ธรรม เป็นกฎธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมดาของมัน

170"ธรรม" เป็นกฎธรรมชาติ  มีอยู่ของมันตามธรรมดา

   ธรรมในความหมายที่ ๑ ซึ่งเป็นความหมายหลัก เป็นพื้นฐาน ก็คือความจริง การที่เราศึกษาธรรมกัน ก็ศึกษาเพื่อหาเพื่อรู้ความจริงนี่แหละ คือทำอย่างไรจะรู้เข้าใจเข้าถึงความจริงได้

  ทางพระบอกว่า ความจริงมีอยู่ของมันตามธรรมดา อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ขอยกคำบาลีมาให้ดูว่า

   อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา...

   แปลว่า ตถาคต (คือพระพุทธเจ้า) ทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่อุบัติก็ตาม ธาตุ (สภาวะหรือหลักแห่งความจริง) นั้น คือ ความดำรงอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปแน่นอนแห่งธรรม ก็ตั้งอยู่อย่างนั้นเอง...ตถาคตตรัสรู้  ค้นพบธาตุนั้น  ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่าย ว่าดังนี้ๆ

   ยกตัวอย่าง เช่น หลักไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่เกิด สิ่งทั้งหลายก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของมันอยู่อย่างนั้น  แต่มนุษย์ทั้งหลายไม่รู้ความจริงนี้ พระพุทธเจ้าได้พัฒนาปัญญาขึ้นมาจนกระทั่งได้รู้เข้าใจความจริงนั้น เรียกว่าตรัสรู้ หรือค้นพบแล้ว จึงทรงนำมาเปิดเผยแสดงอธิบาย

   "ธรรม"  ในความหมายที่ ๑ คือความจริงนั้น  มีความหมายต่อทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง จะเรียกว่าธรรมชาติหรืออะไรก็ตาม ก็มีความจริงเป็นอย่างนั้น และมันก็เป็นไปตามความจริงนั้น เช่น ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย บางทีเราเรียกธรรมในความหมายนี้ว่า "กฎธรรมชาติ"

   เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้ และสิ่งทั้งหลายก็เป็นไปตามความจริงนั้น หรือตามกฎธรรมชาตินั้น เรื่องก็โยงมาถึงมนุษย์คือคนเรานี้ว่า เราก็ต้องการผลดีต่างๆ เช่นว่า เราต้องการให้ชีวิตของเราดี ตลอดไปถึงว่า เราต้องการให้สังคมของเราดี มีความเจริญมั่นคง อยู่กันร่มเย็นเป็นสุข แต่การที่ชีวิตจะดี สังคมจะดี อะไรๆ จะดี ทุกอย่างนี้ ก็ต้องตั้งอยู่บนฐานของความจริงนั้น

  ดังเช่น ความจริงมีอยู่อย่างหนึ่งว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย เหตุอย่างไรก็ทำให้เกิดผลอย่างนั้น ผลเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยของมัน เมื่อเราทำชีวิตให้ดี ทำสังคมให้ดี เราจะทำอย่างไร เราจะให้เกิดความเจริญงอกงาม ก็ทำหรือส่งเสริมเหตุปัจจัยนั้น และในทางตรงข้าม เหตุปัจจัยไหนจะทำให้เกิดความเสื่อมความเสียหาย ก็ป้องกันแก้ไขกำจัดเหตุปัจจัยนั้น

  รวมความย้ำว่า เราก็ปฏิบัติจัดการไปตามความจริงนั้น โดยป้องกันแก้ไขกำจัดเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดผลร้าย แล้วก็ไปทำหรือส่งเสริมเหตุปัจจัยที่จะนำมาซึ่งผลดี อันนี้ก็คือต้องปฏิบัติไปตามความจริง

   ก็จึงเป็นอันว่า มนุษย์ต้องรู้ความจริง แล้วก็เอาความรู้ในความจริงมาใช้ประโยชน์ โดยนำมาปฏิบัติการให้เป็นไปตามความจริงนั้นแล้วก็จะได้ผลตามต้องการ

   จากหลักความจริงนี้ จึงเป็นเหตุให้เราต้องพัฒนามนุษย์ คือให้มนุษย์ศึกษา (สิกขา) เพื่อจะได้รู้ความจริง และปฏิบัติได้ผลผลตามความจริงนั้น

  "ธรรม" คือความจริง ที่มีอยู่ตามธรรมดาของธรรมชาติ เวลาพระพุทธเจ้าตรัสธรรมะ พระองค์ทรงใช้คำว่า "แสดง" หมายความว่า ความจริงมันเป็นอย่างนั้น ก็เอามาแสดง ให้คนทั้งหลายรู้ด้วย

173 175 174

ธรรมในความหมายนี้  โยงไป

กลุ่มสภาวธรรม https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samathijit&month=04-2021&date=07&group=5&gblog=1

ผู้ปฏิบัติประสบกับธรรมะระดับแก่นแล้ว  แต่เข้าใจเป็นอื่นไปเสียบ้าง  หนีเสียบ้าง นั่นนี่โน่นเสียบ้าง เลยหลุดจากธรรมไปเลย 



Create Date : 21 ตุลาคม 2564
Last Update : 21 ตุลาคม 2564 19:06:33 น.
Counter : 552 Pageviews.

0 comments
หลักปฏิบัติ ปัญญา Dh
(18 เม.ย. 2567 19:08:42 น.)
หลักของสติ **mp5**
(16 เม.ย. 2567 12:14:57 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 35 : กะว่าก๋า
(13 เม.ย. 2567 05:51:40 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 32 : กะว่าก๋า
(10 เม.ย. 2567 06:04:44 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด