ระวังการใช้เข่า..อย่าเสี่ยงข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย

แต่ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานข้อเข่าให้สอดคล้องกับอายุที่เพิ่มขึ้นด้วยมิฉะนั้นจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยเพราะตามปกติอายุที่เพิ่มก็เป็นเหตุให้เข่าเสื่อมสภาพอยู่แล้ว การใช้งานอย่างระมัดระวังในแต่ละวันเท่ากับช่วยถนอมให้ใช้งานได้นานขึ้น

ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปและขาดการออกกำลังกล้ามเนื้อบริเวณข้อเข่าจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยยิ่งกว่านั้นพฤติกรรมการใช้ข้อเข่าที่มากเกินไปในแต่ละวัน เช่น การนั่งในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆรวมทั้งการได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่าภาวะกระดูกพรุนอันเนื่องมาจากความแข็งแรงของกระดูกลดลงประกอบกับวัยที่เพิ่มขึ้นก็ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสื่อมของข้อเข่าได้เร็วกว่าปกติทั้งสิ้น

โดยปกติแล้วในร่างกายของคนเราข้อเข่า จัดว่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยรับน้ำหนักได้ประมาณ 3– 4 เท่าของน้ำหนักตัวแต่หากใครมีน้ำหนักตัวมากขึ้นจะส่งผลให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวมากขึ้นเช่นกันซึ่งเป็นสาเหตุที่นำมาสู่การเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบบ่อยในผู้สูงอายุหรือผู้ที่น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานที่นอกจากจะส่งผลให้ต้องทนทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดแล้วในผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้นั้นยังเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆอาทิ อาการซึมเศร้า โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ

อย่างไรก็ตามศัลยแพทย์ด้านกระดูกและข้อจะเป็นผู้วินิจฉัยอาการหลังจากได้ตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อดูว่าข้อเข่ามีความเสียหายมากน้อยเพียงใดโดยยังต้องตรวจดูข้ออื่นๆควบคู่ไปด้วยเพื่อแยกสาเหตุของโรคที่อาจพบในผู้ป่วยรายเดียวกัน เช่น โรครูมาตอยด์โรคเกาต์ ก่อนที่จะทำการตรวจสภาพที่แท้จริงของกระดูกอ่อนด้วยการเอกซเรย์ข้อเข่าในท่ายืนซึ่งหากพบว่าช่องว่างภายในข้อเข่าแคบลงมากเท่าใดก็จะบ่งบอกถึงการสึกหรอของข้อเข่ามากขึ้นเท่านั้นอันจะเป็นบ่อเกิดของภาวะข้อเข่าเสื่อมได้ในอนาคต นอกจากนี้การเจาะเลือดหาระดับกรดยูริค การตรวจความหนาแน่นของกระดูกเพื่อตรวจสอบภาวะกระดูกพรุนการตรวจน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่ากรณีข้อเข่าบวมจะช่วยให้แพทย์สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อมเพื่อนำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพต่อไปได้

ปัจจุบันมีวิทยาการใหม่ๆมาใช้เพื่อช่วยให้การผ่าตัดสะดวกและรวดเร็วขึ้นนั่นคือเทคโนโลยีการส่องกล้องผ่าตัด ซึ่งจะทำให้แผลมีขนาดเล็กไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ผู้ป่วยจึงไม่ต้องพักฟื้นเป็นเวลานาน เพียง 2–3 วันแพทย์ก็จะอนุญาตให้กลับบ้านและเริ่มทำกิจวัตรได้ตามปกติ 




Create Date : 11 พฤษภาคม 2555
Last Update : 11 พฤษภาคม 2555 13:40:31 น.
Counter : 1459 Pageviews.

1 comments
  
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:16:18:16 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ramtalk.BlogGang.com

หนึ่งเสียงในกทม.
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด