ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2555
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
14 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 

ศิลปะการพับกระดาษ Origami

เช้าวันนี้เปิด google เจอภาพดังกล่าว
เห็นว่าแปลกตาและเหมือนงานพับกระดาษที่ชอบ



ลองคลิกไปที่ภาพก็จะไปโผล่ที่รายละเอียด



ลองค้นหารายละเอียดเห็นว่า blog นี้น่าสนใจคือ

//origamimaniacs.blogspot.com/2011/09/greatest-origami-artist-akira-yoshizawa.html

เลยลองเรียบเรียงแปลแบบภาษาชาวบ้านได้ความคือ



ศิลปะการพับกระดาษ Origami
จากความคิดริเริ่มที่สวยงาม
กลายเป็นทูตวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น
และงานศิลปะที่มีอายุมากกว่าครึ่งศตวรรษ

ศิลปิน Origami ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกคือ
อากิระ โยชิซาวะ (Akira Yoshizawa)
ผู้บุกเบิกศิลปะการพับกระดาษ
เป็นงานศิลป์ที่สร้างสรรค์
และได้คิดค้นเทคนิคการพับกระดาษ Origami
แบบใหม่ ๆ จำนวนมาก



ระบบรูปทรงสัญลักษณ์
ของการพับกระดาษของ Yoshizawa
ถูกนำมาใช้ทั่วโลกในขณะนี้
ช่วยให้ผู้ที่ชื่นชอบการพับกระดาษ
ตามรูปแบบต่าง ๆ สามารถเลียนแบบ
การพับกระดาษจากหนังสือได้
ถึงแม้ว่าคนจำนวนมาก
จะไม่เข้าใจภาษาญี่ปุ่นเลยก็ตามแต่

ในปี 1963 (2506) หนังสือพิมพ์ Origamian
ได้อธิบายว่าเขาเป็น "ตำนานที่มีชีวิต"
อาชีพของเขาประสบความสำเร็จสูงสุด
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา



Akira Yoshizawa เกิดในปี 1911 (2454)
ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ
ในเมืองโตชิกิ Tochigi จังหวัด
ที่ไม่ไกลจากเมืองโตเกียว Tokyo
โดยมีพ่อเป็นเกษตรกรโคนม
เขาผ่านระบบการศึกษา
ในโรงเรียนเพียงหกปีเท่านั้น
พออายุ 13 ปี
เขาอพยพไปอยู่ในเมืองโตเกียว
และทำงานอยู่ในโรงงาน
อุปกรณ์เครื่องมือสำหรับเครื่องจักร
แต่ยังคงศึกษาต่อด้วยการเรียนภาคค่ำ



ต่อมา
เขาได้เปลี่ยนตำแหน่งงานเป็น
ช่างเทคนิคเขียนแบบพิมพ์เขียวที่โรงงาน
และเป็นคนสอนหลักการเขียนแบบ
กับลูกศิษย์ที่เป็นเด็กฝึกงาน
ความสนใจในศิลปะการพับกระดาษ Origami
เขาใช้การพับกระดาษ
เป็นเครื่องช่วยการเรียนการสอน
บรรดาหัวหน้างานของเขา
ต่างประทับใจในผลงานของเขา
จึงมักอนุญาตให้เขา
ฝึกพับกระดาษได้ในเวลาทำงาน



ในปี 1937 (2480) เมื่ออายุได้ 26,
Yoshizawa ลาออกมาจากโรงงาน
เพื่อที่จะอุทิศตนเองให้ทำงานแบบเต็มเวลา
กับงานอดิเรกตามความฝันวัยเด็กของเขา
ในศิลปะการพับกระดาษ Origami
เขาใช้ชีวิตด้วยการทำงานชั่วคราว
เมื่อคราวที่จำเป็นเท่านั้น



จนกระทั่งการขยายตัวขึ้นมา
ของของสงครามโลกครั้งที่สอง
เขาถูกเกณฑ์เข้าร่วมรบ
ในฐานะส่วนหนึ่งของกลุ่มแพทย์ทหารญี่ปุ่น
โดยได้บรรจุเป็นเจ้าหน้าที่
(ประเภทไม่มีวิชาชีพทางแพทย์)
ที่โรงพยาบาลทหารในฮ่องกง
ซึ่งเขามักจะตกแต่งเตียงของผู้ป่วย
ด้วยกระดาษพับ Origami
ที่มีรูปแบบและสีสันต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ



หลังจากนั้นไม่นาน
เขาก็ล้มป่วยลง
และถูกส่งตัวกลับประเทศญี่ปุ่น

ในปี 1944 (2487)
งานสร้างสรรค์บางส่วนของเขา
ถูกนำมาตีพิมพ์ในหนังสือเล่ม
Origami Shuko โดย Isao Honda



การรับรู้ความเป็นศิลปิน Origami
ของ Yoshizawa เริ่มในปี 1951 (2494)
เมื่อ Tadasu Iizawa
บรรณาธิการของนิตยสารภาพ Ashahi Graph
อยากจะให้มีสารคดีพิเศษ
เกี่ยวกับศิลปะการพับกระดาษ Origami
ที่มีสัญลักษณ์สิบสองนักษัตร (ปีเกิดทั้งสิบสองปี)



เขาจึงเริ่มติดตามค้นหา Yoshizawa
แล้วพบว่า Yoshizawa
อยู่ในเครื่องแบบทหารเก่า
นี่เป็นเพียงเสื้อผ้าเพียงชุดเดียวของเขา
ยังชีพด้วยการทำงานเป็นพนักงานขาย
แบบเดินไปเคาะตามประตูบ้านลูกค้า
เพื่อเสนอขายอาหารเลี้ยงปลาตู้ในบ้านพัก
เครื่องหมายการค้ายี่ห้อ tsukudani



เมื่อเดินทางไปถึงที่ทำงานนิตยสาร
ทางนิตยสารได้ซื้อเสื้อผ้าชุดใหม่ให้เขา
แล้วพาเขาขึ้นไปอยู่บนโรงแรมแห่งหนึ่ง
จากนั้นเขาก็เริ่มทำงานทั้งกลางวันและกลางคืน
ในการพับกระดาษแบบ Origami
เพื่อสร้างรูปแบบสัญญลักษณ์สิบสองนักษัตร(สิบสองปีเกิด)



ผลการตีพิมพ์สารคดีพิเศษเกี่ยวกับ
ศิลปะการพับกระดาษแบบ Origami
ในเดือนมกราคมปี 1952 (2495)
สร้างความรู้สึกตื่นเต้นไปทั่ว
จนทำให้ Yoshizawa กลายเป็น
ที่รู้จักกันไปทั่วประเทศในเพียงชั่วข้ามคืน



Iizawa ยังช่วยเป็นตัวแทนนายหน้า
ในการตีพิมพ์หนังสือเล่มอื่น ๆ อีกด้วย
และหนังสือเล่มแรกของ Yoshizawa
Atarashi Origami Geijutsu (New Origami Art)
มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในปี 1954 (2497)

เป็นหนังสือเล่มแรกที่จะใช้ระบบ
วิธีการพับกระดาษตามลำดับของภาพ
ที่ได้ทำให้ผู้อ่านที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่น
ทำตามแบบจำลองได้ง่ายขึ้น

รายละเอียดการพับแบบนี้
มีการแก้ไขเล็กน้อยในสหรัฐอเมริกา
โดยผู้เขียน Sam Randlett
ในทศวรรษที่ 1960 (2503)
ทำให้ขณะนี้มีการใช้แบบวิธีการทำงาน
ในการพับกระดาษ Origami แบบนี้
ในหนังสือ Origami ทั่วโลก



ในปี 1954 (2497)
Yoshizawa
ก่อตั้งศูนย์การพับกระดาษนานาชาติ Origami ในโตเกียว
โดยเริ่มต้นเผยแพร่นิตยสาร Origami
ความน่าสนใจในผลงาน Origami
และพรสวรรค์ส่วนตัว
ของ Yoshizawa ยังคงก้าวรุดหน้าต่อไป

ในปี 1955 (2498)
เขาได้จัดแสดงนิทรรศการการพับกระดาษ Origami
ครั้งยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกในย่าน Ginza
แหล่งช็อปปิ้งขนาดใหญ่ใจกลางเมืองโตเกียว



ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกันนั้น
Yoshizawa เริ่มประสบความสำเร็จ
ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เมื่อ origami จำนวน 300 แบบ
ได้มีการจัดแสดงขึ้นที่
พิพิธภัณฑ์ Stedelijk กรุงอัมสเตอร์ดัม
ประเทศวิลันดา (เนเธอแลนด์)
นิทรรศการดังกล่าวนี้
ดึงดูดผู้เข้าชมจำนวนมาก
มีการรายงานข่าวตามสื่อต่าง ๆ
ทั่วประเทศในยุโรปและที่อื่น ๆ
ในขณะเดียวกันชาวตะวันตก
ก็เริ่มมีความสนใจในการพับกระดาษเพิ่มมากขึ้น



คำว่า Origami
เป็นคำศัพท์ที่ยังไม่ได้รับการยอมรับ
เป็นคำทั่วไปเฉพาะเจาะจง
ในการพับกระดาษแบบนี้
นอกจากภายในประเทศญี่ปุ่น

จนกระทั่งทศวรรษที่ 1960 (2503)
ต้องขอบคุณความเพียรพยายามของ Robert Harbin
ที่นำเสนอรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับ
การพับกระดาษแบบ Origami
ในสหราชอาณาจักรอังกฤษ

และ Lillian Oppenheimer
ที่ก่อตั้งขึ้นที่ศูนย์การพับกระดาษ Origami ใน New York
ทั้ง Harbin และ Oppenheimer
ต่างมีช่วยส่งเสริมและสนับสนุน
การทำงานของ Yoshizawa



ผลงานคลาสสิกของ Yoshizawa
คือหนังสือ Origami Dokuhon
ที่ถูกตีพิมพ์เป็นหนังสือปกอ่อนในปี 1957 (2500)

และในปี 1959 (2502)
Oppenheimer ได้จัดแสดงนิทรรศการ
แบบจำลองการพับกระดาษ Origami ของ Yoshizawa
ในศูนย์ศิลปวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่นิวยอร์ก

ผลการแสดงสิ้นสุดจบลง
ด้วยความวุ่นวายและหายนะ
ด้วยการที่ผู้เข้าชมหลายคนต่างคิดว่า
รูปแบบการพับกระดาษ Origami แบบนี้
เป็นงานฝีมือเพียงชิ้นเดียวในโลก
ที่หาค่าไม่ได้ (ไม่รู้ว่าจะตั้งราคาขายเท่าใด)
จึงต่างแย่งชิงกันเก็บไปเป็นของที่ระลึก
เกินความสามารถของทีมผู้จัดงาน
ที่จะจัดงานนิทรรศการแสดงครั้งนี้
ในการขัดขวางการกระทำดังกล่าวได้



ด้วยผลงานระดับนานาชาติ
จำนวนมากมายของ Yoshizawa
ทำให้มูลนิธิในประเทศญี่ปุ่น
สนับสนุนให้ Yoshizawa
เป็นทูตทางวัฒนธรรม
โดยมีบทบาทหน้าที่ในการเดินทางทั่วโลก
เพื่อแพร่หลายสอนพับกระดาษ
และส่งเสริมวัฒนธรรมญี่ปุ่น
เขาได้มาเยี่ยมสหราชอาณาจักรอังกฤษถึงสามครั้ง
ได้รับตำแหน่ง ประธานอาวุโสตลอดชีพ
ของ British Origami Society
และอยู่ในระดับ Blue Peter ในปี 1983 (2526)



ตามที่ David Lister
ผู้ค้นคว้าประวัติศาสตร์ของ Origami
กล่าวว่า " Yoshizawa
เป็นผู้เปลี่ยนศิลปะการพับกระดาษ
จากงานฝีมือพับกระดาษทั่วไป
ด้วยรูปแบบการตัดต่อ
ให้เป็นรูปแบบศิลปะที่ให้ความรู้สึกทุกด้าน."

เมื่อ Yoshizawa
พับกระดาษของเขา
เขามักกล่าวว่า
กระดาษที่เขาพับขึ้นมา
มันมีชีวิตจิตใจ (จิตวิญญาณ)
ในตัวกระดาษที่เขาพับขึ้นมาแต่ละชิ้น
เพราะไม่สามารถจะทำซ้ำได้เหมือนเดิมอีก
Yoshizawa มักจะปฏิเสธเสมอ
ที่จะขายชิ้นงานพับกระดาษ Origami ของเขา



เขายังกล่าวต่อไปอีกว่า
เขารู้สึกว่า
งานพับกระดาษแต่ละชิ้นเป็นลูกหลานของเขา
เขาเขียนหนังสือเกี่ยวกับ Origami ไว้จำนวน 18 เล่ม
แต่มีเพียงไม่กี่ร้อยแบบของการพับกระดาษ
ที่มีการถอดแบบการพับแต่ละขั้นตอน

และในปี 1989 (2532) เขาคาดว่า
เขาได้สร้างรูปแบบการพับกระดาษ Origami
ขึ้นมามากกว่า 50,000 รูปแบบ



เขาถูกจดจำสำหรับการเป็น
ผู้ให้กำเนิดประติมากรรมด้วยวีธีการ "พับแบบชุ่มน้ำ"
ด้วยวิธีการฉีดพ่นน้ำไปที่กระดาษ
เพื่อทำให้ส่วนที่หนาแน่นของชิ้นกระดาษ
จะถูกนำไปตกแต่งขึ้นรูปเป็นแบบ สามมิติ

ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สอง Yoshizawa
เคยศึกษาศาสนาพุทธอยู่สองปี
และแม้ว่าเขาไม่ได้เป็นนักบวช
ในอารามศาสนาพุทธ
แต่เขายังคงมีศรัทธาในศาสนาพุทธ
เขามักจะอธิษฐานเสมอ
ก่อนที่จะเริ่มต้นการพับกระดาษ Oriami



ท่ามกลางการแข่งขันซึ่งกันและกัน
ระหว่างกลุ่ม Origami ในประเทศญี่ปุ่น
Yoshizawa มักจะถูกกล่าวหาว่า
เขามักจะห่างเหิน (ปลีกตัว) ออกห่าง
จากกลุ่มนักพับกระดาษ Origami รายอื่น ๆ

ซึ่งในท้ายสุดเขามักจะโต้กลับว่า
งานออกแบบการพับกระดาษ Origami ของเขา
มักจะถูกขโมยวิธีคิด
หรือวิธีพับกระดาษไป
จากกลุ่ม Origami อื่น ๆ เสมอ



ชาวตะวันตกที่ไปพบปะ Yoshizawa
มักจะต้องระมัดระวังไม่พูดถึง
กลุ่มนักพับกระดาษ Origami รายอื่น ๆ ของญี่ปุ่น
เพราะเกรงว่าจะทำร้ายจิตใจความรู้สึกของเขา

แต่หลายปีต่อมา
เขาเริ่มสุขุมกับเรื่องแบบนี้มากขึ้นกว่าเดิม



ในมีนาคม 1998 (2541)
เขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมแสดงผลงาน
ศิลปะการพับกระดาษ Origami
ที่พิพิธภัณฑ์ Louvre ใน Paris
เป็นงานนิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
เกี่ยวกับศิลปะการพับกระดาษ Origami
เท่าที่เคยมีการจัดแสดงมาก่อน
ทำให้เขารู้สึกอารมย์ดี
และยินยอมถ่ายภาพร่วมกับนักพับกระดาษ
ที่เป็นคู่แข่งของเขา Yoshide Momotani



Yoshizawa ได้รับรางวัลมากมาย
สำหรับศิลปะการพับกระดาษ Origami

ในปี 1963 (2506)
หนังสือTanoshi Origami (Joyful Origami)
ได้รับรางวัล Mainichi Culture

ในปี 1971 (2514)
ได้รับรางวัล Mobile Children’s Culture

และในปี 1983 (2526)
พระจักรพรรดิญี่ปุ่นได้พระราชทานเหรียญตรา
The Order of The Rising Sun.



ภรรยาคนแรกของ Yoshizawa
แต่งงานกันในปี 1938 (2481)
แต่ได้เสียชิวิตลง
ในระหว่างหรือหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง

เขาใช้ชีวิตร่วมกับภรรยาคนที่สองชื่อ Kiyo
โดยแต่งงานกันในปี 1956 (2509)
เธอทำหน้าที่เป็นผู้จัดการส่วนตัวของเขา
และสอนพับกระดาษ Origami ด้วย




 

Create Date : 14 มีนาคม 2555
6 comments
Last Update : 6 กันยายน 2555 22:36:45 น.
Counter : 9737 Pageviews.

 

อ่านแล้วทึ่งค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

 

โดย: แม่น้องกะบูน 14 มีนาคม 2555 12:02:04 น.  

 

เริ่ดค่ะ

 

โดย: deco_mom 14 มีนาคม 2555 13:31:47 น.  

 

เก่งจังค่ะ

กลับหาดใหญ่แล้วหรือคะ

ตอนนี้ตุ๊กอยู่เชียงใหม่ค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 15 มีนาคม 2555 22:17:12 น.  

 

เคยชมการแข่งขันการพับกระดาษในรายการทีวีแชมเปียน
แล้วชอบมากค่ะ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลศิลปะการพับกระดาษนะคะ

 

โดย: Sweet_pills 16 มีนาคม 2555 12:56:21 น.  

 

สวัสดียามบ่ายค่ะ

ขอบคุณที่แวะเยี่ยมนะคะ มีไอศครีมมาฝาก คลายร้อนค่ะ

 

โดย: Sweet_pills 17 มีนาคม 2555 15:11:59 น.  

 

ชอบ รักมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

 

โดย: ตอง IP: 110.49.248.17 16 พฤษภาคม 2555 14:45:32 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.