด

  เป็นอันว่า ต้องมีทั้ง ๔ ข้อ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แล้วก็มาออกสู่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติการ ด้วยทาน การให้วัตถุสิ่งของ เงินทองเป็นต้น แล้วก็ปิยวาจา ช่วยด้วยถ้อยคำที่มีน้ำใจ ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ พูดส่งเสริม อัตถจริยา ช่วยเหลือบำเพ็ญประโยชน์ด้วยเรี่ยวแรงกำลังร่างกาย กำลังสติปัญญา กำลังความรู้ กำลังความสามารถปฏิบัติจัดการให้สำเร็จ แล้วก็ สมานัตตตา ความมีตนเสมอสมาน โดยมีความเสมอภาคที่ตั้งธรรมเป็นมาตรฐาน ให้โยงยันอยู่กับธรรม คือ ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม ประสานสอดคล้องกับด้านจิตใจ ซึ่งลงตัวกับธรรม ที่อุเบกขา อันเกิดขึ้นมาจากปัญญาที่เข้าถึงธรรม แล้วอุเบกขานั้นก็ออกมาสู่ปฏิบัติการในสังคม เป็นสมานัตตตา

  ด้วยสมานัตตตานี้ ผู้พิพากษาก็มีความเสมอภาค มีตนเสมอเท่าเทียมกัน ทั้งต่อโจทก์ ทั้งต่อจำเลย ไม่ลำเอียง แล้วก็เอาธรรม เอาความจริง เอาความถูกต้อง ที่ปัญญารู้ชัดเจนแจ่มแจ้ง เป็นตัวตัดสิน

  แต่ทั้งนี้ ธรรมที่จะออกมาสู่ปฏิบัติการในการชี้ขาดตัดสินนั้น จะจริงแท้เท่าไร ก็ได้เท่าที่ปัญญารู้ เพราะฉะนั้น ปัญญาก็ต้องแน่ชัดจริงๆ เป็นระบบสัมพันธ์ที่โยงกันไปหมด ซึ่งในที่สุดก็ขึ้นต่อปัญญาที่จะมานำทางชี้ช่องให้แก่เจตนา

  เพราะฉะนั้น จึงต้องพัฒนาปัญญาอยู่ตลอดเวลา ท่านจึงให้ ไม่ประมาทในการศึกษา ก็เพื่อจะได้มั่นใจที่สุดว่าปัญญาจะนำเข้าถึงความจริง ความถูกต้อง คือ ถึงธรรมแน่แท้ และในที่สุดก็มาถึงจุดที่ว่าเจตนา จะมาประสานกับปัญญา เพื่อเลือกที่จะชี้ขาดตัดสินอย่างใสสะอาด ตามที่ปัญญาอันใสสะอาดบอกให้นั้นอีกที

  เมื่ออุเบกขามากำกับเจตนา ก็ตั้งใจเป็นกลาง ไม่เอียงข้าง ไม่ตกเป็นฝ่าย แต่อยู่กับธรรม และมุ่งสู่ความเป็นธรรม หรือมุ่งที่จะรักษาธรรม ได้แค่นี้ ก็พอที่จะมั่นใจได้แล้วว่า การพิจารณาวินิจฉัยจะเป็นไปอย่างถูกต้องชอบธรรม หรือเที่ยงธรรม แต่กระนั้น ท่านก็ยังให้หลักที่จะเสริมสำทับเจตนาให้แน่นแฟ้นขึ้นอีก โดยเพิ่มตัวกันเอียงกันเฉเข้ามากำกับเจตนาเพิ่มอีกขั้นหนึ่ง

  ตัวกำกับเจตนาที่เข้ามาเสริม   เป็นตัวกันให้มั่นอีกชั้นหนึ่งนี้ ได้แก่ การรักษาเจตนาไม่ให้ตกไปในอคติ (ฐานะอันไม่พึงถึง ทางความประพฤติที่ผิด ความไม่เที่ยงธรรม ความลำเอียง) ๔ ประการ คือ

๑. ฉันทาคติ   ลำเอียงเพราะรัก

๒. โทสาคติ  ลำเอียงเพราะชัง

๓. โมหาคติ  ลำเอียงเพราะเขลา

๔. ภยาคติ   ลำเอียงเพราะกลัว

173 171 172

ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ 107



Create Date : 04 พฤศจิกายน 2564
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2564 9:38:50 น.
Counter : 543 Pageviews.

0 comments
พระพุทธสิหิงค์ : หลวงพ่อเพชร ผู้ชายในสายลมหนาว
(27 มิ.ย. 2568 15:34:46 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - หล่นไปในสมมุติ : กะว่าก๋า
(24 มิ.ย. 2568 04:11:57 น.)
วิ่งข้างบ้าน 15,17,18,19,21 มิ.ย.2568 สองแผ่นดิน
(24 มิ.ย. 2568 22:37:50 น.)
อำนาจของพุทโธ นาฬิกาสีชมพู
(23 มิ.ย. 2568 19:24:08 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด