" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 
19 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 

082. วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่

วัดเชตวัน

314 ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่




5874. วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





1128. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่

:วัดเชตวัน มี พระเจดีย์ จำนวน 3 องค์
ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันตก และ นับจากพระเจดีย์ จาก องค์ด้านซ้ายไปขวามือ พระเจดีย์องค์นี้ คือ องค์ที่ 2.(องค์กลาง)






1129. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน

:ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันตก และ นับจากองค์ด้านซ้ายไปขวามือ พระเจดีย์องค์นี้ คือ องค์ที่ 3.





1130. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน องค์ที่ 3.





1131. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน องค์ที่ 3.





1132. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน องค์ที่ 3.





1135. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน องค์ที่ 2.(องค์กลาง)





1136. บันได ทางขึ้น-ทางลง พระเจดีย์ องค์ที่ 2 (องค์กลาง)

:ไม่แน่ใจว่า จะเรียกว่า บันได พญานาค หรือ บันได ตัวมอม หรือ บันไดกิเลน ดีครับ ท่านผู้อ่านว่าไปตามอัธยาศัยก็แล้วกัน นะครับ





1137. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





1138. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





1139. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





1140. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





1141. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





1142. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





1143. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่




1144. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





1145. ร้านเจริญมอเตอร์ : จารึกไว้ที่ฐานพระเจดีย์ วัดเชตวัน

:ขอกราบอนุโมทนาบุญ ร้านเจริญมอเตอร์ และ ขอให้ธุรกิจของท่านมีความเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย เป็น มหาเศรษฐีผู้ใจบุญค้ำจุนพระพุทธศาสนา นะครับ





1146. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน

:ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันตก และ นับจากองค์ด้านซ้ายไปขวามือ พระเจดีย์องค์นี้ คือ องค์ที่ 1.





1147. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





1148. บันไดทางขึ้น-ทางลง ด้านทิศใต้ แห่ง พระเจดีย์องค์กลาง
แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





1149. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





1150. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





1151. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





1152. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





1153. ตัวมอมแห่งบันไดพระเจดีย์ วัดเชตวัน ต.ช้างม่อย อ.เมืองจ.เชียงใหม่





1154. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมืองจ.เชียงใหม่




1155. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมืองจ.เชียงใหม่





1156. สิงหราช มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ แห่ง พระเจดีย์องค์กลาง วัดเชตวัน





1157. พระวิหาร แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมืองจ.เชียงใหม่





1159. พระวิหาร แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมืองจ.เชียงใหม่





1160. พระวิหาร แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมืองจ.เชียงใหม่





1161. ประวัติ วัดเชตวัน




5884. ประวัติ วัดเชตวัน






5885. ประวัติ วัดเชตวัน

ประวัติ วัดเชตวัน

:ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมืองจ.เชียงใหม่


ชั้นและสถานคามสีมาตั้ง

วัดเชตวัน ปัจจุบันเป็นวัดราษฏร์ชนิด ตั้งอยู่เลขที่ 314 ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ บริเวณกำแพงด้านนอก ระหว่างประตูเวียงเชียงเรือก และ ประตูท่าแพ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย โฉนดเลขที่ 43693 ที่ดินทั้งวัดมีเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 73 ตารางวา


ทิศเหนือ: จรดทางสาธารณประโยชน์ ชมรมชาวเท่งไฮ้แห่งประเทศไทย และ อาคารบ้านเรือน

ทิศใต้ : จรดธนาคารออมสินสาขาท่าแพ และ อาคารพาณิชย์

ทิศตะวันออก : จรดทางสาธารณประโยชจ์ และ อาคารบ้านเรือน

ทิศตะวันตก : จรดทางสาธารณประโยชน์ และ อาคารบ้านเรือน


ชื่อของวัด

วัดเชตวันมีนามเหมือนกับ "เชตวัน" อารามในประเทศอินเดีย ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นานกว่าอารามอื่นๆ ในสมัยที่พระองค์ดำรงพระชนม์ชีพ

สำหรับวัดเชตวันนี้ หมายถึง วัดที่อยู่ในป่าเล็กๆ ตั้งอยู่ถนนท่าแพ ซึ่งตรงข้ามวัดมหาวัน ซึ่งหมายถึง วัดที่ตั้งอยู่ในป่าใหญ่

นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า วัดสองแห่งนี้สร้างขึ้นพร้อมกัน ตามคำเล่าสืบต่อกันว่า "วัดมหาวันผู้เป็นพี่สร้าง วัดเชตวันผู้เป็นน้องสร้าง"

วัดเชตวัน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพม่าปกครอง มีอายุนานหลายร้อยปี ทรงได้รับพระราชทานวิสุงสีมา เมื่อ พ.ศ.2466 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาพระสงฆ์ผูกพันธสีมา ครองวิหาร ไม่มีอุโบสถต่างหาก เพราะเนื้อที่บริเวณคับแคบ

หลักฐานบันทึกในสมุดข่อยสมัย "พระเจ้าชีวิตกาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 8 " ระหว่าง พ.ศ. 2427 - 2452 กล่าวถึงอารามน้อยใหญ่ ที่ตั้งอยู่บริเวณกำแพงเมืองหลวงมีจำนวน 100 วัด และ ตั้งอยู่กำแพงเมืองชั้นนอก (กำแพงดิน) มี 51 วัด


ความสำคัญของวัด

วัดเชตวัน เป็นสถานที่จำพรรษาของอดีตพระมหาเถระ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ มีตำแหน่งเป็นพระราชาคณะถึง 3 รูปด้วยกัน คือ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระอภัยสารทะ (ก้อนแก้ว อนุทจกุโก) อดีตเจ้าคณะเชียงใหม่รูปที่ 3 , พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระมงคลราชมุนี (สมบูรณ์ จนุทวํโส) อดีตเจ้าคณะเชียงใหม่รูปที่ 6, พระปลัดโกศล หรือ หลวงพ่อพระครูมงคลสีลวงค์ รักษาการปี 2506 -2507 ปัจจุบันได้รับพระราชทินนามที่พระเทพวิสิทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ปัจจุบัน และ จำพรรษาอยู่ที่วัดบุพพราม

และ

วัดเชตวันยังมีความสำคัญมาดังแต่โบราณ อาจสรุปได้ดังนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2317 - 2325 ยังไม่พบหลักฐาน


สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ตั้งแต่ พ.ศ.2525 เป็นต้นมา มีหลักฐานปรากฏดังนี้

1. วัดเชตวัน ตั้งอยู่แขวงประตูท่าแพเชียงใหม่ชั้นนอก "เจ้าอธิการชื่อ ตุ๊อินต๊ะ (พระครูคัมภีรธรรม) นิกายน่าน ยังไม่เป็นพระอุปัชฌาย์ (ตุ๊อินต๊ะ คนทั่วไปเรียกครูบาตั๋น) มาจากน่าน ครั้งหนึ่งเคยไปปฏิบัติกรรมฐานสำนักครูบากัญจมหาเถระ วัดสูงเหม้น เมืองแพร่ ตราบถึงครูบามหาเถระมรณภาพ ระหว่าง พ.ศ.2530 -2406 รองอธิการชื่อ ต๊อนต๊ะ จำนวนลูกวัดที่จำพรรษานี้ 2 องค์ มีสามเณร 8 ตน ขึ้นอุโบสถวัดมหาวัน

2. ครูบาน้อย ลาสิกขา

3. พระครูคุมภีรธรรม (ก้อนแก้ว อนุทจกฺโก) รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2461 -2465. เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2467 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เลื่อนขึ้นเป็นพระราชคณะชั้นสามัญ "พระอภัยสารทะ" เจ้าคณะเชียงใหม่ รูปที่ 3.

4. พระครูสีลสารโสภณ (สมบูรณ์ จนฺทวํโส) ในปี พ.ศ 2478 -2490 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เลื่อนชั้นเป็นพระราชาชั้นราช "พระมงคลราชมุนี"
พ.ศ.2505 มรณภาพด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก

5. พระปลัดโกศล หรือ หลวงพ่อพระครูมงคลสีลวงศ์ (จันทร์ คนฺธวโร นธ.เอก) รักษาแทนเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ.2506 - 2507 ปัจจุบันได้รับพระราชทินนามที่พระเทพวิสิทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ปัจจุบัน และ จำพรรษาอยู่ที่วัดบุพพราม






1875.




1876.ตัวมอม เบื้องซ้าย แห่งประตูทางเข้าวัดเชตวัน ด้านทิศใต้ ถ.ท่าแพ





1877. ตัวมอม เบื้องขวา แห่งประตูทางเข้าวัดเชตวัน ด้านทิศใต้ ถ.ท่าแพ





5878. พระวิหาร แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่




5879. พระวิหาร แห่ง วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





5880. ศาลา นั่งพัก




5881. ประตู ทางเข้า-ทางออก วัดเชตวัน ด้าน ถ.ท่าแพ
ฝั่งตรงข้ามคือ วัดมหาวัน




5882. ศาลาบำเพ็ญบุญ




5883. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน





1115. พระวิหาร แห่ง วัดเชตวัน





1116. พระวิหาร แห่ง วัดเชตวัน





1117. พระวิหาร แห่ง วัดเชตวัน





1118. พระวิหาร แห่ง วัดเชตวัน





1119. พระวิหาร แห่ง วัดเชตวัน





1120. พระเจดีย์ แห่ง วัดเชตวัน





1121. พระวิหาร แห่ง วัดเชตวัน





1122. สิงห์คู่ แห่ง พระวิหาร วัดเชตวัน





1123. พระวิหาร แห่ง วัดเชตวัน





1124. ประตูแห่งพระวิหาร วัดเชตวัน ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





1125. จิตรกรรม เหนือ ประตู พระวิหาร แห่ง วัดเชตวัน




1126. สิงห์แห่งพระวิหาร และ พระเจดีย์ วัดเชตวัน





1127. สิงห์แห่งพระวิหาร วัดเชตวัน





Moonfleet ได้มาเยือน วัดเชตวัน ถ.ท่าแพ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่

วันอาทิตย์ ที่ 18 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2552




นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง




 

Create Date : 19 ตุลาคม 2552
2 comments
Last Update : 19 ตุลาคม 2552 22:47:42 น.
Counter : 5747 Pageviews.

 

เลขที่บทความ: TU-395
บทความ:วัดพม่าบนถนนท่าแพ

บทคัดย่อ : วัดพม่าบนถนนท่าแพ ย่านท่าแพเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่อดีต เดิมเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว บริเวณสองฟากของถนนท่าแพนี้เป็นย่านร้านค้าและที่อยู่อาศัยของชาวพม่าและชาวต่องสู้ ในสมัยต่อมาย่านนี้ได้กลายเป็นย่านพ่อค้าชาวจีนตลอดสาย ปัจจุบันเป็นถนนสายสำคัญในด้านการค้า

วัดพม่าบนถนนท่าแพ ย่านท่าแพเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่อดีต เดิมเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว บริเวณสองฟากของถนนท่าแพนี้เป็นย่านร้านค้าและที่อยู่อาศัยของชาวพม่าและชาวต่องสู้

ในสมัยต่อมาย่านนี้ได้กลายเป็นย่านพ่อค้าชาวจีนตลอดสาย ปัจจุบันเป็นถนนสายสำคัญในด้านการท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ มีสถาปัตยกรรมเพื่อการพาณิชยกรรมที่สวยงามหลายหลัง เช่น

ร้านทิพเสถียรพาณิชย์
ห้างกิติพันธ์พาณิชย์ (เดิม)
บ้านท่าแพ
และ ร้านชาระมิงค์ ข้างคลองแม่ข่า

เป็นกลุ่มอาคารเก่าแก่ประมาณ 60- 80 ปี เป็นอาคารไม้ฉลุลวดลายขนมปังขิง

ร้านรัตนผล อาคารสถาปัตยกรรมแบบยุโรป มีลวดลายปูนปั้น

รวมทั้งร้านค้าแบบไม้สองชั้นเก่าแก่สองข้างถนนท่าแพที่ยังเปิดทำการแก่นักท่องเที่ยว

นอกจากนั้นบริเวณถนนท่าแพยังมีวัดพม่าที่สร้างขึ้นมาเมื่อหลายร้อยปีจำนวนหลายวัด ซึ่งวัดเหล่านี้มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจและมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม เริ่มตั้งแต่

พุทธสถาน เดิมเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของวัดอุปคุต (พม่า) ต่อมาได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิพุทธสถาน เชียงใหม่ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2501 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่หลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนาโดยวิธีปาฐกถา ธรรมเทศนา ธรรมสากัจฉา ปุจฉาวิสัชนาและอื่นๆ ที่เหมาะสม เผยแพร่วิทยาการอื่นๆ เป็นสถานที่ในการทำกิจกรรมทางพุทธศาสนาและกิจกรรมอื่นๆ ของเมือง

วัดอุปคุต หลวงอนุสารสุนทร (ซุ่นฮี้) และแม่นายคำเที่ยง ชุติมา เป็นผู้สร้าง สถาปัตยกรรมประกอบด้วย วิหารแบบล้านนา ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ ศาลาอเนกประสงค์ หอไตรแบบยกพื้นขนาดย่อม มีการตกแต่งลวดลายประดับประดาอย่างสวยงาม ซุ้มประตูโขงขนาดใหญ่ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ วัดนี้มีประเพณีการใส่บาตรพระอุปคุตทุกวันขึ้นสิบห้าค่ำที่ตรงกับวันพุธเรียกว่า “เป็งพุธ” เชื่อว่าหากได้ใส่บาตรกับพระอุปคุตจะได้บุญมาก

วัดแสนฝาง ตำนานกล่าวว่าสร้างในสมัยพญาแสนภู กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เดิมชื่อ วัดแสนฝัง คำว่าแสนฝัง สันนิษฐานว่าอาจมาจาก การที่พญาแสนภูทรงมีพระประสงค์จะฝากฝังขุมพระราชทรัพย์ของพระองค์ไว้ในพระพุทธศาสนาตามเยี่ยงพระเจ้าปู่และพระราชบิดา จึงดำริให้กำหนดสถานที่แห่งหนึ่งทางฝั่งทิศตะวันออกใกล้แม่น้ำข่าและแม่ระมิงค์พอประมาณ และโปรดให้สร้างวัดแห่งหนึ่งโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์บริจาคในพระพุทธศาสนา สถาปัตยกรรมประกอบด้วย หอไตรกลางน้ำหลังเก่า สร้าง พ.ศ.2412 ซุ้มประตู มงคลแสนมหาไชยสร้างเมื่อ พ.ศ.2418 เดิมเป็นไม้ ที่มุมกำแพงด้านตะวันออกมีหอคอยสูงเด่นทั้ง 2 มุมคือ มุมด้านเหนือและใต้สำหรับเป็นที่อยู่เวรยามของทหารในสมัยโบราณ วิหาร จากหลักฐานปรากฏว่าเมื่อ พ.ศ.2420 พระเจ้าอินทวิชยานนท์และเจ้าทิพเกสรราชเทวี ได้โปรดให้รื้อพระตำหนักที่ประทับของพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์มาปรับปรุงดัดแปลงสร้างเป็นวิหารลายคำ วิหารนี้เป็นทรงล้านนาไทยหลังคาเตี้ยและลาดต่ำ ประดับด้วยลวดลายไม้แกะสลักและปูนปั้นปิดทองสำหรับเจดีย์ทรงพม่านั้นหลักฐานกล่าวว่า พระครูบาโสภาโณเถระ ได้บูรณะสร้างเสริมเจดีย์ทำเป็นแบบพม่า กุฏิเจ้าอาวาส สร้างสมัยพระครูบาโสภาเถิ้ม และรองอำมาตย์เอกหลวงโยนการพิจิตร สร้างปี พ.ศ.2431 พระอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ.2453 ลักษณะรูปทรงเป็นสองชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูนชั้นบนเป็นโครงสร้างไม้ หอไตรหลังใหม่ อยู่ด้านทางทิศตะวันตกของพระเจดีย์ ท่านอธิการศรีหมื่น นุนทวโร เจ้าอาวาสขณะนั้นไว้ริเริ่มสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2488

วัดบุพพาราม เป็นวัดคู่เมืองเชียงใหม่ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย โปรดการสร้างราวปี พ.ศ.2039 ในบริเวณที่เป็นราชอุทยานของพระเจ้าติโลกราช เมื่อนครเชียงใหม่ฟื้นฟูบ้านเมือง เจ้าหลวงเชียงใหม่และอาณาประชาราษฎร์ได้บูรณะวัดให้เจริญรุ่งเรืองสืบมาราวปี พ.ศ.2362 เจ้าหลวงธรรมลังกา โปรดให้สร้างวิหารหลังเล็ก เครื่องไม้ศิลปล้านนา ส่วนวิหารหลังใหญ่พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์โปรดให้สร้าง ใน พ.ศ.2539 มีการสร้างหอมณเฑียรธรรม เพื่อถวายเป็นราชกุศลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ด้านหลังวิหารยังมีเจดีย์ทรงพม่าอีกหลังหนึ่งที่ควรค่าแก่การชมอย่างยิ่ง

วัดเชตวัน สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อปี พ.ศ.2446 สร้างขึ้นสมัยราชวงศ์มังราย มีนามเหมือนกับวัดเชตวันที่มีในประเทศอินเดีย สถาปัตยกรรมประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ วิหาร เจดีย์ 3 องค์ และพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะพม่า พระพุทธรูปเชียงแสนทองเหลืองประทับนั่งขัดสมาธิเพชร

วัดมหาวัน ตามความหมายของชื่อแปลว่า ป่าไม้ใหญ่ สถาปัตยกรรมประกอบด้วย เจดีย์แบบพม่า องค์ระฆังประดับลวดลายปูนปั้น ฐานสี่เหลี่ยมย่อมมุมประดับลวดลาย มีซุ้มประจำทิศทั้งสี่ทิศ วิหารทรงพื้นเมืองสร้างราว พ.ศ. 2410 และได้ทำการบูรณะซ่อมแซมในปี พ.ศ.2526 วิหารแบบพม่า อุโบสถทรงพื้นเมืองล้านนา หอไตรสองชั้นเครื่องบนไม้มีหลังคาซ้อนชั้นมีการแกะสลักและลวดลายฉลุสวยงามสำหรับนักท่องเที่ยวและผู้ที่ชื่นชอบการเที่ยวชมวัด หากมีโอกาสลองแวะเข้าไปชมศิลปกรรมล้านนาผสมพม่าได้ที่วัดสำคัญๆ บนถนนท่าแพ เพื่อย้อนอดีตแห่งถนนสายการค้าของเมืองเชียงใหม่

จักรพงษ์ คำบุญเรือง


www.chiangmainews.co.th

 

โดย: บทความ:วัดพม่าบนถนนท่าแพ (moonfleet ) 19 ตุลาคม 2552 23:12:15 น.  

 

เพิ่งเคยเห็นตัวมอม ค่ะ

ถ่ายตอนพระอาทิตย์กำลังจะตก ใช่ไหมคะ ฟ้าสีสวยมากค่ะ ออกเทาปนส้ม

 

โดย: tuk-tuk@korat 20 ตุลาคม 2552 21:25:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.