รับมือน้ำฝน... แบบไม่ธรรมดา



rain01

ถึงหน้าฝนทีไรมักมีปัญหาเรื่องน้ำฝนตามมาด้วยทุกที ยิ่งวันไหนฝนตกหนักๆ น้ำจากหลังคาหรือรางน้ำที่ไหลลงมาแรงๆ ทั้งชะหน้าดินในสวนจนเสียหายและกระเด็นไปเปรอะเปื้อนพื้นที่รอบๆอยู่เสมอ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะฉบับนี้เรามีไอเดียในการรับมือน้ำฝน ซึ่งสามารถตกแต่งบ้านของคุณให้สวยงามไปพร้อมกันด้วยมาแนะนำ

1. รับน้ำจากรางน้ำ บริเวณช่องระบายน้ำของรางน้ำเป็นจุดแคบๆที่มีน้ำไหลผ่านปริมาณมาก หากปล่อยให้ระบายน้ำลงมาตรงๆ ความแรงของน้ำคงทำให้น้ำกระเด็นเลอะเทอะไปทั่วและยังเกิดเสียงดังน่ารำคาญ โดยมากจึงนิยมต่อท่อให้น้ำไหลลงมาสู่ท่อระบายน้ำด้านล่าง แต่ถ้าใช้ท่อน้ำแบบธรรมดาคงไม่น่าดู ครั้นจะทำท่อสเตนเลสสตีลก็ราคาแพง เรามีไอเดียรับน้ำจากรางน้ำด้วยวัสดุราคาไม่แพงแต่ดูดีมาบอกกัน

-ท่อไม้ไผ่ เจาะรูตรงกลางปล้องไม้ไผ่ให้เป็นท่อ แล้วนำไปวางที่ใต้ช่องระบายน้ำของรางน้ำเพื่อเป็นแนวให้น้ำไหลลงมา สร้างบรรยากาศแบบธรรมชาติ เหมาะกับบ้านที่ทำจากวัสดุไม้ อย่างบ้านสไตล์ไทยหรือทรอปิคัล

-ลวดลายไม้แห้ง สร้างลูกเล่นในการรับน้ำฝนให้กับบ้านสไตล์เรียบๆแบบโมเดิร์นหรือบ้านแบบดิบๆสไตล์ลอฟท์ ด้วยการวางกิ่งไม้แห้งที่มีฟอร์มสวยไว้ใต้ช่องระบายน้ำ ให้น้ำไหลมาตามลำต้น เส้นสายที่อิสระของกิ่งก้านไม้เป็นเหมือนลวดลายกราฟิก ช่วยสร้างรายละเอียดและเพิ่มความน่าสนใจให้กับผนังบ้านแบบเรียบๆ

- รับน้ำตามอารมณ์ แทนที่จะใช้โซ่ห้อยจากรางน้ำเพื่อเป็นตัวนำน้ำให้ไหลลงมายังโอ่งที่รองรับอยู่ด้านล่าง ซึ่งเห็นกันบ่อยแล้ว ลองเปลี่ยนมาใช้วัสดุอย่างอื่น เช่น เชือกมนิลา และใช้ถังไม้ที่ตรงกลางโรยกรวดและปลูกต้นไม้รอบๆเป็นภาชนะรองรับ ในเวลาที่ฝนไม่ตกก็กลายเป็นกระถางต้นไม้ตกแต่งได้ตามปกติ หรืออาจจับคู่เปลี่ยนวัสดุ เพื่อสร้างอารมณ์แบบต่างๆ ให้เข้ากับสไตล์บ้านของคุณ

2. รับน้ำจากชายคา รอบๆแนวชายคาบ้านเป็นจุดรับน้ำที่ไหลลงมาจากหลังคา จึงควรเตรียมพื้นที่รองรับน้ำด้านล่างให้สามารถระบายน้ำได้ดี ปกติแล้วนิยมซ่อนท่อระบายน้ำไว้ใต้ดิน แล้วหาตะแกรงเหล็กหรือวัสดุมาปิดทับเพื่อให้ดูเรียบร้อย แต่ถ้าใครเบื่อวิธีเดิมๆ เรามีไอเดียซ่อนท่อระบายน้ำที่พื้นแบบเท่ๆมาฝาก

- ร่องรางไม้ เตรียมพื้นที่รองรับน้ำจากชายคาในจุดที่เป็นระเบียงไม้ โดยการปิดท่อระบายน้ำให้ดูกลมกลืนกับพื้นไปเลย ด้วยการตีโครงแล้วทำแผ่นไม้ปิดแนวท่อ ให้ลายของร่องไม้ต่อกับพื้นไม้พอดี เว้นร่องตรงกลางแผ่นไม้ยาวตลอดแนวท่อเพื่อระบายน้ำลงสู่ด้านล่าง แต่แทนที่จะทำเป็นแผ่นไม้ตรงๆ อาจปรับระนาบของแผ่นไม้ให้เอียงเข้าหาร่องน้ำตรงกลางเล็กน้อยเป็นรูปตัววี (V-shape) เพื่อช่วยให้ระบายน้ำลงท่อได้ดีขึ้น

- ร่องช่องกระเบื้อง หากพื้นใต้ชายคาปูกระเบื้อง ออกแบบพื้นที่ระบายน้ำให้ดูกลมกลืน โดยปูกระเบื้องแบบเดียวกัน แต่แทนที่จะยาแนวปิดร่องกระเบื้อง ก็ใช้ร่องเล็กๆระหว่างแผ่นกระเบื้องแทนรูระบายน้ำ เพื่อปล่อยให้น้ำไหลลงสู่พื้นอีกชั้นที่ซ้อนอยู่ด้านล่างก่อนระบายลงสู่ท่อระบายน้ำต่อไป


แหล่งข้อมูล : บ้านและสวน

ดูบทความดีๆได้ที่ : //www.thaihomeonline.com หรือ LINE@ : @thaihomeonline  ครบเครื่องเรื่องบ้าน คอนโด การลงทุน

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :  Thaihomeonline.com หรือ Line@ : thaihomeonline - ครบเครื่องเรื่องบ้าน คอนโด การลงทุน 

คลิกเลย : https://www.thaihomeonline.com




Create Date : 14 กันยายน 2561
Last Update : 14 กันยายน 2561 16:12:38 น.
Counter : 336 Pageviews.

0 comments
“ สเปรย์ฉีดยุง ” dansivilai
(17 เม.ย. 2567 21:04:34 น.)
สุริยุปราคา อเมริกา /นิวยอร์ก อินเดียน่า เทกซัส newyorknurse
(9 เม.ย. 2567 04:13:31 น.)
เมนูที่เต็มไปด้วยคุณค่าอาหาร ข้าวยำ สมาชิกหมายเลข 4313444
(4 เม.ย. 2567 00:28:04 น.)
โรงงานผลิตอาหารเสริมผู้ชาย ตัวเลือกสำหรับคนที่ต้องการเป็นเจ้าของแบรนด์ที่ได้คุณภาพ สมาชิกหมายเลข 7213059
(3 เม.ย. 2567 00:10:02 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmchome.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 3757202
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด