One Love One Life ... For You... Harley Babie and Bowling
<<
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
11 เมษายน 2553

ฮีทและหลักการผสมพันธุ์

ได้ข้อมูลมาตามนี้จากเวบน้องปอม //www.thaipomeranian.com/board/index.php?topic=56.msg405 ต้องขอบคุณอย่างแรงค่ะ
------------------------------------------------------

หลักการผสมสายพันธุ์

BREEDING คือ การนำสัตว์สองตัวมาจับคู่ผสมพันธุ์กันเพื่อวัตถุประสงค์ให้ได้ลูกสัตว์ที่มีสุขภาพที่แข็งแรง กว่าและมีคุณภาพที่ดีเท่าหรือดีกว่าพ่อแม่

DOG BREEDING จึงควรจะหมายถึง การนำสัตว์สุนัขสองตัว มาจับคู่ผสมพันธุ์กันเพื่อให้ได้ลูกสุนัขที่มี ลักษณะโครงสร้างและนิสัยประจำพันธุ์ให้ได้ใกล้เคียงมาตรฐานสายพันธุ์ให้มากที่สุด ซึ่งต้องหมายถึงการมี สุขภาพที่ดี และควรจะต้องมีคุณภาพที่ดีเท่าหรือดีกว่าพ่อแม่ด้วย

ดังนั้น จึงไม่ควรนำสุนัขที่มีลักษณะบกพร่องทั้งทางกายภาพและทางพันธุกรรม มาผสมกับสุนัข ที่มีข้อบกพร่องแบบเดียวกัน และไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะนำสุนัขที่มีข้อบกพร่องทางกายภาพและพันธุกรรม ร้ายแรงมาใช้ทำพันธุ์

มีเหตุผลมากมายในการผสมพันธุ์ แต่ที่มีเหตุผลที่ดีมีอยู่ 2 ประเด็นคือ

เพื่อการแพร่ขยายพันธุ์

เพื่อการปรับปรุงสายพันธุ์

การเป็น BREEDER ไม่ใช่ใครอยากเป็นก็เป็นได้ง่าย ๆ ผู้ที่จะเป็นผู้ผสมพันธุ์ที่ดีได้ จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มี ความรู้เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมบ้าง อีกทั้งต้องมีความตั้งใจมุ่งมั่นและมีความรับผิดชอบต่อ สิ่งที่ได้กระทำไป เริ่มต้นด้วยการวางแผนจับคู่ระหว่างพ่อพันธุ์ชั้นดี (STUD DOG) กับแม่พันธุ์ชั้นดี (BROOD BITCH) โดยทั้งคู่ควรจะต้องมีลักษณะที่ดีทั้งสองฝ่าย ทั้งในด้านผลประกวดที่ผ่านมาของตัวมัน เองและของพ่อแม่ปู่ย่าตายายของมัน รวมถึงผลทางด้านถ่ายทอดลักษณะที่ดีมายังลูกหลาน (มีข้อบกพร่อง น้อยที่สุด) โดยเช็คประวัติและผลงานที่ผ่านมาทั้งของตัวมันเองและของบรรพบุรุษของมัน ขั้นตอนต่อไปคือ ต้องให้การดูแลเอาใจใส่เลี้ยงดูเป็นอย่างดีตั้งแต่พ่อแม่พันธุ์จนถึงลูก ๆ ที่เกิดมาจนโตประกวดได้ และต้อง มีพร้อมทั้งเวลาสถานที่และเงินทองเพื่อจะอุทิศให้กับการ BREEDING

การผสมพันธุ์สุนัข BREEDING แบ่งเป็น 3 แบบ

การผสมแบบเลือดชิด (INBREEDING)

การผสมแบบข้ามสายเลือด (OUTCROSSING)

การผสมแบบรักษาสายเลือด (LINE BREEDING)

1. การผสมแบบเลือดชิด (INBREEDING)
คือการผสมกันระหว่างญาติที่ใกล้ชิดกันมากที่สุด หรือสายเลือด เดียวกัน เช่นพ่อกับลูก แม่กับลูก พี่กับน้อง เป็นต้น วิธีการนี้ ถือว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่มีปฏิบัติกันในการเพาะพันธุ์สุนัขตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อวัตถุประสงค์ให้ได้มาซึ่งลูกสุนัขที่น่าจะมีโอกาสมีคุณลักษณะที่เหมือนกับพ่อหรือแม่ตัวใดตัวหนึ่งมากที่สุด ตามที่ตั้งความหวังเอาไว้ แต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่มีข้อบกพร่องร้ายแรงทั้งสองฝ่าย และยังคงสมควรอย่างยิ่งที่ จะต้องมีจุดเด่นที่ถูกต้องและเป็นที่ต้องการสำหรับมาตรฐานพันธุ์จริง ๆ อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีพ่อพันธุ์ สุนัขที่ยอดเยี่ยมทั้งด้านผลการประกวดและผลการให้ลูกที่ดีเลิศโดย ลูก ๆ ของมันสามารถได้ตำแหน่งแชมป์เปี้ยน เกือบทุกตัว และแต่ละตัวยังสร้างผลงานได้อย่างพ่อ ซึ่งทำให้เกิดความคิดที่อยากจะได้ลูกสักตัวหนึ่งที่สุดยอด เหมือนกับพ่อเก่งตัวนั้น และวิธีที่จะให้ได้มาก็จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากการคัดลูกสาวของมันเอง แต่มีข้อ แม้ว่าตัวแม่ของลูกตัวนี้ต้องเป็นแม่พันธุ์ที่เรียกว่าสุด ๆ ไม่แพ้พ่อของมันทีเดียว พอได้ลูกสาวตัวนี้มาเมื่อมา ผสมแบบเลือดชิดกับพ่อของมันแล้ว ทีนี้ก็มาตั้งความหวังกันได้แล้วว่า ลูกสุนัขที่จะเกิดมาจะมีโอกาสเหมือนกับ ผู้ที่เป็นทั้งปู่และพ่อของพวกมันหรือไม่ ซึ่งต้องอาศัยโชคร่วมด้วยเพราะการวางแผนที่ดีเลิศเพียงใดก็ไม่อาจ สำเร็จได้หากไม่มีเทพีแห่งโชคร่วมทางไปด้วย อาจกล่าวได้ว่า วิธีนี้เป็นการเพิ่มสิ่งที่ดีที่สุดยอดให้เพิ่มเป็นทวีคูณ แต่มันก็เป็นเสมือนดาบสองคม วิธีการดังกล่าวอาจจะกลายเป็นการเพิ่มสิ่งที่แย่ที่สุดได้เพิ่มเป็นทวีคูณก็ได้ หาก ผู้ปฎิบัติไม่มีความรู้ความชำนาญดีพอและผลร้ายที่จะเกิดจากการผสมแบบเลือดชิดที่ปรากฏให้เห็นในลูกสุนัข คือเพดานโหว่ โลหิตจาง แคระแกร็น โรคฮิป ฯลฯ ดังนั้นวิธีการนี้จึงไม่สมควรที่พวกมือใหม่จะเลือกใช้ ควร ปล่อยให้เป็นงานของผู้ที่มีประสบการณ์ และมีความรับผิดชอบสูงจะดีกว่า และก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องประ สบความสำเร็จเสมอไปด้วย ดังจะเห็นว่า บรรดาพ่อพันธุ์ดัง ๆ ในปัจจุบันก็ไม่ได้เกิดจากวิธีนี้


2. การผสมแบบข้ามสายเลือด (OUTCROSSING)
คือการผสมกันระหว่างสัตว์สองตัวที่มีสายพันธุ์เดียวกัน แต่ไม่ผูกพันกันเลยในสายเลือด คือ ย้อนกลับไปสี่รุ่นของบรรพบุรุษของทั้งคู่ไม่มีความเกี่ยวข้องทางเครือญาติ กันเลย

ที่เลือกปฎิบัติกันก็เพราะ ความต้องการที่จะนำเอาส่วนที่ดีของอีกสายเลือดหนึ่งมาเสริมให้กับอีก สายเลือดดีอีกสายหนึ่งที่ยังขาดอยู่ในส่วนนั้นเท่านั้น เช่น ถ้าหากสุนัขของเรามีคุณภาพได้มาตรฐานดีอยู่แล้ว และเกิดจากการ LINEBREED มาตลอด แต่หากเราเห็นว่าสุนัขในอีกสายเลือดหนึ่งมีลักษณะโครงสร้างที่เรา ชอบ เช่น การมีโครงกระดูกที่ใหญ่กว่า หัวกะโหลกที่มีสัดส่วนจัดว่าดีเลิศตามมาตรฐานสายพันธุ์ที่เราชอบมาก กว่าในสุนัขของเราอีก หรือแม้แต่สีที่เราพอใจกว่า เราก็สามารถจะจับมา CROSS กับสายของเราก็ได้ แต่สุนัข ตัวดังกล่าวต้องมาจากการผสมแบบ LINEBREED หรือแม้แต่ INBREED อย่างมีคุณภาพเหมือนกับของ เรา อย่างนี้จึงจะพอตั้งความหวังว่าอาจมีโอกาสได้ในสิ่งที่ปรารถนาได้ แต่จะให้ได้ผลดีจริงต้องสืบถึงเทือกเขา เหล่ากอให้รู้แจ้งก่อน เพราะโอกาสที่เราอาจจะไปรับเอาจุดด้อยแฝง

ย้ายมาจาก board เก่าโดย thaipomeranian


ใครเลี้ยงหมาสองตัว ผู้ เมีย ควรอ่าน

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อสัตว์ผสมพันธ์กันเองในเครือญาติ
ด้านดี ได้สายพันธ์ที่นิ่ง ตรงตามที่ผู้ผสม ( บรีดเดอร์ ) ต้องการ
ด้านลบ จะเกิดการแสดงปมด้อยของสายพันธ์ออกมา ทำให้มีภูมิต้านทานโรคต่ำ สภาวะจิตใจแปรปรวนง่าย ความฉลาดลดลง แถมขึ้นร้ายแรงอาจถึงพิการแบบหูหนวกตาบอด และอาจเป็นโรคฮีโมฟีเลีย ( Hemophilia ) อีกด้วย
โรคฮีโมฟีเลีย ( Hemophilia ) คืออะไร
ภาวะเลือดออกง่าย หรือออกแล้วหยุดยาก อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหลอดเลือด เกล็ดเลือด หรือระบบการแข็งตัวของเลือด
ลักษณะของเลือกออกตามผิวหนัง อาจเป็นจุดแดงขนาด หนึ่งมิลฯ หรือเป็นจ้ำเขียว หรือเป็นก้อนนูน โยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม โครโมโซม X จึงพบว่ามีแต่เพศผู้เท่านั้นที่เป็นโรคนี้ โดยเพศเมียจะไม่แสดงอาการแต่จะอยู่ในสภาพของพาหนะ
หากเกิดอาการเลือดออกในกล้ามเนื้อก็จะเป็นพังผืด หากเกิดบริเวณข้อต่อ ก็อาจทำให้ข้อยึด ยืดหดไม่สะดวก ถ้าเกิดบริเวณคอ ก็อาจอุดตันหลอดลม ทำให้หายใจไม่สะดวก ถ้าออกในสมองก็ ………… ( นู๋ก็อาจไปเกิดใหม่เร็วขึ้นสิครับ)

ย้ายมาจาก board เก่าโดยคุณ boonrut

ฮีท

เมื่อสุนัขก้าวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ จะแสดงความพร้อมออกมา ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่ "ฮีท" นั้นเอง ในสุนัขเพศเมีย จะเริ่มมี ฮีท ตั้งแต่ อายุประมาณ 6 เดือน หากสุนัขมีสภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว จะเป็นฮีทปีละ 2 ครั้ง ซึ่งเราจะสามารถทำการผสมได้ในช่วงนี้ แต่โดยปกติแล้ว ฮีทแรกจะไม่นิยมผสม นัยว่ายังเร็วเกินไปนั่นเอง เพราะสุนัขยังมีความเป็นเด็กอยู่มาก ยังเป็นวัยรุ่น หากผสมแล้วลูกที่ได้จะไม่แข็งแรง ได้ลูกน้อย และอาจถึงขั้นไม่ดีต่อสุขภาพของแม่สุนัขเองด้วย การเตรียมพร้อมก่อนการผสมนั้น ควรเริ่มตั้งแต่การเสาะหาพ่อพันธุ์ที่ดีในกรณีที่เรามีแม่พันธุ์อยู่แล้ว การผสมควรคำนึงถึงลักษณะสายพันธุ์ โครงสร้างต่างๆ ต้องถูกต้องตามมาตรฐานสายพันธุ์

ย้ายมาจาก board เก่าโดย Pecan
---------------------------------------------------------------------

ฮีทปกติ. . . เมื่อเริ่มต้น อวัยวะเพศของน้องจะบวมเปล่ง อาจจะมีน้ำที่ชมพูจาง ๆ
ใหลออกมาจากอวัยวะเพศ ในบางตัวอาจจะสีเข้ม แต่ไม่แดงมากนัก เมื่อผ่านไป
หลาย ๆ วันแล้วสีจะเข้มขึ้น ทั่ว ๆ ในฮีทปกติบางคนอาจใช้วิธีดูสีฮีทที่จางลง
บางคนสังเกตุจากอวัยวะเพศที่เริ่มหดตัวลง บางคนนับวัน บางคนก้อใช้สุนัขตัวผู้เทส
หรือ ใช้วิธีเขี่ยหางบริเวณก้น หากสุนัขพร้อมผสมพันธุ์จะเปิดหางขึ้น . . .
บรีดเดอร์หลาย ๆ คนใช้วิธีเจาะเลือดตรวจหาฮอร์โมนเอสโตรเจนในกระแสเลือด
เพื่อให้ทราบวันตกสัดที่แท้จริง การผสมนิยมผสมวันเว้นวัน เพราะอสุจิสามารถอาศัย
อยู่ในร่างกายสุนัขเพศเมียที่เป็นสัดได้ประมาณ 24 ชม.

ฮีดขาวจะมีเลือดออกมาจากช่องคลอดน้อย ถึง ไม่มีเลย กรณีที่มีอาจเป็นสีใส ๆ หรือ ชมพูอ่อน ๆ
นับวันผสมยากเนื่องจากไม่มีเลือดให้นับคับ ควรใช้วิธีเจาะเลือดตรวจหาฮอร์โมนคับ

ย้ายมาจาก board เก่าโดย CC.mand
---------------------------------------------------------------------

เพื่อสุขภาพและอายุของน้องม๋า ไม่ควรเริ่มผสมตั้งแต่เล็ก ควรจะรอ ฮีทที่ 2 และมีอายุอย่างต่ำ 1 ขวบครับ เพราะ น้องยังโตไม่เต็มที่ ร่างกายจะถูกแย่งสารอาการไปให้เจ้าตัวน้อยที่จะเกิดมา แม่ก็เลยอาจเกิดการขาดแคลเซียมได้ครับ พอเกิดขาดแคลเซียมก็จะกระดูกเปราะ เมื่อมีลูกอีก สภาพของแม่ก็จะยิ่งแย่ลงครับ
ปกติแล้วการผสมจะทำกันดังนี้
ฮีทที่ 1 ผ่าน
ผสม ฮีทที่ 2 - 3 ( รวม 2 ครอก )
ฮีทที่ 4 ผ่าน
ผสม ฮีทที่ 5 - 6 ( รวม 2 ครอก )
ฮีทที่ 7 ผ่าน
คราวนี้ ฮีทที่ 8 ขึ้นไป น้องม๋าเริ่มโทรมแล้ว แต่ถ้ายังฝืนจะผสมก็ต้องดูที่การบำรุงน้องในช่วงที่ผ่าน ๆ มาครับ ว่า บำรุงกันได้ดีมากน้อยเพียงใด
ฟาร์ม / คอก ส่วนใหญ่ หยุดแค่นี้ แต่พวกที่เห็นเป็น Puppy Factory ก็ยังคงผสมต่อครับ แต่ลูกรุ่นที่ 5 - 6 นี่ อาจจะไม่ค่อยดีแล้ว
ย้ายมาจาก board เก่าโดย boonrut

วงจรการเป็นสัด

ธรรมชาติการสืบพันธุ์ของหมา
หมาตัวเมียตามปกติเป็นสัด ปีละ 2 ครั้ง ซึ่งเดิมทีเชื่อว่าเฉพาะเดือน 12 แต่ปัจจุบันพัฒนามาเป็น 2 ครั้งต่อปี คือ ทุก 6 เดือน โดยเป็นสัดครั้งแรกในช่วงอายุ 8 เดือน ถึง 1 ขวบ บางตัวเป็นเร็ว บางตัวเป็นช้า ขึ้นกับความสมบูรณ์ของตัวหมาเอง

วงจรการเป็นสัด (Estrus cycle)
วงจรการเป็นสัดของหมา กินเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

1.ระยะเริ่มเป็นสัด (Proestrus period) กินเวลาประมาณ 4 -15 วัน แต่เฉลี่ยแล้ว 9 วัน เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงบนอวัยวะเพศเมียคือ เริ่มบวมขึ้นเรื่อย ๆ มีเมือกขาวใสในระยะต้นและเปลี่ยนเป็นขุ่นจนมีเลือดปนออกมาเมื่อนานวันขึ้น ระยะนี้หมาตัวผู้เริ่มสนใจมาดมก้นตัว
เมีย แต่หมาตัวเมียยังไม่ยอมให้ผสมคงบ่ายเบี่ยงหลีกหนีและใช้หางปิดอวัยวะเพศไว้ ไม่ให้ถูกกล้ำกราย ศึกหน้านางหรือศึกชิงนางมักเกิดขึ้นพร้อม ๆ ไปด้วย

2.ระยะสัด (Extrus period) ช่วงนี้กินเวลา 4-8 วัน นับจากวันที่หมดระยะเริ่มสัด หรือเลือดที่ไหลหยุดไปนั่นแหละ คราวนี้หมาตัวเมียจะคลอเคลียตัวผู้และบิดหางไปด้านข้างเปิดทางให้ การผสมพันธุ์จึงเริ่มขึ้น โอกาสผสมได้ลูกดีที่สุดคือช่วง 12-72 ชั่วโมงภายหลังเริ่มสัดไปได้ 3-5 วัน หากมีเจ้าบ่าวมากกว่าหนึ่ง มาร่วมลงแขกในช่วงเวลาห่างกันระหว่าง 24-48 ชั่วโมง แล้วไซร้รับรองได้ว่าลูกที่ออกมาหน้าตาต่าง ๆ กันไปแน่นอน

3.ระยะหลังสัด (Anestrus period) ถ้าหมาไม่ท้อง (ซึ่งกินเวลาประมาณ 2 เดือน) ก็จะเข้าสู่ระยะหลังสัดเป็นระยะเวลา 2 เดือน เช่นกัน โดยไม่มีความเปลี่ยนแปลงภายนอกให้เห็นอวัยวะเพศยังมีลักษณะเหมือนปกติปราศจากน้ำเมือกหรือเลือด

4.ระยะพัก (Anestrus period) ช่วงนี้กิจกรรมของระบบสืบพันธุ์ในหมาตัวเมียจะหยุดลงชั่วคราวเป็นเวลาประมาณ 90-120 วัน ลักษณะภายนอกเช่นเดียวกับระยะหลังสัด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของมดลูกในการเข้าสู่ระยะก่อนสัดตามวงจรต่อไป

ย้ายมาจาก board เก่าโดยคุณ Pecan

การดูแลและข้อควรระวังเมื่อสุนัขมีฮีท

การดูแล
ถ้าเป็นหมาขนาดเล็ก ก็จะไม่เลอะเทอะมาก สมัยนี้มีกางเกงอนามัยจำหน่าย มีรูสำหรับใส่หาง มีพื้นที่วางผ้าอนามัยแผ่น ๆ

บางคนก็ชอบ บางคนก็ไม่ชอบ (แต่หมาคงไม่ชอบ อิอิ)

ข้อควรระวัง

1. หมาตัวเมีย ฮีทแรกไม่ควรผสม

2. ถ้าเลี้ยงหลายตัว แล้วมีตัวผู้ ควรระวัง กระพริบตาเดียวได้เลี้ยงหลานแน่

3. จับแยก ตัวผู้จะน่าสงสารมากๆ เวลาได้กลิ่น

4. รักษาความสะอาด

ย้ายมาจาก board เก่าโดยคุณ Pecan


เรื่องเพศศึกษา(หมานะ)

คำถาม
คือสงสัยมานานแล้วสงสัยว่าทำไมเวลาหมามันมีอะไรกัน มันจะต้องติดกัน ถามใครก็บอกไม่รู้เหมือนกัน บางคนมันก็ว่าเราทะลึ่งอีก จริงๆแล้วไม่ได้ทะลึ่งนะ อยากรู้จริงๆ
ถือว่าช่วยไห้หายข้องใจนะ

คำตอบ
คืออย่างนี้ ในสุนัขตัวผู้ตรงกลางของอวัยวะเพศหรือทางการแพทย์เรียกกันว่า Penis จะมีลักษณะเป็นกระเปาะ เรียกว่า Bulbus glandis ซึ่งเวลาสุนัขผสมพันธุ์เจ้ากระเปาะ (Bulbus glandis) จะขยายขึ้น เนื่องจากมีเลือดไปคั่งอยู่ที่ Bulbus glandis นั่นเอง ประโยชน์ก็เพื่อที่จะทำให้ตัวอสุจิของตัวผู้ตัวนั้นอยู่ในช่องคลอดของตัวเมียให้นานพอที่จะทำให้เกิดการปฏิสนธิขึ้นนั่นเอง จึงทำให้ตัวผู้ติดกับตัวเมียอย่างที่เห็น และเมื่อเลือดค่อยๆดูดกลับออกไปจากกระเปาะนั้น สุนัขก็จะกลับสู่ภาวะปกติและแยกจากกันได้เอง

ย้ายมาจาก board เก่าโดยคุณ Pecan


โรคแท้งติดต่อ

โรคแท้งติดต่อถูกค้นพบในปี ค.ศ.1966 ที่สหรัฐอเมริกา เกิดจากแบททีเรียที่มีชื่อว่า บรูเซลล่า เคนีส หรือเรียกอีกชื่อว่า บลูเซลโลซีส เชื้อนี้เป็นสาเหตุการแท้ง เกิดความไม่สมบูรณ์ในพันธ์ที่ฟาร์สุนัขแห่งหนึ่ง ต่อมาก็พบว่าระบาดไปเกือบทั่วโลก
ในประเทศไทยค้นพบในปี 2540 -2541 ช่วงก่อนยุค SAMF ไทยเศรษฐกิจดีมาก ทำให้มีคนสั่งสุนัขจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก บางคนไม่ได้ตรวจหาเชื้อแท้งติดต่อ ดูแค่ว่า ฉีดวัคซีน รูปร่างดี ตรงตามสายพันธ์ ข้อเสียของโรคแท้งติดต่อ

1. เกิดการแท้งในสุนัขเพศเมีย

2. เกิดการผสมไม่ติดในพ่อพันธ์ที่นำมาผสมด้วย และยังติดยังสุนัขตัวอื่นในฟาร์มเดียวกัน

3. ติดต่อไปสู่คนเลี้ยงที่ดูแลใกล้ชิด

อาการ
1.แม่พันธ์ไม่มีอาการใดๆ ไม่มีไข้ ปกติเหมือนสุนัขทั่วไป มีปัญหาเรื่องผสมติดหรือไม่ติด แต่มีการตายของลูกในท้อง ถ้าแม่สุนัขตั้งท้องก็จะทำให้แท้งออกมา ช่วงการตั้งท้อง 40 - 45 วันขึ้นไป

2.พ่อพันธ์ไม่มีอาการใดๆ ไม่มีไข้ ปกติเหมือนสุนัขทั่วไป มีปัญหาเรื่องผสมไม่ติด คุณภาพน้ำเชื้อไม่ดี การอักเสบของถุงอัณฑะ ท่อน้ำเชื้ออักเสบ บางตัวอาจทำให้อัณฑะฝ่อ

การติดต่อจากสุนัขไปสู่สุนัข คือ การเลีย การกิน รก น้ำคร่ำ น้ำอสุจิ น้ำปัสสาวะจากตัวผู้ เป็นการติดต่อที่สำคัญมากในการเลี้ยงรวมกันในบ้าน

การติดต่อจากสุนัขสู่คน เกิดในต่างประเทศ แต่ไม่พบการแท้งในคน อาการปวดศีรษะ เป็นไข้อ่อนๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ ต่อมน้ำเหลืองโตบางทีก็หายโดยไม่ทราบสาเหตุ สามารถรักษาอาการให้หายโดย ใช้ยาปฏิชีวะนะกลุ่มเตร้า ไดไฮโรสเตรบโตมัยซิน

วิธีการตรวจ

1.เจาะเลือด ต้องใช้เวลานาน บางฟาร์มหากจะควบคุมจริงๆ ต้องนำสุนัขทุกตัวมาเจาะเลือดตรวจ

การควบคุมและวิธีป้องกัน

1. การทำหมัน

2. กำจัดทิ้ง ในต่างประเทศนิยมทำกัน ฉีดยาให้หลับ แต่ประเทศไทยไม่นิยมเป็นการฆ่าสัตว์

ในปัจจุบันตรวจหาโรคยังไม่พบในประเทศไทยมากนัก แต่ก็บอกไม่ได้ว่ามีการระบาดมากน้อยเพียงใด วิธีที่ดีที่สุดของคนเลี้ยงคือ ต้องตรวจโรคนี้สม่ำเสมอไม่เฉพาะพ่อพันธ์แม่พันธ์ แต่ต้องทุกตัว ถ้าพบสิ่งปกติถ้ามีของไหลทางช่องคลอด ต้องคำนึงถึงโรคเหล่นี้ไว้

สำหรับโดยความเห็นส่วนตัวพี่ ในประเทศไทยมีโรคแท้งติดต่อเกิดขึ้นค่ะ จะมีผู้ที่รู้เรื่องนี้ซึ่งเขาได้ทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงซึ่งได้มีการรักษายอร์คตัวผู้ดังกล่าว น่าสงสารมากค่ะ ได้บอกกับพี่ว่า ถ้าหนุ่มยอร์คที่บ้านพี่จะให้ใครผสมด้วย ต้องดูให้ดีเพราะตอนนี้มีโรคแท้งติดต่อเกิดขึ้น ควรจะมีใบเจาะเลือดมาให้ดูด้วย เพราะถ้าเกิดโรคนี้กับยอร์คที่บ้านพี่จะเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่ว่าผุ้ที่พาสุนัขมาผสมจะเลี้ยงไม่ดี แต่มันน่ากลัวตรงที่อาการปกติมาก ซึ่งพี่ก็กลัวเหมือนกัน เพราะอาการจะมีแสดงออก เหมือนสุนัขปกติทั่วไป นอกจากจะเกิดการอักเสบที่อัณฑะ การที่เรื่องพวกนี้ไม่เป็นที่แพร่หลายเพราะว่า จะมีผลกระทบการผู้ที่เพาะสุนัขค่ะ อีกอย่างยอร์คที่บ้านผสมกับตัวนอกบ้านแค่ครั้งเดียว พี่จะไม่ค่อยให้ผสมนอกจากคนที่รู้จักหรือได้พูดคุยกันมาก่อนค่ะ

ข้อมูลจาก บอร์ดครอบครัวยอร์คค่ะ
//www.yorkshirefamily.com/w ... 1868&#entry1868
ขอบคุณพี่เปิ้ลค่ะ

ย้ายมาจาก board เก่าโดยคุณ Joy


เจอเค้าตั้งกระทู้ถามเรื่องนี้ เลยคิดว่า เราต้องเอามาดัดแปลงใช้ได้แน่ ๆๆๆ

ใครมีประสบการณ์หมาตัวเมียเปนฮีท และหมาตัวผู้ติดสัด ขอความช่วยเหลือหน่อยค่ะ
ตอนนี้ลูกสาวที่บ้านเป็นฮีทค่ะ เล่นเอาปั่นป่วนไปหมด เพราะไม่อยากให้เขาผสมกันข้ามพันธุ์ค่ะ
เจ้าตัวผู้คอยตาม เราก็ได้แต่จับตาดูและคอยอุ้มแยกกัน เอาเข้าจริงพอถึงเวลานอน จะจับแยกกันเหมือนปกติ ลูกชายก็ทั้งเห่า ทั้งหอน เกรงใจเพื่อนบ้านมากค่ะ ใครมีคำแนะนำดีๆรบกวนด้วยนะคะ เฝ้าลูกๆจนไม่ได้นอนมาหลายคืนแล้ว...ฮืออออออ

จากคุณ : Little_za

ผมมีปัญหาแบบนี้เหมือนกันครับ มีปัญหามาตลอดช่วง 3 ปี ปีละ 2 ครั้ง เหนื่อยมากๆ กับตัวผู้ที่หอนทั้งคืน

จนได้วิธีแก้ปัญหาในช่วงที่ผ่านมาดังนี้นะครับ

1.ตัวผู้ ตัวเมีย ห้ามเจอกันเลย
ผมเอาตัวเมียขังไว้ในคอกหลังบ้าน ตัวผู้ล่ามโซ่ไว้หน้าบ้าน

2.ทำความสะอาดบริเวณที่ตัวเมียเคยอยู่ เผื่อกำจัดกลิ่นให้หมดไป

3.ปล่อยตัวผู้มาทำธุระ และออกกำลังกายเป็นเวลา โดย ห้ามให้เจอกันเด็ดขาดกับตัวเมีย

4.ปล่อยตัวเมียมาทำธุระและออกกำลังกายเป็นเวลา โดยห้ามให้เจอกันเด็ดขาด กับตัวผู้

5.อดทน ช่วง1-2 วันแรก เพราะตัวผู้อาจจะหอนอยู่บ้าง แต่หลังจากนั้นจะสงบ เหมือนหมาปกติเลยครับ

6.ใช้เวลาจนถึงช่วงหมดฮีท ถ้าตั้งแตเริ่มเป็นวันแรก ประมาณ 20 วัน ครับ
หรือถ้านับตั้งแต่ช่วงตัวเมียยอมให้ผสม ก็ประมาณ 10 วัน

7.อดทนอย่างเดียวครับช่วงนี้ แค่ทำให้ตัวผู้ไม่หอน ก็โอเคแล้วครับ เพราะเกรงใจข้างบ้านเหมือนกัน

จากคุณ : พ่อสามถุงกับหนึ่งหนุ่ม (I am soda)





Create Date : 11 เมษายน 2553
Last Update : 23 เมษายน 2553 9:11:29 น. 1 comments
Counter : 47348 Pageviews.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ ตอนนี้เลี้ยงชิวาวาอยู่ เป็นตัวผู้ อยากรับตัวเมียมาเลี้ยงอีกตัว เผื่อให้ผสมมีลูกมีหลานออกมา ไม่ได้กะประก่งประกวดอะไรหรอกค่ะ แต่มีลูกๆวิ่งเต็มบ้านคงสนุกสนานน่าดู

ตัวผู้ที่เลี้ยงอยู่เป็นแบล๊คแทน ขนสั้น อยากได้ตัวเมียสีขาว ขนยาว ไม่รู้ผสมออกมาจะเป็นยังไง



โดย: Kate`-` (katehirogo ) วันที่: 31 พฤษภาคม 2553 เวลา:11:22:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

mooaoun
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




One Love One Life...
Love Harley Babie Angie and the Gangs
& Bowling...2 ka
Background.MyEm0.Com
[Add mooaoun's blog to your web]