เคล็ดลับดีๆของการลดน้ำหนัก 9

Am I too chubby?
อ้วน-ไม่อ้วน วัดกันตรงไหน

คุณเป็นคนหนึ่งหรือเปล่าคะที่มักจะโดนเพื่อนๆ ตั้งฉายาให้ว่า “น้องพะโล้” ”สาวอวบระยะสุดท้าย” หรือไม่ก็ “ธิดา (ช้าง)” แล้วก็อีกสารพัดสารพันคำพูดที่แสนจะทำร้ายจิตใจจนต้องกลับมาตั้งหน้าตั้งตา ลดความอ้วนอย่างเอาจริงเอาจังเพื่อให้หุ่นผอมบางจนแทบจะปลิวไปตามลมเหมือน นางแบบบนแคทวอล์ค ปัจจุบันค่านิยมเรื่องความผอมดูเหมือนจะระบาดหนัก ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะกระแสของวงการแฟชั่นที่นางแบบ ตลอดจนดารานักแสดงมักจะมีรูปร่างที่ผอมบาง ทำให้นิยามของความสวยถูกจำกัดอยู่ที่คำว่า “ผอม” สาวๆ หลายคนจึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุถึงรูปร่างในฝัน นั่นคือรูปร่างผอมแห้งแรงน้อย แขนขายาวเก้งก้าง แถมยังหน้าตอบจนเห็นโหนกแก้มชัดเจน ฟังดูน่ากลัวใช่มั้ยคะ แต่นี่ล่ะคือหุ่นนางแบบที่หลายๆ คนอยากจะมี ทั้งที่ความจริงแล้ว รูปร่างดีคือรูปร่างที่สมส่วน มีน้ำหนักกับส่วนสูงสัมพันธ์กัน และมีเนื้อหนังพอสมควร แต่หลายคนก็คงจะยังมีคำถามว่าแบบไหนคือพอดี แบบไหนคืออ้วน ซึ่งเรามีคำตอบให้คุณค่ะ การประเมินว่ารูปร่างของเราอ้วนหรือไม่นั้นทำได้โดยวิธีง่ายๆ 2 วิธีด้วยกัน ได้แก่

1. การวัดดัชนีมวลกาย (BMI: Body Mass Index) เป็นการวัดปริมาณไขมันในร่างกาย โดยการวัดค่าดัชนีมวลกายนี้เป็นวิธีที่ง่าย และ นิยมใช้กันมากในการประเมินภาวะโรคอ้วน โดยมีสูตรการคำนวณคือ ดัชนีมวลกาย =น้ำหนัก(กก) / ส่วนสูง(ม)2
ค่าดัชนีมวลกายที่คำนวณได้ สามารถนำมาประเมินความรุนแรงหรือระดับของความอ้วนได้ดังนี้
ดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 18.5 = ผอมเกินไป (underweight)
ดัชนีมวลกาย 18.5 – 24.9 = รูปร่างปกติ (normal weight)
ดัชนีมวลกาย 25 – 29.9 = น้ำหนักเกิน (overweight)
ดัชนีมวลกาย 30 – 39.9 = โรคอ้วน (obese)
ดัชนีมวลกาย 40 ขึ้นไป = อ้วนมาก (severe or morbidly obese)

อย่าง ไรก็ตาม ค่าดัชนีมวลกายที่แสดงนี้อ้างอิงจากตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวล กาย ระดับความอ้วน และภาวะเสี่ยงสำหรับประเทศทางยุโรป (WHO 1998) สำหรับชาวเอเชีย และ ชาวไทยนั้น ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 23 จะถือว่าน้ำหนักเกิน โดยค่าดัชนีมวลกายที่สูงเกิน 23 สำหรับคนเอเชียมีความสัมพันธ์กับการอุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และ ไขมันในเลือดสูง

2. การวัดเส้นรอบเอว (Waist circumference) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยม โดยเส้นรอบเอวจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในอวัยวะภายในช่องท้อง ซึ่งหากมีไขมันช่องท้องมากจะพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากกว่าไขมันที่ อยู่ตามแขนหรือขา ค่าของเส้นรอบเอวของชาวเอเชีย ชาย มากกว่า 90 ซม. และ หญิง มากกว่า 80 ซม. จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และ โรคหลอดเลือดหัวใจ
จากข้อมูลที่กล่าวมานี้คงพอเป็นแนวทางให้คุณผู้อ่านสามารถประเมินรูปร่างของ ตนเองได้ โดยไม่ต้องอาศัยสายตา และ ค่านิยมของคนรอบข้าง เพราะถ้าค่าดัชนีมวลกาย และ เส้นรอบเอวของคุณอยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็เชิดหน้าบอกคนที่คอยแซวได้เลยค่ะว่าฉันน่ะรูปร่างได้มาตรฐานองค์การอนามัย โลกนะยะ แล้วอย่าลืมหมั่นดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วนอยู่เสมอ เพื่อที่รูปร่าง และ สุขภาพที่ดีจะได้อยู่กับคุณไปนานๆ ยังไงล่ะคะ










Create Date : 01 ตุลาคม 2551
Last Update : 3 ตุลาคม 2551 19:54:52 น. 0 comments
Counter : 398 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แม่น้องแปงแปง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]






แป๊ว แม่น้องแปงแปง






Photo Flipbook Slideshow Maker


Photo Flipbook Slideshow Maker


Photo Flipbook Slideshow Maker





Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
1 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add แม่น้องแปงแปง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.