💕🐝💕ต้นรัก💕 🐝💕

รัก ชื่อสามัญ Crown flower, Giant Indian Milkweed, Giant Milkweed, Tembegaจะเห็นได้ว่าชื่อสามัญจะเรียกกันตามลักษณะของดอกที่คล้ายมงกุฎ หรือลักษณะของน้ำยางสีขาวที่คล้ายน้ำนม และยังบอกอีกว่าเป็นพืชที่มาจากอินเดีย
รัก ชื่อวิทยาศาสตร์ Calotropis gigantea (L.) Dryand. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Calotropis gigantea (L.) R. Br. ex Schult.) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)
สมุนไพรรัก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า รักขาว รักเขา รักซ้อน (เพชรบูรณ์), ปอเถื่อน ป่านเถื่อน (ภาคเหนือ), รัก รักดอก รักดอกขาว รักดอกม่วง (ภาคกลาง), รักร้อยมาลัย, รักแดง เป็นต้น
เชื่อกันว่าถิ่นกำเนิดของต้นรักดั้งเดิมคือประเทศอินเดีย หรืออาจรวมถึงพื้นที่บางส่วนของจีน ทิเบต และอิหร่านด้วย แต่ต้นรักที่พบในเมืองไทยนั้นคงมาจากประเทศอินเดีย เพราะคนไทยเรียกชื่อต้นรักคล้ายกับอินเดียมาก ซึ่งในอินเดียจะเรียกว่า "อรัก" (อะรัก มีความหมายว่า ไม่รัก) คนไทยคงฟังไม่ถนัดจึงเรียกว่า "รัก" แทน ทำให้ความหมายกลายเป็นตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง และถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ มากมาย อีกทั้งยังถือเป็นไม้มงคลที่คนไทยแทบทุกคนเคยเกี่ยวข้องด้วย (ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
ดอกรัก ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่ม โดยจะออกตามซอกใบใกล้ส่วนยอดหรือตามปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตรดอกเป็นสีขาว สีม่วง หรือสีม่วงแดง (สีขาวอมม่วงก็มี) มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกผิวเกลี้ยง แต่ละกลีบเป็นรูปรีถึงรูปใบหอก ปลายแหลมหรืออาจบิด กว้างประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน หลอดกลีบดอกสั้น และมีรยางค์ลักษณะเป็นรูปมงกุฎขนาดใหญ่อยู่ตรงกลางดอก มี 5 แฉก อวบน้ำ เชื่อมติดกัน (นิยมนำมาแยกใช้ร้อยเป็นพวงมาลัย) สั้นกว่าเส้าเกสรเพศผู้ ปลายมน มีติ่งมนทางด้านข้าง ฐานเป็นเดือย และอับเรณูมีเยื่อบางหุ้ม ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบเป็นรูปไข่กลับ ปลายแหลม กว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร และมีขนนุ่มปกคลุม สามารถออกดอกและติดผลได้ตลอดปี แต่จะออกมากในช่วงฤดูร้อน (หมอยาพื้นบ้านของไทยจะเรียกต้นรักที่มีดอกสีม่วงว่า "ต้นธุดงค์")

สรรพคุณของต้นรัก ดอกมีรสเฝื่อน สรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร (ดอก) ต้นมีรสเฝื่อนขม มีสรรพคุณช่วยบำรุงทวารทั้งห้า (ต้น) ยางจากต้นเป็นยาแก้อาการปวดหู ปวดฟัน (ยางขาวจากต้น) รากใช้เป็นยาแก้ไข้ (ราก)แก้ไข้เหนือ (ราก) ช่วยแก้อาการไอ อาการหวัด แก้หอบหืด (ดอก) ช่วยทำให้อาเจียน (เปลือกต้น ราก, เปลือกราก ช่วยขับเหงื่อ (ราก, เปลือกราก) เปลือกรากมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะได้ (เปลือกราก) ช่วยในการย่อย (ดอก) ใช้เป็นยารักษาโรคบิด (ราก, เปลือกราก) แก้บิดมูกเลือด (ราก) ยางขาวจากต้นมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง (ยางขาวจากต้น) ใช้เป็นยาขับพยาธิ โดยใช้ยางขาวจากต้นนำมาทาตัวปลาช่อนแล้วย่างไฟให้เด็กกินเป็นยาเบื่อพยาธิไส้เดือน (ยางขาวจากต้น) ช่วยแก้ริดสีดวงในลำไส้ (ยางขาวจากต้น) ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร (ใบ) ยางขาวจากต้นมีฤทธิ์เป็นยาขับเลือด ทำให้แท้งได้ (ยาง) เปลือกต้นมีสรรพคุณช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (เปลือกต้น) ยางไม้ใช้ใส่แผลสดเป็นยาฆ่าเชื้อ (ยางขาวจากต้น) ช่วยแกคุดทะราด (ใบ) ช่วยแก้กลากเกลื้อน (ยางขาวจากต้น, ดอก น้ำยางจากต้นใช้รักษาโรคเรื้อน (ยางขาวจากต้น) ผลหรือฝัก ใช้แก้รังแคบนหนังศีรษะ (ผล) ใบสดใช้เป็นยาพอกเพื่อบรรเทาอาการของโรคไขข้อ (ใบ)

ประโยชน์ของต้นรัก ในทางไสยศาสตร์จะนิยมใช้รากของต้นรักที่มีดอกซ้อนสีขาวมาแกะเป็นรูปพระปิดตา รูปนางกวัก หรือรูปเด็กขนาดเล็กที่นำมารวมกับรูปเด็กที่แกะได้จากรากของมะยม หรือที่เรียกว่า "รักยม" แล้วนำมาแช่ในขวดเล็ก ๆ ที่ใส่น้ำมันจันทน์ ก็นับว่าเป็นของขลังอีกอย่างหนึ่งที่ชายไทยสมัยก่อนนิยมพกติดตัวเวลาออกจากบ้าน ส่วนใบของต้นรักนั้นก็นำมาใช้ทำเสน่ห์ให้คนรักได้ โดยใช้เฉพาะใบจากต้นรักซ้อนสีขาวเช่นเดียวกัน สำหรับชาวฮาวายถือว่ามาลัยดอกรักที่นำมาทำเป็นสร้อยคอ (lei) คือ สัญลักษณ์ของความเป็นกษัตริย์ ดอกรักนับว่าเป็นสินค้าอีกอย่างหนึ่งที่คนไทยต้องการใช้ตลอดปี เพราะนำมาใช้ในการร้อยพวงมาลัย บางพื้นที่มีการปลูกต้นรักเอาไว้เก็บดอกเพื่อนำมาร้อยเป็นพวงมาลัยไว้ขายเองโดยเฉพาะ โดยมักจะปลูกร่วมกับต้นมะลิ เพราะต้องใช้ประกอบเป็นพวงมาลัยที่คนไทยคุ้นเคยกันมากที่สุด และดอกยังสามารถนำมาใช้ทำดอกไม้ประดิษฐ์ได้อีกด้วย ในพิธีงานแต่งของคนไทยภาคกลาง นอกจากเราจะใช้ดอกรักนำมาร้อยเป็นพวงมาลัยสวมให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาวแล้ว ก็ยังใช้ใบของต้นรักนำมารองก้นขันใส่สินสอดและขันใส่เงินทุนที่ให้แก่คู่สมรสอีกด้วย ในประเทศอินเดียจะใช้น้ำจากผลเป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มที่เรียกว่า "บาร์" เส้นใยจากลำต้นและผลนำมายัดใส่หมอน และมีรายงานว่าปุยจากเมล็ดสามารถนำไปใช้ทำเส้นด้ายที่ใช้ทอผ้า และนำมาใช้แทนนุ่นได้ เนื้อไม้นำมาเผาเป็นถ่านที่ใช้สำหรับผสมดินปืน

พิษของต้นรัก ยางจากต้นรักเป็นอันตรายต่อผิวหนังและดวงตา ดังนั้นในการเก็บเกี่ยวดอกรัก จึงต้องแต่งกายอย่างรัดกุมมิดชิด สวมถุงมือยาง แว่นตา และใช้ผ้าปิดปากและจมูก ยางและใบมีสารพิษ Digitalis ซึ่งออกฤทธิ์เป็นพิษต่อหัวใจและเลือด ทำให้มีอาการระคายเคืองเยื่อบุปากและกระเพาะอาหารก่อน แล้วตามด้วยอาการอาเจียน ปวดศีรษะ ท้องเดิน และปวดท้อง ถ้ารับประทานเข้าไปมากและล้างท้องไม่ทัน สารพิษจะถูกดูดซึมผ่านลำไส้และแสดงความเป็นพิษต่อหัวใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับชนิดของไกลโคไซด์ วิธีการรักษาพิษ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดเพื่อทำการล้างท้อง และรักษาไปตามอาการ และถ้าจาก EKG พบว่ามี Ventricular tachycardia ควรให้ potossium chloride (5-10 g) หรือให้ K+ (80 mEq/L) ถ้ามีอาการเจ็บแขนก็อาจจะช่วยด้วยการนวดและประคบน้ำร้อน
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมค่ะ
Create Date : 04 สิงหาคม 2562 |
Last Update : 5 สิงหาคม 2562 11:58:02 น. |
|
17 comments
|
Counter : 3674 Pageviews. |
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณnonnoiGiwGiw, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณกะว่าก๋า, คุณhaiku, คุณInsignia_Museum, คุณSweet_pills, คุณเริงฤดีนะ, คุณสันตะวาใบข้าว, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณmariabamboo, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณสองแผ่นดิน, คุณJinnyTent |
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 สิงหาคม 2562 เวลา:12:34:12 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 สิงหาคม 2562 เวลา:14:47:12 น. |
|
|
|
โดย: ดินสอสีม่วง วันที่: 5 สิงหาคม 2562 เวลา:15:57:18 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 5 สิงหาคม 2562 เวลา:16:23:35 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 6 สิงหาคม 2562 เวลา:0:47:34 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 สิงหาคม 2562 เวลา:6:18:26 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 10 สิงหาคม 2562 เวลา:9:59:16 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 10 สิงหาคม 2562 เวลา:10:02:28 น. |
|
|
|
โดย: mariabamboo วันที่: 10 สิงหาคม 2562 เวลา:19:40:34 น. |
|
|
|
โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 10 สิงหาคม 2562 เวลา:21:51:30 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 11 สิงหาคม 2562 เวลา:6:33:33 น. |
|
|
|
|
|