"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
2425262728 
 
6 กุมภาพันธ์ 2556
 
All Blogs
 

มกุฏ อรฤดี ศิลปินแห่งชาติคนล่าสุด "ครูใหญ่" โรงเรียนวิชาหนังสือ

พนิดา สงวนเสรีวานิช เรื่อง
ชุติมา สิริทิพากุล ภาพ





มกุฏ อรฤดี




ปีนี้ พ.ศ.2556 "กรุงเทพมหานคร (กทม.)" ได้รับการคัดเลือกเป็นเมืองหนังสือโลก

แม้ว่าก่อนหน้านี้ กทม. จะทุ่มงบประมาณ 280 ล้านบาท จัดทำโครงการระยะเวลา 2 ปี กระตุ้นส่งเสริมให้เป็นมหานครแห่งการอ่านและการเรียนรู้ แต่เด็กไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 5 เล่ม

"เรามักได้ยินว่า การอ่านต้องเริ่มจากครอบครัว แต่เราไม่ได้คิดหรอกว่าครอบครัวในประเทศไทยมีกี่เปอร์เซ็นต์ที่อ่านหนังสือออก มีกี่เปอร์เซ็นต์ที่พ่อแม่ตื่นเช้าไม่เจอลูก เย็นไม่มีโอกาสเจอลูกก่อนนอน มีกี่เปอร์เซ็นต์ที่พ่อแม่ไม่เคยรู้จักหนังสือเลยตั้งแต่เรียนจบ

เราไม่เคยอธิบายได้ว่าต้องเริ่มอย่างไร นี่คือผิดข้อที่ 1 เราไปจำคำฝรั่งมาแล้วมาพูดในบ้านเรา ซึ่งขนบวัฒนธรรมต่างกันโดยสิ้นเชิง"

ข้างต้นนี้ เป็นคำกล่าวของผู้คร่ำหวอดในวงการหนังสือ

"มกุฏ อรฤดี" ว่าที่ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2555 สาขาวรรณศิลป์ ประเภท นวนิยายและเรื่องสั้น ซึ่งกำลังจะเข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์นี้ เฉลยสิ่งที่ได้จากการใช้เวลากว่า 20 ปีไขปริศนา "ระบบหนังสือ"

ชื่อ "มกุฏ" หลายๆ คนอาจไม่มักคุ้น แต่ถ้าบอกว่าเขาคือ ""นิพพาน"" และ ""วาวแพร"" เจ้าของผลงานนวนิยายเรื่อง "ปีกแห่งความฝัน" และ "ผีเสื้อและดอกไม้" หนอนหนังสือจะรู้จักดี โดยเฉพาะคอวรรณกรรมเยาวชน

อาทิ หนังสือ "พราวแสงรุ้ง" "เพลงดวงดาว" "เด็กชายจากดาวอื่น" ฯลฯ เขายังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสำนักพิมพ์ผีเสื้อ สำนักพิมพ์แรกที่ริเริ่มการใช้กระดาษถนอมสายตา

เกิดที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นคนสุดท้องในจำนวน 4 คน ของ คุณพ่อ-"ฉ้อง แซ่อุ่ย" กับคุณแม่-"ห้วย แซ่ตัน"

มกุฏย้อนความให้ฟังว่า พ่อเป็นคนจีนฮกเกี้ยน อ่านหนังสือไม่ออกเลย เขียนภาษาจีนได้เล็กน้อย มาปักหลักในเมืองไทยครั้งแรกที่ปัตตานี แล้วเดินทางไปทางอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา กระทั่งพบรักกับลูกสาวนายเหมือง ก่อนจะไปตั้งรกรากครั้งแรกที่ปัตตานี แต่เป็นที่รักใคร่ของชาวมุสลิมในปัตตานี

ส่วนแม่เป็นนักวางแผน แม้จะเรียนหนังสือเพียงแค่ประถม 1 ครึ่งเพราะต้องออกกลางคันมาช่วยงานพ่อ แต่แม่ฟังวิทยุสิงคโปร์ เพราะราคายางในสมัยนั้นต้องอิงราคาสิงคโปร์ เปิดฟังวันละ 2 ครั้งทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษ

เริ่มเข้าเรียนชั้นประถมตอนต้นที่โรงเรียนเทพา ก่อนจะถูกส่งตัวไปเข้าโรงเรียนประจำ โรงเรียนแสงทองวิทยา อำเภอหาดใหญ่ และศึกษาต่อวิทยาลัยครูสงขลา เรียนอยู่ 4 ปี ผมก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ

แต่ขณะที่เรียนอยู่ ได้เขียนหนังสือให้สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์บ้างแล้ว เขียนให้กรุงเทพวิจารณ์ ของ "สังข์ พัธโนทัย" กับอาจารย์ "กรุณา กุศลาศัย"

ที่กรุงเทพฯ มกุฏเริ่มงานที่กับหนังสือพิมพ์การเมืองในปี 2514-2515 เป็นบรรณาธิการตั้งแต่อายุ 20 ปี แต่เมื่อ "จอมพลถนอม กิตติขจร" ปฏิวัติในปี 2514 นิตยสารเหล่านี้ก็ต้องหยุด

ระเหเร่ร่อนอยู่ปีสองปีจึงไปทำงานที่นิตยสารลลนา เป็นผู้ช่วย "สุวรรณี สุคนธา" อยู่ระยะหนึ่งก็เขียนออกมาเขียน "ผีเสื้อและดอกไม้" และกลับมาเป็นบรรณาธิการนิตยสารบีอาร์ ทำให้นิตยสารให้ญี่ปุ่นฉบับหนึ่ง Japan Pictorial

"กระทั่งวันหนึ่งเกิดความรู้สึกว่าแทนที่จะหมดเวลา ไปกับการทำนิตยสารที่อ่านแล้วทิ้งไปในแต่ละเดือน ทำไมไม่ทำหนังสือที่มันจะอยู่ในตู้เป็นสิบปี ยี่สิบปี ร้อยปี แต่นั้นมาจึงเริ่มทำหนังสือเล่ม"

10 ปีก่อน มกุฏเคยพยายามผลักดันให้รัฐบาล จัดตั้งสถาบันหนังสือแห่งชาติ เป็นหน่วยงานดูแลจัดการขับเคลื่อน ดูแล "ระบบหนังสือ" เพื่อพัฒนาการอ่านของชาติ แต่ถูกปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่าไม่ใช่นโยบาย

แม้จะย้ำนักว่า "ระบบหนังสือไม่มีใครทำได้ นอกจากรัฐบาล มันเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐบาลที่จะต้องทำเรื่องนี้"

แต่เขายังมุ่งมั่นก่ออิฐวางฐานรากการอ่านไปทีละขั้น ด้วยแรงความคิดสติปัญญา และทุนทรัพย์ของตน นับตั้งแต่จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน ก่อตั้ง "โรงเรียนวิชาหนังสือ" ซึ่งปัจจุบันเปิดสอนวิชาบรรณาธิการศึกษาแล้วใน 2 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยบูรพา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันนี้ มกุฏในวัย 63 ปี ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง

"ไม่เพียงเป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อ ยังวิ่งรอกสอนวิชาหนังสือ ใช้เวลาว่างเท่าที่มีเดินทางไปต่างจังหวัด สำรวจและสร้างกิจกรรมการอ่านแก่เด็กๆ อย่างน่าอัศจรรย์"

- คุณพ่ออ่านหนังสือไม่ออก แต่อาจารย์เป็นคนรักการอ่าน?

ผมว่ามันมาจากสันดาน ผมอยากทำหนังสือตั้งแต่ 6 ขวบ เพราะเห็นเพื่อนบ้านคนหนึ่ง ทุกครั้งที่กลับจากเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ จะมีลังๆ หนึ่งมาด้วย พอเขาหยิบหนังสือออกมาเขาจะยิ้มแย้ม มีความสุข ผมแปลกใจมาก

วันหนึ่งผมทนไม่ไหว ผมเข้าไปขอยืมดู ผมเปิดหนังสือออกดู โอ้ มันสนุกจริงๆ นะ เรื่องแรก เรื่องขวานฟ้าหน้าดำ เป็นการ์ตูนขาวดำธรรมดาๆ ผมอ่านจนจบ และตั้งแต่วันนั้น ข้างในผมมันบอกว่า เมื่อผมโตขึ้นผมจะทำหนังสือแบบนี้ เพราะผมอยากให้คนยิ้มอยากให้คนหัวเราะ อยากให้คนมีความสุข

จบชั้นประถมปีที่ 4 ตอนนั้นความประพฤติไม่ดี แม่ก็เลยส่งไปอยู่โรงเรียนประจำ 3 ปี ผมก็ได้อ่านหนังสือที่นั่น กลับมาบ้านอีกครั้ง ตอนนั้นอายุ 12-13 ปี มันไม่มีหนังสือให้อ่านทำอย่างไร ต้องเรี่ยไรเก็บเงินจากเพื่อน ได้เงินมา 12-14 บาท ได้นิตยสารมา 4 เล่ม เริ่มต้น (ตั้ง) ห้องสมุด แล้วทุกเดือนเราก็ซื้อมาเพิ่ม เพื่อนก็ได้อ่าน เราก็ได้อ่าน ครูก็ได้อ่าน

สภาพอย่างนี้มันเป็นทุกแห่งในเมืองไทย ฉะนั้นผมมั่นใจว่าเราจำเป็นต้องจัดการเรื่องนี้ ถ้าเราพัฒนาความรู้ไม่ได้ เราพัฒนาการเมืองไม่ได้ เราพัฒนาเศรษฐกิจไม่ได้ พัฒนาความเป็นอยู่อย่างดีไม่ได้ เพราะว่าเขาไม่มีความรู้

- เล็กๆ เป็นเด็กซน?

ผมไม่ได้เป็นเด็กซน แต่ผมเป็นคนมีเหตุผล และเป็นหัวโจกตามที่เขาตั้งมา เช่น เมื่อเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ครูตั้งเป็นหัวหน้าชั้น ผมก็คิดทันที หัวหน้าชั้นเก่าๆ ทำหน้าที่แค่ครูเข้ามาแล้วบอกนักเรียนตรง สวัสดีครับ ผมบอกเป็นหัวหน้าชั้นต้องคิดอะไรมากกว่านั้น ผมคิดเลย เที่ยงนี้พวกเราผู้ชายไปจับปลากัดกัน

ผมมีอะไรเยอะ คือครู ป.เตรียมไม่เลื่อนชั้นให้ผมขึ้น ป.1 สักที วันนั้นวันศุกร์ พอครูไม่ได้เลื่อนชั้นให้ผม ผมกลับไปวางแผนฆ่าครูเลย ผมวาดภาพว่า

ตอนเช้า ครูต้องขี่จักรยานจากบ้านไปโรงเรียน เป็นถนนเล็กๆ ผมจะไปแอบที่ริมป่า แล้วจะเอาหนังสติ๊กยิงตอนครูเลี้ยวโค้งมา ครูก็หักหลบไม่ได้ ล้มลงหัวฟาดพื้นตาย ผมนอนคิดแผนอยู่ทั้งคืน แล้วก็มาคิดว่า ถ้าครูตาย แล้วใครจะเลื่อนชั้นให้ผมขึ้น ป.1 (ระเบิดเสียงหัวเราะ) เลิกครับ

- เลยหยิบเรื่องมาเขียน?

สิ่งที่ผมเขียนคือส่วนหนึ่งในชีวิต "ฮูยัล" (เรื่องผีเสื้อและดอกไม้) ก็คือตัวผมเมื่อผมอยากขายไอติม เพราะผมชอบกินไอติม ผมกินจนเป็นโรคดีซ่าน ผมเกือบตายเพราะผมกินไอติม

ผมอยากเป็นพ่อค้าขายไอติมมากเลย แต่แม่ไม่อนุญาต ฉะนั้นก็เลยเอาตัวเองใส่เข้าไปในเรื่อง ตัวละครทุกตัวที่ผมเขียนส่วนใหญ่มีชีวิตทั้งนั้น เพียงแต่ว่าเป็นช่วงไหนอย่างไร

- เริ่มชีวิตของการเขียนจากเรื่องการเมือง?

ครับ เพราะตอนที่ผมเรียนและเริ่มเขียนหนังสือ เป็นยุคของถนอม -ประภาส ผมทำงานในพรรคการเมืองด้วย เป็นนิตยสารของพรรคการเมือง คล้ายสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ แต่ผมเป็นเด็กกว่าเพื่อน

ที่เขารับเพราะมันมีนามปากกา "นิพพาน" มันเดินทางมาก่อน โดยที่บรรณาธิการไม่เคยเห็นหน้า เขาบอกว่า ข้อเขียนของคุณน่าจะเป็นคนอายุสัก 45 ผมจำได้

ผมมีหน้าที่อย่างหนึ่งคือ ติดตามสัมภาษณ์คุณประภาส จารุเสถียร และเขียนตอบโต้คุณประภาส สนุก แต่ไม่ดีตรงที่สันติบาลตามหาตัว "นิพพาน" ชื่อนี้บางคนบอกว่า มันต้องเป็นมหา (หัวเราะ) ก็เลยรอดพ้นไป

- มาเขียนหนังสือเด็กอย่างไร?

หนังสือเด็กที่จริงมันอยู่ในตัว แต่การเมืองคือสิ่งที่เราเห็น เป็นเรื่องของความไม่ยุติธรรมอะไร ผมได้เห็นการเมืองมามากจนกระทั่งมีความรู้สึกว่า ถ้าเราไม่แก้ทางด้านการศึกษา เรื่องการเมืองเราแก้ไม่ได้หรอก

ถ้าคนอีก 90% ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย ไม่มีความรู้เรื่องความยุติธรรม ไม่มีความรู้เรื่องการพัฒนา ระบอบประชาธิปไตยจริงๆ แล้วเราจะแก้ได้ยังไง

ประเทศอินเดียหลังจากได้เอกราชจากอังกฤษมา เมื่อ 60-70 ปีที่แล้ว สิ่งแรกที่เยาวหราล เนห์รู ทำก็คือ ตั้งสถาบันหนังสือเพื่อจะเอาหนังสือกระจายออกไปให้คนระดับล่างระดับต่ำทั่วประเทศได้รู้หมด เมื่อรู้หมดคนมันพูดภาษาเดียวกัน

- เราต้องเริ่มจากตรงไหน?

รัฐบาลต้องยอมรับเสียก่อนว่าระบบนี้เป็นระบบที่ต้องทำ ไม่ใช่จัดงบประมาณไปให้กระทรวงศึกษาฯ กระทรวงศึกษาฯไปให้ กศน. แล้ว กศน.เอาไปกองไว้ที่ห้องสมุด กศน. แต่ถามว่า มีหนังสือที่เหมาะกับชาวบ้านสักกี่เล่ม

เมื่อปี 2552-2553 เราทดลองทำห้องสมุดโดยใช้มัสยิด 8 แห่งใน จ.กระบี่ โดยเราสำรวจก่อน พบว่าหนังสือที่ชาวบ้านต้องการไม่ได้เป็นหนังสือที่วิเศษวิโส แต่เป็นหนังสือเรื่องการเกษตรอย่างง่ายๆ การทำขนม การดูแลสุขภาพ เรื่องเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เรื่องเพาะเห็ด

แล้วพอเขาเริ่มอ่านหนังสือเหล่านี้อย่างเพลิดเพลิน หนังสือเล่มอื่นก็จะค่อยๆ ตามมา

เราไปทำวิจัยที่ราชบุรี เราได้เห็นหนังสือที่หมุนเวียนในห้องสมุด โดยเฉพาะพวกดิกชันนารีทั้งหลาย พอเปิดเข้าไปข้างใน มีรูปหน้า อบต. สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญมากในระบบหนังสือ เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้ถูกเรื่อง จะต้องมีสถาบันไหนสักแห่งเป็นคนดูแล

- นั่นคือความพยายามที่ผลักดันให้มีสถาบันหนังสือแห่งชาติ?

จะชื่ออะไรก็ได้ แต่ต้องเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระ เหมือนที่สิงคโปร์ใช้หอสมุดแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินงาน

ปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งในขณะนี้คือ ในบรรดามหาวิทยาลัยต่างๆ เลิกวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ไปแล้ว เราก็ไม่ได้แนะนำเรื่องการอ่านหนังสือ การจัดกิจกรรม เน้นแต่เรื่องข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งมันไม่ใช่ทั้งหมด

วิชาบรรณารักษ์เป็นเรื่องจำเป็นมาก สำหรับประเทศที่ต้องการจะพัฒนาเรื่องหนังสือและการอ่าน ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ยังไม่พัฒนาหนังสือซึ่งเป็นหนังสือพื้นฐาน แต่อยู่ดีๆ ก็จะมาพัฒนาอีบุ๊ก

ในประเทศจีน มีมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 48 แห่ง สอนวิชาบรรณาธิการศาสตร์ แต่ของเราไม่มี ผมพยายาม 10 ปีที่ผ่านมาเปิดได้ 3 แห่ง ที่มหาวิทยาลัยบูรพา ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วก็ที่แม่ฟ้าหลวงเป็นแค่วิชาตรวจแก้ต้นฉบับ

- ส่วนใหญ่มองว่าอาชีพบรรณารักษ์เชย?

จริงๆ วิชาชีพนี้ไม่ใช่นั่งเฝ้าหนังสือ นั่งจัดหมวดหมู่หนังสือ บรรณารักษ์จะรู้ว่าขณะนี้ควรมีหนังสืออะไร และถ้ามีหนังสือเกิน เราควรจะทำอย่างไร มันก็โยงไปที่ระบบหมุนเวียน

คือเราไม่จำเป็นต้องมีหนังสืออยู่ในห้องสมุดมาก แต่มีเครือข่ายที่จะแลกเปลี่ยนหนังสือหมุนเวียนกันไป หนังสืออยู่ที่นี่ 3 เดือนแล้วก็หมุนไปอยู่ที่อื่น จะเกิดความกระตือรือร้น เพราะหนังสือจะอยู่แค่ 3 เดือน บางคนอ่านไม่จบตามไปอ่านต่อที่อีกห้องสมุด เกิดเป็นกิจกรรมระหว่างโรงเรียน

- การก่อตั้งโรงเรียนวิชาหนังสือเป็นการอุดช่องโหว่?

ตอนแรกเมื่อตอนที่เรายังเปิดในมหาวิทยาลัยไม่ได้ เราก็คิดจะเปิดของเราเอง แต่พอเราเปิดในมหาวิทยาลัยได้แล้ว เราก็เปลี่ยนแผน พยายามเปิดในมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ได้มากที่สุด

แต่เราจะหาศูนย์กลางสักแห่ง เพื่อจะคอยประสานกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในเรื่องเหล่านี้ คอยป้อนสรรพวิชาความรู้ หรือแม้กระทั่งคอยหาทุนการศึกษา เพราะตอนนี้เราต้องการครูประมาณ 40-50 คน เพื่อมาสอนวิชาเหล่านี้ แต่ยังไม่มี เราก็ต้องวิ่งรอก ผมสอนเท่ากับอาจารย์ 3-4 คน

- 10 ปีมีแนวร่วมสักเท่าไหร่?

ผมก็ไม่ทราบว่ามีใครร่วม เพราะมันเป็นเรื่องของการเสียเงิน 10 ปีที่ผ่านมา ผมเสียเงินไปเกือบๆ 20 ล้านบาท เพราะว่าทุกเดือนเราต้องจ่ายเงินเดือนคนที่มาช่วยเรา ต้องจ่ายค่าน้ำมัน ค่ากินค่าอยู่จิปาถะ แต่ว่าเราไม่มีรายได้เพิ่มขึ้น

- ปีนี้กรุงเทพฯ ได้รับเลือกเป็นเมืองหนังสือโลก?

ผมคิดว่า กทม.คงวางแผนของเขา แต่วิธีคิดเมืองหนังสือโลกคือ ป้ายโฆษณาและสปอตโฆษณา ซึ่งแนวคิดมันไม่ค่อยตรงกับวิธีการของหนังสือ ถ้าเรายกตัวอย่างเมืองหนังสือโลกทั้งหลายให้เห็น ในการเป็นเมืองหนังสือโลก มันมีรูปธรรม และมันมีสิ่งที่น่าทึ่งเกิดขึ้น

เช่น ที่เลบานอนขณะที่เกิดสงครามกลางเมือง เขาก็ได้รับเลือกให้เป็นเมืองหนังสือโลก เขาไม่เพียงปรับบังเกอร์ทุกแห่งเป็นห้องสมุด ยังคิดไปไกลว่า ขณะที่คุณมีความทุกข์ความกังวล ความทุกข์ของคุณถูกแบ่งไปด้วยหนังสือ

หรือประเทศอินเดีย เมื่อตอนที่ได้รับเลือกเป็นเมืองหนังสือโลกยังจนอยู่ เขาเอาวัสดุรีไซเคิลมาทำเป็นเยื่อกระดาษ เพื่อให้หนังสือมีราคาถูก

- จะสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับคนกรุงเทพฯ ได้อย่างไร?

ผมเคยเสนอโครงการ 2 อย่างให้กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2552 ที่ กทม.สามารถประกาศได้เลยว่าเรามีห้องสมุดเพิ่มขึ้น 200-300 แห่ง คือ ไปร่วมมือกับร้านหนังสือให้เช่า ขอพื้นที่แล้วเอาชั้น เอาหนังสือไปให้ ให้เก็บค่าเช่าได้ในอัตราที่ถูกกว่าหนังสือทั่วไป

แล้วอีก 3 เดือนข้างหน้าจะเอาหนังสือมาเปลี่ยน กทม.ได้ห้องสมุดเพิ่มทันที โดยไม่ต้องเสียพื้นที่ ไม่ต้องใช้บรรณารักษ์ ไม่ต้องเสียค่าน้ำค่าไฟ เจ้าของร้านหนังสือก็ได้ประโยชน์ คนอ่านก็ได้ประโยชน์ แต่ กทม.บอกว่าไม่ใช่นโยบาย

ผมศึกษาเรื่องเหล่านี้จนกระจ่าง เรื่องของหนังสือเป็นเรื่องของภูมิศาสตร์ประชากร ต้องศึกษาว่าสภาพผู้คนในแต่ละแห่งเป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ เอาแผงไปตั้งวินมอเตอร์ไซค์ อีกอย่างที่เสนอพร้อมๆ คือ หนังสือหมุนเวียนในมัสยิด เพียงแต่คุณไปติดต่อในมัสยิดแล้วจัดหนังสือหมุนเวียน แต่เขาก็บอกว่า ไม่ใช่นโยบาย

- ทุกอย่างต้องเริ่มที่รัฐบาล?

สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาล คือคนในประเทศจะฉลาดขึ้นก็ด้วยการส่งเสริมให้มีการศึกษา และการศึกษาที่ง่ายที่สุดสำหรับคนที่พ้นโรงเรียนแล้ว ก็คือการทำระบบหนังสือสาธารณะ เป็นหน้าที่นะครับ

"ขณะนี้บอกได้ว่ารัฐบาลไทยละเลยหน้าที่สำคัญของตนเองคือ ทำให้คนในต่างจังหวัด และทั่วประเทศมีความรู้เพิ่มพูนขึ้น ที่เราเรียกว่าฉลาดขึ้น"




ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
คุณพนิดา สงวนเสรีวานิช
คุณชุติมา สิริทิพากุล

วุธวารสวัสดิ์สิริค่ะ




 

Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2556
0 comments
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2556 14:34:02 น.
Counter : 2025 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.