Group Blog
 
<<
มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
28 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 
ระบบการศึกษาไทย ?

.

ลองอ่านข่าวนี้อย่างใคร่ครวญดูก่อน

...................................

สพฐ.เล็งถก ทปอ.เลื่อน ′สอบตรง′ หลัง ม.6ได้ ′โอเน็ต′ ศูนย์คะแนนเพียบ

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่าที่ประชุมได้หารือถึงผลคะแนนทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ของนักเรียนชั้น ม.6 ปีการศึกษา 2555 โดยได้พิจารณาคะแนนสูงต่ำของการสอบทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชา

ซึ่งที่ประชุมมีข้อสังเกตในส่วนของคะแนนที่เป็นศูนย์ เพราะมองว่าการสอบปรนัยนั้น โอกาสที่จะได้ศูนย์คะแนนมีน้อยมาก แต่ยังพบนักเรียนได้ศูนย์คะแนนจำนวนมาก

เรื่องนี้อาจเกิดจากปัจจัยเกี่ยวเนื่อง หรือแรงจูงใจในการทำข้อสอบโอเน็ตที่มาจากเงื่อนไขการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษาในระบบรับตรงของมหาวิทยาลัย เพราะทำให้เด็กจำนวนหนึ่งที่ผ่านการคัดเลือกในระบบการรับตรงแล้ว ไม่สนใจการสอบโอเน็ต ประเด็นนี้ สพฐ.จะประสานไปยังที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาต่อไป

นายชินภัทรกล่าวต่อว่า จากการระดมความคิดเห็นเรื่องการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษานั้น มีข้อเสนอว่าหากจะให้การสอบโอเน็ตศักดิ์สิทธิ์ และนักเรียนตั้งใจทำข้อสอบโอเน็ตมากขึ้น ควรจะปรับระยะเวลาการคัดเลือกในระบบรับตรงไม่ให้เกิดขึ้นก่อนการสอบโอเน็ต ซึ่งจะส่งผลให้เด็กได้อยู่ในเงื่อนไขของการตั้งใจทำข้อสอบอย่างเต็มที่ เพราะประเทศไทยได้ลงทุนกับการจัดสอบโอเน็ต เพื่อจะได้มีระบบการตรวจสอบคุณภาพผลการเรียนของเด็ก ดังนั้น อยากให้การสอบมีพัฒนาการ โดยจะต้องตัดปัจจัยแทรกซ้อนในเรื่องแรงจูงใจการทำข้อสอบ ไม่ให้มีผลกระทบต่อคะแนนที่ออกมา

ผมจะหารือนอกรอบกับ ทปอ.ก่อน เพราะจะได้รับฟังข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ดีกว่าการเสนอความเห็นแบบเป็นทางการ จุดที่เห็นว่าเด็กไม่ตั้งใจทำข้อสอบอย่างเต็มที่นั้น จะต้องยกเป็นประเด็นในการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) อย่างแน่นอน ว่าการได้ศูนย์คะแนนเกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด เพราะจะเป็นตัวถ่วงทำให้ผลการประเมินเบี่ยงเบน ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้น ส่วนการเลื่อนสอบรับตรงจะเริ่มได้เมื่อไหร่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับ ทปอ.ว่าจะมีความเห็นอย่างไร เพราะ สพฐ.ไม่สามารถก้าวล่วงได้ เพียงแต่ยกข้อมูลขึ้นมาเพื่อให้เห็นถึงปัญหาเท่านั้น หากการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอุดมศึกษาร่วมมือกันได้ก็จะเป็นเรื่องดี" นายชินภัทรกล่าว


จาก .. ประชาชาติธุรกิจ
//www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1364367885&grpid=03&catid=17&subcatid=1700
...............................



จะเห็นได้ว่าความเห็นของนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) นั้นมุ่งประเด็นไปที่เรื่องของ tactic หรือ รูปแบบวิธีการซิกแซ็กของเด็กมากกว่าเรื่องของ knowledge หรือความรู้ในบทเรียน

แปลความต่อได้ว่า .. ผลการทดสอบที่ออกมานั้น ..

จำเลยที่ 1 คือเด็กที่ใช้ tactic กับการทดสอบ คือทำไม่เต็มที่ไม่สนใจผลที่จะออกมาทำให้การวัดผลเกิดความเบี่ยงเบนผิดพลาด

จำเลยที่ 2 คือระบบ และการรับตรง คือตัวการหลักที่เป็นอุปสรรคกับ โอเนต ..

หาใช่ความผิดพลาดที่ สพฐ ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใด !


นี่คือมุมมอง ที่กลั่นออกจากมันสมองของระดับนโยบาย ระดับบริหาร ของการศึกษาพื้นฐานของชาติ


ส่วนที่ตัวอักษรเป็นสีน้ำเงินนั้น คำว่า ปรนัย คือ ระบบคำตอบแบบเลือกตอบ ก ข ค ง จ นั่นเอง .. ที่ยอมสารภาพบาปคาข่าวอยู่ว่า "โอกาสได้ 0" มีน้อยมาก !

ในขณะที่รู้อย่างนั้น .. อีกภาพที่ซ้อนทับอยู่คือ "ที่ได้คะแนนไปบ้างนั้นอาจไม่รู้อะไรในสิ่งที่ครูสอนเลย" แต่เพราะหลับตาจิ้มคำตอบได้ .. จึงบังเอิญจิ้มถูกบ้างเป็นบางข้อ แม้ไม่รู้อะไรเลย ก็ยังอาจได้คะแนน !


ขณะที่ "อัตนัย" ต้องอธิบาย พรรณนาความรู้ ประกอบขั้นตอนเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ นั้น-พวกฝรั่งเขาใช้กัน .. เพียงแต่-มันแสลงโรคมั่วของสังคมไทยหรืออย่างไรก็ไม่ทราบได้ .. จึงมีใช้น้อยมาก !


เราอาจมีใช้ระบบข้อสอบแบบ อัตนัย มากหน่อยในระดับอุดมศึกษา คือระดับมหาวิทยาลัย .. แต่นั่นก็ถึงวัยที่ "แก่เกินแกง" จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ "จำเนื้อความ ตามครูบอก ลอกเพื่อนเอา คาดเดามั่ว"


รวมทั้งข่าวการสอบในทุกระดับคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าครึ่ง แปลว่า ภาพรวมโดยเฉลี่ยของเด็กไทยสามารถเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ไม่ถึงครึ่ง .. !


เพื่อเห็นภาพของผลลัพธ์ออกมาแบบนี้ .. เราสามารถแยกแยะประเด็นได้ว่า ..

ในระบบการเรียนรู้นั้นมีองค์ประกอบหลักเพียง 3 ประการ
1. ผู้สอน
2. ผู้เรียน
3. กระบวนการถ่ายทอด

โดยที่ราสามารถจัดชั้น เครื่องมือ สถานที่ สภาพแวดล้อมไปเป็นองค์ประกอบรอง

เมื่อเราเห็นการวัดผลเปรียบเทียบความสามารถเด็กในระดับนานาชาติ และของไทย เป็นอันดับที่ค่อนข้างล้าหลัง และ ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย .. เราก็ไม่สามารถเอาระบบการสอนของผู้สอนไทยมาอ้างอิงได้


ง่ายที่สุดคือ .. การไปเรียนรู้ประเทศที่ทำได้ดีกว่า แล้วนำมาใช้เลย ไม่ใช่แค่ปรับใช้ !

ไม่ต้องรักษาหน้าตาอะไร เพราะ ranking ที่มีออกมาทุกปีนั้น .. มันน่าอดสู และไม่มีหน้าตาเหลือให้ต้องรักษาอีกต่อไป

ลอกเขามาใช้ ให้เหมือน ญี่ปุ่นลอกการผลิตรถยนต์จากอเมริกาทั้ง 100% ในจุดเริ่มต้น จนคนรุ่นเก่าตายหมด .. คนรุ่นใหม่มันจะค่อยๆปรับเปลี่ยนเอาเองโดยมี ranking นานาชาติคอย"ตรวจการบ้าน" !

เดี๋ยวนี้ รถโตโยต้าแคมรี่ คนไทยอยากใช้มากกว่ารถอเมริกันเสียอีก !


ฝรั่งเขาไม่มีการทดสอบความรู้แบบ ปรนัย !
รวมทั้งโรงเรียนที่เรียนรู้แบบฝรั่งในเมืองไทยที่เราเรียกว่า โรงเรียนนานาชาติ !

ไม่เคยมี .. ไม่รู้จัก .. และไม่น่าเชื่อว่าในโลกนี้จะมี .. ก ข ค ง จ .. พวกนี้ !


ในประเด็น"ผู้เรียน"นั้นตัดออกได้เลย .. เพราะเด็กชาติไหนก็ตามเมื่อไปเข้าเรียนภายใต้การจัดการแบบฝรั่ง .. บรรลุผลสัมฤทธิ์ได้ไม่น้อยหน้าเด็กฝรั่ง และอาจเหนือกว่าด้วยซ้ำไป !


ปัจจัยการพิจารณาในตัว "ผู้เรียน" จึงไม่เป็นจริง .. อาจมองได้เป็นประเด็นรองที่เมื่ออยู่กับพ่อแม่พี่น้องเพื่อนๆ และสิ่งแวดล้อมแบบไทยๆแล้ว .. ระเบียบวินัยเป็นอันไม่ต้องคาดหวัง .. อาการสปอยล์เด็กของสังคมไทยนี้ไม่มีการลดลงเลยแม้แต่น้อย .. ทั้งๆที่รับรู้อยู่ว่าเป็นการสร้างความอ่อนแอให้เด็ก เมื่อต้องไปปะทะกับโลกอันกว้างใหญ่ ..

ภาวะการณ์ over protect, over take care จึงเหมือนภาวะการณ์ที่พ่อแม่รังแกลูก ไม่ผิดไปได้ ..

เพราะความอ่อนแอ ไม่เคยมีประโยชน์ทั้งต่อปัจเจกชนและมหาชนในภาพรวมแต่อย่างใด



"ผู้สอน" จึงเป็นประเด็นหลัก ที่ควรพูดถึง
เราไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรม หรือ อัตลักษณ์ หรือ อัตวิสัย ของครูแต่ละคนเพียงแค่เปลี่ยน รมว.ศึกษาธิการ หรือเพียงแค่เปลี่ยน concept ทางการศึกษา เพียงชั่วข้ามคืน - จริงไหม ?


เนื่องจาก พฤติกรรม หรือ อัตลักษณ์ นี้ได้สั่งสมมาตั้งแต่จำความได้ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มันหยั่งรากลึกจนเป็นอัตตา ที่ยากโยกถอน เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ..


ภาวะการณ์ชี้นำ .. ที่คุ้นเคย ที่เคยชิน

ภาวะการณ์รู้ดี .. เยาะหยันความคิดที่อ่อนวัย อ่อนความรู้

ภาวะการณ์เรื่องวัย .. อาวุโส ที่อ่อนไหว รวดเร็ว รุนแรง ต่ออาการ "ไม่นอบน้อม" ของเด็ก .. เริ่มจาก ->ตามองเห็น->การตัดสินความเกิดขึ้น->ปฏิกิริยาโต้ตอบเกิดขึ้นในจิต->สั่งการไปที่การกระทำ


เหล่านี้มันยากต่อการเปลี่ยนแปลง !
คือความเป็นไทยๆนี่แหละ ที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเรียนรู้ เมื่อโลกผ่านมาถึงยุคที่ต้องเปรียบเทียบข้อเด่น ข้อด้อยกันกับชาติอื่น


สมัยโบราณนั้น .. ทำอะไรนิดหน่อยก็ยกย่องกันเสียเลิศลอย ทั้งๆที่เมื่อเอาบริบทแห่งปัจจุบันเข้าจับแล้ว มองได้ว่า .. มันเป็นเสียงสะท้อนของกบใต้กะลาครอบ ดีดีนี่เอง - คือไม่รู้เลยว่าโลกกว้างใหญ่ภายนอกนั้นเป็นอย่างไร ..หลับหูหลับตายกย่องความสามารถเล็กน้อยเป็นความสามารถที่ยิ่งใหญ่ กันอยู่นั่น !


พอถึงยุคเปรียบเทียบข้ามชาติ .. ก็รู้ว่า สู้เขาไม่ได้ ในหลายเรื่อง .. แต่ยังมีจำนวนมากโดยปริมาณที่ยังคงห่วงหาอาวรณ์กับความ เก่าแก่ ใต้กะลาไม่รู้แล้ว !


การคิดที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว
แต่ความคิดที่ไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลง .. นี่น่ากลัวกว่าหลายเท่า !


การนำความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในตัว"ผู้สอน" นั้นยากลำบากในหลายประการ


ประการแรก .. ความเป็นไทย
คนที่เคยพูดคุยกับฝรั่งมาบ้างคงรับรู้ได้ไม่ยากว่า ความเห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย (จากการยักไหล่) นั้น-เป็นพฤติกรรม ปกติ ในสังคมเขา และไม่ได้ถือเป็นเรื่องใหญ่โตคอขาดบาดตาย หากใครสักคนจะเห็นต่างจากเขาถึงขนาดต้องตามราวีกัน อย่างเมืองไทยในกรณี "รักเจ้า-ล้มเจ้า" .. เป็นต้น

พฤติกรรมตรงนี้บอกเราได้ว่า "หัวใจที่ยอมรับฟังความคิดที่แตกต่าง" นั้นยังมีอยู่ในระดับต่ำมากในสังคมไทย แปลว่ายังด้อยอารยะ .. และยิ่งไม่ต้องพูดถึง "ความเป็นครู"ที่จะยอมรับฟัง "ความเป็นนักเรียน" อย่างจริงใจและอย่างพิจารณาใคร่ครวญ

ไม่มีทางเอาเสียเลย !


ประการที่สอง .. ความเป็นผู้จริงจังและจริงใจต่ออาชีพ
อย่างไม่ต้องกระแดะพูด .. ต้องยอมรับว่า คนที่คิดจะเรียนครูโดยความชอบ ความใฝ่ฝันมาแต่เด็กนั้นมีน้อย .. และเชื่อว่ามีไม่ถึงครึ่งของนักศึกษาครูทั้งประเทศ

เพราะโดยความเป็นจริงในสังคมไทยแล้วอาชีพนี้ ไม่ทำเงิน !
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมชนบทห่างไกลที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อย ..

อาชีพที่ไม่ทำเงิน ไม่สามารถกระตุ้นให้เด็กเก่ง เด็กหัวกระทิอยากมาเรียนได้ เพราะเด็กเก่งที่คิดเก่งนั้น มันรู้กันทุกคนว่า อาชีพไหนทำเงิน สร้างฐานะได้ ..

เราจึงได้เด็กที่เรียนเลขได้เกรด C / D มาสอบเข้าเรียนในคณะที่จะจบไปเป็นครู !


ประการที่สาม .. การถ่ายทอดความรู้ออกมาสู่เด็ก ล้มเหลว
เรื่องนี้เป็นอัตภาพ ส่วนตัวของครูแต่ละคน .. เราสามารถพูดได้ว่า sense ของผู้ฝึกที่ดี ไม่มี .. และไม่สามารถประเมินการทำงานของตนได้อย่างที่คิดจะปรับให้ดีขึ้น !

การชี้โทษออกไปนอกตัว .. เพื่อลดความรู้สึกผิดของตนนั้น เป็นกันทั้งสังคมไทย .. ขณะที่นักบอลญี่ปุ่นบอกว่าการถูกแสงเลเซอร์ยิงเข้าตาของแฟนบอลจอร์แดนไม่ได้มีส่วนให้การเล่นบอลผิดพลาด .. ความผิดพลาดอยู่ที่ตัวเขาเอง ! .. นี่-ยกมาเพื่อชี้ให้เห็นความแตกต่างของพฤติกรรมในสังคม "1 ใน G7" กับสังคม "กำลังพัฒนา" ? ว่าต่างกันเพียงไร

ความเป็นครูที่ขาด passion ในงาน คือสิ่งที่มองเห็นได้ชัดในสังคมไทย .. เมื่อเปรียบเทียบกับครูเมืองฝรั่ง .. ที่จะไม่ยอมปล่อยให้คาบเรียนผ่านไปโดยที่ยังเหลือเด็กบางคนเปล่งแววตาเลอะเลือนไม่เข้าใจสิ่งที่เรียนมา ..

passion คือความคลั่งไคล้ หลงไหล ในงานที่ตนทำ มีความสุขกับงานที่ทำอันมาจากการเลือกเองที่จะทำงานนั้นๆ .. คนไทยจะขาดตรงนี้มากเนื่องจากจำนวนไม่น้อย ถูกพ่อแม่ชี้นำ .. ครูชี้นำ .. ให้เลือกเรียนตามความคิดเขา .. เช่น พ่อแม่อยากให้เป็นหมอ เพราะเรียนดี (ไม่รู้ว่าตัวเด็กชอบด้วยหรือเปล่า แต่เป่าหัวมาตลอดจนเด็กสับสนไม่รู้ความต้องการที่แท้จริงของตนเอง .. ทำนองเดียวกับ นายร้อยทหาร ตำรวจ วิศวกร .. ฯลฯ )

ประเด็นนี้จะรวมถึงการไม่รู้จักตนเองช่วงที่กำลังเลือกเรียนในสายอาชีพที่ต้องการ



ส่วนเรื่องกระบวนการถ่ายทอด .. เป็นเรื่องของหลักสูตรฝึกสอนก่อนจบมาทำงานในหมู่นักศึกษาครู และการประเมินของครูพี่เลี้ยง ที่มักไม่ตรงตามที่เป็นจริง - เพราะหากเด็กไม่จบมีมาก จะเป็นปัญหาของสถาบันการศึกษานั้นๆอีก ที่จะต้องชี้แจง รายงาน !


เป็นปัญหาภายใต้ระบบใหญ่อีกทีคือ ระเบียบราชการ อันล้าหลัง คร่ำครึ ไม่ทันโลก และมีลักษณาการที่ทำให้เกิดการประจบสอพลอ มั่วข้อมูลสูง ในพฤติกรรมการทำงานรายวันของราชการไทย


นั่นคือ 3 ประการหลักที่เป็นสาเหตุของปัญหาวันนี้


จะเก็บเอาไว้ก็ได้ .. เพื่อความเจริญลงของชาติ .. แล้วกราบไหว้จอมปลวก ต้นโพธิ์ กันต่อไป !






Create Date : 28 มีนาคม 2556
Last Update : 28 มีนาคม 2556 13:59:16 น. 0 comments
Counter : 2000 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.