10 ความเชื่อที่ผิด เกี่ยวกับฟิตเนส



fitness01

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่หนึ่ง: ไม่เจ็บ ก็ไม่ได้มา
การออกกำลังกายที่ดีสำหรับคุณไม่จำเป็นต้องมีอาการเจ็บ ในความเป็นจริงแล้ว คุณอาจกำลังทำอะไรบางอย่างผิดพลาดหากเกิดอาการเจ็บปวด อาการปวดเมื่อยบางอย่างพบได้บ่อยในผู้ที่ออกกำลังกายเป็นครั้งแรก แต่หากอาการปวดเป็นต่อเนื่อง แสดงว่าคุณอาจกำลังหักโหมมากเกินไป อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อที่เป็นช้า (Delayed onset muscle soreness) ซึ่งมีอาการปวดต่อไปได้ถึง 48 ชั่วโมงหลังการออกกำลังกาย เป็นผลมาจากการอักเสบและการฉีดขาดของเนื้อเยื่ออิลาสติก (Elastic tissue) รอบ ๆ เส้นใยกล้ามเนื้อ ดังนั้น เพื่อให้เวลากล้ามเนื้อได้ปรับตัว อย่าหักโหมมากจนเกินไป หรือไม่เช่นนั้นคุณอาจบาดเจ็บได้

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่สอง: การมีเหงื่อออกมากขณะออกกำลังกายหมายถึงคุณไม่ฟิต
ในความเป็นจริงแล้วคือตรงกันข้าม การมีเหงื่อออกขณะออกกำลังกายบ่งบอกว่าการระบายความร้อนมีประสิทธิภาพ นักกีฬาที่ปรับตัวจนสามารถทำให้ร่างกายเย็นได้ขณะออกกำลังกายจะมีการปรับเปลี่ยนให้เลือดไปอยู่ที่ผิวหนังได้เร็วกว่า และระบายความร้อนออกจากร่างกาย ในเวลาเดียวกัน ต่อมเหงื่อจะเพิ่มการผลิตเหงื่อและทำให้ร่างกายเย็นลงผ่านทางการระเหยของเหงื่อ ในขณะที่คนที่มีสุขภาพดีสร้างเหงื่อได้มากกว่าผู้สูงอายุ แต่ก็เสียโซเดียมไปน้อยกว่าเพราะถูกดูดซึมกลับได้ ผลที่ได้คือการระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพดีกว่า

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่สาม: หากคุณหยุดออกกำลังกาย กล้ามเนื้อจะเปลี่ยนเป็นไขมัน
กล้ามเนื้อและไขมันเป็นเนื้อเยื่อคนละชนิดกัน ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนกันไปมาได้ ความจริงแล้วคือกล้ามเนื้อจะฝ่อไปหากไม่ได้ใช้งาน ดังนั้น หากคุณกินตามปกติ แต่หยุดออกกำลัง คุณจะมีไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น และสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และแน่นอนว่าคำถามที่แท้จริงคือ ทำไมคุณถึงหยุดออกกำลังกายล่ะ ?

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่สี่: คุณเพิ่มการเผาผลาญไขมันได้โดยการออกกำลังกายนานขึ้น แต่เบาลง
ไม่ใช่เรื่องสำคัญว่าพลังงานที่ใช้ไปในการออกกำลังกายมาจากไขมันหรือคาร์โบไฮเดรตกี่เปอร์เซ็นต์ สิ่งที่สำคัญคือ ใช้พลังงานไปทั้งหมดเท่าไรในแต่ละวัน ยิ่งออกกำลังกายหนัก ปริมาณแคลอรี่ที่เผาผลาญไปในแต่ละนาทีก็จะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เริ่มออกกำลังกายใหม่ ๆ จะได้รับคำแนะนำให้เริ่มออกกำลังกายเบา ๆ ก่อน เนื่องจากอาจทนการออกกกำลังกายอย่างหนักไม่ได้ และการออกกำลังกายเบา ๆ ก็ปลอดภัยสำหรับผู้เริ่มต้น

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่ห้า: หากคุณออกกำลังกายแล้วคุณจะกินอะไรก็ได้
หากคุณพยายามจะชดเชยการกินอาการที่ไม่เหมาะสมด้วยการออกกำลังกาย คุณจะผิดหวังแน่ ในขณะที่การไม่ออกกำลังกายและกินอาหารไม่เหมาะสมนั้นแย่ต่อสุขภาพมากกว่าการกินอาหารไม่เหมาะสมแต่ออกกำลังกายมาก แต่คุณจะได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายเกือบเต็มที่ หากคุณใช้พลังงานที่ได้จากอาหารที่มีคุณภาพดี

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่หก: หากคุณไม่ออกกำลังกายอย่างหนักสม่ำเสมอ การออกกำลังกายก็เป็นเรื่องเสียเวลาเปล่า
ไม่มีอะไรที่จะห่างไกลจากความเป็นจริงได้มากไปกว่านี้อีกแล้ว มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าแม้การออกกำลังกายระดับปานกลางเช่นการเดินและการทำสวนไม่กี่ครั้งต่อสัปดาห์ก็ทำให้ได้ประโยชน์มากมาย มีการศึกษาหนึ่งพบว่าการทำสวนแม้เพียงไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงต่อสัปดาห์ก็ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่เจ็ด: การออกกำลังกายช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพได้ทุกอย่าง
แม้การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยสร้างความแตกต่างอย่างมหาศาลของคุณภาพชีวิต แต่ก็ช่วยแก้ปัญหาทุกอย่างไม่ได้ คนที่ปัญหาสุขภาพหรือโรคจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในการรักษาโรค และแม้ว่าการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถรับประกันถึงสุขภาพ หรือรักษาโรคได้ แต่การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยได้หลายอย่างตั้งแต่โรคข้ออักเสบ โรคหัวใจ จนถึงโรคหอบหืดและเบาหวาน

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่แปด: การยกน้ำหนักจะทำให้คุณล่ำ
ผู้หญิงหลายคนใช้ข้ออ้างนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการยกน้ำหนัก สิ่งที่พวกเธอลืมไปคือการยกน้ำหนักเป็นวิธีที่ง่ายและเร็วที่สุดสำหรับผู้หญิงในการลดไขมันในร่างกายและเพิ่มกล้ามเนื้อ

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่เก้า: การจะสร้างกล้ามเนื้อต้องได้รับโปรตีนปริมาณมหาศาล
ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนความเชื่อที่แพร่หลายนี้ว่านักกีฬาต้องการโปรตีนปริมาณมหาศาล ตามที่ ดร. ซูซาน เนลสัน สทีน หัวหน้าแผนกโภชนาการสำหรับการออกกำลังกายของมหาวิทยาลัยวอชิงตันฮัสกี้ได้กล่าวไว้ นักกีฬาที่แข็งแรงต้องการโปรตีนมากกว่าคนทั่วเพียงเล็กน้อย และยังคงต้องการคาร์โบไฮเดรตเพื่อเสริมสร้างไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ เธอยังชี้ให้เห็นว่าการหดตัวที่ทรงพลังของกล้ามเนื้อ (เช่นการยกน้ำหนัก) ใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต “ไม่ว่าไขมันหรือโปรตีนก็ไม่สามารถถูกสันดาปได้ไวพอต่อความต้องการของการออกกำลังกายอย่างหนัก ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เพียงพอในแต่ละวันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสะสมไกลโคเจน” เพื่อสร้างกล้ามเนื้อ คุณต้องทำตามโปรแกรมการฝึกยกน้ำหนักที่ดีและกินอาการที่สมดุลตามหลักโภชนาการอย่างสม่ำเสมอ

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่สิบ: ยิ่งออกกำลังกายมากยิ่งดี
แน่นอนว่าคุณสามารถออกกำลังกายมากเกินไปได้เช่นกัน นักกีฬาระดับแถวหน้าหลายคนหลงผิดไปกับความเชื่อนี้และหลายคนได้รับผลที่ตามมาเป็นอาการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วย และภาวะซึมเศร้า สำหรับการออกกำลังกาย คุณต้องมีความสมดุลระหว่างการฝึกและการพักเพื่อให้ได้ผลสูงสุด

แหล่งข้อมูล : honestdocs.co

ดูบทความดีๆได้ที่ : //www.thaihomeonline.com หรือ LINE@ : @thaihomeonline  ครบเครื่องเรื่องบ้าน คอนโด การลงทุน

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :  Thaihomeonline.com หรือ Line@ : thaihomeonline - ครบเครื่องเรื่องบ้าน คอนโด การลงทุน 

คลิกเลย : https://www.thaihomeonline.com




Create Date : 14 กันยายน 2561
Last Update : 14 กันยายน 2561 16:32:37 น.
Counter : 217 Pageviews.

0 comments
Prove: ปรับระดับคลื่นสมอง peaceplay
(15 มี.ค. 2567 16:21:49 น.)
แนวข้อสอบเข้า มัธยมศึกษาปีที่1 วิชาภาษาไทย เรื่องเสียงของภาษา นายแว่นขยันเที่ยว
(13 มี.ค. 2567 23:29:54 น.)
ชนเผ่าตี สมาชิกหมายเลข 4665919
(5 มี.ค. 2567 05:03:48 น.)
Flight Attendant: The dream of many people. สมาชิกหมายเลข 8016747
(5 มี.ค. 2567 03:01:32 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmchome.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 3757202
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด