อาทิตย์สาดส่อง..ความจริงจักปรากฎทั่วปฐพี!!!
Group Blog
 
<<
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
10 เมษายน 2551
 
All Blogs
 
๓ องคมนตรีใหม่..อ่านผ่านอดีต

(๘เม.ย.๕๑)พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งองคมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 16 ส.ค. 2550 บัดนี้ ทรงพระราชดำริเห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งองคมนตรีเพิ่มขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 ประกอบกับมาตรา 13 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งดังต่อไปนี้

พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นองคมนตรี นายศุภชัย ภู่งาม เป็นองคมนตรี นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ เป็นองคมนตรี ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 เม.ย. 2551 เป็นปีที่ 63 ในรัชกาลปัจจุบัน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

สำหรับประวัติ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 28 ส.ค.2486 เข้าศึกษาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 12 (จปร.12) ผ่านการอบรมหลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าราบ ที่ฟอร์ทเบนนิ่ง รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา รับราชการเป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการมาโดยตลอด เคยดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการหน่วยสงครามพิเศษ ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ดำรงตำแหน่ง องคมนตรี เมื่อวันที่ 14 พ.ย.2546 ก่อนลาออกไปดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี

นายศุภชัย ภู่งาม เกิดเมื่อวันที่ 4 มิ.ย.2488 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เคยดำรงตำแหน่ง ประธานศาลฎีกา และ ผู้พิพากษาอาวุโส ศาลแรงงานกลาง

นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ เกิดเมื่อวันที่ 25 เม.ย.2489 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เคยดำรงตำแหน่ง ประธานศาลฎีกา และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีต นายกรัฐมนตรี

---------------------
คณะองคมนตรีชุดปัจจุบัน

(เมษายน ๒๕๔๙ - )

๑. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
๒. นายเชาวน์ ณศีลวันต์ องคมนตรี
๓. นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี
๔. พลเรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช องคมนตรี
๕. พลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี
๖. พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี
๗. พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี
๘. นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี
๙. นายจำรัส เขมะจารุ องคมนตรี
๑๐. หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล องคมนตรี
๑๑. นายศักดา โมกขมรรคกุล องคมนตรี
๑๒. นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี
๑๓. นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี
๑๔. นายสวัสดิ์ วัฒนายากร องคมนตรี
๑๕. นายสันติ ทักราล องคมนตรี
๑๖. พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ องคมนตรี
๑๗. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี
๑๘. นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ อคมนตรี
๑๙. นายศุภชัย ภู่งาม องคมนตรี

งานที่คณะองคมนตรีปฏิบัติถวายเป็นประจำ

๑. พิจารณาและถวายความเห็นประกอบร่างกฎหมายทั้งปวง ที่นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อขอพระราชทานพระมหากรุณาทรงลงพระปรมาภิไธย

๒. พิจารณาและถวายความเห็นประกอบการกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งและให้พ้นจากตำแหน่ง ของข้าราชการฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือน ตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า รวมทั้งทรงพระ

กรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งบางตำแหน่ง ตามที่กฎหมายกำหนด
.
.
.
๑๐. ปฏิบัติสนองพระราชกระแสทุกเรื่องที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวางและหลากหลาย

หมายเหตุ : นายชาญชัย เคยถูกกล่าวหาโจมตีจากฝ่ายต่อต้าน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) ว่า เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ กรณี เมื่อครั้ง ศาลฎีกาจำคุก กกต ชุดเก่า(วาสนา เพิ่มลาภ) และให้การเลือกตั้ง ๒ เมษา 2549 เป็นโมฆะ และทำนำไปสู่การเลิกล้มการจัดการเลือกตั้งทั่วไป ที่กำหนดไว้ในวันที่ ๒๒ ต.ค.๔๙ อันเป็นการเปิดทางนำไปสู่การรัฐประหาร (๑๙ก.ย.๔๙) อีกทั้ง"นายชาญชัย"เองก็มาเป็น รมว. ยุติธรรม สมัยสุรยุทธ์ (โดยมีจรัญ ภักดีธนากุล อดีตเลขาประธานศาลฎีกา เป็นปลัดกระทรวง)


(25 เมษายน 2549 )พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ โอกาสนี้ได้มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า

"เมื่อก่อนนี้มีศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ศาลอาญา เดี๋ยวนี้มีศาลหลายอย่าง เรื่องนี้ก็ต้องให้ดำเนินการไป ศาลจะเป็นผู้ทำให้บ้านเมืองปกครองแบบประชาธิปไตยได้ อย่าไปคอยที่จะให้ขอนายกฯ พระราชทาน เพราะขอนายกฯ พระราชทานไม่ได้เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมากที่เอะอะอะไรก็ขอพระราชทาน นายกฯ พระราชทาน ซึ่งไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย ถ้าไปอ้างมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ เป็นการอ้างที่ผิด มันอ้างไม่ได้ มาตรา 7 ว่าอะไรที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญ ก็ให้ปฏิบัติตามประเพณีตามที่ควรทำไป ไม่มี

เขาอยากจะได้นายกฯ พระราชทานกัน ขอนายกฯ พระราชทาน ไม่ใช่เป็นเรื่องของนายกฯ ที่เป็นประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบ ขอโทษ แบบมั่ว คือแบบไม่มีเหตุมีผล การที่ท่านเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา มีสมองที่จะใส่ สามารถที่จะไปคิดวิธีที่จะปฏิบัติ คือปกครองต้องมีสภาให้ครบถ้วน ถ้าไม่ครบถ้วนก็ไม่ได้ อาจจะหาวิธีที่จะทำสภาที่มีครบถ้วน และทำงาน ก็รู้สึกว่ามั่ว ไม่ทราบ ใครจะทำมั่ว ปกครองประเทศมั่วไม่ได้ คิดอะไร แบบทำปัดๆ ไปให้มันเสร็จๆ ไป

ถ้าไม่ได้เขาก็โยนให้พระมหากษัตริย์ทำ ซึ่งยิ่งร้ายกว่าทำมั่ว ต้องขอร้องให้ศาลคิด เดี๋ยวนี้ประชาชนประชาธิปไตยเขาหวังในศาล โดยเฉพาะศาลฎีกาที่มีความซื่อสัตย์สุจริต มีเหตุมีผล ท่านมีความรู้ ท่านได้เรียนรู้กฎหมายมาก และพิจารณากฎหมายที่ ศึกษาดีๆ ถ้าไม่ทำตามหลักกฎหมาย หลักการปกครองประเทศชาติไปไม่รอด”

หลังจากนั้นไม่กี่วันคณะผู้แทนศาล อันประกอบด้วยศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลยุติธรรม ซึ่งประกอบด้วยศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลชั้นต้น ร่วมกันหาทางดำเนินการเพื่อแก้ไขวิกฤตของประเทศ ด้วยการส่งสัญญาณให้ กกต. ลาออกจากตำแหน่ง หลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ไม่เป็นผล และยังก่อให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้นระหว่างกลุ่มที่สนับสนุน กกต. และต่อว่า ”ศาล”


สัญญาณแรก มาจากดาบแรกของศาลรัฐธรรมนูญที่รับคำร้องจากผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา โดยชี้ขาดการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ว่าเป็นโมฆะ
หลังจากนั้นไม่กี่วันตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ลงมติเสียงข้างมากให้การจัดการเลือกตั้งของ กกต.ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งเรื่องการกำหนดวันเลือกตั้ง การจัดคูหาเลือกตั้ง และการที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่ว่าจ้างผู้สมัครจากพรรคการเมืองเล็ก และการที่ กกต. ลงมติรับรองการเลือกตั้งโดยไม่ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ คำวินิจฉัยนี้ส่งผลให้ต้องเพิกถอนการเลือกตั้ง ซึ่งหมายถึงการปิดฉากการทำหน้าที่ของ กกต.

ผลการวินิจฉัยดังกล่าว กกต. ทั้ง 4 คนประกอบด้วย พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ปริญญา นาคฉัตรีย์ พล.อ.จารุภัทร เรืองสุวรรณ นายวีระชัย แนวบุญเนียน ในฐานะผู้ซึ่งต้องมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แต่กลับกระทำผิดกฎหมาย รัฐธรรมนูญ มาตรา 104 วรรคสาม และมาตรา145 (4) เสียเอง

นอกจากนี้ กกต. ยังถูกฟ้องดำเนินคดีที่ศาลปกครองอีก ถูกฟ้องร้องในคดีอาญาอีกหลายคดี และอาจจะมีผู้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นภาษีอากรประชาชนกว่า 2,000 ล้านบาทอีกด้วย

จึงถือว่า กกต. ทั้ง 4 คนหมดความชอบธรรมที่จะดำรงตำแหน่งอีกต่อไป โดยเฉพาะการจัดการเลือกตั้งใหม่ที่จะมีขึ้นในเร็วๆ นี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี กกต. ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่จัดการเลือกตั้ง แล้วเปิดทางให้มีการสรรหา กกต. ชุดใหม่

แต่อดีต กกต. ยังไม่ลาออก และยืนยันทำหน้าที่ ในที่สุด อดีต กกต. ก็ถูกตอกฝาโลง ในเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 จากคำพิพากษาศาลอาญาให้จำคุก พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ปริญญา นาคฉัตรีย์ และวีระชัย แนวบุญเนียร กกต. จำเลย ทำผิดกฎหมายในการเลือกตั้งในวันที่ 23 และ 29 เมษายน 2549 จำคุกคนละ 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา และให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดคนละ 10 ปี ตามคำยื่นฟ้องของโจทก์ คือ นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์

เป็นการสิ้นสภาพของ กกต. เป็นภาพที่ไม่มีคาดคิดมาก่อนว่า อดีต กกต. ผู้ทรงคุณวุฒิ และวัยวุฒิ ต้องเดินเรียงแถวเข้าไปนอนในคุก เพราะศาลปฏิเสธการประกันตัว กระทั่งยอมเซ็นหนังสือลาออก และรับปากว่าจะไม่สร้างความวุ่นวายใดๆ ศาลจึงให้ความปรานีได้ออกมาใช้ชีวิตภายนอกได้ตามปกติ

หากไม่มีพระบรมราโชวาทจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ 25 เมษายนนั้น คงไม่มีการคลายปมวิกฤต ที่มี กกต. เป็นตัวล็อกในช่วงเวลานั้น และทำให้ในเวลาต่อมาเมื่อศาลได้ใช้อำนาจตามกฎหมายสรรหา กกต. ชุดใหม่ แต่เมื่อต้องผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภา ก็มีกระแสเสียงการบล็อกโหวต กกต. ชุดใหม่ และได้ กกต. ชุดใหม่แล้ว ท่ามกลางเรียกร้องให้อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ เว้นวรรคทางการเมือง แต่คำตอบคือความไม่แน่นอน

ขณะที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังคงเดินหน้าเรียกร้องอย่างต่อเนื่อง นัดชุนมนุมใหญ่วันที่ 20 กันยายน 2549 พร้อมกับกระแสข่าวหนาหูว่า อาจเกิดการปะทะระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งสองฝ่าย และหากเกิดขึ้นจริงย่อม
หมายถึงการเสียเลือดเนื้อของประชาชน จนเป็นที่มาของทหารตัดสินใจทำการรัฐประหารอีกครั้งในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

---
(ข้อมูลจาก Positioning Magazine ธันวาคม 2549)





Create Date : 10 เมษายน 2551
Last Update : 10 เมษายน 2551 0:10:38 น. 3 comments
Counter : 1947 Pageviews.

 
ฮั่นแน่ ไม่ยอมตั้งหน้านี้เป็นหน้าหลัก
แถมปล่อยให้รอตั้งนานแหน่


โดย: หอมกร วันที่: 10 เมษายน 2551 เวลา:9:39:53 น.  

 
สดๆร้อนเชียวนะท่าน แล้วมติกกต.ให้ยุบพรรคชาติไทขและมัชฌิมา มีนัยยะ อะไรเกี่ยวกับองมนตรีใหม่ หรือเปล่า


โดย: คนพันธ์ทาง IP: 117.121.218.98 วันที่: 11 เมษายน 2551 เวลา:21:52:32 น.  

 
หรอยยยยยย


โดย: จากล่..ง IP: 124.120.172.208 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:16:10:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สุริยาอัสดง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เปิดโลกด้วยแสงแห่งปัญญา
Thaiflood
Friends' blogs
[Add สุริยาอัสดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.