|
ความเห็นหลังอ่านบทความแพทย์ฟ้องคนไข้
[สารบัญ] [อ่านบทความอื่น]
วันนี้นั่งอ่านมติชนรายวันครับ ฉบับวัน valentine's นี่แหละครับ มีคอลัมน์ชื่อเรื่องว่า วิกฤตศรัทธาวงการแพทย์ ถึงเวลา"หมอฟ้องกลับคนไข้" อ่านดูชื่อเรื่องก็สงสัยเล็กน้อย เอ เขาว่าถึงเวลาเหรอ เขาเขียนให้ใครอ่านหว่า
ถ้ามติชนยังไม่ลบไปก็ click อ่านได้ที่นี่ครับ
คืออ่านจั่วหัวตอนแรก ผมไม่แน่ใจว่า columnist เขียนให้ใครอ่าน แพทย์ผู้ให้บริการ หรือ ผู้ป่วยผู้รับบริการ (อืม ผมไม่ได้แบ่งฝ่ายนะ) คือถ้าเขียนบอกแพทย์ว่า ถึงเวลาที่เอ็งต้องฟ้องกลับล่ะนะ แล้วจะไปลงในหนังสือพิมพ์ให้คนทั่วไปอ่านทำไม น่าเกลียดออก 
หรือว่าคนเขียนคิดไปไกลกว่านั้น ไม่ได้ให้แพทย์อ่าน คือส่งสัญญาณบอกกลาย ๆ ว่า ถ้าคุณไม่ชัวร์ อย่าฟ้อง เพราะจะถูกฟ้องกลับแน่ แบบเตือนผู้รับบริการหน่อยๆ (เตือนในฐานะผู้ให้บริการ) แต่มองอีกที ่ อาจจะเป็นผู้ป่วยที่เสียหายเองก็ได้ แล้วอาจจะเตือนในฐานะเป็นผู้เสียหายเหมือนกัน คือจะได้ไม่ถูกฟ้องกลับ 
เป็นฝ่ายไหนไม่กลัว สมัยนี้กลัวแต่มือที่สามที่คอยป่วน แต่ย่อหน้าสุดท้าย columnist ก็ได้แสดงความห่วงใยในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย และระบบสาธารณสุขโดยรวมอยู่เหมือนกัน สงสัยคงจะไม่ใช่พวกมือที่สามนะ อย่างไรก็ตาม อะไรทำให้มีการฟ้องร้องกันมากขึ้นนะ
ผมว่าเรื่องที่ผู้ป่วยฟ้องแพทย์ ก็พอจะเข้าใจได้ง่ายว่าเป็นการมองการรักษาว่าเป็นการบริการ เมื่อไม่พอใจการบริการ ก็ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย คือไม่ได้มองว่าการบริการรักษาเป็นการเกื้อกูล และไม่ได้มองว่าความสัมพันธ์ที่ดีของคนสองคนสามารถสร้างขึ้นกันได้ แต่ทว่า ก็มีเหมือนกันที่ความคิดของคนในอดีต ที่ไม่ได้ฟ้องเพราะไม่พอใจการบริการแล้วต้องการค่าเสียหาย แต่ต้องการตักเตือนให้สำนึกในกรณีที่เห็นว่าผู้ให้บริการผิดจริง (ผมว่าตรงนี้น่าสนใจนะ) ซึ่งอันนี้จะมองว่าเป็นการเกื้อกูลจะได้ไหม คือเมตตามิให้ทำผิดอีก เมตตาตักเตือนน่ะ เพราะสถานะทางสังคมในอดีตของผู้ให้บริการทางแพทย์ค่อนข้างสูง การได้รับการตักเตือน หาโอกาสไม่ได้ง่ายนัก
อืมไม่รู้เหมือนกันนะว่าผมมอง over ไปไหมว่า เป็นเมตตาแบบนึง 
แต่ก่อนไม่ได้ยินหรอกนะว่าแพทย์จะไปฟ้องคนไข้ ไม่รู้ว่าไม่กล้ากัน หรือว่า กลัวคนอื่นจะมองตัวเองไม่ดี พอมาตอนนี้มีการฟ้องกลับโดยผู้ให้บริการการแพทย์มากขึ้น แล้วเพราะอะไรบ้างเล่า จากบทความในมติชนนี้ตั้งประเด็นว่าเป็นการฟ้องเพราะเสียชื่อเสียง เป้นลักษณะมองมุมกลับว่าผู้ให้บริการเสียหายจากการถูกดำเนินคดี เอ...หรือว่าตัวเองจะคิดแบบว่า...ฟ้องแบบเกื้อกูลสังคม ??? คือถ้าในความจริงแล้ว สิ่งที่ถูกฟ้องไม่มีมูลความจริงเลยว่าเป็นความผิด ที่แท้แล้วผู้รับบริการเข้าใจผิด แพทย์ผู้ให้บริการไม่ได้ผิดอะไรเลย และต้องการฟ้องเพื่อให้สังคมรับรู้ว่า ความจริงตามหลักวิชาการเป็นอย่างไร แล้วเลือกวิธีฟ้องกลับไปที่"คนที่มาฟ้อง"นี่แหละ จะได้เป็นประเด็น คนจะได้สนใจมาก ๆ แล้วอธิบายทีเดียว อืม แต่ถ้าหวังจะให้ความรู้สังคมจริง โดยบริสุทธิ์ใจ ทำไมต้องฟ้องกลับด้วยนะ เปลี่ยนวิธีเป็นออกทีวีพร้อมกันได้ไหม เลือกพิธีกรดี ๆ ไม่ลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใคร แล้วชี้แจงข้อเท็จจริงทั้งจากตัวแพทย์เอง ผู้ป่วยที่เสียหาย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับให้ความรู้ ให้ความเข้าใจ จะได้เรียนรู้กันทุกฝ่าย ร่วมแก้ไขไม่ให้มีมีความเข้าใจผิดกันแบบนี้อีก เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อีกแบบหนึ่ง  ในบทความของมติชนนี้ มองต้นตอของปัญหาคือ "คุณภาพการให้บริการของระบบสาธารณสุขของไทย" ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่ามันเป็นต้นตอจริงหรือไม่ เพราะคุณภาพการให้บริการก็มีเหตุปัจจัยอีก เหตุปัจจัยนั้นต่างหากที่จะนำไปพบต้นตอจริง ๆ และคงต้องคำนึงด้วยว่านอกจากคุณภาพ ก็ต้องพูดถึงมาตรฐานด้วย
ซึ่งสังคมโลกนี้ (ไม่พูดถึงแต่ในไทยเท่านั้น) มีมาตรฐานเป็นหนึ่งเดียวกันหมดงั้นเหรอ สุดท้ายผมว่า ถ้ามีความเข้าใจกันทุกฝ่ายว่า ทุกอย่างมีเหตุปัจจัย ไม่มีใครอยากทำพลาด มันต้องมีเหตุ จู่ ๆ เขาก็ไม่ฟ้องหรอก ถ้ามันไม่จำเป็นหรือเหลืออดจริง ๆ หรือจำคิดว่ามีคนหนุนหลัง หรือมีมือที่สามมันก็คือเหตุอย่างหนึ่ง ถ้าเข้าใจกันอย่างนี้ก็จะลดทิฐิลง ให้อภัยกัน ไว้ใจกัน แล้วคุยกันมากขึ้น หวังว่างั้นนะ

[สารบัญ] [อ่านบทความอื่น] [หน้าแรก Blog]
Create Date : 14 กุมภาพันธ์ 2549 |
Last Update : 31 สิงหาคม 2549 21:40:18 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1234 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
|
|