|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
ประเด็น "พุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ" : เหตุผลคัดค้าน และ ข้อเสนอ ของข้าพเจ้า
[อ่านบทความอื่น]
หลังจากที่ข้าพเจ้าได้เสนอบทความสนับสนุนประเด็น "พุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ" 2 บทความ (ที่นี่ และ ที่นี่) และ เหตุผลคัดค้าน 1 บทความ (ที่นี่) ไว้ก่อนหน้านี้แล้วนั้น เดิมที่ข้าพเจ้าอยากจะนำเสนอบทความคัดค้านอีก 1 บทความก่อนแล้วจึงเสนอความเห็นของข้าพเจ้าบ้าง
แต่ว่าข้าพเจ้าเปลี่ยนใจ ไม่ขอนำบทความคัดค้านอื่นมาเสนอที่ blog อีก (เพราะเดี๋ยวสหายจะว่า ข้าพเจ้าเอาแต่นำของคนอื่นมาลง ไม่ยอมเขียนเอง) แต่ถ้าสนใจอ่านอีก สหายน่าจะได้อ่านบทความเรื่อง "ศาสนาประจำชาติ ศาสนาทลายชาติ?" โดย ยุกติ มุกดาวิจิตร ซึ่งในบทความดังกล่าว จะนำเสนอข้อเท็จจริงในประเด็น "ศาสนาประจำชาติ" ของประเทศอื่นด้วย (Click อ่านได้ที่นี่.. ที่ web ของ ประชาไท)
เนื่องจากได้แสดงจุดยืนมาแล้ว 3 วันว่า คัดค้านการกำหนดศาสนาประจำชาติ ซึ่งไม่เพียงแต่สำหรับประเทศไทยเท่านั้น ข้าพเจ้ายังคิดว่า.. ถ้าไม่ได้มีความจำเป็นพิเศษ อันเกี่ยวเนื่องด้วยประวัติศาสตร์ที่ต้องมีการแย่งชิงอำนาจระหว่างศาสนจักรและอาณาจักรแล้ว ทุกประเทศควรถอนการบัญญัติศาสนาปะรจำชาติออกไปเสียด้วย
ประเทศอื่น (เช่นประเทศที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่นี้) จะได้ไม่บัญญัติโดยอ้างเหตุผลเพียงว่า ประเทศนั้นยังบัญญํติได้เลย ทำไมจะบัญญัติบ้างไม่ได้ โดยไม่ได้พิจารณาว่า ที่มาของการกำหนดศาสนาประจำชาติของแต่ละประเทศนั้น มีเหตุผลเฉพาะตนที่ต่างกัน
ที่จริงแล้ว ก่อนที่จะฟันธงไปเลยว่า ควรหรือไม่ควรทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น (ในที่นี้คือการกำหนดศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ) ข้าพเจ้าคิดว่าเราควรต้องคำนึงถึงสองสิ่ง นั่นคือ ความเสี่ยงหรืออันตรายอันเนื่องมาจากการกระทำนั้น (risk) เทียบกับ ประโยชน์ที่พึงจะได้รับ (benefit)
จากการที่ข้าพเจ้าได้นำเสนอบทความปูพื้นฐานความคิดให้สหายก่อนหน้านี้แล้ว สหายก็คงพอจะมองออกว่า การระบุศาสนาพุทธไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น จะ (มีโอกาสทำให้) เกิดข้อดีหลายประการต่อพระพุทธศาสนา และต่อประชาชน (ถ้าหากผลดีเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้จริง)
แต่การคิดถึงเฉพาะข้อดีที่ (อาจ) จะเกิดขึ้น แต่ด้านเดียวนั้นคงจะไม่เพียงพอ การพิจารณาถึงผลร้ายหรือความเสี่ยงที่อาจจะมีขึ้นนั้นจะทำให้มองภาพปัญหาได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
!!!
ข้อดีตั้งมากมายที่อาจจะเกิดขึ้นได้นั้น หากเทียบกับ ข้อเสียร้ายแรงแม้เพียง 1 ข้อ อย่างไหนจะมีน้ำหนักมากกว่ากัน
ในความคิดของข้าพเจ้านั้น การเทียบน้ำหนักด้านดีและด้านเสียที่จะเกิดขึ้นนั้น ไม่อาจจะนำแต่จำนวนข้อดีมาเทียบกับจำนวนข้อเสียเท่านั้น
และไม่ควรจะอ้างเหตุผลว่า "ไม่น่าจะเกิดขึ้น" หรือ "ไม่จริงหรอก" มาเป็นเหตุให้ปฎิเสธประเด็นความเสี่ยง ราวกับว่าจะไม่ให้ความสนใจ
เราคงไม่พูดเรื่องประโยชน์นานับประการที่จะเกิดขึ้น แต่ถามว่าถ้ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นจริง เรายอมรับมันได้ไหม และมีแผนการอะไรรองรับหรือไม่ ถ้าหากมันเกิดแล้วจะแก้ไขได้ไหม หรือ จะผ่อนหนักเป็นเบาได้อย่างไร
ข้าพเจ้าคิดว่า เราจะสามารถตัดสินใจทำงาน (ในที่นี้คือการบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ) ได้อย่างมั่นใจ ถ้าหากว่าเรามีแผนรองรับชัดเจนกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น แต่... ถ้าไม่มีล่ะ หรือว่ามี..แต่ว่ามันไม่ได้ผลลัพท์ที่เชื่อถือได้ล่ะ ในความเห็นแล้ว ข้าพเจ้าว่าเราไม่ควรจะไปเสี่ยงทำ
!!!
สิ่งที่ฝ่ายคัดค้านกลัวกันมากที่สุดมีสองเรื่องคือ ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความรู้สึกเป็นประชากรชั้นสองของคนกลุ่มหนึ่ง จริงอยู่ว่าเรื่องนี้อาจจะไม่เกิดขึ้น หากเกิดขึ้นแล้ว.. เรามีแผนรองรับหรือไม่
อีกเรื่องหนึ่งซึ่งล่อแหลมต่อความมั่นคงของชาติมากก็คือ ความเป็นไปได้ที่โจรก่อการร้าย ผู้หวังจะแบ่งแยกดินแดน จะสบโอกาสนี้อ้างต่อชาวโลกว่า ประเทศไทยมีศาสนาประจำชาติคือศาสนาพุทธ เพราะอ้างว่าประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธ (ซ้ำองค์กรบางแห่งยังบอกว่า เพราะสีขาวในธงไตรรงค์ คือพุทธศาสนาอีกด้วย) ดินแดนภาคใต้ที่ประชากรส่วนใหญ่นับถืออิสลาม จึงไม่อาจจะยอมรับสภาพได้ (หรือแม้แต่จะยอมใช้ธงชาติผืนนี้ได้) จึงจำเป็นต้องแยกดินแดน
ข้าพเจ้าไม่ได้ชี้โพรงให้กระรอก เรื่องแบบนี้มีการตั้งประเด็นมานานแล้ว นับย้อนไปตั้งแต่การเปลียนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย และในปีนี้ ก็มีคนพูดเรือ่งความเป็นไปได้นี้เช่นกัน
ก่อนหน้านี้เราจะมองว่า ผู้ก่อการในภาคใต้ไม่มีสิทธิแบ่งแยกดินแดน เพราะว่าการที่ปัตตานีเป็นอีกประเทศหนึ่งนั้นเป็นข้อเท็จจริงในอดีตที่ผ่านมานานมากแล้ว แต่สหายลองคิดดู สิ่งที่กำลังจะเกิดนี้เป็นเรื่องใหม่ ถ้าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ สีขาวในธงชาติไม่ได้หมายรวมทุกศาสนา (ตามข้ออ้างขององค์กรพุทธบางแห่ง) การเรียกร้องของพวกผู้ก่อการร้ายจะมีน้ำหนักและเหตุผลมากขึ้นขนาดไหน
!!!
ลองคิดจินตนาการดูเองเถิด ฝ่ายองค์กรที่เรียกร้องให้บัญญัติว่า "พุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ" นั้น อ้างแต่ว่า เรื่องความเสี่ยงเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น ว่าแต่... พวกเรามีแผนการรองรับเรื่องเหล่านี้หรือไม่ และแผนนั้นถ้ามีจะมีประสิทธิภาพเพียงใดกัน
ความเสียหายต่อความมั่นคงเหล่านั้นจะเลี่ยงได้อย่างไรบ้าง
ข้าพเจ้าเชื่อว่า ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือคัดค้านนั้น ต่างก็หวังดีต่อประเทศด้วยกันทั้งนั้น ฝ่ายสนับสนุนต้องการให้มีการพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาที่กำลังเสื่อมถอยลงอย่างต่อเนื่อง และฝ่ายคัดค้านก็กลัวจะเกิดความแตกแยกในสังคม แต่การจะหวังดีนั้น ควรจะต้องคำนึงให้รอบด้านด้วย
ถ้าหากเราไม่มีแผนการรองรับผลเสียที่อาจจะเกิดเหล่านั้น ข้าพเจ้าคิดว่าเราไม่ควรบัญญัติ "พุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ" ไว้ในรัฐธรรมนูญ เพียงเพื่อหว้งว่าจะเกิดผลดี (ซึ่งอาจจะไม่เกิด) ขึ้น
เพราะผลดีเหล่านั้นก็อาจจะเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องไปบัญญัติประโยคนี้ในรัฐธรรมนูญ
!!!
หากว่า เหตุผลหลัก ๆ (ของฝ่ายสนับสนุน) ที่ต้องการจะบัญญัติว่า "พุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ" คือความห่วงใยต่อสถานการณ์ของพุทธศาสนาที่กำลังเสื่อมโทรมอยู่แล้วล่ะก็ ถ้าคิดตามหลักอริยสัจ 4 แล้ว เราคงจะต้องกำหนดปัญหาให้มั่นก่อน หาสาเหตุของมันให้พบ กำหนดเป้าหมาย แล้วจึงหามรรควิธีที่จะทำให้ศาสนาอยู่รอดต่อไปได้
ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อว่า ถ้าเราพบสาเหตุที่แท้จริงได้แล้วล่ะก็ เราจะรู้ว่า มีอีกหลายเรื่องที่ต้องเร่งแก้ไข และต้องทำเพื่อผดุงพระพุทธศาสนา นอกเหนือไปจากการรณรงค์ให้มีการบัญญัติ "พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ"
!!!
สรุป
- การบัญญัติ "พุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ" นั้น ถ้ามีข้อเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยที่เราไม่มีแผนรับรองแล้วละก็ เราไม่ควรรีบร้อนบัญญํติ
- ยังมีวิธีอื่นอีกมากที่จะบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งถ้าเริ่มจากการงดสร้างเครื่องรางของขลังนั่นแหละ อาจจะง่ายที่สุด
!!!
หมายเหตุ
- แม้ข้าพเจ้าจะไม่เห็นด้วยกับการบัญญัติศาสนาประจำชาติ แต่ข้าพเจ้าเห็นด้วยที่จะต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็น พุทธมามกะ และทรงเป็น อัครศาสนูปถัมภก
ด้วยความเคารพ

[อ่านบทความอื่น]
Create Date : 20 เมษายน 2550 |
Last Update : 5 พฤษภาคม 2550 17:15:49 น. |
|
8 comments
|
Counter : 1610 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: ลุงแมว วันที่: 20 เมษายน 2550 เวลา:23:57:34 น. |
|
|
|
โดย: ลุงแมว วันที่: 20 เมษายน 2550 เวลา:23:58:18 น. |
|
|
|
โดย: a_somjai วันที่: 21 เมษายน 2550 เวลา:21:56:52 น. |
|
|
|
โดย: นวโยคี IP: 58.10.128.79 วันที่: 23 เมษายน 2550 เวลา:8:00:26 น. |
|
|
|
โดย: Plin, :-p วันที่: 23 เมษายน 2550 เวลา:10:07:43 น. |
|
|
|
โดย: ปู่โสม บึงพระราม IP: 58.8.116.9 วันที่: 25 เมษายน 2550 เวลา:8:24:55 น. |
|
|
|
โดย: ดิน IP: 61.19.65.196 วันที่: 16 สิงหาคม 2550 เวลา:21:03:18 น. |
|
|
|
โดย: 13august IP: 124.121.226.71 วันที่: 28 สิงหาคม 2552 เวลา:13:49:01 น. |
|
|
|
|
|
|
|