อาทิตย์สาดส่อง..ความจริงจักปรากฎทั่วปฐพี!!!
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
8 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
ศาลปล่อยตัวบัณฑิตหนุ่มม.ดังย่านบางเขนหมิ่นเบื้องสูง

ศาลปล่อยตัวบัณฑิตหนุ่มม.ดังย่านบางเขนหมิ่นเบื้องสูง

8 สค. 2554 20:41 น.


ศาลอนุญาตปล่อยตัว บัณฑิตหนุ่ม มหาวิทยาลัยดัง ย่านบางเขน ระหว่างฝากขัง คดีหมิ่นเบื้องสูง - ทำผิด พ.ร.บ.คอมพ์ ตีราคาประกัน 5 แสน หลังญาติหอบโฉนดห้วยขวาง 1.6 ล้านยื่นศาล

ญาติของนายนรเวศย์ ยศปิยะเสถียร หรือเศรษฐีวงศ์ อายุ 22 ปี บัณฑิตคณะบริหาร มหาวิทยาลัยชื่อดังย่านบางเขน ผู้ต้องหาคดีกระทำผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ เป็นโฉนดที่ดินย่านห้วยขวาง จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 45 ตารางวาเศษ ราคาประเมิน 1,600,000 บาท เพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างฝากขัง โดยศาลพิเคราะห์คำร้องและหลักทรัพย์แล้ว จึงมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้ โดยตีราคาประกัน 500,000 บาท

สำหรับ นายนรเวศย์ ผู้ต้องหา ถูกออกหมายจับโดยศาลอาญาในข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14(1)(5) ซึ่งเจ้าหน้าที่ตรวจ สน.บางเขน จับกุมได้เมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมาที่บริเวณห้างโรบินสัน ถ.รัชดาภิเษก แขวงและเขตดินแดง กทม. ซึ่งนายนรเวศย์ ถูกกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์โพสต์ข้อความ ที่มีลักษณะหมิ่นเบื้องสูงลงในบล็อกส่วนตัว เมื่อปี 2553 กระทั่งเพื่อนนักศึกษาเข้าร้องเรียนต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัยเข้าแจ้งความดำเนินคดี โดยพนักงานสอบสวน สน.บางเขน ได้นำตัวมาฝากขังครั้งแรกต่อศาลอาญาเมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งฝากขังเป็นเวลา 12 วันตั้งแต่ 6-17 ส.ค.นี้
----------------

วันจันทร์ ที่ 8 สิงหาคม 2554
เปิดดู ‘ฟ้าเดียวกัน’
Posted by driftworm , ผู้อ่าน : 1138 , 12:24:17 น.
หมวด : การเมือง
พิมพ์หน้านี้ โหวต 4 คน

หาหนังสือพวกที่เป็นทัศนะต่างไปจากเรามาอ่านบ้างเป็นการสอบทานบ้าง คงจะดี

เอ่อ ผมไม่ได้พูดว่า – หาหนังสือพวกที่เป็นทัศนะตรงข้ามกับเรา – นะครับ
เรื่องของเรื่อง เพื่อนส่งหนังสือ นิตยสารฟ้าเดียวกัน เล่ม ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๔ มาให้นานแล้ว

พลิกจากปกหลังมาเรื่อยๆ มีหลายชื่อบทความที่เตะตา เช่น พูดถึงสภาพก่อนการปฏิวัติปี ๒๔๗๕ จับบทจากปี ๒๔๗๐ ขึ้นมา ก็อยากรู้น่ะว่าจะสอดคล้องหรือแย้งกับที่ผมเคยบอกว่ามันไม่ใช่เรื่องของแนวคิดประชาธิปไตย, เรื่อง

จตุสดมภ์กับภูมิปัญญาไทย, เรื่องกำเนิดแนวคิดประชาธิปไตย, เรื่องนักวิชาการญี่ปุ่นมองความวุ่นวายของการเมืองไทยปัจจุบัน, จดหมายจากสุลักษณ์ ศิวรักษ์ เรื่งการวิพากษ์สถาบัน, จดหมาย(ใบแถลงข่าว)จากสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

เกี่ยวกับเจตนาสุจริตที่วิพากษ์สถาบัน ฯลฯ

บางเนื้อความจากจดหมายของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ที่ขอตัดทอนมา มีว่า ....

“... และที่แถมดีวีดีจากเสวนาว่าด้วย “สถาบันกษัตริย์ รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตย” ให้ไปกับเล่มหนังสือนั้น นับว่าน่าอนุโมทนายิ่งนัก ที่น่าพอใจเป็นพิเศษก็คำพูดของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ซึ่งประกอบไปด้วยข้อเท็จจริงอย่างจังๆ

พร้อมไปกับคำเตือนด้วยความหวังดี อย่างที่ผู้ซึ่งสนใจจะรักษาสถาบันกษัตริย์ไว้ให้ยืนยงคงอยู่คู่กับประชาธิปไตยร่วมสมัย พึงสำเหนียก และนำไปปรับปรุงสถาบันดังกล่าวอย่างทันท่วงที หาไม่อะไรๆก็จะสายเกินไปที่จะอนุรักษ์

สถาบันคู่บ้านคู่เมืองที่มีมาแต่อดีต ให้ดำรงคงอยู่กับปัจจุบันจนถึงอนาคต ” (หน้า ๑๔)
... ผมอ่านไปคิดตามไปด้วย ...

อาจารย์สุลักษณ์มองถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ในโลกสมัยใหม่ได้ แต่ปรับเปลี่ยนอะไร อย่างไร เพียงไร นั้นผมไม่แจ้ง เคยอ่านหนังสือและบทความของท่านมาบ้างแต่ตอนนี้ก็นึกอะไรไม่ออก ไม่อยู่ใน

ความจำเลย ผมได้แต่นึกภาพว่าคงเหมือนการนุ่งโจงกระเบนที่ไม่เหมาะกับวิถีการดำเนินชีวิตในปัจจุบันกระมัง และที่ผมอ่านข้อเขียนของอาจารย์สมศักดิ์มาบ้าง ต้องสารภาพว่ามีความรู้สึกว่าตัวอักษรจากความคิดของเขาเป็นท่าที

ของการกล่าวโทษ ว่าร้าย ราวกับถ้อยความที่คนเป็นคู่ปรับใช้วิพากษ์วิจารณ์ หรือจะเป็นว่าผมเข้าไม่ถึงสำนวนเขียนของท่านก็ไม่รู้

บางเนื้อความจากใบแถลงข่าวของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่ขอตัดทอนมา มีว่า ....

“ตลอดระยะเวลากว่า ๑๐ ปีที่ผ่านมา ผมได้เขียนบทความทางวิชาการและข้อเขียนอื่นๆ และได้พูดอภิปรายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ โดยที่ในการกระทำต่างๆเหล่านี้ ไม่เคยเลยแม้แต่ครั้งเดียวที่ผมจะเสนอให้ “ล้มเจ้า” หรือ “ล้มเลิก

สถาบันกษัตริย์” สิ่งที่พูดและเขียนทั้งหมดล้วนอยู่ในกรอบของการมีสถาบันกษัตริย์ทั้งสิ้น ขณะเดียวกัน ผมก็ไม่ปิดบังทัศนะที่ว่าสถาบันกษัตริย์ควรต้องมีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการปกครองในแบบ

ประชาธิปไตย หลักนิติธรรม และพัฒนาการของโลกสมัยใหม่ ซึ่งทัศนะหรือการเสนอให้เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงสถาบันกษัตริย์เช่นนี้ เป็นสิ่งที่ทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย .... ฯ ” (หน้า ๑๖)
... ผมอ่านไปคิดตามไปด้วย ...

นี่ก็เป็นคำชี้แจงที่ยืนยันเจตนาที่บริสุทธิ์ใจ แต่ผมก็จำความรู้สึกเมื่ออ่านข้อเขียนของอาจารย์สมศักดิ์ ในเว็บของท่านเองหรือที่อื่นๆว่าสำนวนเขียนเหมือนโจทก์ฟ้อง กล่าวโทษ หรือเป็นเพราะว่าผม ‘อ่านไม่แตก’ เอง หรือว่านั่นคือ

การชี้อย่างสุจริตให้เห็นโทษสมบัติตามที่ท่านกล่าวถึงว่าควรมีการปรับปรุง ... * มันมีอะไรอยู่ในช่องว่างระหว่างอาจารย์สมศักดิ์และบรรดาผู้สนับสนุนเขา กับ เราๆท่านๆที่อ่านหรือฟังแล้วไม่อาจคิดเป็นอื่นได้นอกจากว่านั่นคือการ

ลบหลู่ชัดเจนยิ่ง ช่องว่างตรงนั้นมีอะไรอยู่หนอ ท่าที สำนวนของท่าน หรือการตีความของคนเราไม่เท่ากัน ตีความด้วยจุดยืนที่ไม่ตรงกัน หรือเพราะความเคยชินต่างกัน ... อย่างไรก็ดี ในข้อความจากใบแถลงข่าวเท่าที่ตัดทอนมาข้าง

บนนี้เอง สามารถสังเกตเห็นบางอย่างที่ขัดกันได้คือ ข้อความช่วงแรกเป็นในเชิงบวกทั้งหมด จนกระทั่งมาถึงประโยคท้ายที่ขึ้นต้นด้วย “ซึ่งทัศนะหรือการเสนอให้เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ..... ฯ ” มันเอื้อให้เกิดความรู้สึกแง่ลบตั้งแต่

อ่อนๆไปจนแก่เข้มได้หลายประการ ตั้งแต่ นี่เป็นการออกตัว, ปกป้องตัวเอง, ตีกันไว้ก่อน, การอ้างสิทธิ์แบบหัวหมอ, อ้างสิทธิ์เพื่อที่จะกระทำก้าวร้าวต่อไปอย่างไม่ใครมาเถียงหรือกล่าวโทษ, ถือหลักต่างกันและขืนดัน (push) ให้คน

อื่นรับมัน, การแก้ตัว, การดันทุรัง. เป็นการเกริ่นว่าจากนี้ไปฉันจะเริ่ม...ละนะ และอย่ามาว่ากันเพราะได้อ้างสิทธิ์ตามข้อกฎหมายไปแล้ว, สิ่งที่จะกล่าวถัดจากนี้ไป(จุ๊ย์ จุ๊ย์)เป็นการตีกระทบกลุ่มคนที่อิงและอ้างคตินี้มาปกป้องผล

ประโยชน์กลุ่มตนโดยมิชอบละนะ โปรดเข้าใจ ใครฟังไม่รู้เรื่องก็ช่วยไม่ได้ ฯลฯ นี่เป็นสาเหตุที่ผมคัดลอกตัดทอนมาเพียงห้วนๆเท่าที่เห็น เพราะข้อความถัดจากนั้นไปยังเป็นการย้ำอ้างกฎหมาย สาธยายไปในแง่โน้น แง่นี้ และแง่นั้น

... อืม หรือมันเป็นสิ่งที่ผมเองแค่จะคัดลอกซ้ำไปตามสำเนียงนั้นยังรู้สึกได้ว่าพูดไปแล้วมัน ‘หมิ่นเหม่’ ต่อความเข้าใจผิดละกระมัง
ข้อความที่ใส่เครื่องหมายดอกจันและทำเป็นสีแดงนั้น คือเหตุที่ผมต้องมาพลิกดูนิตยสารฟ้าเดียวกัน นี่เองแหละ คือผมจำได้ว่ามีโฆษณาหนังสือเกี่ยวกับโพ้สท์โมเดิ้ร์น ของโรล็องด์ บาร์ตส์ ที่อ.ธีรยุทธ บุญมี แปลและเรียบเรียง พิมพ์

ขายเล่มละราวสามร้อยบาท ผมอยากจะอ่านมันแล้วละ เผื่อมันจะช่วยเติมช่องว่างที่ผมตั้งข้อสังเกตในข้อความสีแดงๆข้างบนนั่นละ แต่กลับหาไม่เจอ ก็เลยรู้สึก

‘ถอย’ เอาดื้อๆ ไม่หงไม่หามันละ
ครับ ผมตั้งสมุฏฐานว่าโลกเราที่เปลี่ยนแปลงมาถึงวันนี้ ไม่เพียงแค่ทางวัตถุที่เราเห็นชัด แต่โลกภายใน หรือภายในกบาล (ที่สำหรับเก็บกักความคิด) ของเรามันเริ่มแตกต่างกันออกไปมากมายหลายแฉกไปด้วย มีการจับใจความ จับ

ความหมาย มีการถือเอาสาระ ที่ต่างกัน แผกกันออกไปมากขึ้นเรื่อยๆ ชั้นแต่คำว่าประชาธิปไตยเอง พรรคการเมืองคนละพรรคกันก็ยังถือสาระความหมายไปคนละอย่างกันให้เห็นไปหลัดๆมิใช่หรือ แล้วผมจำได้ว่าหนังสือในสกุล

เดียวกับโพ้สท์โมเดิ้ร์นมีพูดถึงความเป็นมาตั้งแต่การสร้างถ้อยคำและความหมาย

อย่างเช่นที่บทบรรณาธิการในเล่มนี้เอง

ที่ยกเอาพระบรมราชาธิบายของรัชกาลที่ ๕ ที่เปรียบความต่างของระบอบการเมืองฝรั่งกับระบอบของไทยเราว่าเหมือนตำราปลูกข้าวสาลี คงจะเอามาใช้เป็นคู่มือปลูกข้าวเจ้าข้าวเหนียวของไทยเราไม่เข้าการ ... บทบรรณาธิการนั้น

เสนอแนวคิดว่า ...
“นี่เป็นกระบวนท่าของชนชั้นนำสยามในการทำให้ความรู้สึกนึกคิด สำนึก หรือกระแสภูมิปัญญาใหม่ ‘เป็นอื่น’ หรือ ‘เป็นฝรั่ง’ ไม่สามารถบ่มเพาะให้เติบโตเจริญงอกงามได้บนเนื้อนาดินแห่งสยาม” (หน้า ๑๒) ข้อความตามที่ทำตัว

เอนนี้บ่งบอกแนวความคิดตามที่ตำราโพ้สท์โมเดิ้ร์นแจกแจงวิเคราะห์สังคมยังไงละ ผมจะไม่สนใจหนังสือสกุลนั้นที่มีแปลเป็นไทยได้อย่างไร
แต่ในเมื่อบทบรรณาธิการนี้ที่หากถือว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มคนสมัยใหม่ที่คิดเปลี่ยนแปลงสังคม ผมก็รู้สึกว่าจะมีปัญหา ปัญหาของการสื่อสารความคิด อย่างน้อยผมก็แสดงความเห็นในชุมชนโอเคเนชั่นนี้หลายครั้งไปในทางที่ว่า

ความคิดฝรั่งนั้นมีรากฐาน เส้นทางการเติบโตมาไม่เหมือนกับของทางเอเซียเรา แนวหลักใหญ่ๆมันเป็นกระแสของโลกที่เปลี่ยนไปตามความจำเป็นที่ต้องรับมือกับจำนวนพลโลกที่มากขึ้น แต่ในรายละเอียดคงไม่สามารถเอามาสวม

ใส่ได้ทันที และเท่าที่จำได้ หนังสือที่สำนักพิมพ์เคล็ดไทยหรือศึกษิตสยามที่อาจารย์สุลักษณ์เป็นผู้ก่อตั้ง ท่านก็พยายามจัดแปล พิมพ์หนังสือทั้งปัญญาฝรั่ง ปัญญาสยาม ปัญญาของพุทธศาสนา เพื่อสะท้อนให้เห็นความแตกต่างที่มีอยู่

เองและจำเป็นต้องมีการปรับแต่งให้นำมาใช้ได้อย่างเหมาะเหม็ง เหมาะเจาะ และเกิดประสิทธิภาพ

จริงละหรือ ที่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าโคตมะ สามารถเอาเกณฑ์ความคิดฝรั่งมาชี้ลงไปได้ทันทีด้วยคำด้วยความคิดฝรั่งว่า

‘เป็นจิตนิยม’ เราเคยมีคำนี้ใช้มาก่อนนั้นหรือ หรือเป็นแค่เพียงการอนุมาน อนุโลมให้ลงกันได้กับหลักคิดที่รับเอามา จะได้ ‘จัดการต่อได้’
ที่ผมได้กล่าวถึงความสอดคล้องเห็นพ้องในหลักใหญ่ แต่ในรายละเอียดกลับมีความแตกต่างกันอยู่เอง ก็อย่างเช่นเนื้อหาและวิธีปฏิบัติที่เรียกประชาธิปไตยของอเมริกาทำไมจึงไม่เหมือนเนื้อหาและวิธีปฏิบัติของจีน และของไทยก็ไม่

เหมือนของอเมริกาหรืออังกฤษ มันมีความต่างกันจนต้องมีการปรับแต่งวิธีปฏิบัติตามหลักการใช่หรือไม่ จีนอาจอ้างว่านับแต่เหมาสรุปบทเรียนและกลั่นออกมาเป็น

“ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์” หมายถึงการเอาวิธีปฏิบัติแบบรวบเข้าสู่ศูนย์กลางการนำเข้ามาปนอยู่ด้วย และใช้มาจนปัจจุบัน แล้วในปัจจุบันก็เกิดปรากฏการณ์เช่นนายอ้ายเว่ยเว่ย ศิลปินที่เรียกร้องเสรีภาพ แล้วยังมีคนที่ลุกขึ้นมา

ประท้วงเรียกร้องเสรีภาพที่ถูกคุมขัง แต่ตะวันตกประกาศให้รางวัลอีก หรือเป็นเพราะว่าส่วนผสมที่เรียก ‘รวมศูนย์’ (นัยยะเกือบใกล้ เผด็จการจากส่วนกลาง) มัน ‘แก่’ ไปหน่อย
ในจีนเมื่อปี ๒๔๙๒ เมื่อจีนฝ่ายค็อมมิวนิสม์โดยการนำของเหมาจ๋อต่งมีชัยชนะเหนือก๊กมินตั๋ง ก็ประกาศว่าจีนที่เป็นมายังไม่ใช่ประชาธิปไตย ต้องมีการ

‘ปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย’ ขึ้นมาเป็นขั้นตอนปรับเปลี่ยนที่จะเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมต่อไป
ประชาธิปไตยมีหลายสายพันธุ์ ?

หรือมันเป็นเรื่องของ ถ้อยคำ และ การกำหนดความหมาย จนถึงการปฏิบัติตามความหมายที่กำหนด ดังเช่น เมื่อเหมาเจ๋อต่งประกาศปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตยกับแผ่นดินจีนแล้ว ก็จัดให้มีการ ‘เปลี่ยนข้อมูลความคิดในกบาล

ของประชาชนทั้งมวล’ เพราะยอมรับว่าหลักคิดใหม่มันเป็นคนละเรื่องกับหลักคิดเดิมๆที่ประชาชนจีนประพฤติต่อกันมานานจฝังอยู่ในสันดาน จึงจำเป็นต้องรื้อสร้างสันดานกันใหม่ทั้งระบบทั้งประเทศ .... เช่นนี้ ประชาธิปไตยก็

ไม่ใช่ของที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสากลอยู่แล้วในตัว เพียงหยอดใสกบาลผู้ใดแล้วผู้นั้นจะเปลี่ยนพฤติกรรมทันที

ดังนั้น เราพักการอ้างว่าเป็นของสากลแบบสำเร็จรูป แล้วย้อนมาดูถ้อยคำในบทบรรณาธิการที่ยกบางประโยคมาข้างบนนั้น ที่ว่า การให้ข้อสังเกตกับความต่าง แผกเพี้ยนที่มีอยู่ของความเชื่อในระบอบการเมืองที่ต่างกัน (ซึ่งมิใช่การ

ปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง แต่น่าจะมีนัยของการปรับแต่งให้เข้ากัน) ว่าคือ กลวิธีของการ

‘ทำให้เป็นอื่น’ อันเป็นการอธิบายจากหลักคิดของทฤษฎีโพ้สท์โมเดิ้ร์น(ซึ่งเอามาปรับใช้อธิบายความแบ่งแยกชั้นชนในสังคม อันจะปูพื้นไปสู่ความคิดว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสังคมแบบขนานใหญ่) เมื่อพบว่าคำอธิบายนั้นลงกัน

ได้กับภาพของสังคมที่ตัวเองยืนอยู่ ก็สรุปว่าคำอธิบายนั้นคือ สากล เลยทีเดียว และมันจะต้องเป็นเช่นนี้ในทุกสถานที่ในโลก ในทุกยุคกาล .... การถอยออกห่างไปหน่อยแล้วยืมแว่นของโพ้สทโมเดิ้ร์นมาส่องมองไทย นั้นมิใช่การถือ

เสมือนว่าสังคมไทยที่กำลังมองอยู่ก็ ‘เป็นอื่น’ ไปจากตัวเองที่ยืนส่องมองอยู่หรอกหรือ .. แต่แล้วก็กลับให้คำอธิบายว่า มิใช่เช่นนั้นหรอก ตัวฉันก็ยังยืนอยู่ในสังคมนี่แหละ แต่เดี๋ยวนี้ฉันอยากปรับเปลี่ยนสังคมที่ฉันยืนอยู่ให้เป็นไป

ตามภาพเห็นผ่านแว่นนั้นเสียแล้ว
นี่มิใช่ผมคัดค้าน ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

มนุษย์นั้นเกิดมาก็มีความยอกย้อนในตัวเอง มาพร้อมแล้ว เราพูดว่าเราเติบโตขึ้น –แต่อีกนัยหนึ่งเราเริ่มเข้าใกล้การตายจาก, เรา สร้างใช้ ถ้อยคำเพื่อสื่อสาร – แต่ใช้ไปนานเข้าเรากลับรู้สึกยึดเหนี่ยวว่าถ้อยคำกับความหมายที่ผูกติด

เป็นของมีเองเป็นเองอยู่ก่อน, เราคิดว่าคนร่วมสังคมมองว่าเราเป็นอื่น – แต่ตรงที่เราคิดนั้นเราก็ออกไปเอาความคิดอื่นมาย้อนมองกลับเข้ามาอยู่นั่นไง
(อดนึกถึงคำพูดหลวงปู่ดูลย์ขึ้นมาไม่ได้ ที่ท่านว่า คนสมัยนี้ทะเลาะกันก็เพราะ

‘คิด’ )
ผมอยากเชื่อว่า

ถ้าทำความเข้าใจกับความยอกย้อนของชีวิต ความยอกย้อนของความคิดความเชื่อ ความยอกย้อนของถ้อยคำในภาษาที่เราใช้สื่อแทนความคิด เราน่าจะสามารถตัดแต่ง ขลิบ ลิด ทอน (แนวคิดต่างๆ) จนผสมเข้ากันได้ไม่คายมือ
ผมเปลี่ยนใจอีกละ กลับไปค้นหาทางที่จะได้หนังสือเล่มนั้นมาอ่านอีกดีกว่า ฮา ฮา
---
หมายเหตุเพิ่มเติม นิตยสารฟ้าเดียวกันเล่มเดียวกันนี้ที่ด้านในปกหน้า ต่อกับหน้า ๑ มีเนื้อความที่ ‘เล่น’ กับตัวเลขผลกำไรจากการถือหุ้นใน ธ.ไทยพาณิชย์ แจกแจงซอยลงมาจนได้ว่ามีกำไรวินาทีละ ๓๙๖ บาท ดูแล้วก็อดคิดถึง ‘นัยยะ

ที่เลือกเล่นแบบขยัก’ ซึ่งมันก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกันกับเมื่ออ่านข้อเขียนของ อ.สมศักดิ์นั่นเอง ถ้าหากเรานำวิธีที่เล่นกับนัยยะเช่นนี้ไปแจกแจงตัวเลขกำไรงอกเงยของตระกูลชินดูบ้างละ อาจเห็นตัวเลขเป็นสิบๆเท่าของ ๓๙๖ บาทนั่น

แล้วไปเทียบกับการแจกแท็บเบล็ตผลิตจากจีนอันละไม่กี่ตังค์ แถมยังเป็นการขุดบ่อล่อ ขายค็อนเท้นท์เกมและเอ็นเตอร์เทนเม้นท์เก็บกินยาวอีกละ นี่นับเป็นเช่นไร (หรือแม้กระทั่งจะนำไปเล่นกับของตระกูลอื่นๆอีกที่ไม่มีสถานะ ‘

ชั้นสูง’ ดูบ้างก็ได้ ‘ความจริงวันนี้’ อันหลากหลายในสังคมไทยยังมีที่ควรนำมาพูดด้วยอีกเยอะ เพื่อความงอกงามให้ปัญญารอบด้าน หรือแท้จริงแล้ว-การสู้ฟัดแย่งชิงกันของสัตว์โลกต่างฝูงต่างพันธุ์บนโลกนี้ เป็นเรื่องของการเลือก

เชื่อเฉพาะจุดตามสัญชาตญาณอยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องอ้างความคิดสูงส่งแต่อย่างใด ฮึ่)


Create Date : 08 สิงหาคม 2554
Last Update : 8 สิงหาคม 2554 21:15:48 น. 0 comments
Counter : 947 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สุริยาอัสดง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เปิดโลกด้วยแสงแห่งปัญญา
Thaiflood
Friends' blogs
[Add สุริยาอัสดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.