" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 
9 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 

หอพญามังราย สี่แยกกลางเวียง อ.เมือง จ.เชียงใหม่

หอพญามังราย
สี่แยกกลางเวียง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4754. หอพญามังราย





4755. ประวัติพญามังราย





4757. หอพญามังราย สี่แยกกลางเวียง อ.เมือง จ.เชียงใหม่





4756. ประวัติพญามังราย

ประวัติพญามังราย

ณ ที่ราบลุ่มเชียงแสน เมืองหิรัญนครเงินยาง ในปี พ.ศ.1782 พญาลาวเม็งและนางเทพคำขยาย ธิดาท้าวรุ่งแก่นชาย เจ้าเมืองเชียงรุ้งได้ให้กำเนิดราชบุตรพระองค์หนึ่ง ใส่ชื่อเจ้าราชบุตรว่า เจ้าัมังราย, เจ้ามังรายได้รับพิธีพุทธาภิเษกเป็นพญามังรายครองเมืองหิรัญนครเงินยางต่อจากพระราชบิดา เมื่อปี พ.ศ.1804 ขณะที่มีพระชนมายุได้ 22 พรรษา นับเป็นกษัตริย์ในราชวงค์ลาวจักราชองค์ที่ 25 และ ได้ยก ไพร่ พล ช้าง ม้า จำนวนมาก ไปตีเอาเมืองใกล้เคียง ที่รบราฆ่าฟันแย่งกันเป็นใหญ่ ได้เมืองผาแดงเชียงของ

ในปี พ.ศ. 1805 พญามังรายได้ทรงย้ายศูนย์กลางจากเมืองหิรัญนครเงินยางมาสร้างเมืองเชียงราย พร้อมรวบรวมแว่นแคว้นต่างๆ เข้าเป็นอาณาจักรล้านนาไทย ทรงตรากฏหมาย "มังรายศาสตร์" ขึ้นใช้ปกครองบ้านเมือง และ ครองเมืองอยู่เพียง 10 ปีเท่านั้น จึงย้ายไปสร้างเมืองและประทับที่เืมืองฝางในปี พ.ศ. 1816 ทั้งนี้อาจจะต้องการขยายอาณาเขตแคว้นหิรัญนครเงินยางให้กว้างขวางลงมาแถบลุ่มแม่น้ำปิงที่อุดมสมบูรณ์กว่า

พญามังรายทรงทราบถึงความเจริญรุ่งเรืองมั่งคงและอุดมสมบูรณ์ของแคว้นหริภุญไชย (เมืองลำพูน) พญามังรายทรงยึดแคว้นหริภุญไชยได้จากพญายีบาในปี พ.ศ.1835 และ ประทับอยู่เพียงสองปี จึงมอบให้อ้ายฟ้าครองแทนเมืองลำพูน แคว้นหริภุญไชยจึงรวมอยู่ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา

หลังจากพญามังรายทรงครองเมืองลำพูนแคว้นหริภุญไชยได้สองปีก็ทรงย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่เวียงกุมกาม ในราวปี พ.ศ.1837 โดยขุดคลองชักแม่น้ำปิงเข้าใส่ล้อมรอบเมืองทั้งสี่ด้าน พร้อมสร้างบ้านเรือนและตลาดให้เป็นที่ซื้อขายของคนทั้งหลาย

พญามังรายประทับที่เวียงกุมกามได้ราวห้าปี จึงพบอัศจรรย์ฟานเผือกสองตัว แม่ลูกต่อสู้กับหมาของพรานป่าโดยมิเกรงกลัว ซ้ำยังขับไล่หมาให้กระเจิดกระเจิงไปด้วย ขณะเสด็จประพาสป่าเชิงดอยอุชุปัตตา (ดอยสุเทพ) นับเป็นความอัศจรรย์ยิ่งนัก จึงตัดสินใจสร้างเวียงกรวม ให้เป็นชัยนครในป่าลอมคอกนี้ โดยสร้างคุ้มวังมณเฑียร หอนอน โรงช้าง โรงม้า กำแพง คลอง คู ล้อมรอบไว้ทั้งสี่ด้าน ด้านละ 3,000 วา พร้อมกับเชิญพระสหายคือ พญางำเมือง พญาร่วง มาปรึกษาหารือ ซึ่งเห็นด้วยกับสิ่งอัศจรรย์ จึงร่วมกันตั้งเวียงภายใต้ชัยมงคล 7 ประการ และ ให้นามว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ในปี พ.ศ.1839

พญามังรายเป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 ในราชวงค์ลาวจักราช และ เป็นกษัตริย์ในราชวงค์มังราย ครองเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ตราบพระชนมายุได้ 72 พรรษา ก็จุติไปสู่โลกภายหน้าด้วยวิบากจากอนุนีบาต เสด็จสวรรคต ณ บริเวณตลาดกลางเวียงเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.1854






4758. บ่อน้ำ แห่ง หอพญามังราย





4759. บ่อน้ำ แห่ง หอพญามังราย





4760. บ่อน้ำ แห่ง หอพญามังราย





4761. หอพญามังราย

หอพญามังรายนี้ ชาวเชียงใหม่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2518 เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแด่ พญามังรายผู้ตั้งเมืองเชียงใหม่ ซึ่งต้อง อสนีบาต เสด็จสวรรคต ณ บริเวณกลางเมืองเชียงใหม่ เมื่อประมาณ พ.ศ. 1854

หอพญามังรายแห่งนี้ สร้างขึ้นใหม่ เพราะหอพญามังรายเดิม ไม่สะดวกต่อการสักการะบูชา





4762. หอพญามังราย สี่แยกกลางเวียง อ.เมือง เชียงใหม่





4763. หอพญามังราย สี่แยกกลางเวียง อ.เมือง เชียงใหม่





4764. ศาลเจ้าแม่แต้มก้อม

อยู่มุมด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หอพญามังราย
ไม่ทราบประวัติ ความสำคัญ หรือ เรื่องราว ความเป็นมา





4765. พญางำเมือง





4766. พญามังราย <เม็งราย>





4767.





4768. พญามังรายทรงครองราช และ ทรงสร้างเมืองเชียงราย





4769. พญามังราย ทรงขยายอาณาเขต และ สร้างอาณาจักรล้านนา





4770. สามกษัตริย์ทรงร่วมสร้างเมืองเชียงใหม่





4771.





4772. บริเวณสี่แยกกลางเวียง

: ถ้าเดินทางจากสี่แยกกลางเวียง ไปทางทิศใต้จะพบ วัดพันเตา วัดเจดีย์หลวง วัดช่างแต้ม วัดเจ็ดลิน วัดฟ่อนสร้อย และ ตลาดประตูเชียงใหม่





4773. บริเวณสี่แยกกลางเวียง

: ถ้าเดินจากสี่แยกกลางเวียง ไปทางทิศตะวันออก ก็จะพบ วัดสำเภา วัดหมื่นล้าน AUA และ โรงแรมมนตรี และ ข่วงประตูท่าแพ





4774.บริเวณสี่แยกกลางเวียง

ถ้าเดินทางจากสี่แยกกลางเวียงไปทางทิศตะวันตก จะพบ สถานีตำรวจกองเมืองเชียงใหม่ วัดอีกหลายวัด และ วัดพระสิงห์





4777. บริเวณสี่แยกกลางเวียง

ถ้าเดินทางจากสี่แยกกลางเวียง ไปทางทิศเหนือ ก็จะพบ ศาลพญาเม็งราย (อยู่ในซอยตรงข้ามกับ บริษัท เอส.วี ร่วมทุน หรือ เจริญมอเตอร์) วัดดวงดี ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ และ โรงเรียนยุพราช





4775. ถนนพระปกเกล้า

สี่แยกกลางเวียง คือ ถนนพระปกเกล้า ตัดกับ ถนนราชดำเนิน




Moonfleet ได้มาเยือน หอพญามังราย สี่แยกกลางเวียง อ.เมือง จ.เชียงใหม่

วันศุกร์ ที่ 9 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2552





นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง




 

Create Date : 09 ตุลาคม 2552
6 comments
Last Update : 10 ตุลาคม 2552 18:13:26 น.
Counter : 10919 Pageviews.

 

ภาพสวย พร้อมข้อมูลที่ดีครับ แหล่มเรย

 

โดย: นายหัว (nindhua ) 10 ตุลาคม 2552 7:11:28 น.  

 

ภาพสวยจังค่ะ
เห็นบ่อน้ำแล้วเสียวตกลงไปจะว่าไงหว่า

 

โดย: ขวัญชนก (nangfahtalae ) 10 ตุลาคม 2552 11:09:20 น.  

 

ใครบอกว่าที่ตรงนี้คือหอพญามังราย หอพญามังจริงๆแล้วอยู่ข้างวัดดวงดี ถนนพระปกเกล้า เลยขึ้นไปทางเหนือ จะมาซอยเข้าไปและจะมีหอผีอยู่ตรงนั้น เป็นสถานที่สิ้นพระชนของพญามังราย แต่รูปที่ประกฎ ณ ตอนนี้คือจำลองสถานที่ออกมาให้คนได้เห็นและสะดวกต่อการเคารพมากกว่าหอผีด้านใน เพราะมีสถานที่คับแคบ สมัยก่อนบริเวนนี้ทั้งหมดเรียกว่าลีเชียง คือตลาดกลางเวียง

 

โดย: มหิยังก๊ะ IP: 192.168.10.33, 203.144.144.164 26 มกราคม 2553 17:08:55 น.  

 

ขออนุญาติก็อบ url ของรูป สี่แยกกลางเวียง ของคุณ moonfleet ไปลงบล็อกเรื่องเดินเที่ยวเชียงใหม่หน่อยนะคะ

 

โดย: พี่ตุ๊ก (tuk-tuk@korat ) 5 ธันวาคม 2554 9:51:34 น.  

 

ด้วยความยินดีครับ คุณพี่ตุ๊ก ครับ

 

โดย: moonfleet 6 ธันวาคม 2554 6:23:57 น.  

 

เจ้าแม่แต้นก้อม (แท่นสั้นๆ) เขาว่า ศักดิ์สิทธิ์ขนาด เพราะเปิ้นเฝ้าเมืองเจียงใหม่ไว้หั้น

 

โดย: ศรีนรินทร์ IP: 110.164.70.141 9 ตุลาคม 2555 14:22:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.