🌴 ต้นงิ้ว 🌴
โบราณเปรียบเทียบ หญิงมากชู้หลายผัว ว่าเป็นนางกากี ซึ่งมีเค้าเรื่องมาจาก กากาติชาดก ว่า พระโพธิสัตว์ครั้งเกิดเป็นพระราชาผู้ครองเมืองพาราณสี มีพระเทวีนามว่า กากาติ ซึ่งทรงมีพระสิริโฉมงดงามยิ่ง วันหนึ่งมีพญาครุฑชื่อว่า ท้าวเวนไตรย แปลงร่างเป็นมนุษย์มาเล่นสกา (การพนันชนิดหนึ่ง) กับพระราชา ท้าวเวนไตรย เห็นพระนางกากาติ ก็เกิดความรักใคร่ จึงแอบพาหนีไปอยู่ที่วิมานฉิมพลีซึ่งเป็นที่อยู่ของตน เมื่อพระราชาทราบเรื่องจึงมีรับสั่งให้คนธรรพ์ชื่อ กุเวร นำพระเทวีกลับมา กุเวรได้ไปแอบซุ่มอยู่ในดงตะไคร้ข้างสระ พอพญาครุฑบินไปจากสระก็ แอบกระโดดเกาะปีกไปจนถึงวิมานฉิมพลี แล้วแอบได้เสียกับพระเทวีที่ วิมานนั้น จากนั้นก็เกาะปีกพญาครุฑกลับมาเมืองพาราณสีอีก วันหนึ่งขณะที่พญาครุฑเล่นสกาอยู่กับพระราชา คนธรรพ์ก็ขับร้องเป็นเพลงว่า คนรักของเราอยู่ ณ ที่แห่งใด กลิ่นของนางยังหอมฟุ้งมาที่แห่งนั้น ใจของเรายินดีในนางใด นางนั้นชื่อกากาติ อยู่ไกลจากที่นี้ พญาครุฑพอได้ฟังแล้วสะดุ้งจึงถามกลับไปว่า ท่านข้ามทะเลมหาสมุทรทั้ง 7 แห่ง ไปได้อย่างไร แล้วขึ้นวิมานฉิมพลีได้อย่างไร คำตอบที่ได้คือ เราข้ามทะเลมหาสมุทรทั้ง 7 แห่งได้ ก็เพราะท่าน ขึ้นวิมานฉิมพลีได้ก็เพราะท่านอีกนั่นแหละ เมื่อพญาครุฑได้ทราบความจริงจึงกล่าวติเตียนตัวเองว่ามีร่างกาย ใหญ่โตเสียเปล่า แต่ไม่มีความคิด จึงเป็นพาหนะให้ชายชู้ของเมีย ดังนั้นจึงได้นำพระเทวีกากาติ มาคืนพระราชา และไม่กลับมาเล่นสกากับมนุษย์อีกเลย วิมานฉิมพลีของพญาครุฑ ก็คือ ต้นงิ้ว ซึ่งเรียกในภาษาบาลีว่า สิมพลี นั่นเอง!!!
ในพระสูตรที่ว่าด้วย เทวทูตสูตร ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงให้เห็นถึงมหานรก
ที่มีการลงโทษคนที่กระทำความชั่ว อย่างน่าสะพรึงกลัว ก็ได้กล่าวถึงต้นงิ้วไว้ในความ
ตอนหนึ่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายและนรกเถ้ารึงนั้นมีปางงิ้วใหญ่ประกอบอยู่รอบด้าน
ต้นสูงชะลูดขึ้นไปโยชน์หนึ่ง มีหนามยาว 16 องค์คุลี มีไฟติดทั่วลุกโพลง โชติช่วง เหล่านายนิรยบาลจะบังคับให้สัตว์
นั้นขึ้นๆ ลง ๆ ที่ต้นงิ้วนั้น สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ที่
ต้นงิ้วนั้น และยังไม่ตาย ตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด ฯ
และใน นารทชาดก ได้พูดถึงเรื่องต้นงิ้วดังนี้ ...ต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ เต็มไปด้วยหนาม
เหล็กคมกริบ กระหายเลือดคน หญิงผู้ประพฤติล่วงสามี
และชายผู้หากระทำชู้ภรรยาผู้อื่น ถูกนายนิรยบาลผู้ทำตามสั่งของพระยา
ยม ถือหอกไล่ทิ่มแทง ให้ขึ้นต้นงิ้วนั้น... รู้จักต้นงิ้วกันอย่างนี้แล้วไม่รู้ว่ายังจะมีใครอยากปีนอีกหรือป่าว
งิ้ว ชื่ออื่นๆ : บักจี้ (จีน), งิ้วปง, งิ้วปงแดง, สะเน?มระกา (ชอง-จันทบุรี), งิ้วแดง(กาญจนบุรี), งิ้วบ้าน (ทั่วไป) ชื่อสามัญ : Kapok Tree, Cotton Tree, Red Cotton Tree, Silk Cotton Tree, Shaving Brus ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gossampinus Malabarica (DC.) Merr. วงศ์ : BOMBACAEAE เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูงราว 15-20 เมตร เรือนยอดทรงกลมแผ่กว้าง ลำต้นปลายตรง เปลือกสีน้ำตาล อมเทา มีหนามแหลมคมทั่วทั้งลำต้น
ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 5-7 ใบ ใบรูปรี ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา
ดอกมีสีส้มแดง แดงเหลือง หรือขาว มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งๆมีดอกราว 3-5 ดอก มีกลิ่นหอมและร่วงง่าย ออกดอกราวเดือนธันวาคม กุมภาพันธ์ ส่วนผลมีลักษณะกลมรี เปลือกแข็ง ภายในผลมีเมล็ดกลมสีดำ
มากมาย ซึ่งมีปุยสีขาวหุ้มห่ออยู่ เมื่อแก่จัดผลหรือฝักนี้จะแตกออก ประโยชน์ของงิ้วมีมากมาย เช่น เนื้อไม้ เป็นไม้เนื้ออ่อน จึงนำมาทำดินสอ
ไม้จิ้มฟัน เยื่อกระดาษ, เปลือก ใช้ทำเส้นใย เชือก , น้ำมันจากเมล็ดใช้ปรุงอาหาร ทำสบู่ และปุยสีขาวยัดหมอนและที่นอน เช่นเดียวกับนุ่น ส่วนสรรพคุณทางยาพื้นบ้านหรือยาสมุนไพรนั้นก็มีไม่น้อย อาทิ เปลือก
ใช้สมานแผลแก้ท้องร่วง กระเพาะอาหารอักเสบ ดอก ใช้แก้ไข้ ท้องร่วง บิด แผลฝีหนอง ห้ามเลือด ฟกช้ำบวม อักเสบ แก้คัน แก้กระหายน้ำ ยางใช้
ห้ามเลือด ราก ใช้สมานแผล แก้แผลในกระเพาะอาหาร บำรุงกำลัง ฯลฯ เป็นยาบำรุง-แก้ท้องร่วง-ลดอาการบวมอักเสบ ถ้าจะพูดถึงต้นงิ้ว ทุกคนก็คงจะนึกถึงกระทะทองแดงควบคู่ไปด้วย
ตามที่คนโบราณเล่าขานกันมาว่าถ้าเกิดทำผิดหรือทำชั่วแล้วจะต้องปีนต้นงิ้ว แต่ปัจจุบันนี้ต้นไม้ที่น่ากลัวนี้สามารถที่จะทำประโยชน์ให้กับมนุษย์เรา
ได้มากมาย แล้วแต่ว่าจะใช้เป็นหรือไม่
ลักษณะของต้นงิ้วเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ยอดแผ่พุ่มกว้างตามต้นจะมีหนาม
แหลม รูปกรวย ใบสีเขียวยาว จัดอยู่ในประเภทใบรวม ใบนุ่น ปลายใบแหลม
ดอกออกเป็นช่อ ตามต้นปลายกิ่ง สีแดงส้ม กลีบเลี้ยงหนา ดอกใหญ่และดกมาก เมื่อเวลาออกดอกจะผลักใบ จึงทำให้ดูแดงไปทั้ง
ต้น เมื่อดอกโรยจะมีผลรีๆปลายแหลม ออกดอกในฤดูแล้งประมาณเดือนมกราคมถึง
เดือนกุมภาพันธ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ในบางพื้นที่ชอบเก็บดอกและตากแห้ง สามารถเก็บไว้ประกอบอาหารได้
เป็นเวลานานๆ ที่นิยมมากเช่นทำน้ำขนมจีนนำเงี้ยวในภาคเหนือ ทำเป็นแกงเรียกว่า แกงดอกงิ้ว ลวกจิ้มน้ำพริก แกงส้ม ดอกงิ้วชุบแป้งทอด แต่ต้องแยก
ระหว่างกลีบดอกและเกสรออก หรือทำเป็นขนมถือว่าเป็นอาหารบำรุงสุขภาพชั้นยอด เพราะมีแคลเซียมสูง ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูกควบคู่กับการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย
นอกจากจะนำดอกมาประกอบอาหารแล้วส่วนต่างๆ ของต้นงิ้วก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้เหมือนกัน เช่น
- รากสามารถทำเป็นยาบำรุงกำลังและทำให้อาเจียนเพราะมีโปรตีนและไขมันมาก - เกสรตัวผู้แห้ง นำมาแต่งสีในแกงส้มหรือแกงกะหรี่ให้มีสีเข้มขึ้น - ดอกแห้งตำผสมน้ำทาระงับปวดแก้ท้องร่วงธรรมดา บิด ต้มน้ำกิน - เส้นใยของฝักงิ้วใช้ทำนุ่นยัดหมอน - ผลอ่อนนำมาทำเป็นผักสดจิ้มกินกับน้ำพริกหรือส้มตำ - เปลือกนำมาฟั่นเป็นเชือก เปลือกอ่อนนำมาตากแห้งบดเป็นผงเป็น
บำรุง ขับน้ำเหลือง เลือดลมไหลเวียนดี เป็นยากระตุ้นทางเพศ กระเพาะอาหารอักเสบ - ใบและยอดอ่อนตำพอกใช้รักษาฝี ฟกช้ำดำเขียว อาการบวมอักเสบ
งิ้วที่หลายคนคิดกันว่าเป็นต้นไม้ที่น่ากลัว ซึ่งเป็นความเชื่อแต่สมัย
โบราณจนถึงปัจจุบัน แต่ต่อไปนี้คงจะรู้แล้วว่าสามารถใช้ได้สารพัดประโยชน์จริงๆ ทั้งประกอบอาหาร ของใช้ เป็นยาสมุนไพรรักษาอาการต่างๆ
ได้ดีแล้วยังสามารถเก็บไว้ได้นานด้วย ไม่ผิดศิล 5 กันนะคะ
Create Date : 21 เมษายน 2562 |
Last Update : 21 เมษายน 2562 3:06:19 น. |
|
13 comments
|
Counter : 1927 Pageviews. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 21 เมษายน 2562 เวลา:6:18:27 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 เมษายน 2562 เวลา:6:33:14 น. |
|
|
|
โดย: multiple วันที่: 21 เมษายน 2562 เวลา:8:38:05 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 เมษายน 2562 เวลา:20:05:41 น. |
|
|
|
โดย: วลีลักษณา วันที่: 21 เมษายน 2562 เวลา:21:13:20 น. |
|
|
|
โดย: ลุงแมว วันที่: 21 เมษายน 2562 เวลา:21:37:59 น. |
|
|
|
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 21 เมษายน 2562 เวลา:23:29:39 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 เมษายน 2562 เวลา:6:24:49 น. |
|
|
|
|
|
ประโยชน์ของต้นงิ้วจริงๆมีมากมายทั้งลำต้นทั้งดอก
แต่หากในคำเปรียบเปรยและในตำนาน
ก็เป็นบทลงโทศของผู้กระทำผิดศีลข้อ"กาเมสุมิจฉาจารา เวระมนีสิขาปะทังสมาธิยามิ"
ที่พึง