อาทิตย์สาดส่อง..ความจริงจักปรากฎทั่วปฐพี!!!
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2550
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
28 สิงหาคม 2550
 
All Blogs
 

ปฎิวัติซ้ำ-ซ้อน/รัฐประหาร

"ปฏิวัติซ้ำ-ปฏิวัติซ้อน"มีความหมายต่างกัน..ครับ แน่นอนโฟกัสอยู่ที่"ผู้ที่จะทำการปฏิวัติ"หลังจากที่ทำการปฏิวัติไปแล้ว..


"การปฏิวัติซ้ำ"
ในความหมายที่กระทำของผู้กระทำ(ผู้ที่ปฏิวัติมาก่อนหน้านี้)เพื่อการ"กระชับในอำนาจ" ยกตัวอย่าง เช่นกรณี คปค.ของ"พล.อ.สนธิ"ถ้าจะมี"การปฏิวัติซ้ำ" ก็จะเป็นกระทำโดย"แกนอำนาจ"ในคมช.( พล.อ.สนธิ)เอง..

ซึ่งในลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตการปฏิวัติรัฐประหาร ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๖ ยัน พ.ศ.๒๕๒๐ ด้วยเหตุผลที่"คณะนายทหาร"ผู้ก่อการ"ปฏิวัติ-รัฐประหาร" มัก"ไม่พอใจ"ในการบริหารของ"คณะรัฐบาล"ที่ตั้งขึ้น..

หรือบางคณะก็ รู้สึกเขินในระยะแรกที่จะเข้า"คุมอำนาจรัฐ"ทันทีที่ปฏิวัติ..กระทั่ง"คุ้นชิน"จึงเข้ามาเต็มตัว..หรือบางคณะก็ทำเพื่อเขย่าเพื่อให้ความขัดแย้งภายใน"คลี่คลาย"

"การปฏิวัติซ้อน"ในความหมาย ที่ว่า อาจเป็นการกระทำเพื่อยึดอำนาจจาก"แกนอำนาจ"ในคมช.(พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช.)ซึ่งอาจหมายถึง"คนใน"(นายทหารใน คมช.)และ"คนนอก"(กลุ่มอำนาจเก่าของ"ทักษิณ ชินวัตร") หรือ คนใน+คนนอก ก็ได้

อย่างไรก็ตาม ตามในความหมายของเรื่องราวการปฏิวัติซ้ำ-ซ้อน ยัง ปรากฎร่องรอย ความแตกต่างอันสับสนระหว่างคำว่า"ปฏิวัติ"กับ"รัฐประหาร" กรณี"19 ก.ย.2549"


ขอหยิบยกเอาความคิดเห็นของ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์อย่าง"ชำนาญ จันทร์เรือง"เคยนิยามศัพท์คำว่า"ปฏิวัติ" ว่า

'การปฏิวัติ' (Revolution) หมายถึง การใช้ความรุนแรงทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างเบ็ดเสร็จ โดยมีวัตถุประสงค์ที่การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง อุดมการณ์ทางการเมือง วัฒนธรรม วิถีชีวิต ระบบเศรษฐกิจ ความเชื่อทางศาสนา และระบบสังคมโดยรวม การปฏิวัติเป็นความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยครั้งนัก เพราะจะต้องโค่นล้มลงทั้งระบบ ซึ่งหากสภาพสังคมไม่สุกงอมเต็มที่ หรือสภาพสังคมยังไม่พร้อมแล้ว การปฏิวัติจะเป็นไปได้ยากมาก

"ตัวอย่างของการปฏิวัติที่ผ่านมาก็คือ การปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติรัสเซีย การปฏิวัติจีน และการปฏิวัติเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ของไทยเราที่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเต็มในการปกครองประเทศ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นต้น"

ส่วน "การรัฐประหาร (Coup d'état) หมายถึง การใช้ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันด่วน โดยมีวัตถุประสงค์อยู่ที่การเปลี่ยนตัวหัวหน้ารัฐบาล หรือผู้ปกครองประเทศ แล้วจัดตั้งคณะรัฐบาลชุดใหม่ที่อยู่ภายใต้ผู้ก่อการรัฐประหารขึ้นมา โดยที่รูปแบบการปกครองไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด มีแต่ตัวผู้นำและคณะผู้นำเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป รัฐประหารจึงเป็นความรุนแรงทางการเมืองที่มักเกิดขึ้นโดยกลุ่มทหาร เพราะทหารถูกฝึกมาอย่างมีระเบียบวินัย มีกำลังพลอาวุธในมือ จึงมีศักยภาพในการทำรัฐประหาร

ดังนั้น ในความหมายของนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ น่าจะอนุมานได้ว่า เหตุการณ์ 19 ก.ย.2549 คือ การทำ"รัฐประหาร"ของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(คปค.)หรือที่เปลี่ยนชื่อภายหลังเป็น"คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.)ที่มี "พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน"ผบ.ทบ.ผู้นำการก่อการ เป็นประธาน คมช.

อย่างไรก็ตาม ในอีกมิติมุมมอง ถ้าเราศึกษาประวัติความคิดทางการเมืองไทยในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 ก็จะพบว่าคำว่า "ปฏิวัติ" ไม่ได้หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ/อย่างถอนรากถอนโคนของระบอบการเมืองการปกครองเพียงเท่านั้น แต่ยังมีความหมายประการอื่นที่ซ่อนเร้นอยู่ในคำว่า "ปฏิวัติ" และหากค้นหาความหมายที่เป็นความนัยดังกล่าวพบ เราก็อาจจะพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนวันที่ 19 กันยายน 2549 และผลที่ตามมาหลังจากนั้นอย่างเปลี่ยนแปลงไปไม่น้อย

โดยเมื่อพิเคราะห์ในตามความหมายคำว่า"ปฏิวัติ"ในพจนานุกรมภาษาไทย ได้แก่ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 และพจนานุกรมฉบับมติชน คำว่า "ปฏิวัติ" มีความหมายร่วมกันคือหมายถึง การผันแปรเปลี่ยนหลักมูล ได้แก่"การเปลี่ยนแปลงระบบ" เช่น "การเปลี่ยนแปลงระบอบการบริหารบ้านเมือง"

แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานกลับนิยามความหมายของคำว่า "ปฏิวัติ" ไว้สองนิยาม คือ นอกจากจะหมายถึง การผันแปรเปลี่ยนหลักมูลแล้ว ยังหมายถึง "การหมุนกลับ" อีกด้วย

ซึ่งการนิยามคำว่า "ปฏิวัติ" ว่าหมายถึง การหมุนกลับ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนี่เอง ที่มีความสอดคล้องกันเป็นอย่างยิ่งกับการนิยามคำว่า "ปฏิวัติ" ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475

ด้วย"ความหมาย"ที่ซ่อนอยู่ในวิธีการ และสิ่งที่ติดตามมาหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง แม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงใน ปี 2549 ที่บางคราก็ถูกอนุมาน ว่าคือ"การปฏิวัติ"ของคณะผู้ก่อการ(คปค.) เพื่อเปลี่ยนแปลงจากระบอบเดิม(ทักษิณ)(ที่บางคน(ฝ่ายตรงข้าม คมช.ก็บอกว่ากำลังหมุนหลับถอยหลังไปสู่ระบอบ"อำมาตยธิปไตย")) บางครั้งก็ถูกระบุว่าเป็นการทำรัฐประหาร"ทักษิณ" โดยใช้กำลังทหาร

นี่จึงเป็นที่มาของการใช้คำทั้ง"ปฏิวัติ"และ"รัฐประหาร"สำหรับเหตุการณ์ 19 ก.ย49 ที่ปรากฎในสื่อต่างๆ ..กระทั่งลามมาถึงการใช้คำว่า "ปฏิวัติซ้ำ-ซ้อน"

------------
สำหรับข้อมูลการรัฐประหาร-ปฏิวัติ ทั้งซ้ำ-ซ้อน จากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้

การ"ปฏิวัติซ้ำ"เพื่อกระชับอำนาจ ครั้งแรกในประเทศ ไทย ที่อาจถือได้ว่ามีความใกล้เคียงกับสถานการณ์ คมช.ใน ปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๕๐) โดย หลังจาก " คณะราษฎร " ซึ่งประกอบ ด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนบางกลุ่ม จำนวน ๙๙ นาย มี พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการยึดอำนาจ การปกครองประเทศ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาประ ชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๗ เพื่อเปลี่ยนแปลงการ ปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบ ประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ

โดยให้"พระยามโนปกรณ์นิติธาดา" เป็นนายกรัฐมนตรี(๒๔ มิ.ย.๒๔๗๕) เพียง ๑ ปีหลังจากนั้น(๒๐ มิ.ย.๒๔๗๖) "พ.อ.พระยา พหลพลพยุหเสนา" ได้เข้าทำการยึดอำนาจจากรัฐบาล" พระยามโนปกรณ์นิติธาดา"และขึ้นเป็นนายกฯแทน

ในสถานการณ์ถัดจากนั้นเพียง ๓ -๔ เดือน "๔ทหาร เสือ"ที่เคยร่วมเป็นร่วมตาย เปลี่ยนแปลงการปกครอง(๒๔๗๕) ประกอบด้วย "พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา","พ.อ.พระยาทรงสุ รเดช","พ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์"และ" พ.ท.พระยาประสาทพิทยา ยุทธ์" ได้เกิดการ"แตกคอ"อันนำมาสู่การเผชิญหน้าและนำมาสู่ ปฏิบัติการ"ปฎิวัติซ้อน"(๑๑ต.ค.๒๔๗๖)มีการยกทัพปะทะหลั่งเลือด เสียชีวิตบาดเจ็บกันถึง ๑๕ วัน โดย ผู้ก่อการ "ปฏิวัติซ้อน"ในนาม" คณะกู้บ้านกู้เมือง"พ่ายแพ้กลายฐานะเป็น"กบฏบวรเดช" ในที่ สุด...ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็น"การปฏิวัติซ้อน"ที่เกิดขึ้นครั้งแรกใน ประเทศไทย

"การปฏิวัติซ้ำ"เกิดขึ้นอีกครั้งหลังจากที่"พลโทผิน ชุ ณหะวัณ" เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ (๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐) แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายก รัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาล โดยมีการตั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็น ผู้บัญชาการทหารบก จากนั้น ได้ทำการปฏิวัติซ้ำ บังคับให้"นาย ควง อภัยวงศ์" ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป (๖ เมษายน ๒๔๙๑)

ถัดจากนั้น(๒๖ มิถุนายน ๒๔๙๒ )ได้มี"การปฏิวัติซ้อน" โดย"นายปรีดี พนมยงค์" กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่ม หนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกอง บัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการ แต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่าง รุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง (กบฏวังหลวง)

หลังจากนั้น (๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๔ )นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัว หน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึด อำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ มีทหารบาด เจ็บล้มตายจำนวนมากของทั้ง๒ฝ่าย จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏ จนเป็นผลสำเร็จ (กบฏแมนฮัตตัน) รัฐประหาร ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔

ภายในรัฐบาลทหารของ"จอมพล ป. พิบูลสงคราม" ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง(ปฏิวัติซ้ำ)(๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ ) เนื่องจากเกมในรัฐสภาซึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๔๙๒ ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ทำการล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอา รัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ มาใช้อีกครั้งหนึ่ง

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เป็นนายกรัฐมนตรีใน ช่วงหลังนี้นาน ๑๐ ปี ๔ เดือนก่อนจะถูกรัฐประหารโดย"จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ "(๑๖ กันยายน ๒๕๐๐)ที่มอบหมายให้"นายพจน์ สารสิน "ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และจัดการให้มีการเลือกตั้ง( ๑๕ ธันวาคม๒๕๐๐)

ภายหลังการเลือกตั้ง พลโทถนอม กิตติขจร ได้ ถูกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สนับสนุนให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตามความไม่สันทัดในเวทีการเมืองแบบสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ไม่สามารถบริหารราชการไปด้วยความราบรื่นตามที่กลุ่ม ของตนปรารถนา ในที่สุด "จอมพลสฤษดิ์" ในนาม "คณะปฏิวัติ" ได้ทำการคล้ายกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดาด้วยการ"ปฏิวัติซ้ำ" ( ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑)

จอมพลสฤษดิ์ก็ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒

ต่อมาจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ถึงแก่อสัญกรรมในขณะดำรงตำแหน่งนายก รัฐมนตรี( ๘ ธันวาคม ๒๕๐๖) พลเอกถนอม กิตติขจร เป็นทายาท รับช่วงการปกครองเป็นนายกรัฐมนตรีต่อมาจนกระทั่งมีการ ประกาศใช้ธรรมนูญฯ ( ๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๑) และมีการเลือกตั้ง ขึ้น(๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒) และจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายก รัฐมนตรีต่อมาตามเสียงสนับสนุนของสภาในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นหัวหน้ากลุ่มเข้ายึดอำนาจจาก รัฐบาลของตนเอง(ปฏิวัติซ้ำ) เรียกคณะของตนว่า "คณะปฏิวัติ"

เมื่อยึดอำนาจอย่างพอเป็นพิธีแล้วก็ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๕๑๑ ยุบสภา ยกเลิกกฏหมายพรรคการเมือง และประกาศ ใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งให้อำนาจ เผด็จการแก่นายกรัฐมนตรี

"จอมพลถนอม" เป็นนายกรัฐมนตรี มาจนถึงเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙

ถัดจากนั้นในปี ๒๕๑๙ หลังจากที่"พลเรือเอกสงัด ชล ออยู่" และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล(๖ ตุลา ๒๕๑๙) และรัฐบาลพลเรือนใน ขณะนั้น(ม.ร.ว.เสนี ย์ ปราโมช)ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดย ทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบ ให้"นายธานินทร์ กรัยวิเชียร" ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

เพียง ๑ ปี "พลเรือเอกสงัด"ได้ทำการ"ปฏิวัติซ้ำ"ยึด อำนาจของ"รัฐบาลหอย" ของ"นายธานินท์"(๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๐ ) โดยอ้างว่าประชาชนไม่พอใจรัฐบาลเกิดการแตกแยกระหว่างข้า ราชการอย่างมาก...

โดยก่อนหน้านั้น(๒๖ มีนาคม ๒๕๒๐)ได้เกิด"การปฏิวัติ ซ้อน"โดย"พลเอกฉลาด หิรัญศิริ" และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้ นำกำลังทหารจากกองพลที่ ๙ จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่ สำคัญ ๔ แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กอง บัญชาการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุด ส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ก่อนจะถูกปราบ" พลเอกฉลาด"กลายเป็น"กบฎ"ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัย อำนาจตามมาตรา ๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๒๐




 

Create Date : 28 สิงหาคม 2550
2 comments
Last Update : 28 สิงหาคม 2550 18:19:56 น.
Counter : 1033 Pageviews.

 

ยังติดตามอยู่นะครับ

 

โดย: ok IP: 222.123.77.119 29 สิงหาคม 2550 11:04:56 น.  

 

ขอบคุณมากหาเจอแล้ว

 

โดย: จิตรกร IP: 202.143.137.147 29 มกราคม 2551 12:30:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สุริยาอัสดง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เปิดโลกด้วยแสงแห่งปัญญา
Thaiflood
Friends' blogs
[Add สุริยาอัสดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.