One Love One Life ... For You... Harley Babie and Bowling
<<
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
11 เมษายน 2553

ประโยชน์ที่ได้รับจากไมโครชิพ

ไมโครชิพ

เมื่อสัตว์ของท่านติดไมโครชิพ หากเขามีนิสัยชอบหนีเที่ยวหรือบังเอิญหลุดออกไปจากบ้าน แม้ว่าไมโครชิพจะไม่สามารถติดตามได้ว่าขณะนี้สัตว์ของท่านอยุ่ที่ใด แต่อย่างน้อยหากมีผู้พบและนำมาให้ศูนย์ติดตั้งไมโครชิพที่มีอยู่ทั่วไปตรวจสอบหมายเลข หรือทางหน่วยงาน กทม.พบเข้าก้สามารถทราบเลขประจำตัวและตรวจสอบหาเจ้าของได้จากฐานข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้ เขาจะถูกนำส่งกลับบ้านอย่างปลอดภัย หรือหากมีผู้จับสัตว์ไปอุปการะแต่ไม่ยอมคืนเจ้าของ ท่านก็สามารถยืนยันความเป็นเจ้าของได้จากใบรับรองการติดตั้งบัตรประจำตัวสัตว์อิเล็กทรอนิกส

การซื้อขายไม่ผิดตัว ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายสัตว์เลี้ยงก็ตาม ไมโครชิพจะทำให้การซื้อขายเป็นไปอย่างตรงไปตรงมา หากท่านเป็นผู้ขายและทำไมโครชิพในลูกสุนัขของท่านตั้งแต่เล็ก เมื่อมีผู้สนใจมาสั่งจองลูกสุนัขของท่าน ท่านสามารถให้หมายเลขไมโครชิพกับผู้สั่งจอง เมื่อถึงกำหนดวันรับตัวจะได้ไม่เกิดปัญหาการผิดตัวเกิดขึ้น

การพัฒนาสายพันธุ์ การติดไมโครชิพในพ่อแม่พันธุ์สัตว์เลี้ยงรวมถึงผลิตผลรุ่นต่อๆมา จะทำให้เกิดความแน่นอนในการยืนยันสายพันธุ์ และยังสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้อย่างแน่นอน

การทำทะเบียนในกรณีของกลุ่มชมรม หรือสมาคมที่เกียวข้องกับการมีสัตว์เลี้ยงจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการจัดทำทะเบียนโดยการทำเครื่องหมายที่สัตว์เลี้ยง ไมโครชิพสามารถจะให้หมายเลขที่แน่นอน การติดตั้งทำได้ง่ายและปลอดภัยและยังไม่ทำให้เกิดตำหนิภายนอกอีกด้วย โดยเฉพาะกับสุนัขบางสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กก็สามารถติดไมโครชิพโดยไม่ทำให้ความสวยงามเสียไป เมื่อต้องการตรวจสอบก็สามารถทำได้ง่ายดายและรวดเร็ว

การประกวดสัตว์ ปัญหาการสลับตัวหรือการลงทะเบียนไว้ตัวหนึ่งและนำอีกตัวหนึ่งมาประกวด หรือการอ้างว่าสุนัขเป็นแชมเปี้ยนมาจากที่ใด ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหากเรามีไมโครชิพเป็นเครื่องหมายประจำตัวสุนัขนั้นๆ

ขั้นตอนการติดตั้งไมโครชิพ
1. แจ้งความประสงค์ของท่านที่คลีนิคสัตวแพทย์ หรือสถานพยาบาลสัตว์ที่เป็นศูนย์ติดตั้งไมโครชิพ (ดูได้จากป้ายศูนย์บัตรประจำตังสัตว์อิเล็กทรนิกส์)
2. กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์ม
3. สัตวแพทย์ตรวจสอบในขั้นแรกว่าสัตว์เลี้ยงมีไมโครขิพหรือไม่
4. สัตวแพทย์เตรียมไมโครชิพโดยใช้ไมโครชิพชนิดปลอดเชื้อ ที่มีการฆ่าเชื้อโรคโดยการอบ GAS ฆ่าเชื้อโรค และมีการตรวจสอบหมายเลขไมโครชิพอยู่ในเข็มปลอดเชื่อว่าตรงกับหมายเลขบนสติกเกอร์หรือไม่
5. สัตวแพทย์ทำการฉีดไมโครขิพให้สัตว์เลี้ยงในสุนัข-แมว จะฉีดที่ตำแหน่งกึ่งกลางแนวหลังระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้าง
6. ตรวจสอบขั้นตอนสุดท้ายว่าไมโครชิพได้อยู่ที่ตัวสัตว์แล้ว
7. สัตวแพทย์ออกบัตรประจำตัวสัตว์ให้สัตว์เลี้ยงที่มีการระบุหมายเลขไมโครชิพที่ตรงกับในตัวสัตว์
8. สัตวแพทย์ส่งข้อมูลสัตว์ให้บริษัทฯ เพื่อบันทึกข้อมูลในระบบฐานข้อมูล เพื่อที่จะสามารถฝังไมโครชิฟ

ขอให้นำหลักฐานดังต่อไปนี้มาแสดง ได้แก่
1. สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของสุนัข
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่สุนัขอาศัยอยู่
3. สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของบ้าน (กรณีเจ้าของสุนัขไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน)
4. หนังสือรับรองทะเบียนตัวสุนัข (ใบเพ็ด)
5. หนังสือรับรองการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า อายุไม่เกิน 1 ปี

หลังจากตรวจเอกสารเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการฉีดไมโครชิพขนาดความยาว 1 ซม. กว้าง 2 มิลลิเมตร เข้าไปบริเวณหลังคอ พร้อมออกเอกสารรับรองการฉีดไมโครชิพให้
จากนั้นเจ้าของสุนัขจะต้องหลักฐานที่ได้รับไปขึ้นทะเ บียนที่สำนักงานเขตที่เจ้าของสุนัขอาศัยอยู่ อย่างไร ก็ตาม สำหรับเจ้าของสุนัขที่ไม่สามารถพาสุนัขไปฝังไมโครชิพ ได้ในวันดังกล่าว ไม่ต้องเป็นกังวล เนื่องจาก กทม. เปิดให้ฝังไมโครชิพที่คลินิกสัตวแพทย์ของ กทม. หรืออาจจะนำไปฝังไมโครชิพที่คลินิกเอกชน เสียค่าบริการตัวละ 500-800 บาท

ขั้นตอนการไปขอใบรีจิส สำหรับสุนัขที่ยังไม่มีใบเพ็ดนะคะ
1. นำสุนัขไปฝังไมโครชิพ แล้วให้เก็บหมายเลขไมโครชิพไว้เพื่อแจ้งทำใบรีจิส โดยตอนไปฝังไมโครชิพ ต้องนำใบวัคซีนไปด้วย
2. เมื่อฝังแล้ว ให้เตรียมรูปถ่ายด้านหน้า และด้านข้าง ของสุนัขที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไป พร้อมกับแบบฟอร์มการขอขึ้นทะเบียนตัว และหมายเลขไมโครชิพไปติดต่อที่สมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัขฯ
3. ต้องสมัครสมาชิกสมาคม แล้วดำเนินการขอขึ้นทะเบียนตัว โดยจะได้รับเป็นใบรีจิสสีเขียวทันที

หากเราจะฉีดไมโครชิพให้กับลูกสุนัข ควรเริ่มต้นอายุเท่าใด
เนื่องจากไมโครฃิพมีขนาดเล็ก จึงสามารถฉีดในสัตว์ที่มีขนาดเล็กได้อย่างปลอดภัย ลูกสุนัขอายุสัด 30-45 วันก็สามารถทำได้

การฉีดไมโครชิพจะมีผลข้างเคียงหรือไม่อย่างไร
ไมโครชิพไม่มีผลข้างเคียงต่อสัตว์ แต่การรักษาความสะอาดของการฉีดมีความสำคัญมาก หากเข็มสกปรกจะทำให้เกิดฝีขึ้นได้ ดังนั้นจึงต้องให้สัตวแพทย์เท่านั้นเป็นผู้ฉีดไมโครชิพ

เราจะทำไมโครชิพได้ที่ไหน และมีค่าใช้จ่ายเท่าใด
ท่านสามารถเลือกสถานพยาบาลสัตว์จากศูนย์ติดตั้ง หรือสอบถามได้ที่ 0-2954-2220 ส่วนค่าใฃ้จ่ายประมาณ 500 บาท ต่อตัว

ไมโครชิพ ระบบ ISO คืออะไร PETtrac มีจำหน่ายหรือไม่
ไมโครชิพระบบ ISO เป็นไมโครชิพระบบใหม่ที่ใช้ในการทำเครื่องหมายสำหรับสุนัขและแมว จะประกอบด้วยต้วเลข 15 หลัก มี 3 หลักแรกระบุถึงประเทศหรือบริษัท และเลข 12 หลักถัดมาจะเป็นประจำตัวสัตว์นั้นๆ ไมโครชิพของ PETtrac เป็น ISO CHIP ของ AVID โดยมหมายเลขรหัสบริษัท คือ 977 เป็นไมโครชิพมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วโลก

เครื่องอ่านไมโครชิพ (Reader) ของ PETtrac สามารถอ่านไมโครชิพอะไรได้บ้าง
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 บริษัทได้นำไมโครชิพมาเสนอแล้วจำนวน 3 รุ่น คือ
AVID CODE เป็นรหัสที่ประกอบด้วยตัวอักษร AVID และเลขหมายอีก 9 ตัว โดยมีเครื่องหมาย * คั่นทุกๆ 3 ตัวเลข เช่น AVID*123*456*789 หรือ TN*123*456*789
FECAVA CODE เป็นรหัสที่มีตัวเลข 9 ตัวติดกัน และมีตัวอีกษร A ต่อท้าย เช่น 123456789A
ISO CODE เป็นรหัสที่ประกอบด้วยต้วเลข 15 หลัก โดยมี 3 หลักแรกระบุถึงประเทศหรือบริษัท และตามด้วยรหัสประจำตัวสัตวอีด 12 ตัว เช่น 971.111222333444
ปัจจุบันเครื่องอ่านรหัสไมโครชิพ (Reader) ทุกรุ่นของ PETtrac สามารถอ่านไมโครชิพได้ ทั้ง 3 ระบบ ดังนั้นท่านมั่นใจได้ว่าจะไม่พลาดการตรวจสอบ และReader ของ PETtrac มีผู้ใช้มากกว่า 300 เครื่อง ในขณะนี้บริษัทฯให้บริการดูแลรักษา ซ่อมแซม ปรับปรุงเครื่องอ่านไมโครชิพโดยวิศวกรผู้เชี่่่ยวชาญตลอดอายุการใช้งาน และมีเครื่องสำรองให้ท่านใช้งานระหว่างการซ่อมแซม

การฉีดไมโครชิพให้สัตว์เลี้ยง เหตุใดต้องส่งข้อมูลให้กับ PETtrac
การฉีดไมโครชิพเป็นเพียงการติดหมายเลขให้กับสัตว์เลี้ยง หรือเรียกว่าการทำ Identification จากนั้นเราจำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลของตัวสัตว์เจ้าของ และสัตว์แพทน์ผู้ฉีดไมโครชิพเข้าไว้ในระบบฐานข้อมูลเพื่อที่จะสามารถเรียกหารายละเอียดนี้ได้ในกรณีที่สัตว์พลัดหลง การทำ Identification โดยไม่เก็บในระบบฐานข้อมูลกลางจะไม่ก่อประโยชน์ต่อตัวสัตว์เลย สำหรับการทำไมโครชิพของ PETtrac ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลของสัตว์ได้จากเว็บไซต์ //www.pettracthai.com เพียงกรอกหมายเลขไมโครชิพของสัตว์พลัดหลง ก็สามารถเรียกดูข้อมูลเจ้าของสัตว์ได้ทันที่

ปัจจุบันมีความจำเป็นต้องทำไมโครชิพเพียงใด
แม้ว่าจะยังไม่มีการบังคับใช้ไมโครชิพกับสัตว์เลี้ยงในกรุงเทพฯ แต่ก็มีบางหน่วยงานที่ระบุให้มีการทำไมโครชิพแล้ว เช่นสัตว์เลี้ยงที่เดินทางไปต่างประเทศ สุนัข No Record ที่ต้องการขอใบ Pedigree จากสมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัข(ประเทศไทย)

เครื่องหมายระบุตัวสัตว์ชนิดปลอดเชื้อ
STERILE IDENTITY TAG (MICROCHIP)

เป็นอุปกรณ์ระบุตัวสัตว์ชนิดถาวร สามารถใช้ในสัตว์ทุกชนิด ประกอบขึ้นด้วยไมโครชิพที่ระบุ รหัสประจำตัวสัตว์เป็นตัวเลขจำนวนรวม 15 ตัว(ตามมาตรฐาน ISO) พร้อมเข็มที่ผ่านการทำให้ปลอด เชื้อด้วยวิธี Gas Sterilization ทำให้มีความสะดวกและปลอดภัยมาก การทำเครื่องหมายด้วยไมโครชิพ นี้จะเป็นรหัสประจำตัวสัตว์ที่ถาวร รหัสหมายเลขนี้จะระบุจากโรงงานผู้ผลิต ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ได้ และไม่มีหมายเลขที่ซ้ำกันเลย อายุการใช้งานยาวนาน และจะสามารถอ่านรหัสหมายเลขได้จาก เครื่องอ่านรหัสไมโครชิพ

เครื่องอ่านรหัสไมโครชิพรุ่นเล็ก (Microchip Reader)

เป็นเครื่องอ่านรหัสไมโครชิพรุ่นพิเศษที่ออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก สะดวกในการใช้นอก สถานที่ มีประสิทธิภาพสูง ใช้งานง่าย สะดวก และราคาประหยัด สามารถอ่านไมโครชิพได้หลาย ระบบ อาทิ AVID, Fecava และ ISO. ใช้พลังงานจากถ่าน Alkaline 9 โวลต์(หาเปลี่ยนได้ทั่วไป) แสดงผลด้วยจอ LCD. เป็นตัวเลขและตัวอักษรตามที่กำหนดในไมโครชิพ เครื่องสามารถปิดการ ทำงานเองได้ หากไม่มีการทำงานเพื่อการประหยัดพลังงาน




 

Create Date : 11 เมษายน 2553
0 comments
Last Update : 11 เมษายน 2553 23:59:20 น.
Counter : 6580 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


mooaoun
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




One Love One Life...
Love Harley Babie Angie and the Gangs
& Bowling...2 ka
Background.MyEm0.Com
[Add mooaoun's blog to your web]