" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
2 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
092. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ถ.สิงหราช อ.เมือง จ.เชียงใหม่

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
ถ.สิงหราช อ.เมือง จ.เชียงใหม่




2354. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ต.พระสิงห์ ถ.สิงหราช อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2558. พระพุทธสิหิงค์ หรือ “พระสิงห์” แห่ง พระวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ฯ





2362. ถนน.สิงหราช ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่




ถ้าได้มาเชียงใหม่และได้มาเยือนวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ควรจะได้ทำอะไร?


1. กราบไหว้บูชา ครูบาศรีวิชัย หน้า พระวิหารแห่งวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2364.อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย หน้าพระวิหารหลวงแห่งวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2632.อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย


2.อ่านประวัติโดยสังเขปวัดพระสิงห์ ณ.แผ่นจารึกหินอ่อน







2368. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

เดิมชื่อวัดลีเชียง เป็นพระอารามของนครเชียงใหม่มาแต่โบราณกาล ประมาณ 700 ปีเศษ พระเจ้าผายูผู้ครองเมืองเชียงใหม่เป็นผู้สร้าง ต่อมารัชสมัยพระเจ้าแสนเมืองมาครองนครเชียงใหม่ เจ้ามหาพรหมได้เชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเจ้าเมืองกำแพงเพชร เพื่อถวายแด่พระเจ้าแสนเมืองมา แต่พอราชรถมาถึงวัดลีเชียง มีเหตุให้ต้องอัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ.วัดนี้ จึงได้ชื่อเพิ่มว่า "วัดลีเชียงพระ" ต่อมาเรียกกันว่า "วัดพระสิงห์"

เมื่อ พ.ศ.2315 เจ้ากาวิละได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดนี้นอกจากมีพระพุทธสิหิงค์แล้ว ยังมีพระพุทธรูปที่สำคัญอีกองค์หนึ่ง คือ "พระเจ้าทองทิพย์" เป็นศิลปะและฝีมือตามแบบเชียงแสนในสมัยต้น สร้างเมื่อ พ.ศ.2020 ด้วย ทองแดง นาค และ ทองคำ ปนกัน

และ เมื่อ พ.ศ.2483 ได้รับพระราชทานยกฐานะ เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิด วรมหาวิหาร

กองการพัฒนา
กรมการศาสนา
กระทรวงศึกษาธิการ


3. ผู้มาเยือน ควรที่จะได้เข้าไปกราบไหว้บูชา พระประธานในพระวิหารหลวง





2611. พระวิหารหลวง แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2372. พระประธาน แห่ง พระวิหารหลวง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

:Moonfleet ไม่ทราบ"พระนาม"ของ พระประธาน ท่านผู้รู้ช่วยกรุณาแนะนำด้วยครับ


และ ถ้าท่านผู้มาเยือนในช่วงเวลานี้ ถึง 16 ธันวาคม 2552 ก็ยังมีโอกาสที่จะได้ กราบบูชา พระธรรมสิทธาจารย์ (หลวงปู่หนู ถาวรมหาเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์





2376.พระธรรมสิทธาจารย์ (หลวงปู่หนู ถาวรมหาเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์






2378.


4. ท่านผู้มาเยือนควรไป ชม หอไตร แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2389. "หอไตร" หรือ "หอธรรม" หรือ "หอพระไตรปิฏก" แห่งวัดพระสิงห์ฯ






2391. อ่านประวัติโดยสังเขป:หอไตร แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

หอไตร

หอไตรหลังนี้ สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้ว ประมาณ พ.ศ.2040
(นับถึงปัจจุบัน พ.ศ.2552 หอไตรหลังนี้ มีอายุนับได้ 512 ปี)

เคยได้รับการบูรณะซ่อมแซมในสมัยเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ (พ.ศ.2397 -2413)

และ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองเชียงใหม่ ปี พ.ศ.2469

ลักษณะเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสองชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นไม้ มุงหลังคากระเบื้องดินเผา หันหน้าไปทางทิศตะวันออก บันไดทางขึ้นด้านหน้าเป็นรูปมกรคายสิงห์ บนแท่นข้างละตัว ***

***บันไดมีอยู่สองช่วง ช่วงบนเป็น มกรคายสิงห์ ช่วงล่างจะเป็นมกรคายนาค
Moonfleet

ซุ้มประตูทางเข้าในส่วนหน้าบันเป็นบุษบกซ้อนกัน 5 ชั้น แกะสลักลวดลายปูนปั้น รูปเทวดาและเทพพนม จำนวน 16 องค์ สัตว์หิมพานต์ อาทิ สิงห์ ช้าง กิเลน ปลา กวาง นกยูง คชสีห์ เหมราช และ นรสิงห์ เป็นต้น

ชั้นบนเป็นเครื่องไม้ทาสีแดง มีปูนปั้น ประดับเป็นรูปดอกไม้ 8 กลีบ และ มีบราลีทำเป็นรูปหงส์อยู่บนสันหลังคา

หอไตร เป็นอาคารที่ใช้สำหรับเก็บรักษาพระธรรม คัมภีร์ และ หนังสือใบลานต่างๆ ในพระพุทธศาสนา บางครั้งเรียกว่า หอพระไตรปิฏก




2395. หอไตร แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

:เพียงได้มาชมหอไตรแห่งนี้ ท่านจะสามารถระลึกชาติ หรือ ย้อนอดีตได้ถึง 512 ปี นับจากปีปัจจุบัน



5. เมื่อท่านผู้มาเยือนได้มาชม หอไตรแล้ว ใกล้ๆกับหอไตร มี ศาลา ชีวกโกมารภัจจ์ และ ศาลา สหัท - หงษ มหาคุณ อนุสรณ์




2394. ศาลา หมอชีวกโกมารภัจจ์





2396. เอกอัครมหาบูรพปรมาจารย์ ชีวกโกมารภัจจ์





2401. ศาลา สหัท - หงษ มหาคุณ อนุสรณ์ : สร้าง พ.ศ.2514



6. ไปเที่ยวชม พระอุโบสถ แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร และ กราบพระประธาน คือ พระเจ้าทองทิพย์




2435. พระอุโบสถ แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2437. พระอุโบสถ แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2447. แผ่นทองเหลือง : ประวัติโดยสังเขป พระอุโบสถ แห่ง วัดพระสิงห์ฯ


อุโบสถ ( Ubosoth )

อุโบสถวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นอาคารตามแบบอย่างศิลปกรรมล้านนา โครงสร้างไม้ฐานล่างก่ออิฐถือปูน

ด้านหน้าทิศใต้ ทำเป็นบันไดมกรคายนาค สองข้างตั้งสิงห์ปูนปั้นนั่งด้านละตัว หันหน้ามองกัน

ส่วนด้านทิศเหนือทำเป็นตัวเหงา ขนาบข้างด้วยสิงห์ปูนปั้นนั่งด้านละตัว หันหน้ามองตรงออกไป

ปัจจุบันยังมีใบเสมาคู่ปักอยู่ 15 จุดรอบอุโบสถแห่งนี้


ภายในพื้นที่ตรงกลางอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปในซุ้มปราสาท เชื่อกันว่าเพื่อแบ่งเขตการทำสังฆกรรม ด้านเหนือสำหรับพระภิกษุ และ ด้านใต้สำหรับพระภิกษุณี ต่อมา บางครั้งจึงเรียกว่า "อุโบสถสองสงฆ์"

อุโบสถหลังนี้หันหน้าไปทางทิศใต้ กล่าวกันว่า สร้างในสมัยพระเมืองแก้ว
( พ.ศ.2038 -2068)

และ ได้รับการทำนุบำรุง ดูแลรักษา นับแต่สมัยรัตนโกสินทร์ช่วงฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ ( พ.ศ.2325 - 2356) มาจนถึงปัจจุบัน





2464. พระประธาน คือ พระเจ้าทองทิพย์ หันพระพักตร์ไปทางทิศใต้

:วันอังคารที่ 27 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2552 เผื่อว่าคนที่ได้มาเยือนจะจำได้นะ





2450. พระแก้วมรกตจำลองเท่าองค์จริง หน้าตักกว้าง ๑๙ นิ้ว หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ

:อ่านเรื่องราว พระแก้วมรกตจำลองเท่าองค์จริง ได้ที่ //www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/tour/watphrasing.htm




2449. ประตูโขง พระอุโบสถ ด้านทิศเหนือ



7.แขกแก้ว ควรไปบูชาพระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2500. พระธาตุเจดีย์ แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

อ่านจากแผ่นจารึก: มหาเจดีย์และกู่บรรจุอัฐิพญาคำฟู

เอกสารทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า พญาผายู (พ.ศ.1888 - 1898) โปรดให้สร้างเจดีย์องค์หนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.1888 เพื่อบรรจุอัฐิพญาคำฟู พระบิดาของพระองค์

ต่อมา พ.ศ. 2088 มหาเจดีย์ได้หักลงมาเพราะแผ่นดินไหว จึงได้รับบรูณะซ่อมแซมมาโดยตลอด

ในสมัยเจ้ากาวิละ (พ.ศ.2324 - 2358) เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่พระองค์แรก ได้ประดิษฐานพระธาตุไว้ในเจดีย์องค์นี้

อย่างไรก็ดี ทางทิศเหนือของอุโบสถ มีกู่อีกองค์หนึ่ง เรียกันในปัจจุบันว่า กู่อัฐิพญาคำฟู เมื่อครั้งครูบาศรีวิชัยมาปฏิสังขรณ์วัด ได้พบโกฏิบรรจุอัฐิ พร้อมของมีค่าอื่นๆ ซึ่งยังเป็นข้อสงสัยว่าพบที่มหาเจดีย์หรือที่กู่องค์นี้ เป็นที่น่าเสียดายว่า สิ่งของเหล่านั้นสูญหายไปแล้ว เมื่อครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ.2485

ปัจจุบัน มหาเจดีย์สูง 50 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสสูง มีประติมากรรมช้างครึ่งตัว แบกตรงกลางฐานอยู่ทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 1 ตัว เหนือขึ้นไปเป็นฐานกลม 3 ชั้น มาลัยเถาซ้อนกัน 3 ชั้น องค์ระฆังทรงกลมเล็ก บัลลังก์ และ เปลือกยอดประดับฉัตรมหาเจดีย์ประธานองค์นี้ จัดเป็นศิลปกรรมล้านนา ที่มีความสำคัญอีกองค์หนึ่งของเมืองเชียงใหม่





2503. มหาเจดีย์ แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

ปัจจุบัน มหาเจดีย์สูง 50 เมตร
ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสสูง
มีประติมากรรมช้างครึ่งตัว แบกตรงกลางฐานอยู่ทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 1 ตัว เหนือขึ้นไปเป็นฐานกลม 3 ชั้น มาลัยเถาซ้อนกัน 3 ชั้น องค์ระฆังทรงกลมเล็ก บัลลังก์ และ เปลือกยอดประดับฉัตรมหาเจดีย์ประธานองค์นี้
จัดเป็นศิลปกรรมล้านนา ที่มีความสำคัญอีกองค์หนึ่งของเมืองเชียงใหม่



8. พระวิหารลายคำ แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2572. พระวิหารลายคำ แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (ด้านทิศเหนือ)




2517.พระวิหารลายคำ แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (ด้านทิศตะวันออก)






2562. แผ่นทองเหลือง: จารึกประวัติ พระวิหารลายคำ โดยสังเขป

วิหารลายคำ

พระเมืองแก้ว (พ.ศ. 2038 - 2068) โปรดให้สร้างขึ้น เพื่อประดิษฐาน พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ พระพุทธรูปในศิลปกรรมล้านนา

วิหารลายคำบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้ากาวิละ และ เจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ (พ.ศ. 2397- 2413)

ปัจจุบันวิหารลายคำ กว้าง 8 เมตร ยาว 30 เมตร

ด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออก มีบันไดนาค และ สิงห์ปูนปั้น 2 ตัว

หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา หน้าบันและเสาลงรักสีแดง เขียนลายพรรณพฤกษาสีทอง ผนังก่ออิฐถือปูน

ด้านทิศใต้ เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง สุวรรณหงส์

ส่วนด้านทิศเหนือ เขียนเรื่องสังข์ทอง

จิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งเป็นวรรณกรรมไทยทั้ง 2 เรื่องนี้ เขียนขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ถือว่าทรงคุณค่าทางด้านศิลปะ ที่สะท้อนภาพวิถีชีวิตแบบล้านนา และ วัฒนธรรมของภาคเหนือ ได้เป็นอย่างดี

นับเป็นงานสถาปัตยกรรมประเภทวิหารแบบล้านนา ที่สวยงามมากแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่





2558. พระพุทธสิหิงค์ แห่ง พระวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2559. แผ่นพลาสติก : จารึกข้อความสั้นๆเกี่ยวกับพระพุทธสิหิงค์ ว่า

พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์
ที่ประดิษฐานในพระวิหารลายคำโบราณสถานแห่งชาตินี้
พระเจ้ากรุงลังกา ทรงสร้างเมื่อ พุทธศักราช 700.





2529. พระพุทธสิหิงค์ แห่ง พระวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

หมายเหตุ:
Moonfleet ไม่เข้าใจว่า พระพุทธสิหิงค์ แห่ง พระวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร กับ พระพุทธสิหิงค์ แห่ง พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบวรราชวัง มีความเกี่ยวพันกันหรือเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ใครบอกได้ ช่วยตอบทีครับ.




พระพุทธสิหิงค์ แห่ง พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบวรราชวัง

พระพุทธสิหิงค์

เป็นพระพุทธรูปหล่อหุ้มทอง ปางสมาธิ ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้ากรุงลังกาองค์หนึ่งได้สร้างขึ้นไว้

ต่อมาเจ้านครศรีธรรมราช ได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย

เมื่อพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา

ต่อมาได้มีผู้นำไปไว้ที่ เมืองกำแพงเพชร และที่เชียงราย

เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานที่เชียงใหม่ พร้อมกับพระแก้วมรกต

เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๕ ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา ๑๐๕ ปี

เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ชาวเชียงใหม่ซึ่งสมัยนั้นยังอยู่ข้างพม่า ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่

เมื่อมณฑลพายัพได้กลับมาเป็นของไทย ในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท จึงได้โปรดให้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๘ โดยประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบวรราชวัง

Source://www.heritage.thaigov.net/religion/pra/index02.htm






2543. ช่องว่าง หลัง พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์

:เป็นไปได้หรือไม่ว่า ช่องว่างด้านหลังนั้น "เคย" เป็นสถานที่เคยประดิษฐาน พระพุทธสิหิงค์องค์จริง

และ ปัจจุบันองค์จริงได้นำไปประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบวรราชวัง

โดยที่พระพุทธสิหิงค์ แห่ง วิหารลายคำ เป็น องค์จำลอง



9.พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร




2573. พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2576. พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2577. พระวิหาร พระนอน แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร




2578. พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2580. พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2583. พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร


หลังจากที่ได้ชมสถานที่สำคัญแล้ว ท่านผู้มาเยือนควรทำตัวเป็น พญาน้อย เดินชมรอบบริเวณวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จะดีไหมเอ่ย



2404. ศาลาสมเด็จกิตติโสภณ แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2407. ศาลา สมเด็จกิตติโสภณ แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2408. ศาลา สงวนราชทรัพย์อุทิศ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2518





2410. ป้ายอ่านได้ความว่า: มะเฟืองหวานต้นนี้ ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ปลูกไว้





2411. กุฏิ เจ้าอาวาส แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร




2413. อนุสาวรีย์ พญาเม็งรายมหาราช ผู้สร้างนครเชียงใหม่ พ.ศ. 1839

:องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ สร้างเพื่อมอบให้เป็นสมบัติ ของ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร




2416. กู่บรรจุอัฐิพญาคำฟู





2415. แผ่นจารึก: มหาเจดีย์และกู่บรรจุอัฐิพญาคำฟู

เอกสารทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า พญาผายู (พ.ศ.1888 - 1898) โปรดให้สร้างเจดีย์องค์หนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.1888 เพื่อบรรจุอัฐิพญาคำฟู พระบิดาของพระองค์ ต่อมา พ.ศ. 2088 หักลงมาเพราะแผ่นดินไหว จึงได้รับบรูณะซ่อมแซมมาโดยตลอด

โดยเฉพาะในสมัยเจ้ากาวิละ (พ.ศ.2324 - 2358) เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่พระองค์แรก ได้ประดิษฐานพระธาตุไว้ในเจดีย์องค์นี้

อย่างไรก็ดี ทางทิศเหนือของอุโบสถ มีกู่อีกองค์หนึ่ง เรียกันในปัจจุบันว่า กู่อัฐิพญาคำฟู เมื่อครั้งครูบาศรีวิชัยมาปฏิสังขรณ์วัด ได้พบโกฏิบรรจุอัฐิ พร้อมของมีค่าอื่นๆ ซึ่งยังเป็นข้อสงสัยว่าพบที่มหาเจดีย์หรือที่กู่องค์นี้ เป็นที่น่าเสียดายว่า สิ่งของเหล่านั้นสูญหายไปแล้ว เมื่อครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ.2485

ปัจจุบัน มหาเจดีย์สูง 50 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสสูง มีประติมากรรมช้างครึ่งตัว แบกตรงกลางฐานอยู่ทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 1 ตัว เหนือขึ้นไปเป็นฐานกลม 3 ชั้น มาลัยเถาซ้อนกัน 3 ชั้น องค์ระฆังทรงกลมเล็ก บัลลังก์ และ เปลือกยอดประดับฉัตรมหาเจดีย์ประธานองค์นี้ จัดเป็นศิลปกรรมล้านนา ที่มีความสำคัญอีกองค์หนึ่งของเมืองเชียงใหม่


:Moonfleet แผ่นจารึกนี้ น่าจะได้มีการทำไว้อีก 1 แผ่นไว้ที่ พระธาตุเจดีย์





2418. ศาลา 90 ปี พระธรรมสิทธาจารย์ พ.ศ.2545




2420. ศาลา 90 ปี พระธรรมสิทธาจารย์ (ด้านหลัง/ข้าง)





2419.





2421. หอจงกรม ครูบาศรีวิชัย แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2422. หอจงกรม ครูบาศรีวิชัย แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2423. หอจงกรม ครูบาศรีวิชัย แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร




2424. กุฏิ ที่ 15 แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร




2425. กุฏิ ที่ 15 แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

:ชมรมนักกลอนเชียงใหม่ + ลำพูน
:ชมรมเผยแผ่ธรรมใต้แสงเทียน






2426. กุฏิ ที่ 17 แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร






2427. กุฏิ แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร




2428. กุฏิ แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2431. กู่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ฯ





2432. กุฏิที่ 21. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว)





2433. หอไตรปิฏก หลวงอนุสาน นางอนุสาน ชำย่งเส็งสร้าง 30/08/2469






2586. โรงเรียน ธรรมราชศึกษา





2591. โรงเรียน ธรรมราชศึกษา





2592. หนองน้ำ หลัง โรงเรียน ธรรมราชศึกษา แห่ง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร





2607.




2608. สำนักงานวัดพระสิงห์ งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานพระสิงห์มูลนิธิ





2609.





2369.




Moonfleet ได้มาเยือน วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ถ.สิงหราช ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

วันอังคาร ที่ 27 เดือนตุลาคม พ.ศ.2552




นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง


Create Date : 02 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 29 กรกฎาคม 2557 20:26:30 น. 7 comments
Counter : 10755 Pageviews.

 
ขอบคุนมากมายเลยคราบบบบ


โดย: กรรมลิขิต IP: 114.128.110.63 วันที่: 7 ธันวาคม 2552 เวลา:17:58:17 น.  

 
เดวนี้วัดพระสิงห์ พัฒนาขี้นเยอะเลยคับบ



โดย: ศิษย์เก่าธรรมราช IP: 118.172.71.96 วันที่: 23 ธันวาคม 2552 เวลา:2:53:55 น.  

 
ิพระประธานในพระวิหารหลวง คือ หลวงพ่อโต ค่ะ


โดย: ImChiangMai IP: 111.84.111.42 วันที่: 1 มีนาคม 2553 เวลา:1:16:34 น.  

 
ดูรูปแล้วอยากร้องให้ครับไม่มีเวลากลับเหนือเลย นึกถึงความเดิด


โดย: รุน นภัฎรภี 45 IP: 192.168.1.131, 122.154.18.253 วันที่: 3 มิถุนายน 2553 เวลา:15:30:33 น.  

 
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

ที่ตั้ง
ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่


ประวัติ
จากหลักฐานที่ปรากฎในชินกาลมาลินีและตำนานมูลศาสนาว่า พญาผายูกษัตริย์เชียงใหม่ลำดับที่ ๖ ทรงสร้างวัดนี้เพื่อบรรจุอัฐิพญาคำฟู พระราชบิดาและโปรดให้สร้างวัดขึ้น ในสมัยแรกเรียกวัดลีเชียงพระ เพราะตั้งอยู่ใกล้ตลาด (ชาวเมืองเรียกตลาดกลางเมืองว่า กาดลี เชืยงคือ เวียงหรือเมืองวัดอยู่ใกล้ตลาดเมืองจึงเรียกลีเชียงพระ ความหมายว่าวัดตลาดเมือง พระองค์โปรดให้อาราธนาพระมหาอัคญะจุฬาเถระและศิษย์ ๑๐ รูปจากหริภุญไชยมาจำพรรษาวัดนี้ ในสมัยพญาแสนเมืองมา กษัตริย์ลำดับที่ ๘ แห่งราชวงศ์มังรายได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่วัดนี้ จึงเรียกว่าวัดพระสิงห์ สมัยพญาเมืองแก้ว กษัตริย์ลำดับที่ ๑๒ ได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ วัดนี้จึงมีความสำคัญตลอดมา
พุทธศักราช ๒๓๕๔ พระเจ้ากาวิละ สร้างพระวิหารลายคำอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์, สร้างหอไตรเพื่อเก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา,สร้างอุโบสถ
พุทธศักราช ๒๓๖๐ เจ้าหลวงธรรมลังกา บูรณะพระอุโบสถ พระเจดีย์,สร้างมณฑปกลางอุโบสถ
พุทธศักราช ๒๔๐๖ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ โปรดให้ซ่อมแซมบูรณะเพิ่มเติม
พุทธศักราช ๒๔๒๙ พระเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๗ โปรดให้ซ่อมและทำบุญฉลองวิหารลายคำ
พุทธศักราช ๒๔๖๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จได้พระราชทานทรัพย์ให้เจ้าแก้วนวรัฐและครูบาศรีวิชัย บูรณะปฎิสังขรณ์ซ่อมพระอุโบสถ
พุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้วัดพระสิงห์เป็นพระอารามหลวงชั้นเอง ชนิดวรมหาวิหาร
พุทธศักราช ๒๕๓๙ กรมศิลปากรได้ซ่อมวิหารและจิตรกรรมฝาผนังในโอกาศสมโภชเมืองเชียงใหม่


สิ่งที่น่าสนใจ
๑. พระพุทธสิหิงค์
พระสิงห์สกุลช่างเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ศิลปะล้านนา เทศกาลสงกรานต์ของทุกปีจะการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานบนบุษบกแห่รอบเมืองเชียงใหม่ให้ประชาชนสรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล

๒. หอพระไตรปิฎก
ศาสนสถานที่สร้างเพื่อเก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา ผนังแต่งด้วยปฎิมากรรมปูนปั้นรูปเทวดา ๑๖ องค์ในอิริยาบทที่แตกต่างกัน บริเวณท้องไม้ประดับด้วยปูนปั้นรูปสัตว์หิมพานต์ อยู่ในกรอบทรงสี่เหลี่ยม จำนวน ๗๕ ตัว ประกอบด้วย สิงโตจีน มอม สิงห์ เงือก ช้าง กวาง กิเลน ปลา เหมราช คชสีห์ นกยูง เสือ นรสิงห์

๓. วิหารลายคำ
วิหารทรงพื้นเมืองล้านนาขนาดเล็ก ภายในประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสังข์ทอง, สุวรรณหงส์

๔. สถูปบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู
เป็นวัตถุก่อสร้างที่เก่าแก่ในล้านนา เปิดสถูปเมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๘ พบว่ามีโกศที่บรรจุพระอัฐิทำเป็น ๓ ชั้น ชั้นนอกทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ชั้นกลางทำด้วยเงิน ชั้นในทำด้วยทองคำ

๕. พระอุโบสถ
มีมุขโถงด้านหน้าและด้านหลัง หน้าต่างขนาดใหญ่ทำเป็นลูกกรงไม้ ซุ้มประตูทั้งด้านหน้าและด้านหลังแกะสลักไม้ปิดทอง เป็นรูปพญานาค ๒ ตัว

๖. วิหารหลวง
ทรงไทยล้านนา เครื่องบนไม้สักล้วนๆหลังคามุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์แบบโบราณ ซ้อนลดหลั่น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ มีลวดลายปูนปั้นรูปนาคราชแผ่พังพานประดับที่เชิงบันได

๗. เจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา ฐานสี่เหลี่ยมช้างล้อม


ที่มา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.วัดในกรอบเมืองเชียงใหม่มุมมองทางสุนทรียะ. เชียงใหม่: รัตนกุลการพิมพ์
อัศม์เดช พิมเรือง. วัดในเชียงใหม่. เชียงใหม่, ๒๕๔๙
วัดสำคัญของนครเชียงใหม่ เล่ม ๑




โดย: วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (moonfleet ) วันที่: 13 กันยายน 2553 เวลา:23:46:06 น.  

 
ช่องว่างด้านหลังอาจเคยเป็นที่เก็บรักษาพระพุทธสิหิงค์องค์จริง องค์ปัจจุบันที่ประดิษฐานอยู่ไว้ในสมัยข้าศึกรุกรานครับ แล้วเอาองค์อื่นมาตั้งไว้แทน ดังนั้นองค์ที่ถูกอัญเชิญมากรุงเทพอาจเป็นองค์ที่นำมาตั้งแทนไว้ครับ


โดย: คนเชียงใหม่ IP: 14.207.139.140 วันที่: 22 พฤษภาคม 2554 เวลา:17:11:47 น.  

 
Wonderful website. Lots of helpful information here. I am sending it to several friends ans additionally sharing in delicious. And certainly, thanks on your sweat!
portefeuilles pas cher Louis Vuitton //bmasl.com/bdatos/popups/hho.cfm


โดย: portefeuilles pas cher Louis Vuitton IP: 94.23.252.21 วันที่: 21 สิงหาคม 2557 เวลา:17:36:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.